Asd

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ตำนานครุฑ กับ นาค

เวนไตย อ่านว่า เว นะ ไต แปลว่า ลูกของนางวินตา หมายความว่า ครุฑ ด้วย เป็นพญาวิหค เจ้าแห่งนกทั้งปวงด้วย
เริ่ม เรื่องที่ผู้แม่นางวินตา ที่เป็น ๑ ในชายาจำนวนมากมายของพระฤษีกัศยป และมีน้องสาวชื่อว่า กัทรู หรือ สรุสา (ซึ่งก็เป็นชายาด้วยเหมือนกัน)
ทั้งสองพี่น้อง ครั้งหนึ่งคอยดูแลพระฤษีกัศยปเทพบิดร จนเป็นที่พอใจ และได้ให้พรแก่ทั้งสองนาง
ฝ่ายน้องสาวได้ขอพรก่อน โดยขอไว้ว่า
“ข้าพเจ้าขอมีบุตรเป็นนาค ๑๐๐๐ ตัว มีฤทธิ์ร้ายแรง และแปลงได้ได้สารพัด ดังใจนึก”
พระมุนีฤษีก็ให้พรนั้นแก่ชายาไป
ฝ่ายนางวินตานี่สิ
“ข้าพเจ้าของมีบุตรเพียง ๒ แต่ขอให้มีเดชล้นฟ้า หาผู้ใดเสมอมิได้ จงมีชัยชนะเหนือนาคทั้งหลาย ทุกเมื่อ...”
พระเทพบิดรก็ให้พรไป และพูดกลับแก่นางวินตาเหมือนรู้ทันว่า
“เจ้า จะได้พรดังขอ แต่เจ้าของพรด้วยจิตริษยาต่อน้องของเจ้า เจ้าได้ผูกเวรขึ้นมาแล้ว และมันจะทำให้เจ้าตกระกำ ยากลำบากมากมายจนเลือดตากระเด็น แต่อย่างไรเสีย เจ้าจะพ้นทุกข์เวรนี้ได้เพราะบุตรของเจ้า ผู้เป็นลูกกตัญญู”

กล่าวจบ พระฤษีกัศยป ก็ขึ้นสวรรค์ไปช่วยพระอินทร์กวนน้ำทิพย์
ไม่นานทั้ง ๒ พี่น้อง ก็คลอดบุตรออกมาเป็นไข่ ฝ่ายนางกัทรู ได้เป็นไข่ ๑๐๐๐ ฟอง และนางวินตาออกมาเพียง ๒ ฟอง

เวลา ผ่านไป ๕๐๐ ปี ไข่นางกัทรูแตกออกมาเป็นนาคทั้งหมด บังเกิดความอิจฉาแก่ผู้พี่เสมอ ยามที่ได้เห็นแม่ลูกฝ่านน้องเหย้าหยอกกันอย่างมีความสุข จนทำให้ตบะแตกลงทุน ทุบ ไข่ฟองแรก ปรากฏว่ามีกุมารอยู่ในนั้นคนหนึ่ง แต่มีร่างกายแค่ท่อนบน คือ พระอรุณ

พระอรุณ เห็นแม่ทำดังนั้นก็โกรธมาก สาปแม่ทันทีว่า “ดูก่อน แม่ช่างทำแก่ข้าได้ ข้ามีร่างการครึ่งตัวเช่นนี้เพราะความขาดสติแท้ ๆ นับแต่นี้ไป แม่จงตกเป็นทาสของนางกัทรู และพวงนาคทั้งหลาย จะต้องทนทุกข์เวลาช้านาน หาความสุขมิได้” (T T สงสารนางวินตาจัง)

แต่ในที่สุดก็สงสาร เพราะความจริงที่ว่านางวินตาก็คือแม่ของตน จึงลดคำสาปลง
“อีก ๕๐๐ ปี ไข่อีกฟองจะแตกออก และเขาจะเป็นผู้ช่วยแม่ออกจากทุกข์นี้เอง”
กล่าว จบ ก็ลอยขึ้นไปนภาไปเป็นสารภีให้พระอาทิตย์ พระอรุณผู้มีร่างกายใหญ่โต ขนาดมีเพียงครึ่งเดียว ก็สามารถบังแสงของพระอาทิตยได้ ลดแสงเป็นสีแดงอ่อน ๆ จึ่งเรียกแสงอาทิตย์แรกจับขอบฟ้าว่า...แสงอรุณ นั้นเอง
และถึงคราวที่ นางวินตาจะกลายเป็นไปตามคำสาปก็มาถึง นางไปพนันกับน้องสาวแพ้ เรื่องสีของขนม้าอุจไรศรพ (ม้านี้ออกมาจากการกวนน้ำทิพย์) ว่ามีสีอะไร นางวินตาจำได้ว่าเป็นสีขาวทั้งตัวม้า จึงตอบไปว่าสีขาว

ฝ่ายน้องสาวคิดทางต้องชนะ เพราะผู้แพ้จะต้องตกเป็นทาสของอีกฝ่าย นางจึงโกง
โดยให้ลูก ๆ นาคทั้งหลายแปลงกายไปเป็นเส้นขนหางม้าสีดำ

นางวินตาจึงแพ้ และตกเป็นทาสตามคำสาป

นาง วินตาถูกใช้งาน ทำงานหนักสารพัดเช้ายันเย็น ทุกข์อยากแสนสาหัส หาความสุขมิได้ (เห็นไหมการพนัน ไม่ดี ๆ) จนในที่สุด ไข่อีกฟองก็ครบอายุ ๑๐๐๐ ปี และ แตกออก เย้...

ปรากฏเป็นร่างนกยักษ์แสนสง่า ร่างกายมหึมา สว่างไสวกว่าแสงพระอาทิตย์ ๑๐๐ เท่า ได้บินขึ้นสู่เวหา จนถึงทางโครจรแห่งสูรยาทิตย์ รัศมีอันมหาศาลรุ่งโรจน ทำให้ทวงเทพแตกตื่นกันเสียไม่มี รีบลนลานไปเข้าเฝ้าพระอัคนิเทพถามหาที่มา ที่ไป

พระอัคนีก็อธิบายว่า แสงนี้เป็นแสงรัศมีแห่งบุตรของพระฤษีกัศยปเทพบิดรด้วยพรอันประเสริฐ

ทวยเทพทราบดังนั้นจึงมาขอร้อง ให้มหาวิหคโปรดลงรัศมีลงหน่อยเถิด
พญานกก็ยอมทำตามด้วยใจอันเมตตา และบินกลับมาหามารดาของตน
อัน ได้ชื่อว่า แม่เป็นทาส ลูกก็ย่อมตกเป็นทาสในเรือนเบี้ยเช่นนั้น เมื่อพญาเวนไตย ทราบถึงความเป็นอยู่อันทุกข์ตรมของมารดา ก็เศร้าใจหนักหนา คิดหาทางช่วยตลอดเวลาแต่ยังไม่ประสบโอกาส

วันหนึ่ง นางกัทรู อยากเดินทางไปยัง เกาะรามณียกะ ที่กลางสะดือทะเล โดยนางวินตาแบกนางกัทรู และเวนไตยแบกนาคทั้ง ๑๐๐๐

ด้วยความเกลียดชัง จึงแกล้งบินขึ้นฟ้าไปสูง ๆ ไปสูงลิบจนเข้าใกล้สายโคจรของพระเทวาอาทิตย์เกินไป นาคทั้งหลายพากันสลบไปหมด

แม่นาคทั้ง ๑๐๐๐ เห็นดังนั้นก็สวดมนต์อ้อนวอนพระอินทร์ พระอินทร์จึงบัลดาลฝนตกห่าใหญ่ ทำให้นาคทั้งหลายฉุ่มฉ่ำ ฟื้นขึ้นมาทั้งหมด

จุดนี้เอง พญาเวนไตย จึงผู้ใจเจ็บกับท้าววัชรินทร์เป็นต้นมา

เมื่อถึงที่สุดแห่งความกตัญญูต่อมารดา พญาเวนไตยจึงขออิสรภาพกับนางกัทรูและเหล่านาคตรง ๆ ไปเลย

ผลคือพวกนาคเหล่านั้นต้องการหม้อน้ำอมฤตของพระอินทร์มาแลกเปลี่ยน เพราะอยากมีความเป็นนิรันดรอย่างผู้พี่ คือพระอินทร์นั้นเอง

พญาเวนไตยดีใจเป็นที่สุด จึงรีบไปบอกมารดาเล่าความให้ฟัง แต่การเดินทางไปเขาสุเมรุไกลมากมาย
แม่ จึงแนะลูกว่า “ลูกต้องอาศัยเรี่ยวแรงมหาศาล จึ่งเดินทางไปถึงสวรรค์ ลูกจงกินเหล่านิษาท อันเป็นคนเถื่อนที่มีอยู่จำนวนมากมายในป่าเป็นอาหารเถิด”

เวนไตยมีใจยินดี กราบอำลามารดา นางวินตาจึงสอนลูกเป็นครั้งสุดท้ายพร้อมให้พร
“ลูกรัก ผู้มีอำนาจเรืองฤทธิ์เดช แต่อย่าได้ทะนงตน
ลูกต้องเคารพวรรณะพราหมณ์ อันเป็นวรรณะสูงสุด ต้องเคารพยำเกรง ให้เกียรติเหนือตน ตลอดเวลา
ถ้าเจ้าหลงกลืนพราหมณ์ จักมีอาการแสบร้อนทรมาน จงรีบคายเสีย”

“บัดนี้ลูกกตัญญูของแม่จักเดินทางออกไปเพื่อช่วยแม่
ขอให้ประสพความสำเร็จทุกประการ
พระวายุปกป้องปีกของลูก พระอาทิตย์ และพระจันทร์ปกป้องเบื้องล่างของลูก
พระอัคนีปกป้องศีรษะของลูก และ เหล่าทวยเทพวสุปกป้องกายอื่น ๆ ของลูก
เจ้าจงรีบไปเถิด แม่จะคอยอยู่ที่นี้”
เมื่ออำลา และรับพร พญาเวนไตยจึงออกเดินทางโดยระหว่างนั้นก็เสพเหล่านิษาทไปเป็นจำนวนมาก

และหนึ่งในนั้น ได้เผลอกลืนพราหมณ์ผู้มีภรรยาเป็นนิษาทลงไป
เกิดอาการแสบร้อน ทรมาน จึ่งนึกถึงคำของแม่ รีบคายออกมาทั้งพราหมณ์ และภรรยา

พราหมณ์เห็นความอ้อนน้อม และกตัญญูของพญาปักษา ก็เอ็นดูทันทีให้พรอันทำให้ประสบความสำเร็จในการทำงานสมปรารถนา

พญาเวนไตยแม้จักกินนิษาทมากแค่ไหนก็ไม่อิ่ม คิดหาเหยื่อใหม่
โดยร่อนลงบนเขาเหมกูฏอันเป็นที่ตั้งของพระกัศยปพรหมฤษี
ผู้เป็นบิดาจึงแนะว่าให้ไปกินพญาเต่า และพญาช้าง ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นอสูรด้วยกันทั้งคู่
ที่สู้รบไม่รู้แพ้ ชนะ จึงสาปกันและกันเป็นให้เป็นสัตว์เช่นนี้ ที่ทะเลสาบใหญ่ทางทิศเหนือจากนี้

เมื่อ ได้รับคำแนะจากบิดา เวนไตยก็รีบไปจับ ใช้ปากจับสัตว์ยักษ์ทั้งสองที่กำลังต่อสู้กันอยู่ และโผจับกิ่งไทรใหญ่ กิ่งหนึ่งหวังจะกินอาหารที่ได้มา แต่ทานน้ำหนักไม่ไหว หักลง

ที่กิ่งไม้นั้นเอง มีเหล่าพราหมณ์แคระ พาลขิลยะ มีร่างกายเท่านิ้วมือ ห้อยหัวลงดิน
บำเพ็ญเพียรอยู่ จำนวนหลาย ๑๐๐๐๐ ตน พญาวิหคจึงไม่กล้าทิ้งกิ่งไม้
เกรงอันตรายเกิดแก่เหล่าพราหมณ์ แต่หาที่วางเหมาะ ๆ ไม่ได้ จึงต้องกลับมาหาบิดา

พระเทพบิดรก็ได้เล่าความทั้งหมดที่เกิดแก่เหล่าพราหมณ์แคระ ก็พากันสรรเสริญ
และให้พร
“มหา ปักษิน จากนี้ไปท่านจงมีนามว่า ครุฑ คือผู้รับภาระอันหนัก ไม่ว่าภาระใด ๆ ก็สำเร็จลุล่วงทุกครั้งไป มีพลังมหาศาลไม่มีวันพร่อง เป็นผู้สามารถตลอดกาล ใคร ๆ อย่าได้ต้านทานต่อสู้ได้เลย”

พญาครุฑเอากิ่งไทรไปทิ้งทะเล และกินเหยื่อที่ริมหาดนั้นเอง แล้วก็รีบบินไปเทวโลกทันที

ครู่เดียวเท่านั้น ก็มาถึงนครอมราวดีของท้าววัชรินทร์
มา ถึงพญาครุฑก็เล็งมายัง วิมานไวชยันต์ อันเป็นที่เก็บหม้อน้ำอมฤตไว้ พระวิศวกรรมออกมาขวาง พญาครุฑก็ตบกลิ้งไปด้วยกรงเล็บมหึมา เทพทั้งหลาย รวมทั้งพระอินทร์ก็ต้านทานไว้ไม่ได้เลย

เมื่อเข้าใกล้หม้อน้ำทิพย์ที่ถูกเก็บหลังกรงจักรหมุนติ้ว ๒ อัน
มีงูร้ายตาแดงกล่ำ ๒ ตัวขดอยู่เบื้องล่างของหม้อ

พญาครุฑกระพือปีก ฝุ่นฟุ้ง ไปทั่วจนงูลืมตาไม่ขึ้นและย่อร่างเข้าไปในกรงจักร ทำลายเสีย
แล้วเอาหม้อน้ำทิพย์ออกมาจนได้
ขณะบินออกมาสู่นภาพร้อมหม้อน้ำอมฤต แผ่ปีกบังแสงอาทิตย์เป็นสง่าเหลือคณานับ

พระวิษณุแลเห็นความสง่าสุดบรรยาย พอพระทัยยิ่ง ตรัสสรรเสริญ และมอบพรให้พญาครุฑ
ซึ่งพญาครุฑก้มศีรษะลงคารวะอย่างนอบน้อม และขอไป ๒ ข้อ คือ
“ข้าพระองค์ขอเป็นเพียงพาหนะของพระองค์ชั่วชีวิต และประการ ๒ คือ ข้าพระบาทของมีชีวิตเป็นอมตะ ไม่ต้องดื่มน้ำอมฤตเหมือนเทวาทั้งหลาย”
พระวิษณุก็มอบพรให้
ระหว่างทางกลับ พระอินทร์มีความเสียดายยิ่งนัก ตามมาแย่งคืน
ก็สู้แรงพญานกไม่ได้ แม้เขวี่ยง วัชระ เทพตราวุธประจำกาย
เสียงดังสนั่นปานสวรรค์แตกสลาย ก็ไม่ได้ระคายเคืองพญาครุฑเลย
(เพราะได้รับพรไปแล้ว)

พญาครุฑจึงกล่าวแก่ท้าววัชรินทร์ว่า (กล่าวได้เจ็บแสบ เหน็บเหนมจริง ๆ)
“ดูก่อนท้าววาสพ จงเร่งสำนึกตัว ท่านเป็นพี่คนโตของข้า ข้าก็เคารพความนี้อยู่แล้ว
นอกเหนือจากนั้น ท่านยังเป็นราชาแห่งเหล่าทวยเทพ ข้าก็ยิ่งเคารพยำเกรงท่านมากขึ้นไปอีก
ครั้งนี้ท่านตามมาต่อสู้ แม้ข้าทำร้ายท่าน ท่านก็จะเสียเกียติ
แต่เอาเถอะ ข้าจะยอมลดเกียรติลง ยอมให้ขนของข้าหลุดร่วง ๑ เส้น เพื่อแสดงว่า อาวุธของพี่ข้าได้ผล
สามารถทำร้ายข้าได้ ต่อไปภายหน้าข้าจะไม่ให้โอกาสท่านแล้ว จงสำนึกคำของข้าไว้”
กล่าวจบ ขนสีทองสว่างรุ่งโรจนก็หลุดร่วงลง เปล่งประกายราวกับมีพระอาทิตย์อีกดวง

พระอินทร์สิ้นทิฐิกล่าวขอโทษพญาครุฑ และกล่าวถึงเหตุ และผลของการใช้น้ำอมฤต

พญาครุฑได้ฟังวาจาอ้อนน้อมก็ใจอ่อน และตอบว่ายังไงเสียก็ต้องนำหม้อไปเพื่อช่วยมารดา
“แต่เอาเถอะ หลังจากที่ข้านำหม้อน้ำทิพย์นี่ไปให้นาคแล้ว จงเป็นหน้าที่ของท่านต่อไปเถิด”

พระอินทร์จึงล่องหนตามพญาครุฑไปด้วย
เมื่อนำหม้อน้ำทิพย์มาให้พวกนาค และปล่อยนางวินตาแล้ว นาคก็ตรงเข้าสู่หม้อน้ำทิพย์ทันที พญาครุฑห้ามไว้ ว่า
“จงลงไปอาบน้ำชำระกาย และสวดมนต์คายราตรีเสียก่อน จึงค่อยมาดื่ม”

เหล่านาคเชื่อก็ทำตาม พระอินทร์ก็ฉวยโอกาสนั้น นำหม้อกลับไปได้ รีบกลับเทวโลกทันที

นาคขึ้นมาไม่เห็นหม้อตกใจ แต่ก็ยังโชคดีที่ยังมีละอองน้ำทิพย์เกาะบนยอดหญ้าอยู่

เหล่านาคจึงหลงพากันเลียน้ำค้างธรรมดาบนยอดหญ้าคา
คมที่ปาดลิ้นจึงทำให้งูทั้งหลายมีลิ้น ๒ แฉกเป็นต้นมา
พญาครุฑพาแม่ไปส่งยังสำนักของพระกัศยปเทพบิดร
แล้วกลับมาปฏิบัติการจองเวรแก่นาคทั้งปวง T T
ไล่จับนาคกิน ฉีกพุง กินมันเปลว และเลือด เป็นอาหารอย่างสำราญใจ

นาคทั้งหลายก็หนีไปอยู่สะดือทะเล อันเป็นที่ตั้งของนครโภควดีของพญาวาสุกิ ราชาแห่งนาคทั้งปวง

พญาครุฑก็กระพือปีกแหวกน้ำออกจับนาคขึ้นมาได้อีก พญาวาสุกิเห็นไม่ดี
จึงทำสัญญาต่อพญาครุฑว่าจะทำพิธีสรรปพลี สังเวยนาคแก่พญาครุฑวันละตัว
ณ ลานหินริมฝั่งทะเล พญาครุฑก็ยอม

เลือดของนาคที่หยอดลงพื้นกลายเป็นมรกตนาคสวาท
น้ำลายปนเลือดครั้งสุดท้าย กลายเป็นพลอยครุฑกานต์ เรี่ยราดอยู่ตามชาดหาดนั้นเอง

ผลงานประพันธ์นี้ คือ ศ.ดร.ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา
นำมาจากหนังสือเรื่อง “ภาตรนิยาย” หนังสือหนามาก เกือบ ๑๐๐๐ หน้าได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น