Sao Ching Cha เสาร์ชิงช้า
The Giant Swing (Thai: เสาชิงช้า, Sao Ching Cha) is a religious structure in Bangkok, Thailand, Phra Nakhon district, located in front of Wat Suthat temple. It was formerly used an old Brahmin ceremony, and is one of Bangkok’s tourist attractions.
History
The Giant Swing was originally constructed in 1784 in front of the Devasathan shrine by King Rama I. During the reign of Rama II the swing ceremony was discontinued as the swing had become structurally damaged by lightning. In 1920 it was renovated and moved to its current location in order to make space for a gas plant. The ceremony was again performed until 1935, when it was discontinued after several fatal accidents.
The last renovations were done in 1959, and after 45 years of exposure to the elements the wooden pillars were showing signs of serious damage. A major reconstruction began in April 2005. Six teak tree trunks were used. The two used for the main structure of the swing are over 3.5m in circumference and over 30m in height. The remaining four are used for support and are 2.30m in circumference and 20m in height.[1] The swing was taken down in late October 2006 and the work finished late December of the same year. The rebuilt swing was dedicated in royal ceremonies presided over by His Majesty King Bhumibol Adulyadej in September 2007. The timbers of the original swing are preserved in the National Museum.
In 2005, the Giant Swing, together with Wat Suthat, was suggested as a future UNESCO World Heritage Site.
Swing Ceremony
The Ceremony of Tri-yampawai or the Swing Ceremony was one of the 12 royal ceremonies held in each of the months of the Thai lunar calendar in the Sukhothai kingdom. Originally held in the first lunar month, it was moved to the second lunar month in the early Rattanakosin period at the beginning of the 19th century. The ceremony was a Bhramin new year’s ceremony and lasted for 10 days.
According to an ancient Hindu epic, after Brahma created the world he sent Shiva to look after it. When Shiva descended to the earth, Naga serpents wrapped around the mountains in order to keep the earth in place. When Shiva found the earth solid, the Nagas moved to the seas in celebration. The Swing Ceremony is a re-enactment of this story. The pillars of the Giant Swing represent the mountains, while the circular base of the swing represents the earth and the seas. In the ceremony Brahmins swing, trying to grab a bag of coins placed on one of the pillars.
brahmin-sao-chingcha
Swinging Ceremony
The swinging ceremony is an ancient Brahmin ceremony.The purpose of the ceremony is to welcome the Shiva Deity (called “Pra Isworn” in Thai พระอิศวร), who is one of the three main Deities of the Hindu Brahmin Trinity.It is believed that on this day of Jet Kam (a measurement of the moon’s waxing and waning). This day is celebrated to Siva, and the merits are offered to the King.When Lord Shiva comes down to the world of the Humans, he also invites other Devas to come with him, namely; Pra Atidy (the sun) Pra Jantr (the moon) Pra Konkaa (the river Ganges is named after Pra Kongkaa), and Pra Toranii (the earth). The Brahmins will inscribe the likeness of each Deity on a blackboard (three separate plaques). The plaques are then revered and blessed in the Taewasatan, and then place them in a hole in front of the ceremonial swing. The boards with the images of the Deities are placed facing the Master of Ceremonies who is rocking the swing. This act is called “Gradaan Hlong Hlum”. This ceremony is made for three taewasatan in Bangkok; (Taewa means angelic being, and satan means place); The Shiva shrine (Taewasatan Pra Isworn - เทวสถานพระอิศวร), Ganesh shrine (Taewasatan Pra Mahawikanesworn - เทวสถานพระมหาวิฆเนศวร), and the Vishnu shrine (Taewasatan Pra Narayn Lokaban tang see - เทวสถานพระนารายณ์ โลกบาลทั้งสี่).The swing is then rocked as a way to receive and offer the prayer water from the Deities. Originally, the Dtriyampaway ceremony was held in December, until it was changed in the Ratanagosin Era to January. It is considered also to be a ceremony to greet thye new year for Brahmins. Brahmins believe that, once a year, Lord Shiva visits the earth for a period of 10 days - in this period all Brahmins will gather around the Shiva shrine and prepare to welcome and celebrate the coming of Pra Isworn.
Construction of the SwingPra Bat Somdej Praputta Yord Fa Jula Loke (Rama 1 of the Chakri dynasty), ordered the “Sao Ching Cha” (Brahmin swing) to be erected in from of the “Tewasatan Bote Prahm” (เทวสถานโบสถ์พราหมร์ Brahmin Chapel). This was done on a wednesday in May of the year of the Dragon (Buddhist era 8th April 2332).This was situated on the field to the North side of Wat Sutat Taepaworaram. It was later reconstructed in front of Wat Sutat in the time of Rama 5 (as a result of space problems), where it has remained to this day.
เสาร์ชิงช้า - Brahmin Swing
เสาชิงช้า ตั้งอยู่หน้าวัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่ โครงยึดหัวเสาทั้งคู่ แกะสลักอย่างสวยงาม ทั้งหมดทาสีแดงชาด ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่
เสาชิงช้านี้มีความสูง 21 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางฐานกลมประมาณ 10.50 เมตร ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได 2 ขั้น ทั้ง 2 ด้าน ตามแนวโค้งของฐานติดแผ่นจารึกประวัติเสาชิงช้า เสาไม้แกนกลางคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหัวเม็ด ล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย ติดสายล่อฟ้าจากลวดลายกระจังด้านบนลงดิน
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติเมื่อวัน ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 จนถึงวันที่เสาชิงช้าถูกถอดลงมาบูรณะมีอายุรวม 222 ปี
การก่อสร้าง
จดหมายเหตุการณ์อนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์บันทึกไว้ว่าพระบาทสมเด็จพระรา มาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ หรือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โปรดให้สร้างเสาชิงช้าขึ้นตรงหน้าเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เมื่อวันพุธ เดือน 5 แรม 4 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2327 บริเวณลานด้านเหนือของวัดสุทัศนเทพวราราม แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร ต่อมาสร้างใหม่บริเวณหน้าวัดสุทัศน์เทพวราวราม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากข้อจำกัดด้านสถานที่
ตำนานพิธีตรียัมปวาย
พิธีโล้ชิงช้ามีที่มาจากคัมภีร์เฉลิมไตรภพกล่าวไว้ว่าพระอุมาเทวีทรงมี ความปริวิตกว่าโลกจะถึงกาลวิบัติ พระนางจึงทรงพนันกับพระอิศวร โดยให้พญานาคขึงตนระหว่างต้นพุทราที่ แม่น้ำ แล้วให้พญานาคแกว่งไกวตัวโดยพระอิศวรทรงยืนขาเดียวในลักษณะไขว่ห้าง เมื่อพญานาคไกวตัว เท้าพระอิศวรไม่ตกลงแสดงว่าโลกที่ทรงสร้างนั้นมั่นคงแข็งแรง พระอิศวรจึงทรงชนะพนัน
ดังนั้นพิธีโล้ชิงช้าจึงเปรียบเสาชิงช้าเป็น’ต้นพุทรา’ ช่วงระหว่างเสาคือ’แม่น้ำ’ นาลีวันผู้โล้ชิงช้าคือ’พญานาค’ โดยมีพระยายืนชิงช้านั่งไขว่ห้างอยู่บนไม้เบญจมาศ
พิธีโล้ชิงช้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีได้ยกเลิกไปในสมัยพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ปัจจุบันการประกอบพระราชพิธีนี้จะกระทำเป็นการภายในเทวสถานเท่านั้น
การซ่อมแซม
ล่วงสู่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 บริษัทหลุยส์ ที.เลียวโนเวนส์ ซึ่งเป็นบริษัทค้าไม้ได้มอบซุงไม้สักสำหรับสร้างเสาชิงช้าใหม่ ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2463 นับเป็นการปฏิสังขรณ์ครั้งแรก และซ่อมใหม่อีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2502 ครั้งนั้นเสาชิงช้ามีส่วนสูงทั้งสิ้น 21.15 เมตร
ต่อมาเมื่อพ.ศ. 2490 เกิดไฟไหม้เสาชิงช้า เนื่องจากมีผู้จุดธูปกราบไหว้ ไฟจากธูปตกลงในรอยแตกและลามจนไหม้ จึงต้องซ่อมชั่วคราว จนถึง พ.ศ. 2513 เสาชิงช้าชำรุดทรุดโทรมมากต้องเปลี่ยนเสาใหม่ โดยการบูรณะได้พยายามรักษาลักษณะเดิมไว้ทุกประการ
กระทั่งวันที่ 30 กันยายน 2539 มีการซ่อมแซมอีกครั้งโดยสำนักการโยธา กทม. ได้ใช้สายเหล็กรัดเป็นโครงเหล็กประกับ คล้ายลักษณะเข้าเฝือกไม้ยึดโครงสร้างหลัก
ล่าสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2548 พบว่าเสาชิงช้ามีความชำรุดทรุดโทรมมาก ปรากฏรอยผุแตกเป็นร่องลึกตลอดแนวยาว โดยเฉพาะโคนเสากลาง
กทม.ได้ทำหนังสือขออนุญาตกรมศิลปากร เพื่อดำเนินการซ่อมแซมด้วยการเปลี่ยนเป็นเสาใหม่ทั้งหมด เน้นการแก้ไขการผุกร่อนในระยะยาว เนื่องจากสาเหตุที่เสาชิงช้าผุกร่อนได้ง่ายนั้นเป็นเพราะภายใต้ฐานเสามีน้ำ ซึมขัง ทางกทม.ตั้งเป้าไว้ว่าเสาชิงช้าใหม่จะยืนหยัดได้ถึง 100 ปี เมื่อเทียบกับการบูรณะครั้งก่อนหน้าที่ทำให้เสาชิงช้ามีอายุการใช้งาน มากกว่า 35 ปี
คณะกรรมการบูรณะเสาชิงช้าของกทม.ได้ประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อ หารือในเรื่องการรักษาสภาพไม้ โดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) เสนอให้จัดทำระบบระบายน้ำ และระบบควบคุมความชื้นภายใน โดยจะติดตั้งเครื่องดูดน้ำไว้ที่ใต้ฐานเสาชิงช้า และจะต้องขุดหลุมลึกลงไปประมาณ 18 เมตร เพื่อทำเป็นห้องใต้ดินควบคุมการทำงาน พร้อมวางระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ความสำคัญทางโบราณคดี
การรื้อถอนหรือก่อสร้างโบราณสถานในเขตเมืองพระนครนั้นจะต้องได้รับความ เห็นชอบจากกรมศิลปากรในการส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบและดำเนินการขุดค้น ทางโบราณคดีในพื้นที่นั้นๆ
นักโบราณคดีได้ทำการขุดแต่งในระดับแนวพื้นเดิมที่ยังเหลือร่องรอย และแต่งด้านหน้าติดกัน ด้านทิศใต้ (ด้านวัดสุทัศน์) และทิศเหนือ (ด้าน กทม.) ในการตรวจสอบชั้นดินเบื้องต้น ได้เชิญนายชาติชาย ร่มสน ผู้เชี่ยวชาญชั้นดินทางวัฒนธรรมมาช่วยในการวิเคราะห์ สรุปรายละเอียดเบื้องต้นได้ดังนี้
ชั้นดินด้านทิศใต้(ด้านวัดสุทัศน์) ปรากฏลักษณะร่องรอยกิจกรรม 3 สมัย กล่าวคือ สมัยที่หนึ่งเป็นชั้นแนวอิฐขนาดใหญ่ เรียงสลับตามแนวนอน ก่อซ้อนกันประมาณ 3 ชั้น และมีการก่ออิฐในแนวตั้งยกเป็นขอบ ใต้ชั้นแนวอิฐเป็นชั้นดินเหนียว
สมัยที่สองเป็นชั้นพื้นปรากฏเป็นแนวในแกนตะวันออก-ตะวันตก ลักษณะเป็นหินกรวดหลายขนาดผสมปูนขาว เทปูเป็นพื้น ใต้ลงไปเป็นชั้นอิฐบดวางทับอยู่บนชั้นดินเหนียว
สมัยที่สามเป็นท่อน้ำเหล็กที่วางอยู่ในชั้นอิฐสมัยที่ 1 เป็นลักษณะเจาะชั้นอิฐลงไปเพื่อวางท่อเหล็ก
ชั้นดินด้านทิศเหนือ(ด้าน กทม.) ปรากฏร่องรอยกิจกรรม 2 สมัย คือ
สมัยที่หนึ่ง(ตรงกับสมัยที่สองของชั้นดินด้านทิศเหนือ) เป็นชั้นพื้น ลักษณะการเรียงตัวของชั้นดิน คล้ายสมัยที่ 2 ด้านเหนือ คือชั้นบนสุด เป็นหินกรวดผสมปูนรองลงไปเป็นชั้นปูนขาว ใต้ชั้นปูนขาวเป็นอิฐก่อสอปูนวางแนวเหนือ-ใต้ ประมาณ 9-11 ชั้น
สมัยที่สอง(ตรงกับสมัยที่ 3 ของชั้นดินด้านทิศเหนือ) เป็นส่วนของท่อน้ำเหล็ก ปรากฏลักษณะการตัดเป็นช่องสี่เหลี่ยมลงไปในชั้นดินสมัยที่ 1 เพื่อวางท่อน้ำ
ในรายงานดังกล่าวตั้งข้อสังเกตด้วยว่าพบแนวอิฐด้านนอกวางตัวในแนวตะวัน ออก-ตะวันตก 1 แผ่น โดยแนวดังกล่าวจะเว้นช่องว่าง จากนั้นจึงก่อแนวอิฐอีก 1 ชั้น วางตัวในลักษณะเดียวกัน โดยชั้นบนสุดจะใช้อิฐก่อตะแคงปิดด้านบนของช่องดังกล่าว
สรุปชั้นดินเบื้องต้นได้ว่าแนวอิฐในสมัยที่หนึ่ง(ด้านวัดสุทัศน์) น่าจะเป็นแนวถนนเดิมที่มีมาก่อนสมัยรัชกาลที่ 4 ส่วนแนวพื้นสมัยที่สอง(ด้านวัดสุทัศน์) น่าจะเป็นแนวถนนที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมีรางระบายน้ำอยู่ขอบถนน อาจจะมีการปรับพื้นที่ด้วยการอัดดินเหนียวเพื่อให้ได้ระดับแล้วจึงเทชั้นถนน ส่วนท่อเหล็กสมัยที่สามน่าจะเป็นท่อประปาที่สร้างขึ้นในสมัยหลังคือสมัย รัชกาลที่ 5 สร้างขึ้นหลังจากมีการสร้างถนนแล้ว
ช่วงท้ายของรายงานชี้แจงว่าได้มีการบันทึกภาพถ่ายพร้อมทั้งรายละเอียดทุก ขั้นตอนนอกจากนี้ยังได้ทำแผนผังหลุม แผนผังชั้นดิน ลายเส้นแนวอิฐ รวมถึงเก็บตัวอย่างดินในแต่ละชั้นและอิฐ เพื่อนำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ หลังจากนั้นจึงจะนำผลวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการมาวิเคราะห์ร่วมกับหลักฐาน อื่น เช่น เอกสาร แผนผังและรูปถ่ายโบราณ เพื่อจะประมวลเป็นรายงานเบื้องต้นต่อไป
การค้นพบร่องรอยแนวถนนโบราณก่อนสมัยรัชกาลที่4 และท่อน้ำเหล็กสมัยรัชกาลที่ 5 อันเนื่องมาจากการรื้อถอนเสาชิงช้าปี พ.ศ. 2549 จึงเป็นผลดีสำหรับการเพิ่มเติมข้อมูลวิชาการโบราณคดีเมือง และหากเป็นไปตามเป้าประสงค์ของ กทม. โอกาสที่ผืนดินนี้จะถูกขุดแต่งทางโบราณคดีอีกครั้งก็น่าจะเป็นเวลากว่า 1 ศตวรรษข้างหน้า
สายรถเมล์ที่ไปเสาชิงช้า
สาย 35 เส้นทางสาธุประดิษฐ์ - เสาชิงช้า
สาย 42 เส้นทางวงกลมเสาชิงช้า - ท่าพระ
สาย 12 เส้นทางห้วยขวาง - ปากคลองตลาด