ที่ตั้งและลักษณะภูมิประเทศ
สังกัสสะนคร เรียกตามสำเนียงสันสฤตว่า สังกัศยะ (Sankasya) หรือในปัจจุบันเรียกว่า สังกิสสะ (Sankissa) เป็นนครอยู่ในแคว้นปัญจาบ(ปัญจาละ) ปัจจุบันอยู่ไกลจาก สาวัตถีไปประมาณ ๙๐ ไมล์ โดยตั้งอยู่ระหว่างลักเนาว์กับอัคร่า ห่างจาก เมืองกานบุรี (กานปุร์ ไป ๘๗ ไมล์ เป็นหมู่บ้านสังกิสะ ใกล้แม่น้ำกาลี ในเขตของอำเภอ ฟาร์รุกฮะบาด (FARRUK - HABAD) ในรัฐอุตตรประเทศ
ตามประวัติศาสตร์ของอินเดียบันทึกไว้ว่า สังกัสสะเป็นเมืองใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา อีกแห่งหนึ่งที่มั่นคง เมื่อถึงกาลอวสานสภาพเมืองกลับกลายเป็นป่าในที่สุด ยิ่งเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๗๖๒ บรรดาพราหมณ์พากันยุยงราชาไชยจันทร์แห่งเมืองกาเนาซ์ (หรือกาโนชน์) ว่า พระพุทธศาสนาเป็นภัยอันตรายร้ายแรงต่อฮินดู หากขืนปล่อยไว้บ้านเมือง จะล่มสลาย ราชาไชยจันทร์จึงกรีฑาทัพมาทำลายเสียราบคาบ สังกัสสะ จึงกลายเป็นเศษกองอิฐและเสื่อมสลายกลายเป็นแผ่นดินท้องทุ่งโล่งในที่สุด
ดร.รามรุท สิงห์ นักประวัติศาสตร์ทางพระพุทธศาสนาแห่ง มหาวิทยาลัยมคธ รัฐพิหาร กล่าวว่าความจริงพราหณ์เองก็ถือว่าสังกัสสปะ เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของเขาเหมือนกัน ในคัมภีร์รามายณะเรียกสังกัสสะว่า “สังคัสสะ” การที่พวกพราหมณ์ต้องทำลายสังกัสสะเสียนั้น คงเนื่อง มาจากศาสนาพุทธรุ่งเรืองมาก ไม่กระนั้นพวกพราหมณ์คงจะหมดอาชีพไป
ความเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ
เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ แล้วเสด็จขึ้นไปจำพรรษา ณ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงแสดงพระธรรม เทศนาอภิธรรม ๗ คัมภีร์โปรดพุทธมารดาตลอด ๓ เดือน จนกระทั่งเมื่อถึงวันมหาปวารณาได้เสด็จมาสู่มนุษยโลก พระมหาโมคคัลลานะ แสดงปาฏิหาริย์เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ณ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ทูลถามว่าพระองค์เสด็จมาสู่โลก มนุษย์ ณ ที่ใดพระพุทธองค์ทรงตรัสถามว่า พระสารีบุตร และเธอจำพรรษาที่ใด เมื่อทราบคำ กราบทูลว่าท่านทั้งสองจำพรรษาอยู่ที่นครสังกัสสะ พระพุทธองค์จึงทรงตกลงพระทัยเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ที่ใกล้ประตูเมืองสังกัสสะนคร ท่ามกลางเทพพรหม ซึ่ง แวดล้อมเป็นบริวาร วันนั้นพระทรงโปรดให้โลกทั้ง ๓ (สวรรค์ มนุษย์ นรก) ให้สามารถมองเห็นกันได้ทั้งหมด คือญาติที่เสียชีวิตถ้าอยู่บนสวรรค์ ก็สามารถเห็นญาติในเมืองมนุษย์ ญาติที่ตกนรกอยู่ก็สามารถเห็นญาติในเมืองมนุษย์ได้ ส่วนมนุษย์ก็สามารถเห็นญาติของตนทั้งในนรกและบนสวรรค์เช่นกัน หรือที่เรียกว่า วันพระเจ้าเปิดโลก ทำให้ผู้ที่ไม่เลื่อมใสได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ผู้ที่เลื่อมใสอยู่แล้วยิ่งเลื่อมใสยิ่งขึ้น
นครสังกัสสะนครหลังพุทธกาล
ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชกล่าวกันว่า คราวเมื่อพระบรมศาสดา เสด็จลงจากดาวดึงส์ สวรรค์ นภากาศปรากฏบันไดทอง บันไดแก้วมณี และบันไดเงิน ขึ้นทางขวาเป็นที่ลงของพระพรหมทางซ้ายเป็นที่ลงของเทพยดา เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จถึงพื้นดินบันไดทั้งสามก็อันตรธานไปเหลือให้เห็น เพียงเจ็ดขั้น พระเจ้าอโศกมหาราชทรงขุดดูลึกลงไปก็ยังไม่สิ้นสุด พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธายิ่ง จึงได้สร้างอุโบสถคลุมบันไดไว้ พร้อมกับโปรดให้สร้างพระพุทธรูปสูง ๑๖ ฟุต ปักเสาศิลาจารึกและประดิษฐานสิงโตไว้บนยอดเสา
พ.ศ. ๙๔๓ ท่านหลวงจีนฟาเหียน เรียกนครสังกัสสะว่าสังเกียส ประวัติศาสตร์ในยุคหลังปรินิพพานไม่ชัดเจนนักทราบเพียงบางส่วนที่กล่าวไว้ในสังคีติ คือ เมื่อการทำสังคายนาครั้งที่ ๒ ที่พระเรวตะมาพักที่นครสังกัสสะ แล้วค่อยเดินทางไปร่วมประชุมที่วาลิการาม นครเวสาลี ตามบันทึกยังกล่าวอีกว่า บริเวณนครสังกัสสะมีอาณาเขตถึง ๒,๐๐๐ ลี้ มีวัดทางพระพุทธศาสนาถึง ๔ วัด พระสงฆ์อีก ๑,๐๐๐ รูป ทั้งหมดเป็นพระทางฝ่ายเถรวาทหรือสถวีระ นิกายมิติวาทซึ่งแยกมาจาก นิกายวัชชีปุตตกวาท มีเทวาลัยอยู่ ๑๐ แห่ง และในเมืองนี้ยังมีนักบวชนอกพระพุทธศาสนาอยู่เป็นจำนวนมาก
พระถังซำจั๋ง ได้บันทึกนครสังกัสสะว่า พลเมืองที่อยู่อาศัยที่ สังกัสสะ มีกิริยานุ่มนวล พวกผู้ชายตั้งหน้าตั้งตาเล่าเรียน มีสังฆารามใหญ่ ประดิษฐานพระพุทธรูปงามวิจิตร ในบริเวณ สังฆารามมีบันได ๓ ขั้น ตั้ง เรียงกันเป็นที่หมายว่าพระบรมศาสดาเสด็จลงจากดาวดึงส์สวรรค์สู่โลกมนุษย์ที่แห่งนั้น ซึ่งปัจจุบันนี้มีแต่เพียงซากอุโบสถเป็นเพียงกองดินเป็นเนินสูง ขึ้นไป เบื้องล่างใกล้เคียงกันมีเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช ส่วนบนเป็น รูปช้าง แต่ก็ถูกทำลายลงเหลือแต่เพียงตอ เท่านั้น
พระถังซำจั๋ง กล่าวถึงหลักศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกว่า ขณะที่ ท่านพบ สูงประมาณ ๗๐ ฟุต ตั้งอยู่ข้างวิหาร ยามเมื่อต้องแสงพระอาทิตย์ หลังนี้จะสะท้อนเป็นสีชมพูส่องแสงแวววับ ด้วยว่าสร้างจากหินอย่างดี บดละเอียดมีสิงโตหมอบตั้งอยู่บนยอดเสา หันหน้าไปทางบันไดทั้งสามนั้น ข้างเสาหินได้เห็นสถูปและวิหารที่พระพุทธองค์เสด็จเข้าสมาธิ ข้างวิหาร มีกำแพงยาว ๕ ก้าว สูง ๒ ฟุต เป็นที่พระบรมศาสดาเดินจงกรมมีรูปดอกบัว เป็นเครื่องหมายอยู่บนกำแพง อย่างเดียวกับที่พุทธคยา
ท่าน เซอร์ คันนิ่งแฮม ได้เดินทางมาสำรวจโบราณสถานที่สังกัสสะ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๕ ได้พบซากวิหารกำแพงและพระพุทธปฏิมากรบางส่วน เท่านั้น
สถานที่น่าสนใจ
๑. เนินสถูป
เป็นดินขนาดใหญ่ ความสูงประมาณ ๑๒ เมตร มีซากอิฐเรียงรายขนาดใหญ่เหมือนป้อมต่อมาป้อมได้พังลงตามกาลเวลา ซึ่งเป็นสถูปที่พระเจ้าอโศกสร้างถวาย ซึ่งได้ปักเสาหินรูปช้างไว้ข้างสถูปด้วย เมื่อสถูปได้ผุพังตามกาลเวลาไม่มีใครดูแลได้มีชาวฮินดูน้ำรูปพระศิวะ และพระนางปารวตีไปตั้งไว้ จึงเป็นที่บูชาของชาวฮินดู แล้วสร้างวัดฮินดูครอบไว้นามว่า วิสาลีเทวีมันตีร นอก จากนั้นภายในเนินสถูปพบพระพุทธรูปเก่าเป็นจำนวนมาก แต่ได้สูญหายไปหมด เมื่อเจ้าหน้าที่มาสำรวจึงเหลือเพียงบางองค์ที่แตกหักเท่านั้น
๒. เสาอโศก
คงเหลือไว้แค่ยอดเสาแกะสลักเป็นรูปช้างตัวเดียว งวงหักไป ทำจากหินทรายแดงขัดมัน สูงราว ๒ เมตร ไม่มีข้อความจารึกเขียนไว้
๓. ภาพพระพุทธเจ้า
ห่าง จากเสาอโศกเล็กน้อยมีอาคารขนาดเล็กตั้งอยู่ ด้านในมีภาพแกะสลักสีดำ ซึ่งพบโดยดร.พระวิชัยโสมรัตนะเถระ ชาวศรีลังกา ตั้งอยู่ใกล้สระน้ำของหมู่บ้าน เป็นภาพพระพุทธเจ้ากำลังเสด็จลงมาจากสวรรค์ โดยมีท้าวมหาพรหมถือฉัตรให้พระพุทธองค์ยืนอยู่เบื้องซ้าย ท้าวสักกะถือบาตร ท้าวสุยามะถือแส้จามร ถวายงานพัดพระศาสนา ปัญจสิขเทพบุตรบรรเลงพิณ มาตุลีเทพบุตรถือของหอมบูชา มีบันได ๓ อย่าง คือบันไดทอง บันไดแก้ว บันไดเงิน
๔. วัดศรีลังกา
วัดเทโวอาโรหณะ ไมตรียะ พุทธวิหาร สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งมีพระวิชัย โสมะ มีพระจำพรรษา ๒ รูป คือ ดร.พระปัญญาสาระเถระ เป็นเจ้าอาวาส มีโรงเรียนระดับมัธยมภายในวัดด้วย เพื่อสอนเด็กยากไร้ทั่วไป สามารถเป็นที่พักได้
๕. วัดอินเดีย
วัด ศากยมุนี พุทธวิหาร อยู่ห่างจากสถูปประมาณ ๑ กิโลเมตร ในเขตอำเภอเมนบุรี สร้างโดยพระธัมมปาละ พระชาวอินเดียที่จบจากมหาวิทยาลัยสัมปูรณานันทสันสฤต พาราณสี เป็นศิษย์วัดพระยายัง กรุงเทพฯ มีเนื้อที่ประมาณ ๑ ไร่
๖. วัดที่กำลังก่อสร้างคือ วัดพม่า วัดเกาหลี และวัดธิเบต
Asd
วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)