Asd

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

สังกัสสะ

ที่ตั้งและลักษณะภูมิประเทศ
     สังกัสสะนคร เรียกตามสำเนียงสันสฤตว่า สังกัศยะ (Sankasya) หรือในปัจจุบันเรียกว่า สังกิสสะ (Sankissa) เป็นนครอยู่ในแคว้นปัญจาบ(ปัญจาละ) ปัจจุบันอยู่ไกลจาก สาวัตถีไปประมาณ ๙๐ ไมล์ โดยตั้งอยู่ระหว่างลักเนาว์กับอัคร่า ห่างจาก เมืองกานบุรี (กานปุร์ ไป ๘๗ ไมล์ เป็นหมู่บ้านสังกิสะ ใกล้แม่น้ำกาลี ในเขตของอำเภอ ฟาร์รุกฮะบาด (FARRUK - HABAD) ในรัฐอุตตรประเทศ

     ตามประวัติศาสตร์ของอินเดียบันทึกไว้ว่า สังกัสสะเป็นเมืองใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา อีกแห่งหนึ่งที่มั่นคง เมื่อถึงกาลอวสานสภาพเมืองกลับกลายเป็นป่าในที่สุด ยิ่งเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๗๖๒ บรรดาพราหมณ์พากันยุยงราชาไชยจันทร์แห่งเมืองกาเนาซ์ (หรือกาโนชน์) ว่า พระพุทธศาสนาเป็นภัยอันตรายร้ายแรงต่อฮินดู หากขืนปล่อยไว้บ้านเมือง จะล่มสลาย ราชาไชยจันทร์จึงกรีฑาทัพมาทำลายเสียราบคาบ สังกัสสะ จึงกลายเป็นเศษกองอิฐและเสื่อมสลายกลายเป็นแผ่นดินท้องทุ่งโล่งในที่สุด
     ดร.รามรุท สิงห์ นักประวัติศาสตร์ทางพระพุทธศาสนาแห่ง มหาวิทยาลัยมคธ รัฐพิหาร กล่าวว่าความจริงพราหณ์เองก็ถือว่าสังกัสสปะ เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของเขาเหมือนกัน ในคัมภีร์รามายณะเรียกสังกัสสะว่า “สังคัสสะ” การที่พวกพราหมณ์ต้องทำลายสังกัสสะเสียนั้น คงเนื่อง มาจากศาสนาพุทธรุ่งเรืองมาก ไม่กระนั้นพวกพราหมณ์คงจะหมดอาชีพไป
ความเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ
    เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ แล้วเสด็จขึ้นไปจำพรรษา ณ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงแสดงพระธรรม เทศนาอภิธรรม ๗ คัมภีร์โปรดพุทธมารดาตลอด ๓ เดือน จนกระทั่งเมื่อถึงวันมหาปวารณาได้เสด็จมาสู่มนุษยโลก พระมหาโมคคัลลานะ แสดงปาฏิหาริย์เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ณ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ทูลถามว่าพระองค์เสด็จมาสู่โลก มนุษย์ ณ ที่ใดพระพุทธองค์ทรงตรัสถามว่า พระสารีบุตร และเธอจำพรรษาที่ใด เมื่อทราบคำ กราบทูลว่าท่านทั้งสองจำพรรษาอยู่ที่นครสังกัสสะ พระพุทธองค์จึงทรงตกลงพระทัยเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ที่ใกล้ประตูเมืองสังกัสสะนคร ท่ามกลางเทพพรหม ซึ่ง แวดล้อมเป็นบริวาร วันนั้นพระทรงโปรดให้โลกทั้ง ๓ (สวรรค์ มนุษย์ นรก) ให้สามารถมองเห็นกันได้ทั้งหมด คือญาติที่เสียชีวิตถ้าอยู่บนสวรรค์ ก็สามารถเห็นญาติในเมืองมนุษย์ ญาติที่ตกนรกอยู่ก็สามารถเห็นญาติในเมืองมนุษย์ได้ ส่วนมนุษย์ก็สามารถเห็นญาติของตนทั้งในนรกและบนสวรรค์เช่นกัน หรือที่เรียกว่า วันพระเจ้าเปิดโลก ทำให้ผู้ที่ไม่เลื่อมใสได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ผู้ที่เลื่อมใสอยู่แล้วยิ่งเลื่อมใสยิ่งขึ้น
นครสังกัสสะนครหลังพุทธกาล
    ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชกล่าวกันว่า คราวเมื่อพระบรมศาสดา เสด็จลงจากดาวดึงส์ สวรรค์ นภากาศปรากฏบันไดทอง บันไดแก้วมณี และบันไดเงิน ขึ้นทางขวาเป็นที่ลงของพระพรหมทางซ้ายเป็นที่ลงของเทพยดา เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จถึงพื้นดินบันไดทั้งสามก็อันตรธานไปเหลือให้เห็น เพียงเจ็ดขั้น พระเจ้าอโศกมหาราชทรงขุดดูลึกลงไปก็ยังไม่สิ้นสุด พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธายิ่ง จึงได้สร้างอุโบสถคลุมบันไดไว้ พร้อมกับโปรดให้สร้างพระพุทธรูปสูง ๑๖ ฟุต ปักเสาศิลาจารึกและประดิษฐานสิงโตไว้บนยอดเสา
     พ.ศ. ๙๔๓ ท่านหลวงจีนฟาเหียน เรียกนครสังกัสสะว่าสังเกียส ประวัติศาสตร์ในยุคหลังปรินิพพานไม่ชัดเจนนักทราบเพียงบางส่วนที่กล่าวไว้ในสังคีติ คือ เมื่อการทำสังคายนาครั้งที่ ๒ ที่พระเรวตะมาพักที่นครสังกัสสะ แล้วค่อยเดินทางไปร่วมประชุมที่วาลิการาม นครเวสาลี ตามบันทึกยังกล่าวอีกว่า บริเวณนครสังกัสสะมีอาณาเขตถึง ๒,๐๐๐ ลี้ มีวัดทางพระพุทธศาสนาถึง ๔ วัด พระสงฆ์อีก ๑,๐๐๐ รูป ทั้งหมดเป็นพระทางฝ่ายเถรวาทหรือสถวีระ นิกายมิติวาทซึ่งแยกมาจาก นิกายวัชชีปุตตกวาท มีเทวาลัยอยู่ ๑๐ แห่ง และในเมืองนี้ยังมีนักบวชนอกพระพุทธศาสนาอยู่เป็นจำนวนมาก
     พระถังซำจั๋ง ได้บันทึกนครสังกัสสะว่า พลเมืองที่อยู่อาศัยที่ สังกัสสะ มีกิริยานุ่มนวล พวกผู้ชายตั้งหน้าตั้งตาเล่าเรียน มีสังฆารามใหญ่ ประดิษฐานพระพุทธรูปงามวิจิตร ในบริเวณ สังฆารามมีบันได ๓ ขั้น ตั้ง เรียงกันเป็นที่หมายว่าพระบรมศาสดาเสด็จลงจากดาวดึงส์สวรรค์สู่โลกมนุษย์ที่แห่งนั้น ซึ่งปัจจุบันนี้มีแต่เพียงซากอุโบสถเป็นเพียงกองดินเป็นเนินสูง ขึ้นไป เบื้องล่างใกล้เคียงกันมีเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช ส่วนบนเป็น รูปช้าง แต่ก็ถูกทำลายลงเหลือแต่เพียงตอ เท่านั้น
    พระถังซำจั๋ง กล่าวถึงหลักศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกว่า ขณะที่ ท่านพบ สูงประมาณ ๗๐ ฟุต ตั้งอยู่ข้างวิหาร ยามเมื่อต้องแสงพระอาทิตย์ หลังนี้จะสะท้อนเป็นสีชมพูส่องแสงแวววับ ด้วยว่าสร้างจากหินอย่างดี บดละเอียดมีสิงโตหมอบตั้งอยู่บนยอดเสา หันหน้าไปทางบันไดทั้งสามนั้น ข้างเสาหินได้เห็นสถูปและวิหารที่พระพุทธองค์เสด็จเข้าสมาธิ ข้างวิหาร มีกำแพงยาว ๕ ก้าว สูง ๒ ฟุต เป็นที่พระบรมศาสดาเดินจงกรมมีรูปดอกบัว เป็นเครื่องหมายอยู่บนกำแพง อย่างเดียวกับที่พุทธคยา
     ท่าน เซอร์ คันนิ่งแฮม ได้เดินทางมาสำรวจโบราณสถานที่สังกัสสะ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๕ ได้พบซากวิหารกำแพงและพระพุทธปฏิมากรบางส่วน เท่านั้น
    สถานที่น่าสนใจ
  ๑. เนินสถูป เป็นดินขนาดใหญ่ ความสูงประมาณ ๑๒ เมตร มีซากอิฐเรียงรายขนาดใหญ่เหมือนป้อมต่อมาป้อมได้พังลงตามกาลเวลา ซึ่งเป็นสถูปที่พระเจ้าอโศกสร้างถวาย ซึ่งได้ปักเสาหินรูปช้างไว้ข้างสถูปด้วย เมื่อสถูปได้ผุพังตามกาลเวลาไม่มีใครดูแลได้มีชาวฮินดูน้ำรูปพระศิวะ และพระนางปารวตีไปตั้งไว้ จึงเป็นที่บูชาของชาวฮินดู แล้วสร้างวัดฮินดูครอบไว้นามว่า วิสาลีเทวีมันตีร นอก จากนั้นภายในเนินสถูปพบพระพุทธรูปเก่าเป็นจำนวนมาก แต่ได้สูญหายไปหมด เมื่อเจ้าหน้าที่มาสำรวจึงเหลือเพียงบางองค์ที่แตกหักเท่านั้น
  ๒. เสาอโศก คงเหลือไว้แค่ยอดเสาแกะสลักเป็นรูปช้างตัวเดียว งวงหักไป ทำจากหินทรายแดงขัดมัน สูงราว ๒ เมตร ไม่มีข้อความจารึกเขียนไว้
  ๓. ภาพพระพุทธเจ้า ห่าง จากเสาอโศกเล็กน้อยมีอาคารขนาดเล็กตั้งอยู่ ด้านในมีภาพแกะสลักสีดำ ซึ่งพบโดยดร.พระวิชัยโสมรัตนะเถระ ชาวศรีลังกา ตั้งอยู่ใกล้สระน้ำของหมู่บ้าน เป็นภาพพระพุทธเจ้ากำลังเสด็จลงมาจากสวรรค์ โดยมีท้าวมหาพรหมถือฉัตรให้พระพุทธองค์ยืนอยู่เบื้องซ้าย ท้าวสักกะถือบาตร ท้าวสุยามะถือแส้จามร ถวายงานพัดพระศาสนา ปัญจสิขเทพบุตรบรรเลงพิณ มาตุลีเทพบุตรถือของหอมบูชา มีบันได ๓ อย่าง คือบันไดทอง บันไดแก้ว บันไดเงิน
  ๔. วัดศรีลังกา วัดเทโวอาโรหณะ ไมตรียะ พุทธวิหาร สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งมีพระวิชัย โสมะ มีพระจำพรรษา ๒ รูป คือ ดร.พระปัญญาสาระเถระ เป็นเจ้าอาวาส มีโรงเรียนระดับมัธยมภายในวัดด้วย เพื่อสอนเด็กยากไร้ทั่วไป สามารถเป็นที่พักได้
  ๕. วัดอินเดีย วัด ศากยมุนี พุทธวิหาร อยู่ห่างจากสถูปประมาณ ๑ กิโลเมตร ในเขตอำเภอเมนบุรี สร้างโดยพระธัมมปาละ พระชาวอินเดียที่จบจากมหาวิทยาลัยสัมปูรณานันทสันสฤต พาราณสี เป็นศิษย์วัดพระยายัง กรุงเทพฯ มีเนื้อที่ประมาณ ๑ ไร่ ๖. วัดที่กำลังก่อสร้างคือ วัดพม่า วัดเกาหลี และวัดธิเบต

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

The Churning of the Ocean

   A long time go, both gods and demons had been weakened by the failiure of Amrita and some other precious things to reappear after the recreation of the universe.
    The gods decided that they would need the demons in order to help in the churning of the ocean of milk, which would bring forth these treasures. They offered them an equal share of the Amrita, though they could never afford to give the demons the strength provided by the Amrita, which would have made them even stronger than the gods.
    The demons agreed to the proposal and first helped the gods to tear up the Mount Madura for use as a churning stick. The serpent Vasuki was brought from his underwater abode to be used as a churning rope. Trough a trick of Vishnu , the gods took the tail end and the demons pulled from the head. As the churning progressed, Vasuki's breath grew very hot and the demons almost suffocated.
   When the serpent Vasuki started to vomit a poison that threatened to contaminate the ocean of milk and the Amrita, Shiva took it in his mouth, where it turned his throath blue. 
   As the churning progressed, the Mount Madura began to sink into the ocean bed. Thereupon, Vishnu assumed the form of his turtoise avatar Koorma , dived to the bottom and let them use his back as a pivot upon which the churning stick could turn.
   The Ocean produced Lakshmi , Sura, goddess of wine, Chandra or the Moon , Rambha the nymph, Uchchaisravas the white horse, Kaustubha a jewel, Parijata the celestial wishing tree, Surabhi the cow of plenty, Airavata a white elephant, Sankha a conch shell, Dhanus a mighty bow and Visha the poison vomited by Vasuki
   And at last the Ocean also produced the Amrit, carried by Dhanwantari . Both gods and demons immediately tried to seize it but the demons were first. While they were quarreling over who should drink it first, Vishnu assumed the form of Mohini, a beautiful woman, and through sleight of hand, she gave the demons varuni, or liquor, while the gods got the amrit.
   The demons, however, caught on to the deception and grabbed the amrit kumbh or pot of elixir. During the quarrel, some drops of the elixir fell on the earth, that later became the precious gem mines.
   Jayant, the son of Indra, removed the pot from the quarreling gods and demons and ran away with it. He rested at four places in India, where he set down the pitcher, drank a little, and let a few drops of nectar spill to the ground. Where these drops landed became the four sacred sites of the Kumb Mela.
   Another version has it that Garuda , the sacred mount of Vishnu, spilled the amrit four times at the four places where the Kumb Mela festival is now held. His journey took 12 days, equalling 12 years for mortals

Refer # http://www.sanatansociety.org