Asd

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

พังงา

พังงาขุดเมืองท่าอายุ 1,200 ปี
จากหนังสือ อนุสาร อสท ฉบับเดือน มิถุนายน 2546

เจ้าหน้าที่จากพิพิธภัณสถานแห่งชาติ ภูเก็ต เข้าขุดค้นโบราณสถานในตำบลเกาะคอเขา อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา พบศาสนสถาน 3 แห่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 หรือประมาณ 1,200 ปีที่ผ่านมา และสามารถขึ้นรูปบูรณะได้ รามถึงโบราณวัตถุอีกหลายร้อยชิ้น เช่น เครื่องแก้วโรมัน ลูกปัด ถ้วยโบราณสีเขียวจากเปอร์เซีย โดยโบราณวัตถุทั้งหมดที่ขุดพบจะเก็บไว้บริเวณที่ เดิมไม่นำออกไปจากพื้นที่แต่อย่างใดเมื่อบูรณะโบราณสถานบริเวณดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์ พังงาจะมีแหล่งท่องเที่ยวที่ล้ำค่าทางประวัติศาสตร์มากที่สุดในย่านทะเลอันดามัน สอดคล้องกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของจังหวัด และเป็น การกระจายรายได้สู่ชุมชนพื้นที่แห่งนี้กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานตั้งแต่ปี 2478 เพราะเดิมเป็นเมืองท่าเชื่อมโยงการค้าระหว่างยุโรปไปยังจีน หรือจากเปอร์เซียไปยังจีน โดยมีคลองศรีเสนาที่ปากน้ำอยู่ในพื้นที่อำเภอตะกั่วป่า ปลายน้ำอยู่ในอำเภอกะปง และเมื่อแล่นเรือจนสุดปลายน้ำแล้วสามารถเดินเท้าไปยังคลองพุมดวง จังหวัดสุราษฎร์ธานีแห่งอาณาจักรศรีวิชัยได้ นับเป็นการเชื่อมโยงวิถีชีวิตชุมชนโบราณระหว่างฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งทะเลอ่าวไทย

เทวรูปหินพระวิษณุ พระศิวะ และพระลักษมีทั้งสามองค์นี้เป็นฝึมือช่างปัลลวะในอินเดียใต้ (พุทธศตวรรษที่ 12-14) พบที่ตำบลเหล อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ในสมัยรัชกาลที่ 5 ครั้งเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า ฯ ทรงดำรงพระยศเป็นพระมกุฏราชกุมาร ได้เสด็จทอดพระเนตรเทวรูป 3 องค์ โผล่พระพักตร์และลำพระองค์ออกมาจากโคนต้นตะแบก ไม่มีผู้ใดทราบว่าแรกเริ่มเดิมที เทวรูปเหล่านี้อยู่ที่ใดมาก่อน หรือเคลื่อนย้ายมาแต่ที่ใดจึงถูกตะแบกหุ้มไว้เช่นนั้น ลักษณะทรงผมและผ้านุ่งห่มแสดงแบบอินเดียชัดเจนปัจจุบัน เทวรูปทั้งสามองค์นี้เก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น