ด้านสถานการณ์พุทธศาสนากำลังกระเตื้องที่ละนิด ชาวอินเดียรู้จักพุทธศาสนามากขึ้นเพราะ ๑. ไม่มีการจัดฉลองพุทธชยันตี ๒. มีการนำสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาคือธรรมจักรไปไว้ในธงชาติอินเดีย ๓.การเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธครั้งใหญ่ของชาวฮินดูชั้นต่ำ นำโดย ดร.เอ็มเบ็ดการ์ ราวห้าแสนคนที่นาคปูร์ นอกจากนั่น ยังมีการเปลี่ยนมานับถือตามลำดับ เช่น ที่เดลลีและที่รัฐคุชราต เป็นต้น
ปัจจุบันชาวพุทธจึงทวีจำนวนมากขึ้นตามลำดับแหล่งที่ชาวพุทธอยู่เป็นจำนวนมาก คือแถวรัฐอัสสัม เมืองลาตัก แคว้นจัมมูและแคชเมียร์ ,รัฐหิมาจัลประเทศ, เมืองนาคปูร์ รัฐมหาราฎร์, เมืองดาร์จีลิง รัฐเบงกอล, รัฐสิกขิม เป็นต้น และพระสงฆ์อินเดียหลายรูปในปัจจุบันก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าราชการด้วย เช่น ท่านกุสุก บากุร่า (Kusuk Bakura) ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตอินเดียประจำมองโกลเลีย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔ ท่านเป็นพระลามะอินเดียวัย ๘๐ ปี เป็นผู้นำชาวพุทธคนสำคัญของเมืองลาดัก ซึ่งมีวัฒธรรมที่คลายกับธิเบต นอกจากนั้น คือ ท่านธัมมวิริโย (Dhammaviriyo) พระสงฆ์เถรวาทวัย ๕๖ ปี จากเมืองดาร์จีลิงก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงในการทรวง มหาดไทยซึ่งมีฐานะเทียบเท่ารัฐมนตรี การที่พระสงฆ์เหล่านี้ได้รับตำแหน่งข้าราชการสามารถมองได้สองด้าน ด้านหนึ่งก็สามารถมีปากมีเสียงแทนชาวพุทธได้ ส่วนด้านหนึ่งการเข้ายุ่งเกี่ยวกับการเมืองเกินไป ก็จะทำให้การเมืองครอบงำจนกลายเป็นลิ่วล้อนักการเมืองไป แต่ต้องน่าเห็นใจเพราะในอินเดียการที่ผลักดันโครงการต่าง ๆ ล้วนอยู่ภายใต้อำนาจการเมืองทั่งนั้น นอกจากพระสงฆ์อินเดียแล้วยังมีพระสงฆ์ต่างชาติที่เข้าไปเผยแพร่พุทธศาสนาใน อินเดียหลายท่าน เช่น ท่านฟูจิอิิ ผู้นำนิกายสงฆ์นิกายหนึ่งในญี่ปุ่น เป็นต้น ท่าน เหล่านี้ได้เข้าไปเผยแพร่ และสร้างวัดหลายแห่งในอินเดีย เช่น ที่ภูเขาเมืองราชคฤห์ที่ลาดัก ดาร์จีลิง เวสาลี โอริสสา บอมเบย์ มนาลี เป็นต้น
การที่จะทำให้พุทธศาสนาเจริญขึ้นในแผ่นดินมาตุภูมิอีกเหมือนในอดีตเป็นเรื่องยากพอสมควร เพราะเหตุว่า ๑. ขาดการจัดตั้งที่ดีพอ ๒. ขาดพระสงฆ์ผู้เผยแพร่ที่เอาจริงเอาจังและปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ๓.ขาดงบประมาณสนับสนุน ฐานะชาวพุทธอินเดียมักมีความยากจน เพราะเป็นคนวรรณะต่ำ หันมานับถือพุทธศาสนา ๔. ขาดผู้นำที่เข้มแข็ง นับแต่ดร.เอ็มเบ็ดการ์เสียชีวิตแล้วก็ไม่มีใครเป็นผู้สืบต่อ แม้บุตรชายของท่านเองก็ไม่ได้ทำตาม ๕.ฐานะของพระพุทธเจ้ากลายมาเป็นอวตารองค์ที่ ๙ ของพระวิษณุ ชาวฮินดูจึงมองว่าพุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของฮินดู อย่างไรก็ตามปัจจุบันการเผยแพร่พุทธศาสนาก็ยังเป็นไปได้บ้าง แต่เป็นไปด้วยความล่าช้า และเป็นที่น่ายินดีว่า องค์การยุเนสโกได้ยกพุทธคยาขึ้นเป็นมรดกของโลก เมื่อปีนี้ (๒๕๔๕) จึงหวังใจได้ว่าพุทธคยาและพุทธสถานอื่น ๆ ในอินเดียจะได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี
๑. อุปสรรคการเผยแพร่พุทธศาสนาในอินเดีย |
การ สูญสลายไปของพุทธศาสนาจากอินเดียนับเป็นเรื่องน่าเศร้าในประวัติศาสตร์ แม้กระทั่งชาวอินเดียก็ยังงงกับชะตากรรมของศาสนาที่เคยกุมชะตาชีวิตชาว อินเดีย และแนวคำสอนบางอย่างที่แฝงอยู่ในลัทธิฮินดู และเมื่อภัยต่าง ศาสนาที่สำคัญในอดีตของพุทธศาสนาคือมุสลิมก็ไม่มีบทบาทอีกแล้วในอินเดีย หลายคนจึงตั้งความหวังลึก ๆ ว่า พุทธศาสนาน่าจะกลับมารุ่งเรืองอีกในแผ่นดินมาตุภูมิ ดังคำที่ท่านบัณฑิต เนห์รู นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดียคงไม่เป็นอินเดีย" หรือว่า "ข้าพเจ้าไม่ได้นับถือศาสนาใด แต่ถ้ามีการบังคับให้นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งแล้ว ข้าพเจ้าเลือกเอาพุทธศาสนา" ท่านบัณฑิตเนห์รูเองก็ยังหวังให้พุทธศาสนากลับมาอยู่ในใจชาวอินเดียอีก ส่วนดร.เอ็มเบ็ดการ์ กล่าวว่า "ผมจะทำให้อินเดียกลายเป็นประเทศพุทธศาสนาภายในเวลา ๑๐ ปี" ล้วนเป็นคำพูดที่หวังให้พุทธศาสนาฟื้นคืนมาอีกครั้งหนึ่ง แต่การที่จะทำให้ประเทศที่นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งอย่างมั่งคงแล้ว ให้แปรเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่น จึงแทบเป็นไปไม่ได้อุปสรรคที่สำคัญที่ทำให้พุทธศาสนาไม่อาจจะกลับมาเจริญได้ คือ
๑. พระพุทธเจ้าเป็นอวตารของฮินดู
ทฤษฎีนี้ยังฝังรากลึกในคนอินเดียโดยทั่วไปโดยเฉพาะชาวฮินดู แต่ชาวซิกซ์ คริสเตียน หรือมุสลิมหรือเชนกลับไม่เชื่อเรื่องนี้ ความจริงไม่ใช่เฉพาะพุทธศาสนาเท่านั่นที่ฮินดูต้องการรวมหัวรวบหาง ทั้งเชนและซิกซ์เองก็ถูกชาวฮินดูถือว่าเป็นสาขาหนึ่งของฮินดูเช่นกัน ความเชื่อนี้เป็นอุปสรรคสำคัญที่จะเผยแพร่พุทธศาสนาในแดนมาตุภูมิ เพราะถ้าถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นอวตารองค์หนึ่งของฮินดูแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นต้องไปนับถือศาสนาพุทธใหม่ เพราะเป็นอันเดียวกันอยู่แล้ว
๒. องค์กรสงฆ์อินเดียไม่เข้มแข็ง
เนื่องจากคณะสงฆ์และพุทธศาสนาในอินเดียถูกทำลายไปยาวนาน ถึง ๘๐๐ ปีมากกาว่าอายุของประเทศไทยเราเสียอีก เมื่อฟื้นฟูขึ้นมาใหม่จึงต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป การเผยแพร่พุทธศาสนาจะอาศัยสงฆ์อินเดียจึงเป็นเรื่องยาก เพราะหาผู้มีความรู้ได้น้อย ขาดการอุปถัมภ์ บางรูปกิริยามารยาทไม่นำพาต่อการเลื่อมใส ตำราที่สึกษาก็ยังมีน้อย วัดที่จะจำพรรษาก็ยังไม่ค่อยมี จึงเป็นเรื่องลำบาก
๓. ชาวฮินดูต่างยึดมั่นในศาสนา
จุดหมายของการเผยแพร่พุทธศาสนาในอินเดียก็คือต่อชาวฮินดูอันเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ คงไม่สามารถเผยแพร่ต่อชาวมุสลิมหรือเชนได้ แต่เมื่อวิเคราะห์ดูแล้ว ชาวฮินดูไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือเศรษฐีต่างยึดมั่นในคำสอนและประเพณีทางศาสนาอย่างเคร่งครัด ศาสนาและประเพณีสามารถครอบคลุมวิถีชีวิตของพวกเขาได้อย่างลึกซึ้ง การที่ไปเผยแพร่ให้พวกเขามานับถือศาสนาใหม่ จึงเป็นเรื่องยากพอสมควร
๔. พระสงฆ์เถรวาทไม่งดเนื้อสัตว์
การ ถือมังสวิรัติคือ เว้นจาการทานเนื้อ เป็นเรื่องที่ชาวอินเดียฮินดูทำอย่างเข็มงวด และพวกเขาตั้งแนวคิดไว้ว่าพระในศาสนาพุทธเอง ก็คงเว้นการฉันเนื้อซึ่งเป็นประเพณีมาตั้งแต่พระเจ้าอโศกมหาราช แต่เมื่อมาเห็นว่านักบวชในศาสนาพุทธโดยเฉพาะฝ่ายเถรวาทยังฉันเนื้อหรือบาง องค์สูบบุหรี่อยู่ พวกเขาก็เบือนหน้าหนี ความศรัทธาเลื่อมใสก็คงไม่เกิด การเว้นจากการทานเนื้อและบุหรี่จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับที่จะทำศรัทธา ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นในสังคมอินเดีย
๕. ขาดผู้สอนที่อดทนทุ่มเทอย่างจริงจัง
ผู้ที่จะเป็นพระธรรมทูต เพื่อเผยแพร่ในอินเดียต้องมีความเสียสละอดทนกับสภาพอากาศที่เลวร้าย อาหารที่ไม่ถูกปาก นิสัยใจคอคนที่แตกต่าง ต้องมีความประพฤติดี ต้องอดทนต่อคำส่อเสียด คำด่าขอางพวกนอกศาสนา นอกจากนั้นยังสามารถปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นบางอย่างได้เหมือนกับบาทหลวงชาวคาทอลิค ซึ่งประสบความสำเร็จสามารถเปลี่ยนชาวอินเดียมานับถือศาสนาคริสต์เกือบ ๒๒ ล้านคนในปัจจุบัน
อย่าง ไรก็ตาม แม้ว่าการฟื้นฟูพุทธศาสนาในอินเดีย ซึ่งก็ประสบความสำเร็จมากบ้างน้อยบ้างปัจจุบันการเปลี่ยนศาสนามานับถือพุทธ ศาสนายังมีอยู่ต่อมาทั้งที่นาคปูร์ เดลี และพุทธคยา เช่น วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๕ ชาวฮินดูวรรณะต่ำก็ได้หันเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาที่พุทธคยาราว ๒๐๐ คน โดยมี ท่านปรัชญาศีล อดีตเลขานุการคณะกรรมการดูแลพระเจดีย์พุทธคยาเป็นผู้ให้ศีลและรับเข้าใน ศาสนา การเปลี่ยนศาสนาของพวกเขาได้รับการประณามจากชาวฮินดูวรรณต่ำที่เดลลีเปลี่ยน ศาสนาโดยขอใช้บริเวณสนามกีฬาเป็นที่ชุมนุม แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจนสุดท้ายต้องอาศัยสวนสาธารณะเป็นต้น การหันเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาของพวกเขาโดยมากเพียงเพื่อหวังยกระดับ ยกฐานะของตนเองให้สูงขึ้นในสังคมอินเดีย เพราะพวกเขาเป็นกลุ่มคนที่ถูกรังเกียจเหยียดหยาม และไม่ได้รับการเหลียวแลมานาน แม้ว่าพวกเขาเหล่านี้จะเป็นคนชั้นต่ำ แต่ก็เป็นการเพิ่มปริมาณผู้นับถือพุทธศาสนาได้พอสมควร
๒. กลุ่มบุคคลและองค์กรชาวพุทธที่สำคัญ |
ในอินเดียปัจจุบันยังมีกลุ่มบุคคล และองค์กรทางพุทธศาสนาหลายกลุ่มที่พยายามเผยแพร่ศาสนาอยู่อย่างจริงจัง หลายองค์กร บางองค์กรสามารถเผยแผ่ได้อย่างได้ผลดี บางองค์กรก็ได้ผลบ้าง สามารถเรียงตามลำดับตามความสำเร็จดังนี้
๒.๑ สำนักกรรมฐานของโคอินก้า (Goenka Vipassana centre)
ท่าน สัตยา นารายัน โกอินก้า |
การ เผยแพร่พุทธศาสนาตามแนวของท่าน สัตยา นารายัน โกอินก้า (Satya Narayan Goenka) เป็นสายที่มีการเผยแพร่ได้ผลเป็นอย่างมากเพราะเป็นการเผยแพร่โดยชาวอินเดีย เอง สำนักนี้ก่อตั้งโดยท่านสัตยา นารายัน โคอินก้า ท่านเกิดเมื่อพ.ศ. ๒๔๖๗ ณ ย่างกุ้ง ประเทศสหภาพพม่า โดยตัวท่านเองเป็นชาวอินเดียที่เกิดในพม่า ประสบความสำเร็จทางธุรกิจเป็นอย่างดี แม้ในวัยหนุ่มจนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำชุมชนชาวอินเดียในพม่า ในช่วงต้นไม่ได้สนใจพุทธศาสนา แม้พม่าจะเป็นแดนกาสาวพัสด์ก็ตาม เมื่ออายุ ๓๑ ปี ได้ป่วยเป็นโรคไมเกรน หรืออาการปวดศรีษะอย่างรุนแรง จึงปรึกษากับท่านอุบาขิ่น(U Ba Khin) อาจารย์สอนวิปัสสนาชื่อดังของพม่า หลังจากได้ปฏิบัติธรรมกับท่านอุบาขิ่น ไม่นานโรคร้ายก็เริ่มหาย จึงเกิดความศรัทธาเลื่อมใสอย่างแรงกล้าในแนวทางวิปัสสนา จึงได้ทำการเผยแพร่แนวทางวิปัสสนา จึงได้ทำการเผยแพร่แนวของท่านอุบาขิ่นทั่วไปในพม่า โดยเริ่มจากชุมชนชาวอินเดียในพม่าก่อน ท่านมีความตระหนักอยู่เสมอวว่า อินเดียที่เป็นดินแดนบรรพบุรุษของท่านมีบุญคุณอย่างล้นเหลือต่อพม่าที่ได้ มอบคำสอนที่ล้ำค่านี้ให้ ในขณะที่อินเดียกลับลืมคำสอนอันวิเศษนี้จนหมดสิ้น จึงมีความคิดที่จะตอบแทนอินเดียอยู่ทุกขณะ
ต่อ มาพ.ศ.๒๕๑๒ จึงเดินทางไปอินเดียเพื่อเยี่ยมมารดาที่ป่วยหนัก แล้วเริ่มเผยแพร่แนวคำสอนเริ่มจากญาติพี่น้องก่อนจนกระจายวงกว้างออกไปทุก ขณะ และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เมื่อโคอินก้าจากไปอินเดียไม่นาน พ.ศ.๒๕๑๔ ท่านอูบาขิ่นผู้เป็นอาจารย์ก็ถึงแก่กรรมลง แต่งานเผยแพร่ตามแนวอุบาขิ่นกลับเผยแพร่ไปอย่างรวดเร็ว จนกระจายไปทั่วอินเดีย เหตุการณ์ที่สำคัญคือโคอินก้าได้มีโอกาสสอนวิปัสสนาต่อนักโทษเป็นจำนวนพันคน ซึ่งไม่เคยทำได้มาก่อน
พ.ศ.๒๕๑๗ ได้ตั้งศูนย์วิปัสสนานานาชาติ (International Meditetion Centre) ขึ้นที่ภูเขาธรรมคีรี อิกัตบุรี ใกล้บอมเบย์ อินเดีย โดยใช้เป็นสำนักงานใหญ่ ณ ที่นี่ได้มีการจัดหลักสูตรอบรมแก่ผู้สนใจทั่วไปอินเดียและต่างชาติ จนมีผู้สนใจเข้ารับการอบรมอย่างกว้างขวาง นอกจากเน้นการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ทางสถาบันยังพิมพ์พระไตรปิฎกอักษรเทวนาครีอออกมาอีกด้วย ซี่งสมบูรณ์กว่าฉบับที่มหาวิทยาลัยนาลันทาจัดทำในคราวฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ และยิ่งกว่านั้นยังจัดทำซีดีรอมพระไตรปิฎก ฉบับ ๗ ภาษา คือ เทวนาครี (อินเดีย) เขมร พม่า สิงหล ไทย มองโกเลีย และโรมัน ซึ่งผู้สนใจ ขอได้ฟรี หรือติดต่อได้ที่ Vipassana Research Institute. Dhammagiri, Igatpuri 400403.India Website www.vri.dhamma.org
แนวคำสอนของท่านโคอินก้านับว่าเผยแพร่ได้ผลมากกว่าองค์กรพุทธใดๆ ในอินเดีย และผู้ปฏิบัติก็เป็นผู้มีการศึกษา มีฐานะดี การจัดวิปัสสนาก็กระจายออกไปหลายประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา กัมพูชา ไทย พม่า เนปาล ไต้หวัน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง มองโกเลีย อังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลียนิวซีแลนด์ รัสเซีย ฮังการี แคนาดา แม็กซิโก อาณ์เจนติน่า อุรุกวัย คิวบา เวนาซุเอล่า ซิมบับเว เคนยา อาฟริกาใต้ แม้กระทั่งชาติมุสลิม เช่นอีหร่าน สหรัฐอาหรับอิมิเรสต์ โอมาน เป็นต้น
ปัจจุบันในไทยมี ๒ ศูนย์คือ
๑. ศูนย์วิปัสสนาธรรมกมลา บ้านเนินผาสุข ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ๒๕๐๐๐ และ
๒. ศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา ทางแยกเข้าบ้านห้วยพลู ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ๖๕๒๒๐
๒.๒ สมาคมมหาโพธิ์ (Mahabodhi Society of India)
พระ ดร.รัฏฐปาละมหาเถระ |
นับ เป็นองค์กรต้น ๆ ที่เข้ามาเผยแพร่พุทธศาสนาในอินเดียอย่างเป็นรูปร่าง ก่อตั้งโดยท่านอนาคาริก ธรรมปาละ (Anagalika Dhammapala) ชาวศรีลังกาเมื่อพ.ศ. ๒๔๔๕ และพุทธสถานก็ได้รับการคุ้มครองดูแลเอาใจใส่จากรัฐบาลอินเดียมากขึ้น ก็เพราะอาศัยสมาคมมหาโพธิ์อันนำโดยท่านอนาคาริก ธรรมปาละนี้ ปัจจุบันมีสาขาอยู่หลายแห่งในอินเดียเช่น กัลกัตตา สารนาถ เดลลี พุทธคยา สาญจี เป็นต้น ปัจจุบันมีพระดร.รัฏฐปาลมหาเถระผู้อำนวนการศูนย์วิปัสสนานานาชาติพุทธคยา เป็นประธานสมาคมคนล่าสุดท่านเข้ารับตำแหน่งประธานสมาคมมหาโพธิ์ เมื่อพ.ศ. ๒๕๔๕ สมาคมมีกิจกรรมหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อการเผยแพร่เช่น ๑.ออกวารสาร ๓ ฉบับ คือสมาคมหาโพธิ์ที่สารนาถออกวารสารธรรมทูต (Dhammadhuta Magazine) รายสามเดือนทั้งภาษาฮินดี และภาษาอังกฤษ,สมาคมมหาโพธิ์พุทธคยาออกวารสารมหาโพธิ์ (Sambodhi Magazine), ส่วนสมาคมมหาโพธิ์ที่พุทธคยาออกวารสารมหาโพธิ์ (Mahabodhi Magazine) เป็นต้น ๒. จัดตั้งโรงเรียนขึ้นหลายแห่ง เช่น วิทยาลัยมหาโพธิ์ (Mahabodhi Collage) ที่สารนาถการดำเนินงานของสมาคมมหาโพธิ์ ก็ได้ผลบ้างพอสมควร แม้จะไม่มีผู้เปลี่ยนศาสนา มานับถือพุทธมากนักก็ตาม แต่ก็ได้ทำประโยชน์ให้แผ่นดินอินเดียและพุทธศาสนาพอสมควรโดยเฉพาะการเป็นตัว ผลักดันให้รัฐบาลอินเดียเข้ามาบูรณะ ปกป้องพุทธสถานทั่วอินเดีย และสมาคมก็เคยทำหนังสือเชิญ ดร. เอ็มเบ็ดการ์มานับถือพุทธศาสนา เมื่อคราวดร.เอ็มเบ็ดการ์เปลี่ยนศาสนา พ.ศ. ๒๔๙๘
๒.๓ พระธรรมทูตไทยสายอินเดีย (Thai Buddhist missionary in India)
พระราชโพธิวิเทส |
ก่อตั้งโดย สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดจักรวรรดิราชาวาส โดยการสร้างวัดไทยวัดแรกที่พุทธคยา เมื่อพ.ศ.๒๕๐๐ ในสมัยจอมพลป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมามีพระเดชพระคุณพระเทพวิสุทธิโมลี (บุญเลิศคล่องสั่งสอน)เป็นองค์ต่อมา งานเผยแพร่ของท่านนับว่ามีความสำเร็จเป็นอย่างมาก เป็นที่เลื่ยงลือทั่วไปจนรัฐบาลอินเดียยกย่องให้เป็นพระมหาธรรมาจารย์ มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยนาลันทาให้อย่างสมเกียรติ เมื่อพ.ศ.๒๕๑๔ นับเป็นสงฆ์ไทยองค์แรกที่ได้รับเกียรติเช่นนี้ ผลงานที่เด่น ๆ ของท่านคือ
๑. จัดตั้งองค์กรสงฆ์อินเดีย
๒. สงเคราะห์ชาวพุทธอินเดีย
๓. มอบพระพุทธรูปประจำพุทธวิหารสำหรับชาวพุทธรูปทั่วไป โดยเฉพาะที่นาคปูร์ ปัจจุบันมีพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระรามโพธิวิเทศ (ทองยอด ภูริปาโล ป.ธ.๙.Ph.D) เป็นหัวหน้า มีพระวิเทศโพธิคุณ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ เป็นรองหัวหน้า การดำเนินงานของพระธรรมทูตไทยได้รับผลบ้างพอสมควร เช่น การสงเคราะห์คนจนทางด้านเสื้อผ้าอาหาร ยารักษาโรค การนำเด็กมาไหว้พระสวดมนต์ภายในวัด การสร้างพระพุทธรูปมอบให้ตามหมู่บ้านชาวพุทธในแต่ละหมู่บ้าน การช่วยจัดตั้งองค์กรสงฆ์อินเดียให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นหลังกระจัดกระจาย ต่างคนต่างอยู่ไม่เป็นระบบ แต่อุปสรรคก็มีมากพอกันทั้งด้านภาษาและวัฒนธรรม เป็นต้น
๒.๔ องค์ดาไล ลามะ (His Holiness the Dalai Lama)
องค์ดาไล ลามะ ผู้นำชาวธิเบต |
แม้ ท่านจะไม่ได้เป็นชาวอินเดีย แต่ก็มีบทบาทอย่างสำคัญในวงการพุทธศาสนาในอินเดีย องค์ดาไล ลามะ ประสูติเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๘ ณ จังหวัดอัมโด ทางภาคตะวันออกของธิเบต ที่มีชายแดนติดต่อกับจีน นามเดิมว่า ลาโมทอนดุป ต่อมาจึงมีนามใหม่ เรียกว่า เทนซินกยัตโซ ท่านประสูติเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๔๗๖ ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๔๖) มีพระชนมายุ ๖๘ พรรษา เมื่ออายุ ๒ ขวบได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแห่นง ดาไล ลามะ อันเป็นตำแหน่งพระมหากษัตริย์ และพระสังฆราชพร้อมกัน ต่อมา พ.ศ. ๒๔๙๒ กองทัพแดงของจีนก็บุกเข้ายึดธิเบต อย่างเด็ดขาดสถานภาพของพระองค์ถูกบีบคั้นอย่างหนัก จนเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๐๒ จึงตัดสินใจ เสด็จหนีออกจากธิเบตพร้อมด้วยชาวธิเบตหลายแสนคน ขณะอายุ ๒๖ พรรษา อย่างไรก็ตามแม้อินเดียจะมีประชากรมากอยู่แล้ว รัฐบาลอินเดีย โดยนายกรัฐมนตรียวาห์ ลาล เนห์รูก็ต้อนรับและดูแลเป็นอย่างดี พร้อมกับนิมนต์ให้ท่านจำพรรษาที่ธรรมศาลา ในรัฐหิมาจัลประเทศ ที่มีลักษณะเหมือนธิเบต ปัจจุบัน ผู้อพยพชาวธิเบตเข้าไปอาศัยหลายเมืองของอินเดียเช่น ธรรมศาลา บังกาลอร์ ไมซอร์ ดาร์จีลิง กาลิมปง สิกขิม เป็นต้น เพราะความที่เป็นชนชาติขยันขันแข็ง มีปฏิภาณด้านการค้าขาย ชาวธิเบตที่อพยพมาจึงกลายเป็นคนที่มีฐานะดี จนเป็นที่อิจฉาของเจ้าถิ่นพอสมควร องค์ดาไลลามะ เป็นผู้มีบทบาทอย่างมากในการเผยแพร่พุทธศาสนาอย่างมากในอินเดียจนมีลูกศิษย์ อย่างมากมายทั้งในอินเดียและต่างชาติ เมื่อรัฐบาลอินเดียดำริจะทำงานเกี่ยวกับพุทธศาสนามักจะปรักษาท่านเสมอ เช่น งานพุทธมโหสวะ (Buddha Mahotsava) หรือพุทธมโหสพ เมื่อสองปีที่แล้ว พ.ศ. ๒๕๓๒ ท่านก็ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติคือ โนเบล สาขาสันติภาพ อันเป็นเครื่องยืนยันจุดยืนของท่านในการต่อสู้แบบอหิงสากับจีนผู้รุกราน ปัจจุบันพระองค์ยังพำนักที่ธรรมศาลา รัฐหิมาจัลประเทศ
องค์การ์มาปะ |
และ เมื่อพ.ศ.๒๕๔๒ องค์การมาปะ (Karmapa) ซึ่งมีตำแหน่งสูงเป็นอันดับสามของธิเบต รองจากองค์ ดาไลลามะ และปันเชนลามะ ได้เดินทางด้วยเท้าจากจีนเข้าสู่อินเดียเพื่อขอลี้ภัยทางการเมืองในอินเดีย ซึ่งในที่สุดรัฐบาลนายกรัฐมนตรีวัชชาปายีก็อนุมัติคำขอ สร้างความไม่พอใจให้กับจีนพอสมควร คำว่า "การ์มาปะ" เป็นชื่อตำแหน่งทางคณะสงฆ์ ท่านเป็นผู้นำคณะสงฆ์นิกายการ์จุ หรือนิกายหมวกดำ มีชื่อจริงว่า อักเยน ธินเล ดอร์เจเกิดที่ภาคเหนือของ ธิเบตเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๘ เมื่ออายุ ๗ ขวบได้รับการสถาปนาเป็นผู้กลับชาติมาเกิดแทนการมาปะองค์เดิมที่มรณภาพที่ เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา เชื่อกันว่าท่านเป็นองค์เดิมกลับชาติมาเกิด การเลือกตำแหน่งการมาปะได้รับการรับรองทั้งสองฝ่ายองค์ดาไลลามะที่อินเดีย และรัฐบาลจีนที่ปกครองธิเบต ขณะนี้ แต่เมื่อพ.ศ. ๒๕๔๒ ท่านถูกปีบคั้นจากจีนอย่างมากจึงตัดสินใจเดินตามรอยท่านตาไลลามะโดยเดินเท้า พร้อมคนติดตามเข้าสู่อินเดีย นับได้ว่าเป็นบุคคลสำคัญอีกท่านที่ขอลี้ภัยในอินเดียยังเหลือแต่ปันเชนลามะ ที่ยังไม่ได้ลี้ภัยเข้ามา ปัจจุบันท่านมีอายุ ๑๗ ปี เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญสำหรับพุทธศาสนาในอินเดียโดยเฉพาะชาวธิเบต ชาวตะวันตกที่ศรัทธาในนิกายลามะแบบธิเบตและเป็นที่คาดการว่าท่านจะได้เป็น กำลังสำคัญช่วยองค์ตาไลลามะ ดูแลพุทธศาสนาแบบธิเบตต่อไปอีกแรง
๒.๕ คณะสงฆ์อินเดีย (All India Bhikkhu Sangha)
หลัง จากที่พุทธศาสนาเสื่อมไปจากอินเดียเกือบ ๘๐๐ ปี คณะสงฆ์ถูกทำลายอย่างราบคาบจะมีหลงเหลืออยู่บ้างที่ลาตักในรัฐจัมมูและ แคชเมียร์รัฐอัสสัม รัฐสิกขิม แต่เกือบทั้งหมดเป็นพุทธศาสนาแบบวัชรยานที่คล้ายกับทางธิเบต คณะสงฆ์ที่เป็นเถรวาทตั้งเดิมแบบไทยนั้นแทบไม่เหลือ จนอินเดียได้รับเอกราชจึงได้มีการฟื้นฟูพุทธศาสนาขึ้นหลายส่วน การที่จะฟื้นฟู หรือเผยแพร่พุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองนั้น จำเป็นต้องฟื้นฟูคณะสงฆ์ให้เป็นรูปร่างและเป็นปึกแผ่นเสียก่อน เพราะคณะสงฆ์อินเดียจึงอยู่ในมโนสำนึกของคณะสงฆ์อินเดียและหัวหน้าพระธรรม ทูตไทยตลอดเวลา
พระมหาเถระ ดร.เจ กัสสปะ พระสังฆนายกองค์แรก |
เมื่อวันที่ ๒-๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๓ คณะสงฆ์อินเดียทั่วประเทศ ได้รับนิมนต์จากพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระสุเมธาธิบดี (บุญเลิศ ท.คล่องสั่งสอน) อดีตเจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยยาและหัวหน้าพระธรรมทูตสายอินเดีย ให้มาประชุมกันที่วัดไทยพุทธคยา เพื่อก่อตั้งองค์กรสงฆ์อินเดียขึ้น หลังจากที่ต่างคนต่างอยู่ไม่เป็นระเบียบทำให้การเผยแพร่ไม่ได้ผล ที่ประชุมมีมติให้ พระเถระ ดร.เจ กัสสปะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนาลันทาใหม่ เป็นสังฆนายกคนแรกที่ประชุมมีมติให้เรียกองค์กรที่จัดตั้งนี้ว่า คณะสงฆ์อินเดียโดยมีชื่อภาษาอังกฤษว่า (All India Bhikkhu Sangha) และในที่ประชุมยังมีมติที่สำคัญ ๆ คือ
๑. ให้จัดองค์การสงฆ์อินเดียขึ้นภายใต้การอุปภัมภ์ของวัดไทยพุทธคยา
๒. ที่ประชุมมีมติเลือกเอาพระเถระ ดร.เจ กัสสปะเป็นพระสังฆนายกองค์แรกของอินเดีย
๓. ให้พระอานันทเมตติยะ จากเบงกอล เป็นรองพระสังฆนายกต่อมา ได้มีการเลือกพระเถระให้มีส่วนรับผิดชอบเพิ่มเติมคือ
๑.พระมหาเถระโกสัลลานันทะ เมื่อนาคปูร์ เป็นอนุศาสกะ ที่ปรึกษาพระสังฆนายก
๒.พระมหาเถระชินรัตนะ เมืองซิลลองเป็นผู้ช่วยสังฆนายกะ
๓.ตั้งกรรมการบริหารคณะสงฆ์ส่วนกลาง จำนวน ๑๐ รูป
๔.กองเลขาธิการ คณะสงฆ์อินเดียสนองงาน บริหารโดยมี
ก. เลขา ธิการคณะสงฆ์อินเดีย
ข. รองเลขาธิการคณะสงฆ์อินเดีย
ค.เลขานุการประจำฝ่ายบริหาร ๔ ตำแหน่ง
คณะ สงฆ์อินเดียจึงได้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยมีสำนักงานอยู่ที่วัดไทยพุทธคยา ต่อมาจึงย้ายมาสร้างสำนักงานที่วัดอินเดีย ซึ่งมีพื้นที่ติดกับวัดไทยพุทธคยา อย่างไรก็ตามปัญหาของสงฆ์ยังมีอยู่หลายอย่างซึ่งพอจะแยกประเด็นได้ดังนี้
๑. ความไม่เป็นเอกภาพกัน เป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน เพราะต่างคนต่างอยู่ วัตรปฏิบัติก็ไม่เสมอกัน บางรูปเคร่ง บางรูปหย่อนยาน บางรูปเป็นพระสงฆ์แต่เพียงรูปกายจีวร แต่ความประพฤติไม่ต่างจากฆราวาส บางรูปถึงเวลาเทศกาลงานบุญจึงค่อยกลับมาแต่งชุดสงฆ์ บางรูปสักว่าแต่งชุดมาอาศัยอยู่ตามพุทธสถานที่สำคัญเพื่อรับการบริจาคผู้จาริกแสวงบุญเท่านั้น ต่างตนต่างอยู่ ต่างคนต่างใหญ่ ไม่เชื่อฟังใคร ปกครอง กันไม่ค่อยจะได้ ปัญหานี้คงต้องใช้เวลา ถ้าพยายามแก้ไขจริงจังปัญหาจะลดลง แต่ถ้าปล่อยเลยตามเลยปัญหาพอกพูนมากขึ้น
๒. การขาดความอุปถัมภ์จากพุทธบริษัท เนื่องจากอินเดียเป็นเมืองที่คนส่วนมากนับถือศาสนาฮินดู การได้รับความอุปถัมภ์จึงมีน้อย คณะสงฆ์ไม่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจึงต้องเป็นอยู่ด้วยการช่วยเหลือตนเอง เป็นที่ตั้งการกระทำงานใหญ่ก็ทำด้วยความฝืดเคืองอย่างยิ่ง แม้บางรูปจะมีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัด แต่ก็อยู่ด้วยความลำบาก เพราะขาดความอุปถัมภ์ จากชาวพุทธและที่สำคัญชาวพุทธอินเดียที่เพิ่มขึ้นมา ส่วนมากเป็นคนวรรณะต่ำที่ยากจน อย่างยิ่ง ลำพังตัวเองก็ลำบาก
๓. การนุ่งห่มที่ไม่เรียบร้อย นี่นับเป็นปัญหาที่เห็นชัดเจน เพราะถูกปล่อยปะละเลยมานาน พระสงฆ์หลายรูปนุ่งห่มโดยใช้เสื้อสี่เหลืองและจีวรพาดไหล่ ไม่รักษาความสะอาด เช่นใส่หมวก ใส่นาฬิกา สวมรองเท้าหนังไว้ผมยาว หลายรูปมองแล้วไม่ต่างจาก สาธุนักบวชของฮินดูเลย หลายรูปนั่งขอทานตามสถานีรถไฟ หรือย่านชุมชนก็มีให้เห็นไม่น้อย สิ่งเหล่านี้สร้างความสลดใจให้ชาวพุทธที่พบเห็นมิใช่น้อย ชาวอินเดียบางคนกล่าวว่าเขาไม่ศรัทธาพระอินเดีย เพราะการแต่งตัวไม่เรียบร้อย ไม่นำมาซึ่งความเลื่อมใส ไม่นำมาซึ่งความภูมิใจ เชิดหน้าชูตาต่อพุทธศาสนา
ปัจจุบัน คณะสงฆ์อินเดียมีพระธัมมปาลมหาเถร ะวัดเบงกอลกัลกัตตา เป็นสังฆนายก มีพระมหาปันถมมหาเถระ จากนาคปูร์ เป็นเลขานุการคณะสงฆ์มีการประชุมกันทุก ๑ ปี หรือเร็วกว่านั้นถ้าจำเป็น และยังมีคณะสงฆ์แยกออกมาจากคณะนี้ต่างหากอักคณธหนึ่งนำโดยพระคยาเนศวาร์มหา เถระวัดพม่ากุสินาราเป็นประธานสงฆ์
๒.๖ พุทธสมาคมประเทศอินเดีย (The Buddhist Society of India)
สำนักงานพุทธสมาคม ประเทศอินเดีย |
ก่อตั้งโดย ดร.บาบา สาเหบ เอ็มเบ็ดการ์ เมื่อพ.ศ.๒๕๐๐ โดยมีสำนักงานที่เอ็มเบ็ดการ์ภวัน ถนนรานีชานสี เมืองนิวเดลลีองค์กรนี้ก็มีบทบาทสำคัญในการรวมกลุ่มชาวพุทธให้เป็นกลุ่มก้อน โดยเฉพาะชาวพุทธวรรณะต่ำ มีกิจกรรมที่น่าสนใจอย่างยิ่งเช่น การเปลี่ยนศาสนาหันมานับถือพุทธศาสนาที่นิวเดลลีนำโดยนายอุทิต ราช (Udit raj) แม่ว่าการชุมนุมเพื่อเปลี่ยนศาสนาจะได้รับการขัดขวางจากผู้นำชาวฮินดูก็ตาม แต่พวกเขาก็รวมกันทำ จนสำเร็จ ปี ๒๕๔๔ ที่ผ่านมามีผู้เข้าร่วมสาบานตนเป็นชาวพุทธถึง ๓๐,๐๐๐ คน การออกมาแสดงพลังประท้วงการทำลายล้างพระพุทธรูปที่บามิยัน ประเทศอัฟกานิสถานนอกจากนั้นยังจัดให้มีการชุมนุมที่เมืองนาคปูร์ รัฐมหาราษฎร์ ภาคใต้ ของอินเดียราวในวันที่ ๔-๗ เดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยมีชาวพุทธราว ๓๐๐,๐๐๐ คนทั่วอินเดียเป็นประจำ ที่นี่ชาวพุทธวรรณต่ำที่สืบมรดกธรรมตามรอย ดร.เอ็มเบดการ์จะมารวมชุมนุมกันเพื่อมารับศีล พบปะแสดงพลังกันทุกปี และยังมีชาวอธิศูทรอีกจำนวนหนึ่งที่เป็นฮินดูหันมานับถือพุทธศาสนา ทุกๆ ปี ปัจจุบันมีศาสตราจารย์เอช.ซี. เพาธะ (Prof.N.K.Gen) เป็นรองประธานมีนายสวรุป จันทระ เพาธะ (Shri Swarup Chandra Bouddha) เป็นเลขานุการ และมีนายศานติ สวรุป เพาธะ (Shanti Swarup Bouddha) อดีตประธานสมาคม เป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์
๓. วัดไทยในอินเดีย (Thai temple in India) |
ในประเทศอินเดียปัจจุบันได้มีวัดไทย และศูนย์ปฏิบัติธรรมของคนไทยเข้าไปตั้งอยู่ตามพุทธสถานที่สำคัญหลายแห่งเพื่อเผยแผ่พุทธศสนา และสงเคราะห์ผู้จาริกแสวงหาบุญชาวไทยด้วยกัน มีทั้งหมด ๗ วัดและ ๑ สำนัก ปฏิบัติธรรม ดังมีรายละเอียดดังนี้
๓.๑ วัดไทยพุทธคยา (Wat Thai Buddhagaya)
พระอุโบสถ วัดไทยพุทธคยา |
ก่อตั้งโดยรัฐบาลไทย พ.ศ.๒๕๐๐ โดยการเชื้อเชิญของ ฯพณฯ ศรียวาห์ ลาล เนห์รู อดีตนายกรัฐมนตรีของอินเดีย เพื่อเป็นการถวายเป็นพุทธบูชาในคราวฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ รัฐบาลไทยยอมรับคำเชิญ งานก่อสร้างจึงได้เริ่มขึ้น สมัยจอมพลป.พิบูลสงคราม คณะพระธรรมทูตชุดแรกที่ไปปฏิบัติศาสนกิจคือ ๑.สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสุวรรณาราม ๒. พระธรรมธีรราชมหามุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) วัดจักรวรรดิราชวาส ๓. พระศรีสุธรรมมุนี (บุญเลิศ ทตฺสิทฺธิ ป.ธ๘) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์
วัด ไทยพุทธคยามีเนื้อที่ ๕ เอเคอร์ หรือ ๑๑ ไร่ การจัดซื้อที่ดินนี้ไม่ได้เป็นการซื้อขาดเพราะกฏหมายอินเดียไม่อนุญาตให้ขาย ที่ดินให้แก่ต่างชาติ แต่รัฐบาลอินเดียให้เช่าเป็นเวลา ๙๙ ปี เมื่อหมดสัญญาก็ต่อได้เรื่อย ๆ คราวละ ๕๐ ปี ต่อมาจึงซื้อที่ดินเพิ่มอีก ๑ ไร่รวมเป็น ๑๒ ไร่ หมดงบขั้นต้นไป ๕,๗๗๖,๘๖๖.๗๒ บาทและเงินรูปีจำนวน ๑,๗๕๓.๐๐ รูปี ถาวรวัตถุ ที่เด่นชัดคือ พระอุโบสถทรงไทยถ่ายแบบจากพระอุโปสถหินอ่อนวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพ ฯ นอกจากนั้นยังมีอาคารห้องสมุด ๑ หลัง โรงเรียนพระปริยัติธรรม ๑ หลัง กุฏิที่พัก ๑ หลัง อาคารที่พักแสวงบุญ ๑ หลัง เอาอาวาสองค์แรกคือ พระธรรมธีรราชมหามุนี (ธีร์ ปุณณโก ป.ธ.๙) องค์ปัจจุบันคือ พระราชโพธิวิเทศ (ทองยอด ภูริปาโล ป.ธ.๙,Ph.D.) มีพระสงฆ์จำพรรษาราว ๒๐ รูป แม่ชี ๕ ท่าน ตั้งอยู่ ณ พุทธคยา จังหวัดคยา รัฐพิหาร ห่างจากเจดีย์พุทธคยา ราวครึ่งกิโลเมตร
วัด ไทยเป็นที่เชิดหน้าชูตาของพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า ผู้ที่มาเยี่ยมชมที่พุทธคยาจะต้องประทับใจในความสวยงามของพระอุโบสถและความ เขียวขจีของวัดอยู่เสมอ เป็นตัวแทนของความภูมิใจคนไทยทั้งชาติ แม้ว่าคนไทยบางส่วนจะไม่ได้มีส่วนร่วมในการสร้างก็ตาม
๓.๒ วัดไทยนาลันทา (Wat Thai Nalanda)
พระอุโบสถ วัดไทยนาลันทา |
ก่อตั้งโดย พระมหาเถระ ดร. จัคดิส กัสสปะ อดีตพระสังฆนายกของอินเดีย ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยนาลันทาใหม่ หรือนวนาลันทา ตั้งอยู่ ณ ด้านหลังมหาวิทยาลัยนวนาลันทา ห่างจากนาลันทาเก่าราว ๑ กิโลเมตร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ อำเภอพิหารชารีฟ รัฐพิหาร มูลเหตุแห่งการเกิดศรัทธาจนถึงขนาดมอบที่ดินและอาคารถวายให้เป็นสมบัติวัดไทยนั้น เพราะท่านมหาเถระกัสสปปะมีความซึ้งใจในความเอาใจใส่ทำนุบำรุงของคณะพุทธบริษัทชาวไทย ที่มีต่อพระสงฆ์ทั้งที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยนาลันทา หรือในที่ทั่วไปที่มีพระสงฆ์ จำพรรษา ได้โอนทรัพย์สินเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๗ โดยมีพระเดชพระคุณพระธรรมมหาวีรานุวัตร (บุญเลิศ) รับมอบว่าจะโอนได้สำเร็จต้องใช้เวลาอันยาวนาน เพราะติดขัดของระบบราชการของอินเดีย มีเนื้อที่ ๓ ไร่เศษตั้งอยู่ด้านหลังของมหาวิทยาลัยนาลันทา จังหวัดนาลันทา รัฐพิหาร ปัจจุบันมีพระอาจารย์ ดร.มหาธารทอง กิตฺติคุโณ (บัวแก้ว) เป็นเจ้าอาวาส มีพระภิกษุจำพรรษา ราว ๕ รูป แม่ชี ๑ ท่าน คือ แม่ชี ดร.อารีย์ ผ่องใส
๓.๓ วัดไทยสารนาถ (Wat Thai Sarnath)
พระอุโบสถ วัดไทยสารนาถ |
วัดไทยสารนาถก่อตั้งโดย พระครูประกาศสมาธิคุณ วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๔ โดยตั้งมูลนิธิขึ้นมาเพื่อจัดซื้อที่ดินให้นามว่า "มูลนิธิมฤคทายวันมหาวิหาร" ในที่สุดก็สามารถซื้อที่ดินจำนวน ๓๒ ไร่ ตรงกันข้ามกับพิพิธภัณฑ์สารนาถได้ และได้เริ่มก่อนสร้างศาสนวัตถุหลายแห่งภายในวัด
ปัจจุบันวัดไทยสารนาถตั้งอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน สารนาถ ตรงกันข้ามกับพิพิธภัณฑ์สารนาถ มีเนื้อที่ ๓๒ ไร่ ห่างจากเมืองพาราณสีราว ๑๕ กิโลเมตร ปัจจุบันมีพระครูสรวิชั (สาสนรัศมี) พระสงฆ์อินเดียที่เป็นศิษย์ของหลวงพ่อพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุเป็นเจ้าอาวาส มีพระสงฆ์ที่เป็นชาวอินเดียราว ๑๐ รูป และพระสงฆ์ไทยไปจำพรรษาชั่วคราว ราวปีละ ๒ รูป ปัจจุบันกำลังก่อสร้างพระพุทธรูปยืนศิลปะคุปตะขนาดใหญ่สูงราว ๓๐ เมตร ศิลปะสมัยคุปตะอันเป็นสมัยที่นิยมในสารนาถ ส่วนเสนาสนะมีพระอุโบสถสร้างด้วยหินทราย จำนวน ๑ หลัง กุฏิสำหรับพระสงฆ์และผู้แสวงบุญ ๑ หลัง โรงครัว ๑ หลัง หมู่กฏิสำหรับวิปัสสนากัมมัฏฐาน ๑ หลัง ศาลาที่ปฏิบัติธรรม ๑ หลัง โรงเรียนประถมสำหรับเด็กนักเรียนอินเดีย ๑ หลัง
๓.๔ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ (Wat Thai Kusinarachalermraj)
พระอุโบสถ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ |
กุสินารา เป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในพุทธศาสนา เป็นสังเวชนียสถาน ๑ ใน ๔ แห่ง ที่นี่แต่ละปีมีชาวพุทธไทยไปไหว้พระแสวงบุญเป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่ได้รับความสะดวก เพราะหาที่พักลำบาก ประเทศอื่นหลายชาติได้ไปสร้างวัดเพื่ออำนวยความสะดวกแก่คนของตน และเป็นสง่าราศีให้แก่ชาติตน เช่น พม่า จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ศรีลังกา แต่วัดไทยก็ยังไม่มี เมื่อคราวที่อาจารย์เสฐียร พันธรังสี ได้จาริกแสวงบุญไปอินเดียและไปถึงกุสินารา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ ท่านกล่าวว่า "บริเวณใกล้ที่ปรินิพพาน มีที่พักเข้าไปอาศัยได้ ๒ แห่งด้วยกัน คือหอพักของชาวพม่าแห่งหนึ่ง พระพม่าชื่ออู จันทรมณี เป็นผู้นำชาวพม่ามาสร้างถวายอีกแห่งหนึ่ง เรียกว่า อารยวิหาร เป็นธรรมศาลาที่พำนักอาศัย มีน้ำใช้บริบูรณ์ ธรรมศาลาแห่งนี้มหาเศรษฐีอินเดียตระกูลบิมาลาสร้างขึ้นไว้ นอกนั้นมีโรงเรียนศาลาที่พักร้องอื่น ๆ เราไปถึงโดยรถบัสจากสถานีทาหะซิลโดเรีย พวกที่ไปด้วยกัน ซึ่งที่แท้จริงก็เป็นแขกทั้งหมด ชักชวนว่าควรที่จะแวะพักที่ธรรมศาลาชาวพม่าหรือของเศรษฐีชาวอินเดียเสียก่อน ฟังแล้วสะท้อนใจ ถ้ามีวัดหรือธรรมศาลาที่คนไทยผู้มีศรัทธาไปสร้างไว้ให้เป็นศาลาไทยบ้าง ก็คงไม่ได้ฟังคำพูดเช่นนั้น"
จาก พ.ศ.๒๕๐๔ จนถึง พ.ศ.๒๕๓๗ เป็นเวลาถึง ๓๓ ปี ความฝันของพุทธบริษัทไทยหลาย ๆ คนก็เป็นจริง เมื่อคณะสงฆ์ไทยและพุทธบริษัทจำนวนหนึ่ง จึงมีดำริสร้างวัดไทยขึ้น ณ แดนพุทธปรินิพพานแห่งนี้ จนเป็นผลสำเร็จ โดยการนำของสมเด็จพระสุเมธาธิปดี องค์อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ งานได้เริ่มลงมือเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ และสร้างตามโครงการ ๒๕๔๒
ปัจจุบันมีเจ้าคุณพระวิเทศโพธิคุณ (วีรยุทธ ประชุมสอน Ph.D.) เป็นเจ้าอาวาส มีพระสงฆ์จำพรรษาราว ๒๐ รูป แม่ชี ๕ ท่าน และมีคณะพุทธบริษัทชาวไทย นำโดยคุณจุมพล โพธิ์ศรีวิสุทธิกุล คุณอังคณา อัยศิริให้ความอุปถัมภ์ ปัจจุบันตั้งอยู่ ณ เมืองกุสินารา อำเภอกาเซีย จังหวัดโครักขปูร์รัฐอุตตรประเทศ มีเนื้อที่ ๑๖ ไร่ ห่างจากสาลวโนทยานราวครึ่งกิโลเมตรเสนาสนะภายในวัดมีพระอุโบสถ ๒ ชั้นออกแบบโดยศิลปินแห่งชาติ คุณภิญโญ สุวรรณคีรี กุฏิสำหรับผู้จาริกแสวงบุญ "มโกขเวศน์สันติธรรม" หนึ่งหลัง อาคารเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสครบรอบ ๕๐ พรรษาหนึ่งหลัง พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุหนึ่งองค์ คลีนิคผู้ป่วยสำหรับชาวบ้านทั่วไปราคาถูกจำนวนหนึ่งหลัง ภายในบริเวณถูกจัดออกแบบอย่างสวยงาม เป็นที่เชิดหน้าชูตา คณะสงฆ์, พุทธบริษัทและประเทศไทยเราเป็นอย่างดี ได้รับคำชมจากทั้งชาวอินเดียเอง ชาวไทย และชาวต่างชาติอยู่เสมอ
๓.๕ วัดป่าพุทธคยา (Wat Pa Buddhagaya)
ศาลาชั่วคราว วัดป่าพุทธคยา รัฐพิหาร |
ก่อ ตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๗ โดยมีพระครูวชิรจิตโสภณ (พระอาจารย์มหาดร.สุรจิต โชติญาโณ) จากวัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา และพระพนมศักดิ์ พุทฺธญาโณ (อาจารย์จิ๋ว) วัดป่าธรรมชาติ ชลบุรี โดยมีเจ้าคุณพระปริยัติเมธี วัดพระยายัง กรุงเทพฯ เป็นประธานสงฆ์จัดสร้าง ต่อมาได้ร่วม ก่อตั้งสมาคมชาวพุทธไทย ภารตะ (Buddhist Thai Bharat Society) ขึ้นเพื่อจัดซื้อที่ดินในที่สุดก็ได้ที่ดินทางทิศใต้พระเจดีย์พุทธคยาห่าง ราว ๒๐๐ เมตร ที่ดินที่จัดสร้างวัดจัดซื้อจากชาวบ้านหลายคนรวมกันรวมทั้งของนายมูชาราฟชาว มุสลิมท้องถิ่นมีลักษณะ เป็นแอ่งกะทะ จึงมีความยุ่งยากในการถมดินพอสมควร อีกทั้งทางเข้าก็มีชุมชนแออัดของชาวบ้านขวางกั้น ต่อมาคุณพายัพ ชินวัตรน้องชายนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร รวมทั้งพุทธบริษัทชาวไทยหลายคณะให้การสนับสนุนจัดสร้างวัดป่าพุทธคยาเป็นวัด ในสังกัดฝ่ายธรรมยุติ มีเสนาสนะคือกุฏิกรรมฐาน ๑๐ หลัง ศาลาชั่วคราว ๑ หลัง ส่วนโครงการในอนาคตคือการก่อสร้างพระอุโบสกกลางน้ำ มีเนื้อที่จำนวน ๒๓ ไร่ นับเป็นวัดไทยที่มีพื้นที่ใหญ่พอสมควร มีพระสงฆ์จำพรรษาแต่ละปีราว ๑๐-๑๕ รูป แม่ชีราว ๕ ท่าน ปัจจุบันเป็นสถานที่ฝึกวิปัสสนา กัมมัฏฐานของชาวอินเดีย และชาวต่างชาติที่สำคัญแห่งหนึ่งในอินเดีย เพื่อ ให้พวกเขาเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญทางด้านพุทธศาสนา ปัจจุบันมีพระอาจารย์พนมศักดิ์พุทฺธญา มีคุณกิตติ นาวานี เป็นเลขานุการสมาคมและ ทำหน้าที่ดูแลวัดนี้ จนถึงปัจจุบัน
๓.๖ วัดไทยกุสาวดีวรพุทธวิหาร (Wat Thai Kushavadeevarabuddhavihar)
ทัศนียภาพทางเข้าวัดไทยกุสาวดี เมืองกุสินารา |
ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยพระอาจารย์มหาบุญเลิศ คุตฺตธมฺโม ผุ้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเจดีย์ หลวงวรวิหาร เชียงใหม่ ท่านเป็นลูกศิษย์ของพระเดชพระคุณพระพุทธพจน์วราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงองค์ปัจจุบัน โดยได้ทุนเริ่มแรกจากนิตยสารโลกทิพย์ โดย คุณ ดร.คะนอง-พนิดา เนินอุไร พร้อมบุตรธิดา บริจากสนับสนุน ๘๐๐,๐๐๐ บาท ต่อมาจึงคณะพุทธบริษัทชาวไทย ร่วมสมทบเพิ่มเติม
วัดไทยกุสาวดีวรพุทธวิหาร เป็นวัดธรรมยุตินิกาย แห่งแรกในอินเดียมีเนื้อที่จำนวน ๗ ไร่ตั้งอยู่ห่างจากวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ราว ๑๐๐ เมตรและห่างจากสาลวโนทยาน ราว ๑ กิโลเมตร มีพระสงฆ์จำพรรษาแต่ละปีราว ๒-๔ รูป เป็นสถานศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์แก่เยาวชนอินเดีย ในละแวกเมืองกุสินารา เพื่อให้พวกเขาเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญทางด้านพุทธศาสนา มีนักเรียนราว ๔๕๐ คน ปัจจุบันเป็นที่ที่ชาวศรีลังกาและบังคลาเทศและอินเดียเองนิยมมาพักแสวงบุญ เพราะบริจาคปัจจัยค่าที่พักได้ตามกำลังศรัทธา ขณะนี้เริ่มก่อสร้างกำแพงล้อมรอบที่ดินใหม่หลังจากที่ซื้อที่ดินเพื่อขยายให้ใหญ่ขึ้นจากเดิม ๒ ไร่มาเป็น ๙ ไร่
๓.๗ สำนักปฏิบัติธรรมแดนมหามงคล (Deanmahamongol Meditation Centre)
ศาลาหนึ่งในหลายหลัง ของสำนักปฏิบัติธรรมแดนมหามงคล |
ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘ โดยอุบาสิกบงกช สิทธิพล (หรือที่ศิษยานุศิษย์ เรียกว่าพระแม่บงกช) จากสำนักแดนมหามงคล อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี มีเนื้อที่ราว ๒๐๐ ไร่ เศษ นับว่าเป็นวัดหรือศูนย์ปฏิบัติธรรมทางพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย ตั้งอยู่ ณ เมืองสาวัตถี หรือปัจจุบันนี้เรียกว่า สาเหตุ-มเหตุ รัฐอุตตรประเทศ ห่างจากพระเชตวันมหาวิหาร ๑๐๐ เมตร ใช้งบประมาณไปราว ๑๐๐ ล้านบาท มีเสนาสนะ คือ ศาลาเอนประสงค์ขนาดใหญ่ จำนวน ๓ หลัง พระพุทธรูปขนาดใหญ่ จำนวน ๑ องค์ มีอุปาสก ราว ๒๐ คน อุบาสิกาหญิงราว ๕๐ คน ภายในบริเวณสำนักปฏิบัติธรรมแห่งนี้
มีหลายฝ่ายไม่เห็นด้วย เช่น เจ้าหน้าที่ทูตคนหนึ่งของสถานทูตไทยประจำเมืองเดลลีกล่าวว่า "สถานที่นี่สร้างใหญ่โตและใช้งบประมาณมากเกินไป ไม่คุ้มกับการลงทุน ทำให้เงินรั่วไหลออกจากไทยมาก น่าที่จะมากเกินไป ไม่คุ้มกับการลงทุน ทำให้เงินรั่วไหลออกมาจากไทยมาก น่าที่จะคณะสงฆ์จะได้ดูแลอย่างใกล้ชิด" แต่อย่างไรก็ตามงานก่อสร้างก็ได้ดำเนินไปอย่างไม่หยุดยั้ง เจ้าหน้าที่วัดคนหนึ่งกล่าวว่า "ทางเราไม่ได้ใช้งบประมาณจากรัฐบาลแต่อย่างใด จึงไม่กังวลหรือวิตก เงินทุกบาททุกสตางค์ล้วนมาจากชาวพุทธผู้ศรัทธา จัดสร้างน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ณ แดนพุทธภูมิและต้องการจะซื้อที่ดินจากชาวบ้าน ซึ่งส่วนมากเป็นมุสลิมมาให้พุทธศาสนา ผู้ที่จะคัดค้านแม้นสร้างที่เมืองไทยก็คงคัดค้านอยู่ดี ระหว่างนำเงินออกนอกประเทศ เพื่อไปเล่นการพนันอย่างที่ชาวไทยหลายคนทำ อย่างไหนมีประโยชน์มากกว่ากัน" ปัจจุบันสำนักปฏิบัติธรรมแดนมหามงคล เป็นสถานปฏิบัติธรรมที่สร้างอย่างรวดเร็วมากที่สุด
๓.๘ วัดไทยสิริราชคฤห์ (Wat Thai Sirirajgir)
นอก จากวัดไทยที่กล่าวมาแล้วยังมีวัดอีกแห่งที่กำลังวางแผนก่อสร้าง คือวัดไทยราชคฤห์ อำนวยการสร้างโดยพระอาจารย์วิเชียร วชิรวํโส เจ้าอาวาสวัดจีนไตรรัตนาราม สารนาถ เมืองพาราณสี เริ่มจัดซื้อที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๕ มีเนื้อที่ราว ๙ ไร่ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั่วไป เช่น อุบาสิกาศรีเพ็ญ จาตุทศรี ซึ่งเป็นศิษย์ อาจารย์พร รัตนสุวรรณ จากแค้มป์สน เพชรบูรณ์ เป็นต้น โครงการกำลัง เริ่มต้นโดยได้เปิด ทำพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ที่ผ่านมาถ้าโครงการสำเร็จตามเป้าหมายคงจะเป็นประโยชน์ต่อพุทธศาสนิกชนชาว ไทยที่จะไปแสวงบุญอย่างมาก
นอกจากวัดไทยแล้ว ยังมีวัดชาวพุทธต่างชาติเข้าไปสร้างในเขตพุทธสถานต่าง ๆ เช่น พุทธคยา สารนาถ กุสินารา สาวัตถี ราชคฤห์ ด้วยเช่นวัดญี่ปุ่น วัดเกาหลี วัดธิเบต วัดภูฐาน วัดเนปาล วัดจีน วัดไต้หวัน วัดไทย วัดเขมร วัดศรีลังกา วัดพม่า วัดบังคลาเทศ เป็นต้น
๔. โครงการไมตรีโปรเจ็ก (The Maitriya Project) |
พระพุทธรูปศรีอริยเมตไตรย์ |
ก่อตั้งโดยท่านลามะโซปะ รินโปเช่ ซึ่งท่านมีลูกศิษย์อยู่มากมายโดยเฉพาะชาวยุโรป ปีหนึ่ง ๆ มีชาวยุโรปและอเมริกามาปฏิบัติธรรมในสำนักท่านถึงปี ละ ๒,๐๐๐ คน สำนักงงานตั้ง ณ สถาบันรูท พุทธคยาห่างจากเจดีย์พุทธคยา ราว ๕ กิโลเมตร โครงการนี้จะใช้งบประมาณ ๖,๐๐๐ ล้านบาทหรือประมาณ ๑๕๐ ล้านดอลล่าร์ เป็นโครงการจัดสร้างพระพุทธรูปพระศรีอริยเมตไตรย์ ซึ่งจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ขนาดความสูง ๕๐๐ ฟุต หรือ ๑๕๒.๔ เมตร สูงกว่าเทพีสันติภาพที่อเมริกาสองเท่าตัว ด้านใน ขององค์พระสามารถบรรจุคนไปปฏิบัติธรรมได้ถึง ๖,๐๐๐ คนอย่างสบาย และยังสามารถขึ้นลิฟต์ขึ้นจนถึงสุดขององค์พระเพื่อชมวิวได้ด้วย
ความจริงโครงการนี้ต้องการลงที่พุทธคยาเพราะเป็นศูนย์กลางของชาวพุทธ แต่ติดขัดหลายประการจึงเป็นต้องย้ายไปกุสินาราแทน ด้านนายปีเตอร์ เคดจ์ (Peter Cadge) ผู้อำนวนการ ส่วนการจัดสร้างกล่าวว่า "พระพุทธรูปคือ ตัวแทนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่ประชาชนกราบไหว้บูชา นำพาให้ประชาชนระลึกการปฏิบัติธรรมในทางที่ถูกที่ควร วิถีทางที่ง่ายที่สุดก็คือ การสร้างพระพุทธรูปขึ้นมา เพื่อประโยชน์คุณูปการแก่ผู้ศรัทธาเลื่อมใส"
ทางด้านท่านลามะโซปะรินโปเช่ ผู้ก่อตั้งโครงการไมตรีโปรเจ็กกล่าวว่า "ต้องการอยากให้ที่นี่ เป็นจุดศูนย์รวมของความสงบสุขแห่งสรรพสัตว์ทั้งมวลในสากลโลก ประเทศอื่นที่นับถือพุทธศาสนาไม่ว่าจะเป็น ไทย ศรีลังกา ญี่ปุ่น พม่า ยังมีพระพุทธรูปไว้เป็นที่เคารพสักการะบูชา ประเทศอินเดียเองก็เป็นบ่อเกิดแห่งศาสนาพุทธ แม้ปัจจุบัน จะไม่ได้นับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติแล้วก็ตาม แต่ในศาสนาฮินดู พระพุทธเจ้าก็เป็นอวตารปางหนึ่งอยู่ดี"
ยิ่งเมื่อตาลิบันอดีตรัฐบาลเก่าของอัฟกานิสถานได้ทำลายพระพุทธรูปที่บามิยันแล้ว เสียงกระตุ้นสนับสนุนให้ก่อสร้างก็ยิ่งมีมากขึ้นตามลำดับการก่อสร้างจะเริ่มกันยายนปี ๒๕๔๖ ที่กุสินารา ถ้าสำเร็จจะเป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียในพุทธศาสนายุคใหม่
๕. ประวัติพระเจดีย์พุทธคยา (Buddhagaya Temple Story) |
พระเจดีย์พุทธคยา รัฐพิหาร |
พระเจดีย์พุทธคยาและปริมณฑล โดยรอบนับเป็นพุทธสถานที่สำคัญที่สุดของพุทธศาสนา ที่นี่เปรียบเสมือนเป็นศูนย์กลางของชาวพุทธทั่วโลก เหมือนนครวาติกันของชาวคริสต์ นครเมกกะ ของชาวมุสลิม หรือเมืองอมฤตสระของชาวซิกส์ และสถานที่แห่งนี้ ยิ่งมีความสำคัญยิ่งขึ้นเพราะองค์การยูเนสโกยกให้เป็นมรดกโลก พ.ศ.๒๕๔๕ นี้เองและที่สำคัญสายการบินแห่งชาติของอินเดีย (Indian Airlines) ก็ได้เปิดเส้นทางกรุงเทพ-คยา เป็นครั้งแรกไปแล้วเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๕ นี้
นับ เป็นเรื่องดีที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยจะเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถานอย่าง สะดวกยิ่งขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม กว่าที่พุทธคยาจะได้รับการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาให้เป็นศูนย์ กลางของพุทธศาสนาได้อย่างในปัจจุบันนี้ต้องฟันฝ่าการต่อสู้และอุปสรรคอย่าง มากมาย แม้ปัจจุบันก็ยังไม่สมบูรณ์ดี ยังมีความขัดแย้งหลายประเด็นที่น่าศึกษา และยังรอการปะทุขึ้นก็เป็นได้ เป็นที่ทราบกันดีว่า พุทธคยาสถานที่ตรัสรู้ของพระบรมศาสดาเริ่มสร้างครั้งแรกในสมัยพระเจ้าอโศก มหาราช ราวพ.ศ. ๒๕๔ และได้รับการต่อเติมจากพระมหากษัตริย์ที่เป็นชาวพุทธ ต่อๆ มา ในขณะเดียวกันก็ถูกทำลายจากกษัตริย์ต่าง ศาสนาด้วยเช่นกัน ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
พ.ศ.๒๖๒ พระนางดิศราชเทวี หรือพระนางติษยรักษิต พระมเหสีอีกพระองค์ของพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงอิจฉาที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์แย่งเวลาพระนางไป เพราะพระเจ้าอโศกมักมากราบนมัสการและปฏิบัติธรรมที่นี่บ่อยจนมีเวลาให้พระองค์น้อย พระนางจึงสั่งให้คนนำยาพิษมารดที่โคน บางเล่มกล่าวว่าพระนางใช้เงี่ยงกระเบนอันมียาพิษแทงที่ต้น จนต้นตายลงในที่สุด ความทราบถึงพระเจ้าอโศกพระองค์เสียพระทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงสั่งให้ใช้น้ำนมมารดารด สุดท้ายต้นโพธิ์ที่ตายก็งอกหน่อใหม่ นับเป็นต้นที่ ๒ โดยที่ต้นที่ ๑ มีอายุราว ๓๔๒ ปี ในยุคพระเจ้าอโศกได้เริ่มทำการก่อสร้างพระเจดีย์ แต่มีขนาดย่อม
พ.ศ.๖๔๙ พระเจ้าหุวิชกะ (Huvijaka) กษัตริย์ราชวงศ์ของพระเจ้ากนิษกะ จากอินเดียเหนืออันมีเมืองหลวงที่ปุรุษบุระ (ปัจจุบันคือเปชวาร์ปากีสถาน) ได้สร้างต่อเติมพระเจดีย์องค์เดิม ที่สร้างมาตั้งแต่พระเจ้าอโศกมหาราชและบูรณะใหม่สมัยพระเจ้าปูรณะวรมัน ให้ใหญ่โตสวยงามขึ้นกว่าเดิมจนมีรูปทรงคล้ายปัจจุบัน
พ.ศ.๙๔๒ ท่านฟาเหียน (Fa-hien) ได้เดินทางมากราบบมัสการสังเวชนียสถานที่อินเดีย และได้แวะที่พุทธคยา ท่านกล่าวว่า "ณ สถานที่ ซึ่งพระพุทธองค์ได้บรรลุถึงญาณปัญญาอันบริสุทธิ์แล้วนี้ มีอารามอยู่ ๓ แห่ง และทุกอารามมีพระภิกษุอยู่พำนักอาศัย บรรดาราษฎรชาวบ้านซึ่งมีครอบครัววงศ์วานอยู่โดยรอบ ได้อุปการะเกื้อหนุนต่อพระภิกษุทั้งหลายเหล่านี้อยู่โดยอุดมสมบูรณ์ โดยไม่ขาดตกบกพร่องต่อเวลา ภิกษุเหล่านี้ได้บำเพ็ญปฏิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด
พ.ศ.๑๑๔๐ พระเจ้าศศางกะ (Sasanka) กษัตริย์ฮินดูจากรัฐเบงกอล ต้องการทำลายพุทธศาสนาให้หมดไป หลังทำลายพุทธศาสนาในรัฐของตนเอง แล้วจึงสั่งให้ทำลายต้นพระศรีมหาโพธิ์และบริเวณโดยรอบ พร้อมกับสั่งให้ทำลายพระพุทธรูปภายในทั้งหมด แต่อำมาตย์ชาวพุทธไม่อาจทำเช่นนั้นได้ แต่เพราะกลัวอาญาจากพระราชาจึงให้คนแอบโปกปูนทับพระพุทธรูปเสีย ทราบถึงพระเจ้าปูรณะวรมา (Purnavarma) กษัตริย์มคธ จึงยกทัพเข้ามาต่อต้านและบูรณะขึ้นใหม่ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ถูกโค่นจึงได้รับการปลูกใหม่ในรัชสมัยของพระองค์ ต้นพระศรีมหาโพธิ์นี้เป็นต้นที่ ๓ (ต้นที่ ๒ มีอายุราว ๘๗๑ ปี) งานบูรณะได้สำเร็จลง พ.ศ.๑๑๖๓
พ.ศ.๑๑๗๘ พระถังซัมจั๋ง ได้เดินทางมาที่พุทธคยาเพื่อกราบนมัสการได้เขียนรายงานไว้ว่า "บริเวณพระศรีมหาโพธิ์พฤกษ์มีกำแพงอิฐสูงมั่นคงโดยรอบ ประตูใหญ่อยู่ทิศตะวันออก ข้างหน้าติดแม่น้ำเนรัญชรา ประตูทิศใต้จรดสระดอกไม่ใหญ่ ทิศตะวันตกมีภูเขาเป็นเขต ประตูด้านเหนือติดต่อกับอารามใหญ่ที่หนักแน่น ไปด้วยพุทธานุสรณ์ที่พระมหากษัตริย์ตลอดจนขุนนางและคหบดีได้สถาปนาแล้วสร้างถวายไว้ในพระศาสนา" เมื่อกราบพุทธปฏิมาพระเจดีย์และต้นพระศรีมหาโพธ์แล้ว ท่านรำพึงเกิดความสลดใจว่า เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ มิทราบว่าตนไปตกอยู่แห่งหนใดในสงสาร เพิ่มมาถึงที่นี่ก้มีแต่พระปฏิมาของพระองค์ เมื่อคิดซึ้งไปถึงบาปกรรมของตนที่หนักหนาเห็นปานนี้ก็เกิดความสลดใจจนน้ำตาไหล พระสงฆ์ชาวอินเดียที่เห็นเช่นนั้นก็อดน้ำตาไหลตามไม่ได้
พ.ศ.๑๒๑๔ ท่านอี้จิง (I-Tsing) พระสงฆ์จีนอีกรูปที่เดินทางเข้าสู่อินเดียทางทะเล ได้แวะกราบพระเจดีย์พุทธคยา กล่าวว่า "หลังจากนั้นพวกเราก็ได้เดินทางไปที่มหาโพธิมณฑล ใกล้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ และได้ก้มกราบแทบพระบาทแห่งพุทธปฎิมาแล้ว ข้าพเจ้าได้นำผ้าหนาและเนื้อดีซึ่งพระและฆราวาสภวายที่ชาตุงมาทำเป็นผ้ากาสาวพัสดุ์ บูชาและห่มที่องค์พระพุทธปฏิมา ข้าพเจ้าได้หมอบตัวลงพื้นด้วยจิตใจที่แน่วแน่ ด้วยความตั้งใจและด้วยความเคารพอย่างสูง"
ราว พ.ศ.๑๓๐๐ พระเจ้าศรีปูรณะภัทร (Sri Purnabhadra) กษัตริย์ชาวพุทธจากแคว้นสินธุ์ (ปากีสถาน) ได้สร้างมูลคันธกุฏิถวายพระพุทธองค์ ณ บริเวณทิศตะวันตกของพระเจดีย์จนสำเร็จ แล้วอาราธนา คณะสงฆ์รับมอบ (แม้พระองค์จะปรินิพพานไปนานแล้ว)
พ.ศ.๑๔๙๑ ปุโรหิตนามว่า อมรเทพ (Amardeva) ของพระเจ้าวิกรมาทิตย์ กษัตริย์แห่งเมืองมัลวาได้เขียน บันทึกไว้ว่า พระเจดีย์พุทธคยาได้ถูกออกแบบมาโดยได้เค้ามาจากศาสนสถานของชาวฮินดู ทั้งนี้เพราะต้องการให้ศาสนสถานทั้งของพุทธและพราหมณ์มีความกลมกลืนกัน ถ้าเราเปรียบเทียบเทวาลัยของฮินดูกับ พระเจดีย์จะมีความคล้ายคลึงกันอยู่ไม่น้อย
พ.ศ. ๑๕๒๓ พระเจ้ามหิปาละที่ ๑. (Mahipala 1st ) แห่งราชวงศ์ปาละก็ได้บูรณะกิฏิศาลา พระวิหารพุทธคยาเพิ่มเติม หลังจากที่ถูกปล่อยทรุดโทรม มานาน ในแผ่นจารึกด้วยแผ่นหินที่ขุดค้นได้รอบพระเจดีย์ ได้กล่าวถึงชื่อพระเจ้ามหิปาละได้ทำการบูรณะครั้งใหญ่แล้วมอบถวายพระสงฆ์หมู่ใหญ่ ในยามรุ่งเรืองอารามที่พุทธคยามีพระสงฆ์จำพรรษา ถึง ๒,๐๐๐ รูป
พ.ศ.๑๗๓๓ พระเจ้าอโศกพัลละ (Asoka-Balla) เมืองสปาทรักษะหรือสวาลัก ตอนกลางของอินเดียได้บูรณะซ่อมแซมพระเจดีย์เพิ่มเติม นับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายที่ได้บูรณะก่อนที่กองทัพมุสลิมเติร์ก จะบุกเข้ายึดครองมคธและอินเดียตอนกลางและเหนือโดยเด็ดขาด ท่านได้เขียนรายงานตามที่เห็นกับตาว่า
"(ที่พุทธคยา) สถานที่แห่งนี้ ถูกทำลายลงเหลือพระ ๔ รูปเท่านั้นที่พักดูแลอยู่ในพุทธคยา พระภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า มันแย่มาก พระทั้งหมดได้หลบหนีไปที่อื่นหมดแล้วด้วยความกลัวทหารมุสลิมตุรกีผู้รุกราน พระภิกษุเหล่านั่นปิดทางเข้าสู่เจดีย์มหาโพธิ์ด้วยอิฐ และฉาบมันไว้อย่างดีใกล้ที่นั้นภิกษุได้บรรจุรูปปั้นอื่นไว้เป็นตัวหลอก บนผิวปูนที่ฉาบนั้น พวกเขาได้วาดรูปพระอิศวร (มเหสวระ) ไว้ภายนอกเพื่อปกป้องพวกนอกศาสนา พระเหล่านั้นกล่าวว่า พวกเราไม่กล้าอยู่ที่นี่ และจะต้องไปเหมือนกัน"
"พอรุ่งสาง พวกเขาก็ออกเดินทางสู่ทางเหนือตามรอยของเกวียนที่ผู้คนไปก่อนแล้ว สิบเจ็ดวันต่อมาข้าพเจ้า (พระธรรมสวามี) ก็ไม่ได้เห็นรูปปั้นนั้นอีก เวลานั้น ได้มีหญิงชาวบ้านได้นำข่าวดีมาประกาศว่า ทหารตุรกีได้ไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงกลับมาและได้พำนักที่นี่เพื่อกราบนมัสการพระเจดีย์"
พ.ศ.๒๑๑๓ โคสิน ฆามันทิ คีรี (Gosain Gamandi Giri) นักบวช ฮินดูคนหนึ่งนิกายมหันต์ ได้เดินทางเข้ามาที่บริเวณพุทธคยา ได้เห็นเป็นที่รกร้างว่างเปล่า มีแต่ซากปรักหักพัง ยังคงเหลือแต่เจดีย์พุทธคยาเท่านั่นที่ค่อนข้างสมบูรณ์ จึงตั้งสำนักที่นี่ ต่อมาได้มีลูกศิษย์อย่างมากมาย จนในที่สุดผืนดินที่พุทธคยาจึงถูกยึดครองโดยปริยาย นักบวชลัทธิมหันต์จึงได้ยึดครองถาวร เพราะสมัยนั้นชาวพุทธได้สูญหายไปแล้ว และชาวพุทธต่างชาติเดินทางไปแสวงบุญได้ยาก เพราะเป็นยุคที่จักรพรรดิมุสลิมยึดครองอินเดีย ต่อมามหันต์ได้สร้างวังขึ้นใกล้พี้นที่พุทธคยาแล้วนำศิลปะวัตถุ ทางพุทธศาสนาทั้งพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์เทวรูป และรอยพระพุทธบาทเป็นต้น ไปเก็บไว้ในวังของตนเอง หินแกะสลักบางส่วน ถูกนำมาแปะไว้ข้างกำแพง บางส่วนถูกนำมาวางไว้หน้าวังเหมือนทหารยามแม้กระทั่งปัจจุบันยังเห็นอยู่ และบางส่วนถูกนำไปทำท่าลงแม่น้ำเนรัญชราเพื่อล้างบาป (ปัจจุบันถูกแกะออกแล้ว)
พ.ศ.๒๑๑๗ กษัตริย์พม่า ได้เสด็จนมัสการพุทธคยาและปรารถนาที่จะบูรณะเจดีย์พุทธคยาที่ทรุดโทรม ก็ได้รับการอนุญาตจากพวกมหันต์ แต่มีข้อแม้ว่าจะตั้งเทวรูปที่โพธิมณฑลด้วย การบูรณะยังไม่เสร็จสิ้นก็เกิดสงครามระหว่างพม่ากับอังกฤษซะก่อน งานจึงหยุดชงัก
พ.ศ.๒๔๐๓ เซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม นักโบราณคดีที่สำคัญชาวอังกฤษได้เดินทางมาขุดค้นที่พุทธคยา ท่านได้เห็นเจดีย์พุทธคยาทรุดโทรมอย่างมาก นอกนั่นต้นพระศรีมหาโพธิ์แก่ทรุดตัวลงอย่างมาก มิหนำซ้ำยังมีชาวบ้านมาตัดกิ่งดิลและแห้งไปทำฟืน ในที่สุดต้นโพธิ์ต้นที่สาม ก็ล้มลงท่านเซอร์จึงได้หาหน่อใหม่มาปลูกไว้ที่เดิม จนเจริญเติบโตถึงปัจจุบัน ในการขุดค้นของท่านได้พบจารึกมากมายทั่งอักษรพราหมีสมัยพระเจ้าอโศก อักษรขโรษฐี อักษรเทวนาครีสมัยปาละ อักษรพม่า อักษรจีน อักษรลังกา ซึ่งทำให้เราได้รับรู้เรื่องราวอย่างมากมายจากจารึกเหล่านี้
พ.ศ.๒๔๑๗ ในยุคอังกฤฏปกครอง พระเจ้ามินดง ของพม่าได้ส่งราชทูตมากราบนมัสการพระเจดีย์ เมื่อทูตพม่ากลับไปรายงานถึงความเสื่อมโทรมของพระเจดีย์ พระองค์จึงเจรจา กับรัฐบาลอินเดีย เพื่อบูรณะพระเจดีย์ขึ้น รัฐบาลอินเดียอนุญาตแต่ไม่ให้ทำลายศิวลิงค์ที่วางอยู่ภายในพร้อมประทานสิ่ง ของถวายพระเจดีย์มากมาย ต่อมาเกิดสงครามระหว่างอังกฤษกับพม่างานจึงชะงักลง
พ.ศ. ๒๔๓๓ เซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์ ได้เดินทางมาที่พุทธคยาได้เห็นสภาพความทรุดโทรมอย่างหนัก จึงเกิดสังเวชใจ เพราะพุทธคยาได้ตกอยู่ในอำนาจขอางพวกมหันต์ซึ่งเป็นคนนอกศาสนา จึงปล่อยปละละเลยจึงได้เขียนบทความเรียกร้อง และกระตุ้นรัฐบาลอังกฤษให้ดูแลพุทธคยาด้วยนอกนั้นท่านยังเขียนหนังสือประทีปแห่งเอเชียด้วย จึงทำให้เกิดความตื่นตัวและสนใจพุทธศาสนามากขึ้นเป็นอย่างมากในโลกตะวันตก
พ.ศ.๒๔๓๔ ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ ชาวพุทธลังกา ผู้อุทิศตนเพื่อพุทธศาสนา ได้เดินทางมาที่พุทธคยา ตามแรงกระตุ้นจากหนังสือประทีป แห่งเอเชียของท่านเซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์ เมื่อเห็นและกราบพระเจดีย์ที่พุทธคยาแล้วจึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะนำพุทธคยา มาเป็นสมบัติของชาวพุทธให้ได้ จึงมีความพยามอย่างหนัก ในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่การเรียกร้องไม่สำเร็จ แต่เพราะความพยายามของท่าน รัฐบาลอินเดียหลังได้รับเอกราชจึงได้ตราพระราชบัญญัติเป็นกฎหมายขึ้นเรียก ว่าพระราชปัญญัติเจดีย์พุทธคยา (Bodhgaya temple act 1949)
พระ ราชบัญญัตินี้ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ โดยรัฐบาลกลางอินเดียเป็นผู้ผลักดันหลังได้รับเอกราชใหม่ ๆ แล้วให้รับาลรัฐพิหารรับผิดชอบ ต่อมารัฐบาลรัฐพิหารออกกฎหมายฉบับหนึ่งขึ้นมาดูแลพุทธคยาและปริมณฆล โดยยกเลิกสิทธิการครอบครองพุทธคยาจากพวกมหันต์ (นักบวชฮินดูนิกายหนึ่ง) และบริหารภายใต้กฎหมายนี้ เขียนบอกว่ามีคณะกรรมการประกอบด้วยคณะกรรมการฝ่ายชาวพุทธ ๔ คน ฝ่ายฮินดู ๔ คน โดยมีนายอำเภอเมืองคยาเป็นประธานโดยตำแหน่ง ในกรณีที่นายอำเภอไม่ใช่ฮินดูก็ต้องตั้งคนใหม่ที่เป็นฮินดูเข้ามาเป็นประธาน แทน (ดูรายละเอียดที่พระราชบัญญัติ พระเจดีย์พุทธคยา) กฎหมายนี้ทำให้ฝ่ายมหันต์ไม่พอใจอย่างยิ่ง จึงฟ้องร้องศาลเมืองคยาเพื่อให้ยกเลิก ใช่ว่าแต่ฝ่ายมหันต์ไม่พอใจอย่างยิ่ง แต่ชาวพุทธเองก็ไม่พอใจเพราะคณะกรรมการฝ่ายฮินดูมีมากว่า และมีอำนาจตัดสินใจทุกอย่าง ต่อมาท่านราธกฤษณันอดีตประธานาธิบดี ของอินเดียได้มาขอร้องกับพวกมหันต์ด้วยตนเองว่าการที่มหันต์ไม่ยอมรับจะเป็น อันตรายต่ออินเดียในอนาคต และจะเป็นภัยต่อมหันต์เองด้วย พวกเขาจึงเชื่อฟัง แต่ยังถอนฟ้อง เพียงแต่ชะลอไว้เท่านั้นการที่กฎหมายฉบับนี้คลอดออกมาได้ มิต้องสงสัยเลยว่าเป็นเพราะการต่อสู้ของท่านอนาริก ธรรมปาละที่ได้ทุ่มชีวิตทั้งชีวิต เอาตัวเองเข้าแลกเพื่อนำพุทธคยามาเป็นสมบัติของชาวพุทธให้ได้
แม้ว่ากฎหมายออกมา ท่านจะได้เสียชีวิตไปแล้ว ยังไม่ทันได้เห็นความสำเร็จก็ตาม แต่คนรุ่นหลังก็อดระลึกถึงความดีของท่านไม่ได้ เพราะถ้าปราศจากท่านแล้ว โฉมหน้าของพุทธคยาจะเป็นอย่างไร ก็ไม่มีใครบอกได้ ปัจจุบันคณะกรรมการตามกฎหมายนี้มี ๘ ท่าน แบ่งเป็นฝ่ายฮินดู ๔ ท่าน ชาวพุทธ ๔ ท่าน ส่วนหัวหน้ามหันต์เป็นกรรมการถาวรโดยตำแหน่ง โดยนายอำเภอคยาเป็นประธาน ดังนั้นอัตราส่วนจึงเป็นชาวพุทธ ๔ ท่านแต่ฮินดู ๕ ท่าน แม้ว่าปัจจุบันกฎหมายนี้บังคับใช้มานาน แต่ชาวพุทธส่วนมากก็ยังไม่พอใจ ต้องการให้เป็นของชาวพุทธฝ่ายเดียว เพราะพวกเขาเห็นว่าที่นี่ไม่ใช่โบสถ์ฮินดู แต่พุทธสถานที่สำคัญที่สุด
พ.ศ.๒๔๙๕ คณะกรรมการบริหารพุทธคยาชุดแรกได้พูกแต่งตั้งขึ้นแบ่งออกเป็นฝ่ายฮินดู ๔ ท่าน ฝ่ายพุทธ ๔ ท่านคือ
๑.เทวปริยะ วาริสิงหะ เลขานุการสมาคมมหาโพธิ์แห่งอินเดีย
๒.พระภิกษชินรัตนะ แห่งรัฐอัสสัม
๓.พระภิกษุดร.จักดิษ กัสสปะ ผู้อำนวยการนวนาลันทา และพระ
๔.ดร.อรพินท์ บารัว ผู้นำชาวพุทธอินเดียเชื้อสายบารัว
เมื่อ คณะกรรมการได้ถูกแต่งต้งขึ้นแล้ว กาพพัฒนาพุทธคยาก็ได้เริ่มต้นขึ้นพร้อมกัลการประกาศเชิญชวนประเทศชาวพุทธ มาสร้างวัดโดยรัฐบาลอินเดีย และต่อมาอินเดียก็ได้จัดฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษหรือพุทธชยันตีทั่วประเทศขึ้นในพ.ศ. ๒๔๙๙ (แต่ในอินเดียเป็นพ.ศ.๒๕๐๐)
พ.ศ.๒๔๙๙ ได้เพิ่มเติมคณะกรรมการที่ปรึกษาถาวรขึ้นมา โดยคณะกรรมการเหล่านี้มาจากประเทศพุทธต่าง ๆ ฝ่านสถานทูตในอินเดีย คือ จากพม่า กัมพูชา จีน ญี่ปุ่น เนปาล สิกขิม ศรีลังกา และอินเดียเอง (ยังไม่มี ไทย ลาว มองโกเลีย เวียดนาม และเกาหลี) คณะกรรมการชุดนี้ได้ประชุมคร้งแรกที่อาคารสมาคมมหาโพธิ์ พุทธคยาในวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๙ โดยมีดร.อาร์อาร์ ดิวาการ์ (Dr.Radhakrishnan) อดีตประธานาธิปดีของอินเดียเป็นที่ปรึกษา
ต่อมาท่านดาไลลามะแห่งธิเบตก็ได้เสด็จมาเยี่ยมและนมัสการพระเจดีย์พุทธคยา โดยท่านเป็นแขกของรัฐบาลอินเดียในคราวฉลอง ๒๕ พุทธ ศตวรรษ หลังกลับธิเบตแล้ว พระองค์ก็ตัดสินใจขอลี้ภัยทางการเมืองอย่างถาวรที่อินเดีย เพราะไม่สามารถทนอยู่ภายใต้การปกครองของจีนได้ ต่อมาพ.ศ.๒๕๑๘ องค์ดาไลลามะพร้อมชาวพุทธธิเบต ที่ลี้ภัยในอินเดีย ได้ประกอบพิธีกาลจักรเป็นครั้งแรกที่พุทธคยาในเดือนมกราคม ซึ่งถือเป็นเดือนที่เย็นสบาย เหมาะแก่การประกอบบุญใหญ่
พ. ศ.๒๕๐๓ พุทธคยาก็ได้ต้อนรับแขกที่มีความสำคัญยิ่งคือ เจ้าชายอากิฮิโตะ และเจ้าหญิงมิชิโกะ จากญี่ปุ่นทั้งสองพระองค์เป็นแขกที่สำคัญยิ่งของรัฐบาลอินเดียได้รับการต้อน รับอย่างดียิ่ง ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จเวียนเทียนประทักษิณรอบพระเจดีย์พุทธคยา สร้างความปลาบปลื้มให้ชาวพุทธจากทั่วโลกที่เฝ้ารับเสด็จ ณ พุทธคยาเป็น อย่างยิ่ง
ต่อ มาจอมพล ป.ฑิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยผู้สร้างวัด ไทยพุทธคยาในนามของรัฐบาลไทยก็ตัด สินใจอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดไทยพุทธคยาหลังจากลี้ภัยในต่างประเทศ ข่าวนี้เป็นเป็นที่สนใจของชาวพุทธในอินเดียเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นเรื่องที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนหลายท่าน ตั้งข้อสงสัยว่าท่านบวชเพื่อหนีภัยการเมือง แต่แม้จะเพราะสาเหตุใดก็ตาม การบวชของท่านก็ถือเป็นเกียรติแก่วัดไทยและพุทธคยาและชาวพุทธเป็นอย่างยิ่ง ท่านจอมพลบวชอยู่ไม่นานก็ลาสิกขา แล้วไปพำนักที่ ญี่ปุ่นจนถึงแก่อสัญกรรมที่นั่น
พ.ศ.๒๕๑๗ ท่านอูนุ (U Nu) อดีตนายกรัฐมนตรีของพม่าพร้อมด้วยบุตรชาย บุตรเขย และเลขานุการก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ เจดีย์พุทธคยาการบรรพชาคร้งนี้ถูกจัดอย่างใหญ่โต และมีชาวพุทธจากหลายประเทศเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก มีขบวนแห่ของช้าง และนักดนตรี ท่านอูนุ นับว่าเป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญที่กดดัน ให้มหันต์ยอมคลายอำนาจจากพุทธคยา ในคราวที่ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีของพม่า
พ. ศ.๒๕๓๕ การเคลื่อนไหว มีมาหลายครั้ง โดยเริ่มจากผู้นำชาวพุทธท้องถิ่นที่พุทธคยา คือ ดร.พี ซี รอย (Dr.P.C.Roy) มหาวิทยาลัยมคธที่ต้องการเปลี่ยนคณะกรรมการเป็นชาวพุทธทั้งหมด เมื่อการรณรงค์มีมากขึ้น ท่านจึงถูกบีบจากมหาวิทยาลัยให้ยุติบทบาทมิเช่นนั้นอาจจะถูกพิจารณาให้ออก ท่านจึงลดบาทาลง ต่อมาชาวพุทธที่อยู่นาคปุร์ นำโดยท่านอารยะ นาครชุนสุระซาไซ พระญี่ปุ่นซึ่งอุปสมบทที่วัดปากน้ำ กรุงเทพ ฯ ได้พำนักที่อินเดียเป็นเวลานานจนได้สัญชาติอินเดีย ได้เดินทางมาประท้วงหลายครั้งโดยได้ยื่นข้อเสนอ ๓ ประการคือ ๑.เปลี่ยนคณะกรรมการเป็นชาวพุทธทั้งหมด ๒. นำแท่งศิวลึงค์ ออกจากพระเจดีย์ ๓.นำหลุมฝังศพของพวกมหันต์หลายคนและเทวาลัยที่สร้างใกล้พระเจดีย์ออก จากบริเวณปริมณฑลให้หมด ในการประท้วงครั้งนี้ทางรัฐบาลพิหาร ประกาศห้ามไม่ให้วัดพุทธนานาชาติในพุทธคยาเป็นวัดต้อนรับชาวพุทธใหม่นี้เข้า พักอาศัย ด้วยความกลัวอำนาจการเมือง จึงไม่มีวัดไหนเปิดรับพวกเขาเหล่านั้น จนต้องกินนอนข้างถนน ยังโชคดีที่ ท่านวิมลสาระ (Vimalasara) ประธานสงฆ์วัดลังกากล้าเปิดวัดต้อนรับแกนนำผู้ประท้วงในช่วงต้น ท่านถูกต่อต้านอย่างหนักจากทางการ แต่สุดท้ายก็ต้องยอม การประท้วงครั้งนี้ไม่สำเร็จตามข้อเสนอ เพราะพุทธคยาเป็นสถานที่สำคัญเป็นแหล่งรายได้มหาศาล ชาวฮินดูคงยากที่จะปล่อยให้หลุดมือ กล่าวกันว่าเงินบริจาก บางส่วนได้นำไปสร้างวัดพระรามที่เมืองอโยธยาสถานที่บวชแล้วดูแลที่พุทธคยา เพราะแม้จะอยู่ที่พุทธคยากลับไม่เคยไหว้เจดีย์แต่กลับไปไหว้เทวาลัยแทน ท่านนี้คือ ท่านญาณชคัท ปัจจุบันเมื่อถูกจับได้ก็ลาออกแล้วหลบหนีไป
แม้การประท้วงของชาวพุทธจะไม่สำเร็จ แต่ผลที่ได้รับมีหลายอย่าง คือ คณะกรรมการฝ่ายฮินดูเสียงอ่อนลง และที่สำคัญแท่งศิวลึงค์ที่ปักอยู่หน้าพระพุทธรูปภายในพระเจดีย์ก็ได้รับการ ยกออก ชาวพุทธได้เข้าไหว้พระด้วยความไม่ตะขิดตะขวงใจ จึงถือว่าเป็นความสำเร็จขั้นหนึ่ง
พ. ศ.๒๕๓๖ นายรัตนสิงเห เปรมทาส (เปรมดาสา) ประธานาธิบดีของศรีลังกา พร้อมคณะผู้ติดตาม ก็ได้มาเยี่ยมและนมัสการพระเจดีย์มหาโพธิ์ท่านได้สร้างถวายรั้วทองสำริดรอบ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พร้อมถวายหลังคาทองสำริด สำหรับกั้นแดดฝนที่พระแท่นวัชรอาสน์ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์
พ.ศ.๒๕๔๐ พุทธคยาก็ได้รับเกียรติให้จัดการอุปสมบทภิกษุณีนานาชาติขึ้น งานนี้สนับสนุนโดยพระอาจารย์ใหญ่ซิงหวิน วัดฝ่อกวางซาน ประเทศไต้หวัน ราว ๑๓๕ รูป โดยมีสตรีไทยเข้ารับการอุปสมบท ๒ ท่าน การอุปสมบทครั้งนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์พอสมควร เพราะไม่ถูกต้องทางพระวินัยปลายประการ แม้แต่ท่านดาไล ลามะ เองก็ทรงกังวลในหลายประเด็น แต่ทุกอย่างก็สำเร็จลงด้วยดี สร้างความปลาบปลื้มให้คณะภิกษูณีที่ได้รับการอุปสมบทอย่างยิ่ง
คณะกรรมการดูแลเจดีย์พุทธคยาชุดปัจจุบัน พ.ศ.๒๕๔๖ สมาชิกฝ่ายพุทธ ๔ ท่าน (Buddhist Members)
๑.พระภทันตะ คเณศวาร์มหาเถระ (Ven.Bhadant Gyaneshwar) วัดพม่า เมืองกุสินารา เป็นชาวพม่าแล้วโอนสัญชาติเป็นอินเดีย ท่านร่วมมือกับท่านสุระ ซาไซต่อสู้เพื่อยกเลิกกฎหมายหลายครั้ง อายุหกสิบเศษ
๒.พระอารยะ นาครชุนสุระ ซาไซ (Ven.Arya Nagarjun Surai sasai) วัดญี่ปุ่น เมืองนาคปูร์ ต่อสู้เพื่อปลดปล่อยพุทธคยามาโดยตลอด บวชที่วัดปากน้ำในไทย ก่อนไปจำพรรษาที่เมืองนาคปูร์ อินเดีย อายุหกสิบเศษ
๓.นางมงคล สุพพา (Shri Mangala Subba) วัดไดโจเจียว (วัดญี่ปุ่นพุทธคยา) เกิดที่นิวจาลไปกุรี พ.ศ.๒๔๙๒ เป็นชาวอินเดียเชื้อสายเนปาลไปศึกษาต่อที่ญี่ปุ่น จนพูดได้หลายภาษา ปัจจุบันเป็นเลขานุการวัดญี่ปุ่น
๔.นายนังเซ ดอร์จี (Mr.Nangsey Dorjee) ผู้นำชาวพุทธจากสิกขิมเป็นนักการเมืองคนสำคญของรัฐ พึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นครั้งแรก อายุ ๕๗ ปี (๒๔๘๙)
สมาชิกฝ่ายฮินดู ๔ ท่าน (Hindu Members)
๑.มหันต์ ศรี สุทรรศนะ คีรี (Makant Sri Sudarshan Giri) วัดมหันต์พุทธคยา เป็นคณะกรรมการถาวรตลอดชีพคนที่ ๖ วัยหกสิบเศษ
๒.ดร.ราม สวารุป สิงห์ (Dr"Ram Swaroop Singh) เป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยลัยมคธ รู้จักนักการเมืองท้องถิ่นได้รับการแต่งตั้งมาหลายสมัย
๓.ดร.กมลา สิงหะ (Shrimati Dr. Kamala Singha) เป็นแพทย์หรือหมอในโรงพยาบาลของรัฐที่เมืองปัฏนะ อายุสี่สิบเศษ
๔.ศรีกาลีจลัน สิง์ ยาดาพ (Shri Kalichalan Singh Yadav) ผู้นำท้องถิ่นที่พุทธคยา เป็นผู้ใกล้ชิดนักการเมืองในรัฐพิหารต่อมาได้รับตำแหน่งเลขานุการด้วยอายุหกสิบเศษ
ภิกษุผู้ดูแลพระเจดีย์ (Bhikkhu In-change)
ภิกษุโพธิปาละ (Ven.Bhikkhu Budhipala) มีหน้าที่ดูแลโพธิมณฑลให้เรียบร้ยและรับแขกบ้าแขกเมืองทั่วไป
วัดและองค์กรในบริเวณรอบพระเจดีย์พุทธคยา
ปัจจุบันภายในบริเวณะพุทธคยามีวัดพุทธของอินเดียและต่างชาติไปสร้างไว้หลายวัด คือ
๑.วัดพม่า (Burmese Vihara) สร้างโดยพระเจ้าหมิ่นหมาง พ.. ๒๔๑๘
๒.สมาคมมหาโพธิ์แห่งอินเดีย (The Mahabodhi society of India) สร้างโดยธรรมปาละ พ.ศ.๒๔๔๓
๓.วัดธิเบต (Tibetan temple) นิกายเกลุกปะ สร้างโดยลามะข่านกวาหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๖
๔.วัดจีน (Chinese temple) สร้างโดยอุบาสก เอส ที เฉิน พ.ศ. ๒๔๗๘
๕.วัดไทยพุทธคยา (Wat Thai Buddhagaya) สร้างโดยรัฐบาลไทยพ.ศ.๒๕๐๐
๖.วัดการมาปะธิเบต (Karmapa Tibetan temple) นิกายเกยุคปะสร้างพ.ศ.๒๕๐๕
๗.วัดอินโดซาน นิปปอนจิ (Indosan Nipponji tem ple) สร้างโดยชาวพุทธญี่ปุ่นทุกนิกาย พ.ศ.๒๕๑๖
๘.ศูนย์วิปัสสรานานาชาติ (International Meditation Centre) สร้างโดยพระดร.ราษฏร์ปาลพ.ศ.๒๕๑๓
๙.วัดไทยโพธิคำ (Tai Bodhi kam temple) สร้างโดยพระดร.ธัมมวังสะ
๑๐.วัดสงฆ์อินเดีย (All India Bhikkhu Sangha temple) สร้างพ.ศ.๒๕๑๔
๑๑.วัดเวียดนาม (Vietnamese temple) สร้างโดยพระดร.ราม พ.ศ.๒๕๑๕
๑๒. สถาบันวิปัสสนาโคเอนก้า (Goenga Vipassana Institute) สร้างพ.ศ.๒๕๑๕
๑๓.วัดศักยปะ (Sakyapa Monastery) สร้าง พ.ศ. ๒๕๒๐
๑๔.วัดพุทธวิหาร (Buddha Vihara, Siddharthbagar) สร้าง พ.ศ.๒๕๒๕
๑๕.วัดบังคลาเทศ (Bhutanese Buddhist temple) สร้าง พ.ศ.๒๕๒๕
๑๖.วัดภูฐาน (Bhutanese temple) นิกายดุกปา การ์จูสร้างโดยรัฐบาลราชอาณาจักรภูฐานพ.ศ. ๒๕๒๖
๑๗.วัดไดโจเกียว,พระพุทธรูปโตไดบุตสุ (ญี่ปุ่น) สร้างโดยท่านสุกิยาว่า พ.ศ.๒๕๒๖
๑๘.สถาบันรูท (Root Institute) สร้างโดยท่านลามะโซปะ รินโปเช่ พ.ศ.๒๕๓๐
๑๙.วัดไต้หวัน (Taiwanese temple) สร้าง พ.ศ.๒๕๓๓
๒๐.วัดเกาหลี (Korena Buddhist temple) สร้างโดยพระวอน วู พ.ศ.๒๕๓๕
๒๑.วัดตะมัง เนปาล (Nepali Tamang Buddhist Assosiation) สร้างพ.ศ. ๒๕๓๕
๒๒.วัดชาวพุทธจักมา (Chakma Buddhist temple) สร้างโดยชาวพุทธจักมา พ.ศ.๒๕๓๕
๒๓.วัดป่าพุทธคยา (Wat Pa Buddhagaya temple) สร้างโดยพระครูวชิรโสภณ พ.ศ.๒๕๓๗
๒๔.วัดธิเบตใหม่ (New Tibetan Buddhist temple) สร้าง พ.ศ.๒๕๔๐
๒๕.วัดเวียดนามใหม่ (New Vietnamese temple) สร้างโดยชาวเวียดนามในฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๕๔๑
สำหรับโครงการที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตคือ ๑.วัดเขมร ๒.วัดลาว ๓.วัดมองโกเลีย เป็นต้น
๖. สถิติชาวพุทธและองค์กรชาวพุทธในปัจจุบัน |
ปัจจุบันองค์กรหรือวัดทางพุทธศาสนายกเว้นพุทธสถานแล้ว นับว่าเหลือน้อยมากเมื่อเทียบกับพื้นที่อันกว้างใหญ่ ของอินเดียเพราะถูกทำลายที่มีรายชื่อต่อไปนี้โดยมากสร้างใหม่ทั้งสิ้น บางแห่งสมบูรณ์ แต่บางแห่งก็ไม่สมบูรณ์ยังอยู่ระหว่างก่อสร้าง บางแห่งมีประสงฆ์จำพรรษา แต่บางแห่งก็ร้างพระสงฆ์ ดังมีสถิติปี ๒๕๓๓ ดังต่อไปนี้
๑. เกาะอันดามันและนิโคป้า
มีชาวพุทธราว ๑๒๗ คนเท่านั้นโดยมากเชื้อสายพม่า ประชาชานโดยมากนับถือศาสนาอิสลาม ท่านอูชินวังสะ เป็นประธานคณะสงฆ์ที่เกาะนี้
๒. รัฐอันธาระประเทศ
พ.ศ.๒๔๙๔ รัฐนี้มีชาวพุทธตามการสำรวจสำมโนประชากรมีทั้งหมด ๒๓๐ คน แต่มาถึงพ.ศ. ๒๕๓๓ มีทั้งหมด ๑๒,๘๓๐ คน โดยมากเป็นคนชั้นต่ำที่นับถือพุทธศาสนาตาม ดร.เอ็มเบ็ดการ์ื ท่านวิมาลารักษาเป็นผู้บุกเบิกการเผยแผ่พุทธศาสนาที่นี่ ท่านสร้างวัดนาครชุน พุทธวิหารที่ฮินดูปุระต่อมาที่ท่านสารีบุตรและท่านรัตนปาละ เป็นผู้เผยแผ่ต่อมา
๓. รัฐอรุณาจัลประเทศ
มีชาวพุทธประมาณ ๘๖,๔๘๓ คน โดยมากอาศัยที่เมืองตะวัง โลหิตติรับ โดยมีวัดสำคัญคือตะวังพุทธวิหาร สร้างโดยท่านเมลา ลามะมีพระลามะจำพรรษาราว ๓๕๐ รูป นอกนั้นยังมีวัดที่สำคัญเช่นที่ดิรัน ,ดซอง,โดมซัง จัดดา,จังดา,บังกาจันกา,การโปซัง เป็นต้น
๔. รัฐอัสสัม
มีชาวพุทธราว ๕๕,๐๐๐ คนโดยมากเป็นเผ่าไทอาหม มีวัดราว ๑๐๐ วัดและพระสงฆ์ราว ๑๕๐ รูป ท่านนันทพันษาเป็นผู้บุกเบิกการเผยแผ่ที่รัฐนี้ ท่านก่อตั้งองค์กรชาวพุทธอัสสัมขึ้น พระเถระ ที่มีชื่อเสียงในรัฐนี้คือ ๑ ท่าน สีลพันษา ๒.ท่านพุทธนันทะ ๓ ท่านศาสนาวังสะ ๔.ท่านปรัชญานันทะ๕.ท่านเทวปริยะ ๖.ท่านราหุล ๗. ท่านสัญชัย นันทะ เป็นต้น
๕. รัฐพิหาร
มีชาวพุทธ ๓,๐๐๓ คน มีพระสงฆ์ราว ๕๐ รูป แต่ปัจจุบันอาจจะเพิ่มขึ้นมาก เพราะมีชาวอินเดียวรรณะต่ำหันมานับถือพุทธศาสนาแทบทุกปีพระเถระที่มีชื่อเสียงในรัฐนี้คือ ๑.ท่านธัมมวังโส ๒.ท่านปัญญารามะ ๓.ท่านชญาณชคัท ๔. ท่านปรัชญานันทศรี พุทธสถานที่สำคัญหลายอยู่ในรัฐนี้เช่นพุทธยา นาลันทา เป็นต้น วัดที่สำคัญคือ ๑. ปาฏลีบุตร พุทธวิหารปัฏนะ ๒.พุทธวิหารรันชี เป็นต้น
๖. รัฐปัญจาป
มีชาวพุทธอยู่ในรัฐนี้โดยมากที่เมืองจันติการ์ราว ๔๕๔ คน มีพุทธวิหารราว ๓ แห่ง
๗. เดลลี
พ.ศ.๒๔๙๔ มีชาวพุทธราว ๕๐๓ คน และพ.ศ.๒๕๒๔ มีราว ๗,๑๑๗ คน ปัจจุบันมีพุทธวิหารมากกว่า ๒๕ แห่งในเมืองหลวงแห่งนี้ พุทธวิหารแห่งแรกที่เดลลี สร้างพ.ศ. ๒๔๗๙ ที่มันดินมาร์ค สนับสนุนโดยมหาเศรษฐีบิร์ล่าชาวฮินดู พระเถระที่อยู่ถาวรในเมืองเดลลีคือพระลามะลอบซัง เจ้าอาวาส วัดอโศการาม พระวิสุทธานันทะมหาเถระ พระมหานามมหาเถระ เป็นต้น
๘. รัฐคุชราต
พ.ศ.๒๔๙๔ มีชาวพุทธราว ๑๙๘ คน พ.ศ. ๒๕๓๓ มี ๗,๕๕๐ คน ปัจจุบันอาจจะมีเพิ่มหลายเท่าตัว เพราะมีการหันมานับถือพุทธศาสนาหลายครั้งที่รัฐนี้
๙. รัฐหิมาจัลประเทศ
ตามสถิติพ.ศ.๒๕๒๔ มีชาวพุทธราว ๕๒,๖๒๙ คน โดยมากอาศัยอยู่ในหุบเขา ลาหุบ สปิติ กิเนาว์ กุลู รัฐนี้มีวัดราว ๑๐๐ แห่ง โดยมากเป็นนิกายมหายานแบบธิเบต เมื่องธรรมศาลา ที่ประทับขององค์ดาไลลามะก็อยู่ที่รัฐนี้ ปัจจุบันจำนวนวัดและชาวพุทธคงเพิ่มขึ้นมาก
๑๐. รัฐจัมมูและแคชเมียร์
มีชาวพุทธราว ๖๙,๗๐๖ คน โดยมากอาศัยอยู่ที่เมืองเลห์และเมืองการ์กิล ชาวพุทธของแคว้นนี้เป็นชาวพุทธที่นับถือมหายาน แบบธิเบต มีพระลามะราว ๒,๕๐๐ รูป แม่ชีราว ๑,๐๐๐ คน พระเถระที่สำคัญที่สุดคือท่านกุสัก บากุร่าเป็นผู้นำของชาวพุทธที่นี่ นอกนั้นยังมีท่านลามะกุสักสตักซัง เรสปา, ท่านกุสัก เคนโป ริมโปเช่,ท่านลามะกุสัก สตักนา ริมโปเช่ เป็นต้น วัดที่ใหญ่และมั่งคั่งที่สุดคือวัดเฮมิส (กอมป้า)
๑๑. รัฐการ์นาตกะ
พ.ศ.๒๔๙๔ มีชาวพุทธอยู่รัฐนี้ ๑,๗๐๗ คน พ.ศ.๒๔๓๓ มีราว ๔๒,๑๔๗ คน วัดที่สำคัญคือพุทธวิหารถนนกาลิทาส คานธีนคร โดยมีท่านพุทธรักขิตะเป็นผู้บุกเบิกการเผยแผ่ที่รัฐนี้วัดที่สำคัญอีก แห่งอโศกพุทธวิหารอโศกปุรัม เมืองไมซอร์
๑๒. รัฐเกราล่า
มีชาวพุทธราว ๒๒๓ คนเท่านนั้นมีวัด ๒ แห่ง ก่อตั้งโดยสมาคมมหาโพธิ์ พ.ศ.๒๔๗๐ โดยได้รับการสนับสนุนจากนาย ซี. กฤษณัน และนายราม ไอเยอร์
๑๓. รัฐมัธยมประเทศ
มีชาวพุทธราว ๗๕,๓๑๒ คน รัฐนี้มีพุทธสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่นสาญจี และวัดถ้ำหินที่จุนนาร์เป็นต้น วัดที่สำคัญของรัฐนี้คือนิวเจติยคีรีวิหารที่สาญจี โดยมีท่านปุญญติสสะชาวศรีลังกาเป็นผู้ดูแลคนแรก สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๙ นอกนั้นยังมีวัดราว ๑๕ แห่ง
๑๔. รัฐมหาราษฏร์
ปีพ.ศ.๒๔๘๐ มีชาวพุทธราว ๓๓,๐๐๐ คน แต่เมื่อถึงพ.ศ. ๒๕๓๓มีชาวพุทธ ๓,๙๔๖,๑๔๙ คน ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นชาวพุทธใหม่ที่หันมานับถือพุทธศาสนาตามดร.เอ็มเบ้ดการ์ คิดเป็นร้อยละ ๘๔ ของชาวพุทธทั้งหมดในอินเดีย ผู้บุกเบิกพุทธศาสนาในรัฐนี้คือ ดร.อานันเทรา แนร์,ท่านธัมมานันทะ โกสัมพี,ดร.เอ็มเบ็ดการ์ และรัฐนี้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของท่านโคเอ็นก้านักวิปัสสนาชื่อดังของอินเดีย ที่เมืองนาคปูร์ มีพุทธวิหารราว ๑๒๐ แห่ง แตกต่างกันไปตามฐานะทางเศรษฐกิจของแต่ละชุมชน
๑๕.รัฐมณีปุระ
มีชาวพุทธราว ๔๗๕ คนเท่านั้น รัฐนี้ติดกับสหภาพพม่า แต่ประชาชนส่วนมากนับถือศาสนาคริสต์
๑๖. รัฐเมฆาลัย
มีชาวพุทธราว ๒,๗๓๙ คน วัดที่สำคัญอยู่ที่เมืองชิลลอง โดยมีท่านชินรัตนะมหาเถระชาวอินเดียเป็นประธานสงฆ์ที่เมืองนี้
๑๗. รัฐมิซูรัม
พ.ศ.๒๕๒๔ มีชาวพุทธราว ๔๐,๔๒๙ คน โดยมากเป็นชนเผ่าจักม่าซึ่งเป็นคนเผ่ามองโกลอยด์ มีพระสงฆ์ราว ๑๔๐ รูป และวัดราว ๔๐ แห่ง พระเถระที่มีชื่อเสียงคือท่านเลขา เบาโช
๑๘. รัฐนาคาแลนด์
รัฐนี้อยู่ติดกับสหภาพพม่าเช่นกัน มีชาวพุทธราว ๕๑๗ คน ประชาชนเมืองนี้โดยมากนับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบันอาจจะเพิ่มบ้างเล็กน้อย มีชาวพุทธราว ๘,๔๖๒ คน รัฐนี้ในสมัยพระเจ้าอโศก เรียกว่า แคว้นกาลิคะ มีพุทธวิหารอยู่หลายแห่ง โดยมีท่านสัทธานันทะเป็นประมุขสงฆ์ที่นี่นอกจากนั้นยังมีเจดีย์เพื่อ สันติภาพของญี่ปุ่น สร้างโดยท่านฟูจีอิ คุรุจี ที่เมืองภูวเนศวาร์ด้วย
๑๙. รัฐราชสถาน
มีชาวพุทธราว ๔,๔๒๗ คน รัฐนี้แม้จะมีพื้นที่กว้างขวางแต่มีผู้อยู่อาศัยนอ้ย เพราะพื้นที่แห้งแล้งเป็นทะเลทราย ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกมีวัดราว ๑๑ แห่ง วัดที่สำคัญคือพุทธวิหาร ถนนดร.เอ็มเบ็ดการ์
๒๐. รัฐสิกขิม
รัฐนี้เป็นดินแดนพุทธศาสนาแบบธิเบต มีวัดมากกว่า ๗๐ แห่ง แม้จะขึ้นกับอินเดียแต่รัฐนี้ก็มีอิสระในการปกครองมากกว่ารัฐอื่นวัดที่ สำคัญที่สุดคือวัดเปมายังเส
๒๑. รัฐทมิฬนาดู
มีชาวพุทธราว ๗๓๕ คน ผู้บุกเบิกพุทธศาสนาในรัฐนี้คือ ท่านบัณฑิตอโยธยา ทาส และท่านลักษมี นาราสู มีวัดอยู่หลายแห่งแต่ที่สำคัญคือพุทธวิหารที่มัทราส แห่งที่สองอยู่ที่ถนน ๔๑ แพดดี้ ฟิลด์
๒๒. รัฐตรีปุระ
มีชาวพุทธราว ๕๔,๓๐๖ คน โดยมากเป็นชาวจักม่า มีพระสงฆ์ราว ๑๐๐ รูป พระเถระที่สำคัญคือ ท่านขันติวาระมหาสถวีระ ท่านอู เตซ่า มหาสถวีระ ท่านจันทสาระมหาสถวีระ เป็นต้น