Asd

วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ศิลปกรรมเขมร

ศิลปกรรมเขมร

สถาปัตยกรรมเรียกว่า “ปราสาท” (Sanctuary) ปราสาทไม่ใช่ที่อยู่ของกษัตริย์ แต่เป็นศาสนสถาน หากเป็นศาสนสถานของศาสนาฮินดู จะเรียกว่า เทวาลัย หากเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธ คือ วัด

ประกอบด้วย ฐาน ค่อนข้างเตี้ย, เรือนธาตุ และเครื่องบน (หลังคา)
วัสดุในการก่อสร้าง ในระยะแรกคืออิฐ ต่อมาคือหินทราย และศิลาแลงตามลำดับ

ทับหลัง ศิลาสลักแท่งสี่เหลี่ยม วางเหนือกรอบประตู (Lintal)
ทับหลังที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในเมืองไทย มีอายุกลางพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นรูปตัว มกร พบที่วัดทองทั่ว จ.จันทบุรี

ศิลปะเขมรสามารถแบ่งออกเป็น 2 ยุคใหญ่ คือ
สมัยก่อนเมืองพระนคร ประกอบด้วย
ศิลปะแบบพนมดา (พ.ศ.1080 – 1140) ตรงกับปลายสมัยฟูนัน
ศิลปะแบบถาลาบริวัต (พ.ศ.1150)
ศิลปะแบบสมโบรไพรกุก (หลัง พ.ศ.1140 – 1190)
ศิลปะแบบไพรกเมง (พ.ศ. 1175 – 1240)
ศิลปะแบบกำพงพระ (พ.ศ.1246 – 1340)
ศิลปะแบบกุเลน (พ.ศ.1365 – 1415) ยุคนี้ถือเป็นยุคหัวเลี้ยวหัวต่อ
สมัยเมืองพระนคร ประกอบด้วย
ศิลปะแบบพระโค (พ.ศ.1415 – 1433)
ศิลปะแบบบาแค็ง (พ.ศ.1433 – 1465) ตรงกับสมัยพระเจ้ายโศวรมันผู้สร้างเมืองพระนคร
(Angkor) และมีปราสาทพนมบาแค็งเป็นศูนย์กลาง
ศิลปะแบบเกาะแกร์ (พ.ศ.1464 – 1485) ตรงกับสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 4
ศิลปะแบบแปรรูป (พ.ศ.1490 – 1505)
ศิลปะแบบบันทายสรี (พ.ศ.1510 – 1540)
ศิลปะแบบคลัง (พ.ศ.1505 – 1550)
ศิลปะแบบบาปวน (พ.ศ.1550 – 1620) ตรงกับสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1
ศิลปะแบบนครวัด (พ.ศ.1640 – 1715) ตรงกับสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างปราสาทนครวัด
ศิลปะแบบบายน (พ.ศ.1720 – 1770) ตรงกับรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ผู้สร้างเมืองพระนครหลวง
(Angkor Thom) โดยมีปราสาทบายนเป็นศูนย์กลาง



ศิลปะแบบสมโบรไพรกุก ที่พบเป็นทับหลังรูปตัวมกร หันหน้าเข้าหากัน ประติมากรรมรูปพระอุมาพบที่ จ.สระแก้ว
ศิลปะแบบไพรกเมง ทับหลังที่พบมักเป็นลายพันธุ์พฤกษา สำหรับสถาปัตยกรรมที่พบเก่าแก่ที่สุดคือปราสาทพุมโทน จ.สุรินทร์ ก่อด้วยอิฐ
ศิลปะแบบกำพงพระ สมัยนี้อาณาจักรเขมรเกิดการจราจล ทำให้ศิลปะเสื่อม จึงพบน้อย ทับหลังที่พบเป็นลวดลายท่อนพวงมาลัย ใบไม้
ศิลปะแบบเกาะแกร์ ทับหลังยุคนี้มีวิวัฒนาการ คือมีท่าท่อนพวงมาลัย ออกจากกึ่งกลางทับหลัง ตรงกลางเป็นรูปรามาวตาร สมัยนี้นิยมภาพเล่าเรื่อง
ศิลปะแบบคลัง ทับหลังมีรูปตัวหน้ากาล (เป็นสัตว์ที่มีแต่ศรีษะ มีริมฝีปากบนไม่มีริมฝีปากล่าง) คลายท่อนพวงมาลัยออกจากปากเบื้องล่างทับหลังแล้ววกขึ้นบน มีพวงอุบะแบ่งที่เสี้ยว พบที่ปราสาทเมืองต่ำที่เดียว
ศิลปะแบบบาปวน ศิลปะแบบบาปวนมี 3 แบบ
1. แบบบาปวนแท้ แต่นำพวงอุบะออก
2. ท่อนพวงมาลัยยังคงมีอยู่ตรงกลางให้เป็นภาพเล่าเรื่อง
3. ท่อนพวงมาลัยหายไป เป็นภาพเล่าเรื่องทั้งแผ่น
ปราสาทที่สำคัญของยุคนี้คือปราสาทเมืองต่ำ มีสระน้ำทั้ง 4 มุมของปราสาทโดยนำหนิมาสลักเป็นนาคเลื้อยรอบขอบสระนาคบาปวนเป็นนาคหัวโล้น ไม่มีรัศมี
ศิลปะแบบนครวัด เป็นสมัยที่ศิลปะเขมรเจริญถึงขีดสุด มีความสวยงามที่สุด ทับหลังเป็นภาพเล่าเรื่อง นาคมีรัศมี ตัวอย่างปราสาทขอมแบบนครวัดในเมืองไทยคือปราสาทหินพิมาย ก่อด้วยหินทราย ปราสาทเขาพนมรุ้ง สร้างเพื่อถวายพระศิวะ ในความหมายของเขาไกรลาศ ที่ประทับของพระองค์
สำหรับพุทธปฎิมากรรมเขมรมักนิยมสร้างพระปางนาคปรก แต่ในยุคนครวัดจะเป็นพระนาคปรกทรงเครื่อง คือสวมมงกุฎ สวมต่างหู และหน้าบึ้ง
ศิลปะแบบบายน สมัยนี้นับถือพุทธศาสนานิกายมหายาน ประติมากรรมยังคงนิยมสร้างพระปาง นาคปรกอยู่ นอกจานี้ยังมีการสร้างพระรวมกลุ่ม 3 องค์เรียกว่าพระรัตนไตรมหายานประกอบด้วย
1. พระพุทธเจ้า 2. พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 3. พระนางปัญญาปารมิตา
สำหรับทับหลัง เป็นรูปหน้ากาล เหนืออหน้ากาลทำเป็นรูปพระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์อวโลกิเต
ศวร ตัวหน้ากาลคลายลายในไม้ม้วน
สำหรับปราสาทจัดว่าเป็นยุคเสื่อม เพราะ 1. รูปแบบที่เทอะทะ 2. วัสดุมักใช้ศิลาแลงที่มีคุณภาพสู้หินทราบไม่ได้ 3. เทคนิคการก่อสร้างที่วางศิลาแลงในแนวเดียวกันทำให้การยึดติดไม่ดี