Asd
วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2552
อาณาจักรศรีวิชัย
(พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘)
เมื่ออาณาจักรฟูนันล่มสลายลงในพุทธศตวรรษที่ ๑๑ นั้น ดินแดนทางแหลมทองได้เกิดการตั้งอาณาจักรศรีวิชัย (จีนเรียก ชิลิโฟชิ หรือ คันโทลี หรือโคยิง) ขึ้นภายใต้การนำของราชวงศ์ ไศเลนทร์ มีอาณาเขตครอบคลุมแหลมมลายู เกาะชวา เกาะสุมาตรา ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย ทำให้อาณาจักรศรีวิชัยสามารถควบคุมเส้นทางค้าขายระหว่างจีนกับอินเดียรวมทั้งอาหรับ เปอร์เซีย และยุโรปได้
อาณาจักรศรีวิชัยนี้มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองปาเล็มบังในเกาะสุมาตราของ อินโดนีเซียขึ้นมาถึงบริเวณแหลมโพธิ์ ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเมืองท่า(ตามพรลิงค์หรือตำพะลิงค์)ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการพบศิลาจารึกภาษามาเลย์เกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัยนี้ที่วัดเสมาเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วน เมืองครหิ ในสมัยศรีวิชัยนั้นเป็นเมืองท่าค้าพริก ดีปลีและพริกไทยเม็ด โดยมีต้นหมากต้นมะพร้าวอยู่มาก แต่ก็ยังมีความเชื่ออยู่ว่าเมืองครหินั้นไม่น่าจะใช่เมืองไชยา กล่าวคือ ในหนังสือจู ฝาน จีน ของจีนเจา จู เกวาะ ได้ระบุชื่อเมืองต่างๆที่ขึ้นแก่อาณาจักรซัมฮุดซี หรือชาวกะ มีชื่อเมืองเกียโลหิ ซึ่งยุติชื่อว่าเป็นเมืองครหิ ตรงกับคำที่จารึก(ภาษาเขมร)ครหิ ที่อยู่บนฐานพระพุทธรูปนาคปรกสำริดองค์ใหญ่ ซึ่งพบอยู่ใกล้วัดเวียง เมืองไชยา ซึ่งเป็นสถานที่แห่งเดียวที่สุมาตราที่สั่งขึ้นมาให้อำมาตย์คลาไน ผู้ครองเมืองครหิจัดการหล่อขึ้นเมื่อพ.ศ.๑๗๒๖ ตรงกับมหาศักราช ๑๑๐๕ จึงมีข้อถกเถียงถึงว่า ครหิ นั้นเป็นการแสดงอำนาจทางเขมรหรือเกาะสุมาตรา ซึ่งน่าจะเป็น ครหิ ที่เกิดขึ้นหลังจาก อาณาจักรศรีวิชัยล่มสลายลงแล้วหรือไปขึ้นอยู่กับเมืองตามพรลิงค์ในพ.ศ.๑๗๐๐ ดังนั้นเมืองไชยานั้นคงจะไม่ใช่เมืองครหิและน่าจะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยเสียมากกว่าเมืองปาเล็มบัง
เมืองไชยานั้น ได้มีการสร้างเจดีย์แบบมหายาน ให้องค์เจดีย์เป็นรูปสีขระ แปลว่า แบบภูเขา คือเจดีย์ที่มียอดจำนวนมาก ตามคติให้มีพระพุทธเจ้าหลายพระองค์ เช่น พระพุทธเจ้าพุทธะ พระมัญชุศรี พุทธะ พระญาณิพุทธะ เป็นต้น ซึ่งตรงกับเรื่องราวที่ว่า พระเจ้ากรุงศรีวิชัยให้สร้างไอษฎิเคหะ คือ เรือนอิฐหรือปราสาทอิฐขึ้น ๓ หลัง สำหรับประดิษฐานพระปฏิมาของ ปัทมปาณี วัชรปาณี และมารวิชัย ในพื้นที่เมืองไชยาแห่งนี้ พบว่านอกจากจะสร้างเจดีย์ที่พระบรมธาตุแห่งนี้แล้วยังมี เจดีย์ที่วัดแก้ว ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าแต่ชำรุด และเจดีย์ที่วัดหลง เดิมนั้นเหลือแต่ฐานที่อิฐที่มีลักษณะเดียวกัน พระบรมธาตุไชยาองค์ปัจจุบันนี้ได้รับการบูรณะใหม่ เดิมนั้นเป็นเจดีย์ตั้งอยู่บนอุโมงค์ที่บรรจุหีบศิลาใบใหญ่ใส่พระบรมธาตุและ สิ่งของต่างๆ เดิมที่พื้นมีรูระบายอากาศขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ ซม ๒ แห่งต่อมาได้อุดเสีย ต่อมาแม่น้ำพาเอาดินมาถมบริเวณหมู่บ้านเวียงสูงประมาณ ๓ เมตรหรือ ๖ ศอก ส่วนพระเจดีย์นี้จมลงไปในดินประมาณเมตรครึ่ง ต้องขุดแต่งกัน เมืองครหิแห่งนี้หลังจากอาณาจักรศรีวิชัยหมดอำนาจลงก็ถูกทิ้งร้างมาจนถึงสมัยอยุธยา พุทธศาสนาจึงได้ฟื้นฟูขึ้นโดยมีการสร้างพระพุทธรูปศิลาทึบขนาดใหญ่จากหินที่เขานางเอ อยู่หลังสวนโมกข์ มีอยู่ประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ องค์
สำหรับคำว่า ไชยา นั้นน่าจะนำมาจากคำว่า ศรีวิชัย ซึ่งขุดพบศิลาจารึกพ.ศ.๑๓๑๘ ที่ระบุชื่อ พระยาศรีวิชัยนั้นว่า ศรีวิชเยนทรราชา,ศรีวิชเยศวรภูบดี และศรีวิชยนฤบดี ที่หมายถึง พระเจ้าแผ่นดินเมืองศรีวิชัย
นั่นหมายถึงศุนย์กลางอำนาจของพวกไศเรนทร(ราชาแห่งจอมเขา)อยู่ที่บริเวณเมืองไชยา ซึ่งเหมาะสมที่จะติดต่อกับอินเดียโดยเฉพาะที่เบ็งคอล และเป็นเหตุให้พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ที่เป็นฝีมือของช่างแบบปาละแท้เดินทางมาประดิษฐานที่เมืองไชยาได้ โดยเฉพาะการติดต่อมหาวิทยาลัยนาลันทาซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยพุทธศาสนามหายานในเบ็งคอล จนมีความปรากฏในจารึกแผ่นทองแดงพบที่นาลันทาเมื่อพ.ส.๑๓๙๒ ว่า ด้วยการที่ไศเรนทรอุปถัมภ์มหาวิทยาลัยแห่งนั้นไปจากไชยา ในบริเวณเมืองไชยานั้นมีเขาน้ำร้อนเป็นภูเขาประจำวงศ์ไศเรนทรสำหรับใช้ประ ดิาฐานพระเป็นเจ้าตามลัทธิพราหมณ์ แม้จะมีการนับถือพุทธศาสนาแล้ว ก็ยังยึดถือเป็นประเพณีการอาบน้ำร้อนที่ออกมาจากพุบนเขานั้นถือเป็นน้ำ ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีการจัดทำสระน้ำสำหรับอาบของพระราชาตามประเพณีของอินเดีย เรื่องนี้หากรวมไปถึงบริเวณเขานางเอ แล้วจะพบว่าหน้าถ้ำนั้นมีสระบัวขนาดใหญ่สองสระ น่าจะมีบริเวณที่เหมาะสมให้ราชาแห่งไศเรนทรสร้างวังประทับร้อนอยู่บนเนินที่ เขานี้ เพราะมองเห็นสระน้ำได้สวยงาม และหากจะทิ้งทองประจำวันลงสระตามตำนานราชาแห่งซาบากก็ทำได้
เมืองไชยาโบราณนี้เดิมเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่กว่าเมืองตามพรลิงค์(เมืองนครศรีธรรมราช)ซึ่งมีชุมชนเมืองเก่า และสร้างเจดีย์พระบรมธาตุไชยา เจดีย์ที่วัดแก้ว เจดีย์ที่วัดเวียง เจดีย์ที่วัดหลง และพระอวโลกติเกศวรอย่างชวาอยู่จำนวนมากโดยเฉพาะพระอวโลกิเตศวรขนาดเท่าคนที่มีชื่อเสียงรู้จักกันดี เส้นทางติดต่อนั้นมีแม่น้ำหลวง(แม่น้ำตาปี)ไหล ผ่าน เมื่อสำรวจเส้นทางน้ำพบว่าไปได้ถึงคีรีรัฐซึ่งมีทางข้ามไปลงที่แม่น้ำตะกั่ว ป่าได้อย่างสบาย น่าจะเป็นเส้นทางเดินของชาวอินเดียทางหนึ่ง สำหรับเมืองตามพรลิงค์นั้นมีพระมหาธาตุองค์เดียว เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นในสมัยหลัง และมีหาดทรายแก้วกับลุ่มแม่น้ำน้อย ประการสำคัญอ่าวบ้านดอนนั้นเป็นแหล่งที่เรือสินค้าจากจีนใช้เป็นท่าจอดเรือในสมัยโบราณได้ และรอบอ่าวบ้านดอนนั้นก็เป็นแหล่งเกษตรกรรมสำคัญ ในจารึกพ.ศ.๑๗๗๓ ระบุว่า พระเจ้าจันทภาณุยังมีอำนาจอยู่เหนือดินแดนรอบอ่านบ้านดอน
สำหรับเมืองครหินั้นน่าจะอยู่แถวใต้เขมรลงมาทางญวน หรือแถวคอคอดกระ
พุทธศาสนาแบบมหายานเจริญรุ่งเรืองในอาณาจักรศรีวิชัย หลวงจีนอี้จิง เคยเดินทางจากเมืองกวางตุ้งประเทศจีนทางเรือของอาหรับผ่านฟูนัน มาพักที่อาณาจักรศรีวิชัยนี้ ในเดือน ๑๑ พ.ศ. ๑๒๑๔ เป็นเวลาสองเดือน ก่อนที่จะเดินทางต่อผ่านเมืองไทรบุรี ผ่านหมู่เกาะคนเปลือยนิโคบาร์ ถึง เมืองท่าตามรลิปติที่อินเดีย เพื่อสืบพระพุทธศาสนา หลวงจีนอี้จิงบันทึกไว้ว่า ประชาชนทางใต้ของแหลมมลายูส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งได้อิทธิพลมาจากพ่อค้ามุสลิมอาหรับ ที่เดินทางผ่านเพื่อไปยังประเทศจีน ศาสนาอิสลามได้เผยแผ่ไปยัง มะละกา กลันตัน ตรังกานู ปาหัง และปัตตานีจนกลายเป็นรัฐอิสลามไป
ต่อมาในพ.ศ.๑๕๖๘(ค.ศ. 1025) อาณาจักรศรีวิชัยถูกอาณาจักรโจฬะ จากอินเดียตะวันออกเฉียงใต้ ยกทัพเรือเข้าโจมตีทำให้อ่อนกำลังลง หลังจากนั้นในพ.ส.๑๙๔๐ อาณาจักรศรีวิชัยได้ตกอยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรมัชปาหิต ที่มีอำนาจจากชวา
อาณาจักร สุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงนั้นได้แผ่อำนาจลงมายังหัวเมืองต่างๆตลอดแหลม มาลายู และมีเมืองนครศรีธรรมราช เป็นเมืองสำคัญที่คอยดูแลหัวเมืองทางใต้
จาก บันทึกสยาม
วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2552
Narada - Brahmin Vedic sage - Thai Occult Deva
Narada is a renowned Hermit Sage, or “Ruesi” (sometimes also called “lersi”) ascetic. He is from Ancient Brahmin Hindu tradition, and appears often with an important role in the Puranas. In the Bhagavata Purana, and Ramayana, he is a prominent figure. He is usually depicted as a wandering ascetic, or travelling monk. He is reputed to posess the ability to transport himself by teleportaton t other Realms and Planets. He is normally depicted carrying the instrument he is supposed to have invented, the “Vina” (called “Pin - พิณ in Thai). He uses the music he creates with the Vina to complement his chants, Katas and Prayers, said to have been mostly dedicated to the Lord Phra Narayn (Vishnu) and Krishna. A study of the Narada bhakti Sutra will expound much about this Saint and powerful hermit Ruesi, known as “Phra Ruesi Narod “in Thai. Narada, or Phra Narod, is also supposed to have been responsible for the Narada Smirti, claimed to be a Judicial work of Genius - proving the qualities said of Phra Ruesi Narot to be a master lawmaker, as well as Deva of all Musicians and Dancers, Singers.
Phra Narod, or “Narada” as known in the original Brahmin Hindu tradition in India, was also named Manasaputra meaning “Son of Brahma (putra means son of). Brahma was the first living being ever to manifest in the cosmology of the Puranas - also named “Dtriloka Sanchari”, meaning the Nomad who wanders the three worlds (Dtri means 3, and Loka means worlds). Thes 3 worlds are, of course, Heavenly Realms, the Earth, and the Infernal Realms. Also named Kalapriya, meaning “he who causes quarrels”), due to his tendency to like to trick the Devas into quarreling with each other. You will see the Ritual mask and also the statue of Phra Ruesi Narod all over Thailand, especially in the Samnak Sak Yant and local witch doctor and Shaman’s offices. Magic makers all revere either Por Gae Dta Fai, Narod, or sometimes Phra Pirab the Yaksa Ruesi.
He is qualified as a Maha Jhana, one of the Greatest devotees of Vishnu, and in later life became a Ruesi (Rishi) and attained the level of Deva Rishi (Taewa Ruesi) - meaning angelic Brahma being status. This being is known as Ruesi Por Gae Narot in Thailand, and is highly revered not only in Artist and performance arts circles, rather also in the more mysterious circles of sak yant tattooing an Thai Brahmin Saiyasart (Magical Arts). The mask of Por Gae Narot is placed on the head of each devotee on Wai Kroo day (Master Day) and is believed to protect them all year and bless them for good luck, health and fortune, as well as protect them from all evil and dangers..
วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2552
มหาสติปัฏฐานสูตร
อุบายกำจัดกามฉันทะ
คัดย่อจาก มหาสติปัฏฐานสูตร ของคุณดังตฤณอุบายกำจัดกามฉันทะ
"วัตถุกาม" คือวัตถุอันน่าใคร่หรือกามคุณ 5 ได้แก่รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม และสำคัญคือเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
"กิเลสกาม" จะหมายถึงตัวของกิเลสที่มีอยู่ในใจ หรือธรรมชาติที่ทำให้เกิดความใคร่
คนเราชอบอะไรไม่เหมือนกัน พิศวาสรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสแตกต่างกัน
หาก เราทราบยอดสุดแห่งกามประจำตนเอง ก็เหมือนรู้ตัวหัวหน้าโจร ถ้ากำจัดเสียได้จะทุ่นแรงลงมาก ตัวอย่างเช่นวัตถุกามหลักสำหรับผู้ชายนั้น แน่นอนว่าต้องเป็นรูปหญิง ท่าทีที่มีต่อรูปหญิงจึงควรชัดเจน
ในมหาปรินิพพานสูตร พระสุตตันตปิฎกเล่ม 2 พระอานนท์ทูลถามพระพุทธองค์ว่าภิกษุทั้งหลายพึงปฏิบัติต่อสตรีเพศอย่างไร พระองค์ตรัสตอบว่า ไม่เห็นเลยดีที่สุด พระอานนท์ทูลถามว่าถ้าจำเป็นต้องเห็นจะให้ทำอย่างไร พระองค์ตรัสตอบว่า ถ้าต้องเห็นก็อย่าคุยด้วย พระอานนท์ทูลถามว่าถ้าจำเป็นต้องคุยด้วยจะให้ทำอย่างไร พระองค์ท่านตรัสตอบว่า ถ้าต้องคุยด้วยก็ให้ตั้งสติไว้
สรุป คือพระพุทธองค์สนับสนุนผู้ออกบวช หรือผู้ตั้งใจเก็บตัวบำเพ็ญเพียรในสติปัฏฐาน 4 เพื่อความหลุดพ้น ให้ห่างจากวัตถุกาม ชนิดไม่เห็นเลยได้ก็ดี ลอง นึกดูว่าระหว่างเอาผ้าผูกตากับเอาเชือกมัดมือมัดเท้าอันไหนง่ายกว่ากัน การไม่เห็นเลยคือไม่เอาของใหม่เข้า และรื้อถอนของเก่าที่มีอยู่ออกให้หมด ซึ่งแน่นอนว่านั่นคงเป็นเรื่องของบรรพชิต หรือผู้ตั้งใจแน่วแน่แล้วว่าจะสละโลก เพื่อเพียรทำมรรคผลนิพพานให้แจ้ง หรืออย่างน้อยที่สุดก็ผู้มีความจำนงงดกามด้วยการปลีกวิเวกไปในที่ที่ไม่ต้อง พบเจอภาพยั่วยวนต่างๆนานา ผู้ "ภาวนาเป็น" ส่วนใหญ่แม้ยังต้องอยู่ในเมืองก็เลือกเอาตัวออกห่างจากสื่ออันล่อหูล่อตา ทั้งหลายเช่นโทรทัศน์และสิ่งพิมพ์ชนิดมุ่งปรุงกิเลสกามให้ท่วมท้น
แต่ถ้าต้องเห็น ต้องมีปฏิสัมพันธ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ตามมารยาทสังคม ก็ต้องตั้งสติไว้
กรรมฐาน 5 คือการให้พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ตามลำดับ แล้วย้อนลำดับคือ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม
การ ป้องกันกามฉันทะที่ดีที่สุด ได้ผลจริงกว่าอุบายอย่างอื่นใดหมดก็คือทำให้จิตรวมลงเป็นหนึ่งด้วยการเห็น กายตัวเองเป็นสิ่งโสโครก และกรรมฐาน 5 ก็เป็นอุบายอย่างง่ายที่ใครก็ทำได้ เห็นผลเร็ว และยิ่งทำบ่อยเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นภูมิคุ้มกันแข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้แต่อย่างเดียว อันจะเป็นเหตุให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว ก็จะละเสียได้ เหมือนอสุภนิมิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจอสุภนิมิตโดยแยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว ก็จะละเสียได้
วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552
สวัสดี ภาษาต่างๆ
สวัสดี
ภาษาอังกฤษ
Hello
ฮัลโหล
ภาษาเวียดนาม
Xin Chao
ซินจ่าว
ภาษาตากาล็อก
Kumusta
กูมุสตา
ภาษามาเลย์
Salamat Datang
ซาลามัต ดาตัง
ภาษาเสปน
Hola
โอล่า
ภาษาเยอรมัน
Hallo
ฮาโหล
ภาษาอิตาเลียน
Buon Giorno
บวน จอร์โน
ภาษาญี่ปุ่น
Ohayou Gosaimasu
โอไฮโย โกไซมัส
ภาษาจีน
Ni Hao
หนี ห่าว
ภาษาฝรั่งเศส
Bonjour
บง ชูร์
ภาษาดัตช์
Goedendag
คูเดิ้นด๊าค
ภาษาเขมร
Sua S'Dei
ซัว สเด
ภาษาปอร์ตุเกส
Ola
โอล่า
ภาษารัสเซีย
Zdrahst Vooy Teh
ซดราฟส์ วุย ติ
ภาษาเกาหลี
Annyeong Haseyo
อันยอง ฮาเซโย
ภาษาลาว
สะบายดี
ภาษาตุรกี
Merhaba
เมร์ฮาบา
ภาษาอารบิก
Ahalan
อาห์ลัน
ภาษาเชค
Ahoj
อาโฮย
ภาษากรีก
Yasas
ยาซาส
ภาษาไอซ์แลนดิก
Hallo
ฮัดโหล
ภาษาโครเอเชียน
Bok
บ็อก
ภาษาอินโดนีเซีย
Salamat Siang
ซาลามัต เซียง
ภาษาโปลิช
Czesc
เชสท์
ภาษากาตาาลัน (บาร์เซโลน่า)
Hola
โอล่า
ภาษานอร์วีเจียน
Goddag
กู๊ดดั๊ก
ภาษาสวีดิช
Hej
ไฮย
ภาษาสโลวัก
Ahoj
อาโฮย
ภาษาอัฟริคานส์
Hallo
ฮาโหล
ภาษาแดนิช
Hej
ไฮ
ภาษาบราซิลเลียน
Bom Dia
บองเดีย