พระพุทธรูปในศิลปะไทย
สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖)
กษณะพระพุทธรูปได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปะอินเดียคือ ศิลปะอมราวดี ศิลปะคุปตะ ศิลปะหลังคุปตะ และศิลปะปาละ ที่ มีอิทธิพลมากที่สุดได้แก่ ศิลปะคุปตะ เช่น การครองจีวรห่มคลุม จีวรเรียบไม่มีริ้ว การ ยืนเอียงตนแบบตริภังค์ คือ การยืนเอียงตน ทั้ง ๓ ส่วน ได้แก่ พระอังสา (ไหล่) พระโสณี (สะโพก) และพระชงฆ์ (ขา) ต่อมาได้พัฒนารูปแบบให้เป็นแบบพื้นเมืองมากยิ่งขึ้น เช่น พระพักตร์กลมแป้น พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระนาสิกแบน พระโอษฐ์หนาแบะ พระพุทธรูปประทับยืนตรง ไม่ทำตริภังค์ และนิยมแสดงปางวิตรรกะ (ทรงแสดงธรรม) ทั้ง ๒ พระหัตถ์ อันเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นในศิลปะทวารวดีโดยเฉพาะ นอกจากนั้น ยังได้พบพระพุทธรูปนั่งปางสมาธิที่นิยมขัดสมาธิราบอย่างหลวมๆ (พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย เห็นฝ่าพระบาทเพียงด้านเดียว) อันมีที่มาจากอิทธิพลของศิลปะอมราวดี ต่อมามีอิทธิพลของศิลปะปาละเข้ามา เช่น การทำ พระพุทธรูปขัดสมาธิเพชร (การนั่งขัดสมาธิที่เห็นฝ่าพระบาททั้ง ๒ ข้าง) ในช่วงสุดท้ายของศิลปะทวารวดีมีอิทธิพลของศิลปะเขมรเข้ามาปะปนอยู่ด้วย ก่อนที่ศิลปะทวารวดีจะค่อยๆเสื่อมไป และมีอิทธิพลของศิลปะเขมร เข้ามาแทนที่
สมัยศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๘)
เป็นศิลปะที่พบทางภาคใต้ ซึ่งในสมัย ศรีวิชัยมีการนับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายานเป็นส่วนใหญ่ จึงพบงานประติมากรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาแบบมหายาน เช่น การสร้างพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระพุทธรูปรุ่นแรกๆที่พบมีอิทธิพลของศิลปะ อมราวดีและศิลปะคุปตะจากอินเดียปะปนอยู่ ต่อมาจึงมีลักษณะพื้นเมืองมากยิ่งขึ้น และในตอนปลายช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑ ๘ ได้มี อิทธิพลของศิลปะเขมรเข้ามาปรากฏ เช่น พระพุทธรูปนาคปรก พบที่เมืองไชยา หล่อขึ้น ใน พ.ศ. ๑๗๒๖
ศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทย (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๘)
งานศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทย ส่วนใหญ่พบในภาคอีสานตอนใต้ แต่แพร่หลายไปยังภาคอีสานตอนเหนือและภาคกลาง เป็นงานศิลปกรรมที่สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู โดยสร้างเทวรูปเป็นส่วนใหญ่ การสร้างรูปเคารพในพระพุทธศาสนาเป็นเพียงส่วนน้อย และมักเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาแบบมหา ยาน ถึงแม้ว่าศิลปะเขมรจะมีอายุเก่าแก่ไปถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ แต่งานศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ ซึ่งจัดเป็นแบบศิลปะขอมสมัยบาปวน สมัยนครวัด และสมัยบายน โดยที่พบมากได้แก่ พระพุทธรูปนาคปรก พระพุทธรูปในสมัยบาปวนนั้น มีลักษณะพิเศษ คือ พระหนุ (คาง) เป็นร่อง มีขมวดพระเกศาเล็ก ขอบสบงด้านหน้าเว้าอยู่ใต้พระนาภี (สะดือ) ส่วนด้านหลังโค้งขึ้นมาถึงกึ่งกลางหลัง ส่วนในสมัยนครวัด พระพุทธรูปมีพระพักตร์สี่เหลี่ยม แสดงสีพระพักตร์ถมึงทึง พระเนตรเบิกกว้าง นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูป ทรงเครื่อง มีเทริด (กระบังหน้า) และมงกุฎทรงกรวย ประดับกรองศอ และหากเป็นพระ พุทธรูปนาคปรก นาคจะมีรัศมีเป็นนาคทรงเครื่องด้วยเช่นกัน ในสมัยบายนซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองช่วงสุดท้ายของอาณาจักรขอมนั้น พระพุทธศาสนาแบบมหายานเจริญรุ่งเรืองมาก พระพุทธรูปมีลักษณะพิเศษของศิลปะสมัยบายนโดยเฉพาะ คือ แสดงอาการยิ้ม พระเนตรปิดเหลือบลงต่ำ แสดงถึงสมาธิ และความสงบ นิยมเรียกว่า “ยิ้มแบบบายน”
สมัยสุโขทัย (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ - ๒๐ )
งานศิลปกรรมสมัยสุโขทัยเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทที่รับอิทธิพลมา จากลังกา และพม่า นิยมแบ่งพระพุทธรูป สุโขทัยออกเป็น ๔ หมวด คือ ๑. หมวดแรก เป็นพระพุทธรูปที่มีอิทธิพลของศิลปะปาละ ซึ่งรับผ่านมาจากอาณาจักรพุกามในประเทศ พม่า มีลักษณะพระพักตร์กลม พระโอษฐ์ยิ้ม พระวรกายอวบอ้วน ชายสังฆาฏิสั้นอยู่เหนือ พระถัน ๒. หมวดใหญ่ หมายถึง หมวดที่มีการสร้างอย่างแพร่หลาย ได้รับอิทธิพลในการสร้างจากศิลปะลังกา และพัฒนารูปแบบจนมีลักษณะเฉพาะของตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งถือกันว่างามที่สุดของศิลปะในประเทศไทย ลักษณะที่ สำคัญของพระพุทธรูปหมวดใหญ่คือ นิยมแสดงปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบเหนือฐานหน้ากระดานเกลี้ยง มีพระพักตร์รูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระนาสิก โด่ง พระโอษฐ์ยิ้ม ชายสังฆาฏิ ยาวลงมาจรด พระนาภี ๓. หมวดกำแพงเพชร พบมากแถบเมืองกำแพงเพชร มีลักษณะคล้ายหมวดใหญ่ แต่มีส่วนที่ต่างกัน ได้แก่ พระนลาฏ (หน้าผาก) กว้าง พระหนุเสี้ยม ขมวดพระเกศาเล็กมาก พระรัศมีเป็นเปลวสูง ๔. หมวดพระพุทธชินราช ได้แก่ พระพุทธรูปสกุลช่างเมืองพิษณุโลก ซึ่งมีลักษณะที่ต่างจากหมวดใหญ่เล็กน้อยคือ พระพักตร์อวบอ้วนมากกว่า และที่สำคัญคือ การทำปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔ ยาวเสมอกัน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปในหมวดนี้
สมัยล้านนา ( พุทธศตวรรษที่ ๑๙- ๒๓)
พระพุทธรูปในสมัยล้านนามีวิวัฒนาการอยู่ ๒ สาย สายแรก แสดงอิทธิพลของศิลปะปาละผ่านมาทางอาณาจักรพุกามของพม่า เป็นกลุ่มพระพุทธรูปที่เรียกว่าแบบ “เชียงแสน สิงห์หนึ่ง” มีลักษณะที่สำคัญคือ ขัดสมาธิเพชร พระพักตร์กลม พระโอษฐ์ยิ้ม ขมวดพระเกศาใหญ่ พระรัศมีเป็นดอกบัวตูม พระวรกายอวบอ้วน ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน สายที่ ๒ แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย ที่นิยมเรียกว่า แบบ “เชียงแสนสิงห์สอง” มีลักษณะที่สำคัญคือ ประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระพักตร์รูปไข่ พระวรกายเพรียวบาง พระ อังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก หน้าตักกว้าง พระขนงโก่ง พระโอษฐ์ยิ้ม ริมฝีพระโอษฐ์เป็นคลื่นเหมือนสมัยสุโขทัย พระรัศมีเป็นเปลว ขมวดพระเกศาเล็ก สังฆาฏิเป็นแผ่นเล็กยาวลงมาจรดพระนาภี
จากการศึกษาพระพุทธรูปสมัยล้านนา แสดงให้เห็นว่า วิวัฒนาการของพระพุทธรูปทั้ง ๒ สายนั้น เกิดขึ้นและมีการสร้างอย่าง ต่อเนื่องไปจนสิ้นอาณาจักรล้านนา โดยสายแรกเกิดขึ้นในระยะแรกของล้านนาตั้งแต่ต้น พุทธศตวรรษที่ ๑๙ และได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ และช่วงต้น พุทธศตวรรษที่ ๒๑ ในกลุ่มที่มีจารึกที่ฐาน พระพุทธรูป
สายที่ ๒ นั้น เกิดขึ้นหลังจากล้านนาได้รับอิทธิพลสุโขทัยในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ และนิยมสร้างอย่างมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ โดยส่วนหนึ่งได้มีวิวัฒนาการไปเป็นรูปแบบเฉพาะของตัวเองอย่างมาก
นอกเหนือจากวิวัฒนาการของ ๒ สาย ดังกล่าว ยังมีอิทธิพลของศิลปะแบบอู่ทองปรากฏในล้านนาในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ด้วย ได้แก่ กลุ่มพระพุทธรูปแข้งคม มีต้นแบบคือ พระเจ้าแข้งคม ที่วัดศรีเกิด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพระเจ้าติโลกราช (กษัตริย์ล้านนา พ.ศ. ๑๙๘๕ - ๒๐๓๑) โปรดให้หล่อขึ้น
แบบอู่ทอง (พุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๙)
แบบอู่ทองเป็นชื่อเรียกศิลปะที่เกิดขึ้น ในบริเวณภาคกลางของประเทศไทยแถบ เมืองลพบุรีและสุพรรณบุรีในช่วงก่อนการ ก่อตั้งกรุงศรีอยุธยา ที่เรียกว่า “อู่ทอง” นั้น เพราะเข้าใจว่า เป็นเมืองของพระเจ้าอู่ทอง ก่อนที่จะทรงย้ายราชธานีมาสร้างเมืองใหม่ที่กรุงศรีอยุธยา แต่จากหลักฐานทางโบราณคดี ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า เมืองอู่ทองเป็นเมืองสมัยทวารวดีที่ร้างไปแล้วตั้งแต่ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยาประมาณ ๓๐๐ ปี อย่างไรก็ตาม ได้พบ หลักฐานทางศิลปกรรมบริเวณภาคกลางของประเทศไทยระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๙ ที่มีอิทธิพลของศิลปะทวารวดีและศิลปะขอมปะปนอยู่ นักวิชาการจึงอนุโลมเรียกศิลปะนี้ว่า “แบบอู่ทอง” โดยเป็นที่เข้าใจกันทั่วไป แล้วว่า หมายถึงศิลปะในภาคกลางที่เกิดขึ้น ก่อนสมัยอยุธยา
พระพุทธรูปแบบอู่ทองแบ่งเป็น ๓ รุ่น คือ อู่ทองรุ่นแรก มีอิทธิพลของศิลปะทวารวดี และขอมปะปนกัน ได้แก่ กลุ่มพระพุทธรูปที่มี พระพักตร์เป็นแบบพื้นเมืองคือ พระพักตร์ สี่เหลี่ยม ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นตุ่มเล็กๆ ชายสังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ปลายตัดตรง อู่ทองรุ่นที่ ๒ แสดงอิทธิพลของศิลปะขอมชัดเจนที่สุด ลักษณะที่สำคัญได้แก่ พระพักตร์สี่เหลี่ยม สีพระพักตร์ถมึงทึง ขมวด พระเกศาเล็ก มีไรพระศก (แนวที่ปรากฏอยู่ระหว่างพระนลาฏและขมวดพระเกศา) พระรัศมีเป็นเปลว ชายสังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ปลาย ตัดตรง นิยมทำพระพุทธรูปที่มีพระชงฆ์เป็นสันที่เรียกว่า “พระแข้งคม” ประทับนั่งเหนือฐานที่เว้าเป็นร่อง อู่ทองรุ่นที่ ๓ มีอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย ลักษณะโดยรวมคล้ายกับรุ่นที่ ๒ คือ มีไรพระศก พระชงฆ์เป็นสัน ประทับนั่งเหนือฐานที่เว้าเป็นร่อง แต่มีลักษณะที่แตกต่าง คือ พระพักตร์รูปไข่ อันเป็นอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย และพระรัศมีเป็นเปลวสูงอย่างมาก
สมัยอยุธยา (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔)
พระพุทธรูปในสมัยอยุธยาตอนต้นเป็นศิลปะที่สืบต่อจากพระพุทธรูปแบบอู่ทองทั้งรุ่นแรก และรุ่นที่ ๒ ส่วนที่ศิลปะอยุธยาได้เพิ่มเข้ามาคือ การสร้างรูปเล่าเรื่องประดับ ส่วนฐานพระพุทธรูป เช่น ตอนมารผจญ หรือ ประดับด้วยพระสาวก ครั้นถึงสมัยอยุธยาตอนกลางได้มีพระพุทธรูปแบบใหม่เกิดขึ้นในศิลปะอยุธยา คือพระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย ได้แก่ การสร้างพระพุทธรูปที่มีเครื่องทรง เช่น มงกุฎ กรองศอ สังวาล ทับทรวง ทองพระกร ในระยะนี้ยังมีเครื่องทรงไม่มาก จึงเรียกว่า ทรงเครื่องน้อย ต่อมาในสมัย อยุธยาตอนปลายมีเครื่องทรงอย่างมาก จึง เรียกว่า ทรงเครื่องใหญ่ พร้อมๆกับรูปแบบใหม่ก็ได้เกิดปางขึ้นใหม่ คือ การแสดงปางประทานอภัย โดยยกทั้ง ๒ พระหัตถ์ระดับพระอุระ เรียกว่า ปางห้ามสมุทร ตัวอย่างพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ที่ถือกันว่างดงามมาก ได้แก่ พระประธานในพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คติในการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่นี้ได้ให้อิทธิพลต่อศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้วย
สมัยรัตนโกสินทร์ (พุทธศตวรรษ ที่ ๒๔ - ปัจจุบัน)
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (โดยเฉพาะในรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒) มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่ไม่มากนัก เพราะถือเป็น สมัยแห่งการสร้างบ้านแปงเมือง มีการสร้างพระราชวังและวัดวาอาราม ส่วนพระพุทธรูป นั้น โปรดเกล้าฯ ให้ไปชะลอมาจากราชธานีเก่า โดยเฉพาะจากกรุงสุโขทัย และพระราชทานไปตามวัดต่างๆ พระพุทธรูปที่มีการสร้างขึ้น ใหม่ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ลักษณะที่สำคัญซึ่งสืบทอดมาจากพระพุทธรูป สมัยอยุธยาคือ พระพักตร์สี่เหลี่ยมเคร่งขรึม ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว สังฆาฏิ เป็นแผ่นใหญ่ ตัวอย่างเช่น พระประธาน ในพระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ราชวรมหาวิหาร
ในรัชกาลที่ ๓ ได้มีพระพุทธรูปแบบใหม่เกิดขึ้น พระพุทธรูปดังกล่าวมีลักษณะ พระพักตร์คล้ายกับหุ่นละคร รวมทั้งพระราชนิยมในการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ พระพุทธรูปที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ประดิษฐานภายในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในรัชกาลที่ ๔ นิยมสร้างพระพุทธรูปให้เหมือนจริงมากขึ้น โดยพระพุทธรูปไม่มีพระเกตุมาลา และการครองจีวรมีริ้วแบบสมจริง แต่ในรัชกาลที่ ๕ ได้ย้อนกลับไปสร้างพระพุทธรูปแบบมีพระเกตุมาลาตามเดิม จนเข้าสู่ สมัยแห่งงานศิลปกรรมร่วมสมัย จึงได้นำรูป แบบพระพุทธรูปที่เคยมีมาก่อน มาสร้างใหม่ หรือปรับเปลี่ยนบางอย่างที่เป็นความนิยมสมัยใหม่เพิ่มเข้าไป รูปแบบที่มีการนำกลับมาสร้างเป็นอย่างมาก ได้แก่ พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย เช่น พระพุทธรูปลีลา ซึ่งเป็นพระประธานที่พุทธมณฑล มีชื่อว่า พระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ ซึ่ง ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี นาม เดิมคือ คอราโด เฟโรจี (Corado Feroci)
Asd
วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554
พระพุทธรูปในศิลปะไทย
ป้ายกำกับ:
คุปตะ,
ปางมารวิชัย,
พระพักตร์รูปไข่,
พุทธศิลป,
ศิลป พีระศรี,
อมราวดี
วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ศิลปกรรมเขมร
ศิลปกรรมเขมร
สถาปัตยกรรมเรียกว่า “ปราสาท” (Sanctuary) ปราสาทไม่ใช่ที่อยู่ของกษัตริย์ แต่เป็นศาสนสถาน หากเป็นศาสนสถานของศาสนาฮินดู จะเรียกว่า เทวาลัย หากเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธ คือ วัด
ประกอบด้วย ฐาน ค่อนข้างเตี้ย, เรือนธาตุ และเครื่องบน (หลังคา)
วัสดุในการก่อสร้าง ในระยะแรกคืออิฐ ต่อมาคือหินทราย และศิลาแลงตามลำดับ
ทับหลัง ศิลาสลักแท่งสี่เหลี่ยม วางเหนือกรอบประตู (Lintal)
ทับหลังที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในเมืองไทย มีอายุกลางพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นรูปตัว มกร พบที่วัดทองทั่ว จ.จันทบุรี
ศิลปะเขมรสามารถแบ่งออกเป็น 2 ยุคใหญ่ คือ
สมัยก่อนเมืองพระนคร ประกอบด้วย
ศิลปะแบบพนมดา (พ.ศ.1080 – 1140) ตรงกับปลายสมัยฟูนัน
ศิลปะแบบถาลาบริวัต (พ.ศ.1150)
ศิลปะแบบสมโบรไพรกุก (หลัง พ.ศ.1140 – 1190)
ศิลปะแบบไพรกเมง (พ.ศ. 1175 – 1240)
ศิลปะแบบกำพงพระ (พ.ศ.1246 – 1340)
ศิลปะแบบกุเลน (พ.ศ.1365 – 1415) ยุคนี้ถือเป็นยุคหัวเลี้ยวหัวต่อ
สมัยเมืองพระนคร ประกอบด้วย
ศิลปะแบบพระโค (พ.ศ.1415 – 1433)
ศิลปะแบบบาแค็ง (พ.ศ.1433 – 1465) ตรงกับสมัยพระเจ้ายโศวรมันผู้สร้างเมืองพระนคร
(Angkor) และมีปราสาทพนมบาแค็งเป็นศูนย์กลาง
ศิลปะแบบเกาะแกร์ (พ.ศ.1464 – 1485) ตรงกับสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 4
ศิลปะแบบแปรรูป (พ.ศ.1490 – 1505)
ศิลปะแบบบันทายสรี (พ.ศ.1510 – 1540)
ศิลปะแบบคลัง (พ.ศ.1505 – 1550)
ศิลปะแบบบาปวน (พ.ศ.1550 – 1620) ตรงกับสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1
ศิลปะแบบนครวัด (พ.ศ.1640 – 1715) ตรงกับสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างปราสาทนครวัด
ศิลปะแบบบายน (พ.ศ.1720 – 1770) ตรงกับรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ผู้สร้างเมืองพระนครหลวง
(Angkor Thom) โดยมีปราสาทบายนเป็นศูนย์กลาง
ศิลปะแบบสมโบรไพรกุก ที่พบเป็นทับหลังรูปตัวมกร หันหน้าเข้าหากัน ประติมากรรมรูปพระอุมาพบที่ จ.สระแก้ว
ศิลปะแบบไพรกเมง ทับหลังที่พบมักเป็นลายพันธุ์พฤกษา สำหรับสถาปัตยกรรมที่พบเก่าแก่ที่สุดคือปราสาทพุมโทน จ.สุรินทร์ ก่อด้วยอิฐ
ศิลปะแบบกำพงพระ สมัยนี้อาณาจักรเขมรเกิดการจราจล ทำให้ศิลปะเสื่อม จึงพบน้อย ทับหลังที่พบเป็นลวดลายท่อนพวงมาลัย ใบไม้
ศิลปะแบบเกาะแกร์ ทับหลังยุคนี้มีวิวัฒนาการ คือมีท่าท่อนพวงมาลัย ออกจากกึ่งกลางทับหลัง ตรงกลางเป็นรูปรามาวตาร สมัยนี้นิยมภาพเล่าเรื่อง
ศิลปะแบบคลัง ทับหลังมีรูปตัวหน้ากาล (เป็นสัตว์ที่มีแต่ศรีษะ มีริมฝีปากบนไม่มีริมฝีปากล่าง) คลายท่อนพวงมาลัยออกจากปากเบื้องล่างทับหลังแล้ววกขึ้นบน มีพวงอุบะแบ่งที่เสี้ยว พบที่ปราสาทเมืองต่ำที่เดียว
ศิลปะแบบบาปวน ศิลปะแบบบาปวนมี 3 แบบ
1. แบบบาปวนแท้ แต่นำพวงอุบะออก
2. ท่อนพวงมาลัยยังคงมีอยู่ตรงกลางให้เป็นภาพเล่าเรื่อง
3. ท่อนพวงมาลัยหายไป เป็นภาพเล่าเรื่องทั้งแผ่น
ปราสาทที่สำคัญของยุคนี้คือปราสาทเมืองต่ำ มีสระน้ำทั้ง 4 มุมของปราสาทโดยนำหนิมาสลักเป็นนาคเลื้อยรอบขอบสระนาคบาปวนเป็นนาคหัวโล้น ไม่มีรัศมี
ศิลปะแบบนครวัด เป็นสมัยที่ศิลปะเขมรเจริญถึงขีดสุด มีความสวยงามที่สุด ทับหลังเป็นภาพเล่าเรื่อง นาคมีรัศมี ตัวอย่างปราสาทขอมแบบนครวัดในเมืองไทยคือปราสาทหินพิมาย ก่อด้วยหินทราย ปราสาทเขาพนมรุ้ง สร้างเพื่อถวายพระศิวะ ในความหมายของเขาไกรลาศ ที่ประทับของพระองค์
สำหรับพุทธปฎิมากรรมเขมรมักนิยมสร้างพระปางนาคปรก แต่ในยุคนครวัดจะเป็นพระนาคปรกทรงเครื่อง คือสวมมงกุฎ สวมต่างหู และหน้าบึ้ง
ศิลปะแบบบายน สมัยนี้นับถือพุทธศาสนานิกายมหายาน ประติมากรรมยังคงนิยมสร้างพระปาง นาคปรกอยู่ นอกจานี้ยังมีการสร้างพระรวมกลุ่ม 3 องค์เรียกว่าพระรัตนไตรมหายานประกอบด้วย
1. พระพุทธเจ้า 2. พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 3. พระนางปัญญาปารมิตา
สำหรับทับหลัง เป็นรูปหน้ากาล เหนืออหน้ากาลทำเป็นรูปพระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์อวโลกิเต
ศวร ตัวหน้ากาลคลายลายในไม้ม้วน
สำหรับปราสาทจัดว่าเป็นยุคเสื่อม เพราะ 1. รูปแบบที่เทอะทะ 2. วัสดุมักใช้ศิลาแลงที่มีคุณภาพสู้หินทราบไม่ได้ 3. เทคนิคการก่อสร้างที่วางศิลาแลงในแนวเดียวกันทำให้การยึดติดไม่ดี
สถาปัตยกรรมเรียกว่า “ปราสาท” (Sanctuary) ปราสาทไม่ใช่ที่อยู่ของกษัตริย์ แต่เป็นศาสนสถาน หากเป็นศาสนสถานของศาสนาฮินดู จะเรียกว่า เทวาลัย หากเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธ คือ วัด
ประกอบด้วย ฐาน ค่อนข้างเตี้ย, เรือนธาตุ และเครื่องบน (หลังคา)
วัสดุในการก่อสร้าง ในระยะแรกคืออิฐ ต่อมาคือหินทราย และศิลาแลงตามลำดับ
ทับหลัง ศิลาสลักแท่งสี่เหลี่ยม วางเหนือกรอบประตู (Lintal)
ทับหลังที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในเมืองไทย มีอายุกลางพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นรูปตัว มกร พบที่วัดทองทั่ว จ.จันทบุรี
ศิลปะเขมรสามารถแบ่งออกเป็น 2 ยุคใหญ่ คือ
สมัยก่อนเมืองพระนคร ประกอบด้วย
ศิลปะแบบพนมดา (พ.ศ.1080 – 1140) ตรงกับปลายสมัยฟูนัน
ศิลปะแบบถาลาบริวัต (พ.ศ.1150)
ศิลปะแบบสมโบรไพรกุก (หลัง พ.ศ.1140 – 1190)
ศิลปะแบบไพรกเมง (พ.ศ. 1175 – 1240)
ศิลปะแบบกำพงพระ (พ.ศ.1246 – 1340)
ศิลปะแบบกุเลน (พ.ศ.1365 – 1415) ยุคนี้ถือเป็นยุคหัวเลี้ยวหัวต่อ
สมัยเมืองพระนคร ประกอบด้วย
ศิลปะแบบพระโค (พ.ศ.1415 – 1433)
ศิลปะแบบบาแค็ง (พ.ศ.1433 – 1465) ตรงกับสมัยพระเจ้ายโศวรมันผู้สร้างเมืองพระนคร
(Angkor) และมีปราสาทพนมบาแค็งเป็นศูนย์กลาง
ศิลปะแบบเกาะแกร์ (พ.ศ.1464 – 1485) ตรงกับสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 4
ศิลปะแบบแปรรูป (พ.ศ.1490 – 1505)
ศิลปะแบบบันทายสรี (พ.ศ.1510 – 1540)
ศิลปะแบบคลัง (พ.ศ.1505 – 1550)
ศิลปะแบบบาปวน (พ.ศ.1550 – 1620) ตรงกับสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1
ศิลปะแบบนครวัด (พ.ศ.1640 – 1715) ตรงกับสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างปราสาทนครวัด
ศิลปะแบบบายน (พ.ศ.1720 – 1770) ตรงกับรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ผู้สร้างเมืองพระนครหลวง
(Angkor Thom) โดยมีปราสาทบายนเป็นศูนย์กลาง
ศิลปะแบบสมโบรไพรกุก ที่พบเป็นทับหลังรูปตัวมกร หันหน้าเข้าหากัน ประติมากรรมรูปพระอุมาพบที่ จ.สระแก้ว
ศิลปะแบบไพรกเมง ทับหลังที่พบมักเป็นลายพันธุ์พฤกษา สำหรับสถาปัตยกรรมที่พบเก่าแก่ที่สุดคือปราสาทพุมโทน จ.สุรินทร์ ก่อด้วยอิฐ
ศิลปะแบบกำพงพระ สมัยนี้อาณาจักรเขมรเกิดการจราจล ทำให้ศิลปะเสื่อม จึงพบน้อย ทับหลังที่พบเป็นลวดลายท่อนพวงมาลัย ใบไม้
ศิลปะแบบเกาะแกร์ ทับหลังยุคนี้มีวิวัฒนาการ คือมีท่าท่อนพวงมาลัย ออกจากกึ่งกลางทับหลัง ตรงกลางเป็นรูปรามาวตาร สมัยนี้นิยมภาพเล่าเรื่อง
ศิลปะแบบคลัง ทับหลังมีรูปตัวหน้ากาล (เป็นสัตว์ที่มีแต่ศรีษะ มีริมฝีปากบนไม่มีริมฝีปากล่าง) คลายท่อนพวงมาลัยออกจากปากเบื้องล่างทับหลังแล้ววกขึ้นบน มีพวงอุบะแบ่งที่เสี้ยว พบที่ปราสาทเมืองต่ำที่เดียว
ศิลปะแบบบาปวน ศิลปะแบบบาปวนมี 3 แบบ
1. แบบบาปวนแท้ แต่นำพวงอุบะออก
2. ท่อนพวงมาลัยยังคงมีอยู่ตรงกลางให้เป็นภาพเล่าเรื่อง
3. ท่อนพวงมาลัยหายไป เป็นภาพเล่าเรื่องทั้งแผ่น
ปราสาทที่สำคัญของยุคนี้คือปราสาทเมืองต่ำ มีสระน้ำทั้ง 4 มุมของปราสาทโดยนำหนิมาสลักเป็นนาคเลื้อยรอบขอบสระนาคบาปวนเป็นนาคหัวโล้น ไม่มีรัศมี
ศิลปะแบบนครวัด เป็นสมัยที่ศิลปะเขมรเจริญถึงขีดสุด มีความสวยงามที่สุด ทับหลังเป็นภาพเล่าเรื่อง นาคมีรัศมี ตัวอย่างปราสาทขอมแบบนครวัดในเมืองไทยคือปราสาทหินพิมาย ก่อด้วยหินทราย ปราสาทเขาพนมรุ้ง สร้างเพื่อถวายพระศิวะ ในความหมายของเขาไกรลาศ ที่ประทับของพระองค์
สำหรับพุทธปฎิมากรรมเขมรมักนิยมสร้างพระปางนาคปรก แต่ในยุคนครวัดจะเป็นพระนาคปรกทรงเครื่อง คือสวมมงกุฎ สวมต่างหู และหน้าบึ้ง
ศิลปะแบบบายน สมัยนี้นับถือพุทธศาสนานิกายมหายาน ประติมากรรมยังคงนิยมสร้างพระปาง นาคปรกอยู่ นอกจานี้ยังมีการสร้างพระรวมกลุ่ม 3 องค์เรียกว่าพระรัตนไตรมหายานประกอบด้วย
1. พระพุทธเจ้า 2. พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 3. พระนางปัญญาปารมิตา
สำหรับทับหลัง เป็นรูปหน้ากาล เหนืออหน้ากาลทำเป็นรูปพระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์อวโลกิเต
ศวร ตัวหน้ากาลคลายลายในไม้ม้วน
สำหรับปราสาทจัดว่าเป็นยุคเสื่อม เพราะ 1. รูปแบบที่เทอะทะ 2. วัสดุมักใช้ศิลาแลงที่มีคุณภาพสู้หินทราบไม่ได้ 3. เทคนิคการก่อสร้างที่วางศิลาแลงในแนวเดียวกันทำให้การยึดติดไม่ดี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)