Asd

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

พุทธศาสนายุคอังกฤษปกครอง พ.ศ. ๒๒๐๐-๒๔๙๐ (Buddhism in British's time B.E.2200-2490)

เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๑๗๖ สมัยพระเจ้าออรังเซบ พ่อค้าชาวยุโรปเริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายกับอินเดีย คือชาวยุโรปมีชาติโปรตุเกส ฮอลันดาฝรั่งเศสและอังกฤษ การมาของชาวยุโรปนั้นจุดประสงค์แรกก็เพื่อการค้าขายเป็นสำคัญ ยังไม่มีความคิดที่จะยึดเป็นเมืองขึ้นแต่อย่างใด และเพื่อรักษาการค้าของตนเองไม่ให้ถูกโจมตีทั้งจากชาวยุโรปด้วยกันและคนท้อง ถิ่น หลายบริษัทได้ตั้งกองทหารขึ้นโดยใช้ทหารพื้นเมืองอินเดียเอง และต่อมาอังกฤษก็เข้ายึดครองอินเดียทีละรัฐ จนเข้าครอบครองอินเดียได้เกือบทั่วประเทศ ในระยะนี้อังกฤษได้นำเอาศาสนาของตนคือคริสตศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในอินเดียด้วย อังกฤษก็นำชาวอินเดียให้หันมานับถือคริสตศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในอินเดียด้วย อังกฤษก็นำชาวอินเดียให้หันมานับถือศาสนาของตนได้บ้าง
สมัยนี้ศาสนามุสลิมอ่อนกำลังลงไปบ้าง ศาสนาฮินดูกลับเจริญขึ้น ศาสนาเชนก็มีอยู่บ้างประปรายซึ่งโดยมากมีผู้นับถืออยู่แคว้นบอมเบย์ ในหมู่พวกพ่อค้าชาวคุชราตที่แคว้นเบงกอล และแคว้นพิหารบ้างบางส่วน ศาสนาเชนนั้นแม้จะมีคนนับถือกันน้อย แต่เชนศาสนิกโดยมากก็เป็นคนร่ำรวย วัดของศาสนาเชนสะอาดและสวยงามทุกแห่ง ไม่เหมือนกับวัดฮินดูซึ่งโดยมากสกปรก ส่วนพุทธศาสนานั้นได้ถูกทอดทิ้งลบเลือนไปจากความทรงจำของชาวอินเดียอย่างสนิท
๑. การมาของฝรั่งเศส (France Arrival)


ผรั่งเศส เป็นชาติยุโรปชาติสุดท้ายที่เข้ามาค้าขายกับอินเดีย แม้ว่าจะมีความร่ำลือถึงความมั่งคั่งของตะวันออกปานใดก็ตาม ก่อนหน้านั้นมีพ่อค้าชาวโปรตุเกสชื่อว่าวาสโก ดา กามา ได้แล่นเรือมาถึงอินเดียเป็นคนแรก ต่อมาจึงมีหลายชาติเดินทางเข้ามาค้าขายกับอินเดีย เช่น โปรตุเกส สเปน ฮอลันดา เดนมาร์ก แต่ที่มีแนวคิดจะยึดอินเดียเป็นเมืองขึ้นของตนอย่างจริงจัง คือฝรั่งเศสและอังกฤษ

พ. ศ. ๒๒๐๗ ฝรั่งเศสได้ก่อตั้งบริษัทตะวันออกไกลขึ้น เพื่อค้าขายกับชาวตะวันออก บริษัทนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากรัฐบาลเพราะนำความมั่งคั่งมาหาชาติของ ตน ฝรั่งเศสจัดตั้งสถานีขึ้นครั้งแรกที่เมืองสุรัต ทางภาคตะวันตกของอินเดีย พ.ศ. ๒๒๑๒ จึงสร้างเพิ่มที่นาคปัฏฏินัมเมืองท่าทางภาคใต้ โดยได้รับอนุญาตจากสุลต่านโกลคุณดา ต่อมาฝรั่งเศส ต้องต่อสู้กับฮอลันดา เพื่อแย่งเมืองเซนทอมใกล้มัทราส สุดท้ายฝรั่งเศสจำต้องลงนามสละเมือง แต่อย่างไรก็ตามฝรั่งเศสก็สามารถยึดเมืองชายทะเลบางเมืองได้และตั้งสถานี สำหรับขนถ่ายสินค้าที่เมืองจันทรนครในพ.ศ.๒๒๓๓

ต่อมาราวพ.ศ.๒๒๘๕ ฝรั่งเศสโดยการนำของ กัปตันดูแปลง เริ่มคิดการด้านการเมืองโดยหวังยึดอินเดียแข่งกับอังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกัฮ อลันดา เมื่อทั้งสองชาติยุโรปแข่งขันกันมากขึ้นทั้งทางด้านการค้าขาย การทหารและการเมือง จึงได้เกิดปะทะกันขึ้นโดยการรบกินเวลา ๗ ปี ทั้งสองฝ่ายเสียทหารและไพร่พลเป็นจำนวนมากในที่สุดชัยชนะเป็นของอังกฤษเพราะ ได้ผู้นำที่มีความสามารถ คือ โรเบิร์ต ไครพ์ ฝรั่งเศสต้องยอมจำนนตามสัญญาปารีส พ.ศ. ๒๓๐๖ ในสนธิสัญญานี้ ฝรั่งเศสจำต้องยกเขตคานาดาให้อังกฤษ และต้องถอนตัวออกจากอินเดียด้วย แม้จำต้องถอนตัวจากอินเดียอย่างเจ็บปวด แต่ก็ยังรักษาเมืองท่าสำหรับค้าขายไว้ ๕ เมืองโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปอนดิเชอรี่ (Pondicherry)

๒. การมาของอังกฤษ (British Arrival)

หลังจัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออก (East Ibdian Company) เมื่อ พ.ศ.๒๑๔๓ แล้ว บริษัทอังกฤษแห่งนี้ก็เริ่มค้าขายในตะวันออกไกล บริษัทนี้เป็นของเอกชนที่ทำหน้าที่ค้าขายเครื่องเทศและสินค้าทั่วไป และ พ.ศ. ๒๑๕๑ บริษัทอินเดียตะวันออกโดยการนำของกับตันฮอร์กิันส์ ก็เริ่มเข้ามาค้าขายกับอินเดียได้เข้าเฝ้าจักรพรรดิชาฮังคีร์ที่เดลลี และได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสถานีค้าขายที่เมืองสุรัตได้ จากเมืองเล็ก ๆ สุรัตกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ของอังกฤษต่อมา

จน ถึงสมัยพระเจ้าชาลส์ที่ ๒ ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงโปรตุเกส เมืองท่าบอมเบย์ (Bombay) ในยุคนั้นกลายเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส ดังนั้นโปตุเกสจึงถวายเมืองบอมเบย์แก่พระเจ้าชาลส์เพื่อเป็นสินสมรส ต่อมาอังกฤษได้สร้างป้อม จัดตั้งกองทหาร จัดหาอาวุธเพื่อคุ้มครองการค้าจากศัตรูที่เป็นชาวพื้นเมืองและชาวยุโรปด้วย กันจนกองทหารของพวกเขาเข้มแข็งขึ้นกว่ากองทัพแห่งชาติของโมกุลเอง เพราะอาวุธและเครื่องยุทธภัณฑ์ที่ทันสมัยกว่า

โรเบิร์ต ไคลว์ (Robert Cile)

ในช่วงนี้ โรเบิร์ต ไคลว์ (Robert Cile) กัปตันชาวอังกฤษได้เข้ามาอินเดียและแย่งอิทธิพลกับฝรั่งเศส เมื่อมีเหตุการณ์ขัดแย้งกันเอง ระหว่างผู้ปกครองในอินเดียทั้งอังกฤษและผรั่งเศสจะไปถือหางคนละฝ่าย เช่น กรณีขุนนางจันทา สาหิบ และโมหัมหมัด อาลี ต้องการขึ้นครองราชบัลลังก์ที่อาโกท และทั้งสองต่างเตรียมต่อสู้ ฝรั่งเศสเข้าฝ่ายโมหัมหมัด อาลีสุดท้ายฝ่ายอังกฤษชนะ จันทา สาหิบจึงถูกจับและสังหาร โมหัมหมัด อาลีจึงเป็นเจ้าผู้ครองนครแทน แต่เขาก็เป็นแต่ในนามเท่านั้น เพราะอำนาจสั่งการอยู่ที่อังกฤษ ทำให้ฝรั่งเศสเสียอิทธิพลอย่างมาก จนต้องต้องล้มแผนการยึดอินเดียเป็นอาณานิคมในที่สุด ในที่สุดอังกฤษก็เริ่มยึดดินแดนของอินเดียทีละน้อยจนที่สุดก็ยึดได้ทั้ง ประเทศราว พ.ศ.๒๓๐๐

ในปี พ.ศ.๒๒๕๐ ในเดลลีเมืองหลวง บหาดูร์ ชาห์ (Bahadur Shah) ก็ขึ้นครองราชสมบัติแทนออรังเซบผู้บิดา ยุคนี้จักวรรดิโมกุลเสื่อมถอยลงอย่างมาก เมื่อส่วนมากแยกตัวมาปกครองตนเอง อำนาจรัฐบาลกลางจึงเหลือแค่เดลลีและภาคกลางเท่านั้น บหาดูร์ ชาห์ปกครองมาจนถึง พ.ศ.๒๒๕๕ นับเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๗ ของราชวงศ์โมกุล

พ.ศ. ๒๒๕๕ กษัตรย์โมกุลชื่อบหาดูร์ ชาห์สวรรคตแล้ว ชหันดาร์ชาห์ (Jahandar Shah) โอรสก็ขึ้นนั่งบัลลังก์แทน แต่มีอาณาเขตที่เหลือน้อยแล้วยังเหลือแค่รอบ ๆ เมืองเดลลีเท่านั้น นอกนั้นได้กลายเป็นรัฐเอกราชแล้วชหันดาร์ ชาห์ ปกครองมาจนถึง พ.ศ.๒๒๙๘ เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๘ แห่งราชวงศ์โมกุล รวม ๓๙ ปี

พ.ศ. ๒๒๙๘ อลัมคีร์ ที่ ๒ ก็ขึ้นครองราชย์ต่อจากชหันตาร์ ชาห์จนถึง พ.ศ. ๒๓๐๒ เป็นองค์ที่ ๙ แห่งราชวงศ์โมกุล รวมเวลา ๔ ปี

พ.ศ.๒๓๐๒ แม้อังกฤษจะเริ่มยึดอินเดียมามากแล้ว แต่ราชวงศ์โมกุลก็ยังไม่ถูกยุบ ยังพอมีอำนาจบ้าง สมัยนี้พระเจ้าชาห์ฮาลัมที่ ๒ ก็ขึ้นครองราชย์ต่อจากชหันดาร์ ชาห์ ปกครองจนถึง พ.ศ.๒๓๔๙ เป็นองค์ที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์โมกุล รวมเวลา ๔๗ ปี

ต่อมาพ.ศ.๒๓๔๙ อักบาร์ที่ ๒ ขึ้นครองบัลลังก์แทน จนถึงพ.ศ.๒๓๘๐ เป็นองค์ที่ ๑๑ แห่งราชวงศ์โมกุล รวม ๓๑ ปี

บหาร์ดูร์ ชาร์ ซาฟา กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์โมกุล

ในสมัยนี้ฮินดูได้มีนักปราชญ์หลายคนพยายามฟื้นฟูศาสนาตนเองขึ้น แต่งพุทธศาสนาไม่อาจทำเช่นนั้นได้ เพราะชาวพุทธได้สูญหายไปเกือบหมดแล้ว ยังเหลือเฉพาะแถวอัสสัม หิมาจัลประเทศ ลาดักเท่านั้น จึงเหลือเฉพาะฮินดู อิสลามและซิกซ์ต่อสู้กันเองในแผ่นดินอินเดีย

พ. ศ.๒๓๘๐ บหาร์ดูร ชาห์ ซาฟาร์ (Bahadur Shah Safar) ขึ้นครองบัลลังก์แทนพระเจ้าอักบาร์ที่ ๒ เป็นเวลา ๒๒ ปี มาถึงยุคนี้จักวรรดิของโมกุลได้หดหายไปเกือบหมดแล้วคงเหลือแต่เดลลีเมือง หลวงและบริเวณรอบนอกเท่านั้น จนถึง พ.ศ.๒๔๐๒ จึงถูกอังกฤษเนรเทศไปกักตัวไว้ที่เมืองมัณฑเลย์ของพม่า และสิ้นพระชนม์ที่นั้นพร้อมพระญาติ โดยไม่มีโอกาสกลับอินเดียอีกเลย ราชวงศ์โมกุลก็เป็นอันสิ้นสุดในองค์ที่ ๑๒ นี้ ตลอดระยะเวลาที่ราชวงศ์มุสลิมปกครองประเทศอินเดียยาวนานถึง ๖๖๓ ปี พุทธศาสนาถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิงโดยไม่มีโอกาสกลับมาฟื้นได้ในช่วงนี้ แม้กระทั่งโบราณสถานทางพุทธศาสนาก็ถูกปกครองมุสลิมทำลายลงอย่างหนัก




๓. กบฏซีปอย (The Sepoy Mutiny)

กบฏนี้เกิดพ.ศ. ๒๔๐๐ เป็นการกบฏที่ไม่มีการเตรียมการมาก่อนโดยหวังจะต่อสู้กับอังกฤษผู้เป็นนาย คำว่าซีปอย เพี้ยนมาจากภาษาเปอร์เซียว่า ซีปาร์ หมายถึงทหาร ต่อมาเป็นชื่อก่องทหารอินเดียที่อยู่ในการบังคับบัญชาของอังกฤษ ได้รับการฝึกแบบอังกฤษ และขึ้นตรงต่อผู้บังคับบัญชาที่เป็นชาวอังกฤษโดยตรง สาเหตุการกบฏมาจากสาเหตุหลายประการคือ
๓.๑ ด้านการเมือง ข้าหลวงอังกฤษชื่อ ดัลเฮาลี ได้ออกกฎหมายยกที่ดินที่เจ้าผู้ปกครองเมืองได้ที่ไม่มีทายาทโดยตรงให้เป็น ของอังกฤษ การผนวกแคว้นอูฐ (ปัจจุบันคือรัฐอุตตประเทศ) เป็นของอังกฤษ โดยตรงการกำจัดราชวงศ์โมกุล, การปฏิเสธเงินบำนาญแก่นานาซาเห็บ บุตรบุญธรรมของบาจี ราโอที่ อดีตกษัตริย์ฮินดูแห่งเปชวาร์
๓.๒ ด้านเศรษฐกิจ สาเหตุมาจากอังกฤษปฏิรูปที่ดิน โดยยกเลิกที่ดินของขุนนาง, อังกฤษเลิกจ้างข้าราชบริพารของพระราชา, การรับที่ดินที่เจ้าของไม่สามารถแสดงหลักฐานที่ชัดเจนให้กลายเป็นของอังกฤษ
๓.๓ ด้านศาสนา การยกเลิกประเพณีสตี การยกเลิกการฆ่าทารกแม้จะเป็นเรื่องดี แต่ชาวฮินดูหัวเก่าก็ต่อต้านอย่างรุนแรง, การสร้างทางรถไฟ โทรเลข การศึกษาแบบตะวันตก ล้วนกระทบกับประเพณีวัฒนธรรมของชาวฮินดู, การให้ความคุ้มครองผู้เปลี่ยนศาสนาจากฮินดูมาเป็นคริสเตียน นอกจากนี้ยังเกิดข่าวลือว่าปืนไรเฟิลชนิดใหม่ใช้น้ำหันหมูซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับมุสลิม และน้ำมันจากไขวัวซึ่งเป็นพระเจ้าของฮินดูจึงเกิดการไม่พอใจอย่างมากทั้งทหารมุสลิมและฮินดู

การ กบฏเริ่มต้นที่บารักปอร์ใกล้กัลกัตตา และเมียรุต ใกล้เดลลีพวกกบฏได้ยึดคุกและปล่อยพวกเดียวกันออกจากคุก และได้รับชัยชนะหลายครั้ง แต่ที่ปัญจาป กุหลาบ สิงห์ (Gulab Singh) หัวหน้าชาวซิกซ์และสินเธีย (Sindhia) ได้ช่วยชาวอังกฤษไว้ นอกจากนี้ยังมีเซอร์สาลาจัง (Sir Sala Jang) เสนาบดี ไฮเดอราบาด เซอร์จัง บฮาดูร์ (Sir Jang Bahadur) แห่งเนปาล ด้วยความช่วยเหลือของบุคคลเหล่านี้ ในที่สุดอังกฤษก็ปราบได้ในเวลา ๕ เดือน การกบฎครั้งนี้แม้ว่าทหารพื้นเมืองซีปอยจะพ่ายแพ้แต่ก็ปลุกชนวนชาตินิยมให้ เกิดแก่ชาวอินเดียเป็นจำนวนมาก ที่จะปลดปล่อยตัวเองจากนักล่าเมืองขึ้น ชาวตะวันตก


๔. อังกฤษกลุมพินีให้เนปาล (British offered Lumbini to Nepal)

สวนลุมพิลี เนปาล

พ.ศ.๒๓๙๔ เมื่อการเกิดกบฏซีปอยรุนแรงขึ้น จนยากต่อการควบคุมอังกฤษจึงขอกำลังจากเนปาลให้ช่วยปราบกบฏ พระเจ้าสุเรนทระกษัตริย์เนปาลตอบตกลง จึงส่งทหารเข้าช่วยกองทัพอังกฤษ ทหารกรุข่าของเนปาลสามารถยึดเมืองโครักขปูร์ เมืองลัคเนาว์และอีกหลายเมืองในแคว้นอูธ (รัฐอุตตระประเทศในปัจจุบัน) กลับคืนมาได้ และในที่สุดอังกฤษก็สามารถปราบกบฏสำเร็จ ในการรบครั้งนี้ทหารกรุข่าของเนปาลทำการรบอย่างกล้าหาญจนชื่อเสียงเลื่องลือไปไกล เพื่อเป็นการตอบแทนที่เนปาลส่กองทัพเข้ามาช่วยเหลืออังกฤษปราบกบฎซีปอยได้ราบคาบ อังกฤษจึงตอบแทนเนปาลโดยยกแผ่นดินพื้นที่ราบใหญ่กว้างขวาง บางส่วนของแคว้นอูธ ให้ขึ้นกับเนปาลเป็นรางวัลตอบแทน และพื้นที่ที่ยกให้นี้มีความสำคัญกับชาวพุทธมาก เพราะเป็นที่ประสูติของพระบรมศาสดาคือสวนลุมพินี, เมืองกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ พุทธสถานเหล่านี้ จึงตกอยู่ภายใต้ การยึดครองของเนปาลตั้งแต่นั่น เป็นต้นมา ก่อนหน้านั้นพื้นที่เหล่านี้อยู่ในรัฐอูธของอินเดีย ดังนั้นการเดินทางไปจาริกแสวงบุญจึงมีความลำบากมากขึ้น เพราะนักแสวงบุญหรือนักท่องเที่ยวจะต้องข้ามพรมแดนไปอีกประเทศและปัจจุบัน จะต้องจ่ายเงินจำนวนมากให้เนปาล เพื่อขอวีซ่าเข้าประเทศ

พ.ศ.๒๔๐๑ หลังเหตุการณ์ทหารซีปอยก่อกบฏ ๑ ปี อังกฤษก็ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ โดยยุบบริษัทอินเดียตะวันออกที่ปกครองอินเดียเสีย แล้วโอนการปกครองอินเดียให้รัฐบาลอังกฤษโดยตรง โดยมีสมเด็จพระราชินีวิคตอเรียเป็นหัวหน้ารัฐบาล และองค์ประมุขของอินเดีย เป็นการสิ้นสุดการปกครองอินเดียในนามเอกชน รวมเวลาที่บริษัทอินเดียตะวันออกปกครองอินเดียราว ๑๐๐ ปี

๕. ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)

หลังจากอินเดียถูกปกครองโดยอังกฤษมาหลายร้อยปี ความคิดชาตินิยมก็เริ่มก่อตัวขึ้นโดยมีแรงผลักดันมาจากการปฏิวัติในประเทศต่าง ๆ เช่น ในฝรั่งเศส และการให้การศึกษาของอังกฤษที่สอนเกี่ยวกับลัทธิเสรีภาพ และความเจ็บปวดที่ได้รับจากการปกครองของอังกฤษโดยออกหนังสือพิมพ์ รณรงค์หาเสียงคือ เนาโรจี, ติลัก, ภคัท ซิงห์, โมหัน รอย, โกฆะเลสุภาส จันทรโพส และที่สำคัญที่สุดคือ มหาตมา คานธี

พ. ศ.๒๔๑๒ เป็นปีที่เด็กชายโมหันทาส กรามจันทะ คานธี (Mohandas Karamchand Gandhi) กำเนิดขึ้น ซึ่งต่อมารู้จักกันในนามมหาตมา คานธี เขาเป็นบุตรของเสนาบดีรัฐคุชราด เกิดในตระกูลแพศย์ อายุ ๑๓ ปีก็แต่งงานกับนางสาวกัสตูบา และอายุ ๑๙ ปี ก็เดินทางไปศึกษากฎหมายที่อังกฤษ จบแล้วไปใช้วิชากฎหมายช่วยเหลือคนอินเดียที่อัฟริกาใต้ที่ได้รับความ อยุติธรรมเป็นอย่างมาก

พ.ศ.๒๔๕๘ จึงกลับมาเป็นแกนนำเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ โดยยึดนโยบายอหิงสาคือการไม่เบียดเบียน โดยคานธีมีความเชื่อว่า อังกฤษเป็นชาติสุภาพบุรุษสมเป็นผู้ดี ถ้าไม่ถูกทำร้ายก่อนแล้วจะไม่ทำร้ายก่อน และอินเดียไม่มีกำลังทหารจึงไม่มีทางที่จะเอาชนะอังกฤษได้ด้วยกำลัง มาตรการในการต่อต้านอังกฤษของคานธีนั้น มีทั้งดื้อแพ่งไม่ยอมปฏิบัติตามและอดข้าวประท้วง เลิกซื้อสินค้าทุกอย่างของอังกฤษไม่ยอมจ่ายภาษีและไม่เชื่อฟังกฎหมาย ในการทำตามคานธีได้มีผู้คนถูกอังกฤษจับติดคุกเป็นจำนวนมาก แต่อังกฤษก็ไม่มีข้ออ้างที่จะมาทำร้ายคานธีเพราะเป็นการประท้วงแบบสันติได้ แต่จับแกนนำเข้าห้องขัง และคานธีก็อดข้าวประท้วง สุดท้ายก็จำเป็นต้องปล่อยเพราะจะเกิดความวุ่นวาย ในการใช้มาตรการแบบนี้กับอังกฤษมีคนเห็นด้วยเป็นจำนวนมาก จึงมีผู้ฝากตัวเป็นศิษย์จำนวนมาก รวมทั้งเนห์รูด้วย คานธีเสียชีวิตเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๑ หลังที่ได้เห็นเอกราชที่สมบูรณ์ของอินเดียเพียงปีเดียว โดยถูกมือปืนสังหารเพราะไม่เห็นด้วยที่ให้แยกปากีสถานออกจากอินเดีย

๖. การค้นพบจารึกที่เมืองกิลลกิต (Ancient Manuscript in Gilgit)

ส่วนหนึ่งของคัมภีร์ที่ค้นพบที่เมืองกิลกิต ภาษาสันสฏฤต อักษรขโรษฐิ

เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๔ รัฐบาลอังกฤษในอินเดียได้ขุดค้นโบราณสถานในเมืองกิลกิต (Gilgit) ตอนเหนือของรัฐแคชเมียร์หลายแห่ง ได้พบซากพุทธสถานมากมาย มีสถูปหลายแห่งค่อนข้างสมบูรณ์ปรากฎอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะองค์สถูปที่อยู่ใกล้เชิงเขา ห่างจากเมืองกิลกิตไป ๓ ไมล์ และอีกองค์ระหว่างเมืองจัลต์และเมืองบินาปิน อยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์นอกจากเจดีย์แล้ว ยังมีการค้นพบพระพุทธรูปหลายแห่ง เช่น พระพุทธรูปแกะสลักหิน ที่ทางเข้ากีรการ์ นาล์ลาห์ ห่างเมืองกิลลกิตไป ๓ ไมล์ ทางตะวันตกและพระพุทธรูป พร้อมทั้งพระบรมสารีริกธาตุที่เมืองยาซิน และที่สำคัญที่สุดก็คือการค้นพบบางส่วนของคัมภีร์ใบลานภาษาสันสกฤตอักษรขโรษฐิที่เก่าแก่ในถ้ำ เป็นคัมภีร์พระวินัยคือ วินัยวัสดุ ปราติโมกษสูตรกรรมวากยะ และปรัชญาปารมิตา เป็นต้น

ผู้ ค้นพบคือ ศาสตราจารย์นาลินักศะทัตตะ (Nalinaksha Dutt) พร้อมคณะ คัมภีร์เหล่านี้เหลือรอดจากการทำลายล้างหลายยุคหลายสมัยมาได้ เพราะเก็บไว้อย่างมิดชิดในภาชนะที่ปิดผนึกอย่างดี เมื่อตรวจสอบอายุและมีอายุเก่าแก่ถึงพันปีเศษ เมืองกิลกิตเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง ของอินเดียตอนเหนือ แต่ปัจจุบันอยู่ในเขตแคชเมียร์ของปากีสถาน เมืองกิลกิตและแคว้นแคชเมียร์ เป็นดินแดนแห่งหนึ่งที่พุทธศาสนาเคยรุ่งเรืองตั้งแต่พระเจ้าอโศกมหาราชจนถูก ทำลายลงในยุคมุสลิมเข้ายึดครอง

๗. สาเหตุที่พุทธศาสนาเสื่อมจากอินเดีย

หลายท่านสงสัยว่า เพราะเหตุใดพุทธศาสนาจึงเสื่อมโทรมไปจากประเทศอินเดียอันเป็นดินแดนเกิดของพุทธศาสนา ปัญหานี้มีคนสงสัยกันมากแต่ก็มีส่วนน้อยที่สนใจปัญหานี้อย่างแท้จริง มูลเหตุของการเสื่อมของพุทธศาสนามาจากสาเหตุหลายประการคือ

๗.๑ เพราะแตกสามัคคี
เพราะพระภิกษุสงฆ์เกิดแตกสามัคคีไม่มีความปรองดองกันแก่งแย่งชิงดีชิง เด่นกันเป็นใหญ่ หลงในลาภยศสักการะ ไม่ประพฤติตามพระธรรมวินัยเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสอนอันดั้งเดิมเพิ่มเติมเข้ามา ใหม่ทำให้เกิดสัทธรรมปฏิรูปซึ่งได้เกิดขึ้น แม้แต่สมัยที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ เช่นเรื่องการแตกสามัคคีของพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพี และพระเทวทัต เป็นต้นและได้มีสืบต่อ ๆ กันมาไม่ขาดราะยันับว่าเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่งในวงการของพุทธศาสนาอันเป็น เหตุให้ศาสนาอื่น ๆ ฉวยโอกาสโจมตีได้เท่ากับเป็นการเปิดประตูบ้านให้พวกโจรเข้าลักของในบ้าน สังคายนาแต่ละครั้งที่ทำในอินเดียจึงมีมูลเหตุมาแต่การแตกแยกของพระภิกษุ สงฆ์เป็นส่วนใหญ่

๗.๒ ขาดผู้อุปถัมภ์
พุทธศาสนาเจริญและดำรงมาได้ก็เพราะมีพระเจ้าแผ่นดินให้ความอุปถัมภ์ บำรุง เมื่อสิ้นพระเจ้าอโศก พระเจ้ามิลินท์ พระเจ้ากนิษกะ พระเจ้าหรรษวรรธนะ พระเจ้าธรรมปาละ พระเจ้าเทวปาละ ผู้มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาแล้วทำให้พุทธศาสนาต้องขาดผู้อุปถัมภ์ ไม่ได้รับการบำรุงส่งเสริมซึ่งพอจะเห็นได้ว่าพุทธศาสนาได้เจริญในรัชกาลของ พระมหากษัตริย์ดังกล่าวกษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นี้ทรงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนามาก เมื่อขาดผู้อุปถัมภ์พุทธศาสนาก็เหมือนกับไม้ขาดน้ำและปุ๋ย และพระมหากษัตริย์บางพระองค์นอกจากไม่คุ้มครองและยังทำลายพุทธศาสนาอย่าง ย่อยยับ เช่น กษัตริย์สสางกะ ปุษยมิตร เป็นต้น

๗.๓ เพราะถูกศาสนาฮินดูเบียดเบียน
ศาสนาฮินดูได้เป็นคู่แข่งของพุทธศาสนามาเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธการล จนกระทั่งถึงสมัยปัจจุบันนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พวกพราหมณ์หรือฮินดูก็ได้เริ่มประกาศคำสอนของตนเป็นใหญ่ ส่วนพระสงฆ์ในพุทธศาสนามีแต่ตั้งรับ บางครั้งก็เปิดช่องว่างให้เขาหรือไม่ก็หลอมตัวเข้าหาเขา จึงเท่ากับว่าทำลายตัวเองด้วยและถูกคนอื่นทำลายด้วย ถ้าหากพระสงฆ์และชาวพุทธยังยึดมั่นอยู่ในคำสอนและรักษาความสามัคคีในหมู่คณะ ไว้ได้ดีแล้ว คนอื่นหรือศาสนาอื่นก็ทำอะไรได้ยาก เพราะพุทธศาสนาย่อมได้เปรียบศาสนาอื่นหรือศาสนาอื่นก็ทำอะไรได้ยาก เพราะพุทธศาสนาย่อมได้เปรียบศาสนาอื่นในหลักคำสอนอยู่แล้ว การทำลายของศาสนาฮินดูใช้ทั้งไม้อ่อนและไม่แข็งไม้อ่อนคือโจมตีด้วยคำสอน ลอกเลียนแบบคำสอน ลอกเลียนแบบคำสอน นำพระพุทธเจ้ามาเป็นอวตาร ไม้แข็งคือทำลายวัด ยึดวัดพุทธมาเป็นฮินดู วัดส่วนมากกลายเป็นฮินดูเช่นในอินเดียภาคใต้ พุทธคยา ตโปธาราม ราชคฤห์, วาลุการามที่สังคายนาครั้งที่ ๒, วัดถ้ำที่อินเดียภาคใต้ , โบสถ์พระรามที่อโยธยา ก็กลายมาเป็นสมบัติชาวฮินดูไปนอกนั้นยังซ้ำเติมยามพลั้งพลาด เช่น พราหมณ์กลุ่มหนึ่งหลังมุสลิมเติร์ก กลับจากเผามหาวิทยาลัยนาลันทาแล้ว ก็กลับมาเผาซ้ำอีก

๗.๔ ถูกมุสลิมทำลาย
เมื่อสมัยที่มุสลิมเข้ามามีอำนาจในอินเดียกษัตริย์มุสลิมใด้แผ่อำนาจไป ในส่วนต่าง ๆ ของอินเดียราว ๆ พ.ศ.๑๗๐๐ กองทัพมุสลิมได้ทำลายวัดวาอาราม รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ฆ่าฟันพระสงฆ์อย่างมากมาย จนพระสงฆ์และชาวพุทธต้องหนีกันออกนอกประเทศอินเดีย เข้าไปอาศัยในเนปาล สิกขิม ธิเบต ต่อมาเมื่อมุสลิมยึดอินเดียได้อย่างเด็ดขาด อิทธิพลของศาสนาอิสลามก็ได้แผ่ตามไปด้วย เป็นเหตุให้พุทธศาสนาพลอยได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างหนักจนสูญหายไปในที่สุด หลายฝ่ายเชื่อว่าถ้าไม่ถูกมุสลิมถอนรากถอนโคน พุทธศาสนาวัดว่าอารามก็คงเลืออยู่เต็มอินเดีย เฉพาะรัฐพิหารรัฐเดียวก็มีเป็นหมื่นวัด จนกลายมาเป็นชื่อรัฐในปัจจุบัน พุทธศาสนาก็คงอยู่ได้แต่อาจจะลดจำนวนลงบ้าง และอาจจะปฏิรูปเข้ากับศาสนาฮินดูบ้าง การมาของมุสลิมเหมือนกับลมพายุกระหน่ำต้นไทรที่ผุข้างในบ้างแล้วให้ล้มลง

๗.๕ พุทธศาสนามีคำสอนที่สวนกระแส
เพราะคำสอนของพุทธศาสนาเป็นคำสอนที่สวนกระแส คือ ดิ่งสู่ความเป็นจริง เป็นการฝืนใจคนอินเดียในสมัยนั้น แนวคำสอนของพุทธศาสนาเรื่องการไม่สนับสนุนการอ้อนวอน ก็ขัดความรู้สึกคนสมัยนั้น ที่นิยมการอ้อนวอนบูชาบวงสรวงสิ่งที่ไกลตัว เพื่อหวังลาภสักการะหวังเป็นที่พึ่ง แนวคำสอนของพุทธศาสนาดึงคนเข้ามาหาหลักไม่ใช่ดึงหลักเข้ามาหาคน ไม่บัญญัติไปตามความชอบพอของคนบางคน ทำให้ปุถุชนผู้เบาปัญญา เกิดความเบื่อหน่าย และหันไปนับถือศาสนาอื่นได้ นอกจากนั้นหลักคำสอนเกี่ยวกับการปฏิเสธวรรณะของคนชั้นสูงและคนชั้นต่ำ ผู้ยึดมั่นอยู่ในลัทธิประเพณีพวกคนคิดเห็นของของคนชั้นสูงก็ไม่อยากให้มีการ เลิกการถือชั้นวรรณะ คนชั้นต่ำก็ไม่ต้องการให้ล้มเลิกลัทธิประเพณีของเขา คนชั้นต่ำมิได้นับถือศาสนาด้วยปัญญา แต่นับถือด้วยการยึดมั่นอยู่พิธีกรรมจึงทำให้เป็นการขัดต่อความเชื่อถือของ เขา

๗.๖ ถูกฮินดูแต่งกายเลียนแบบ
ในสมัยต่อมานักบวชฮินดู ได้เปลี่ยนแนวการสอนใหม่จากเดิมที่ไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง มาเป็นการตั้งสำนัก จากไม่มีองค์กรคณะสงฆ์ ก็ตั้งคณะสงฆ์ จากนักบวชพราหมณ์ที่นุ่งห่มสีขาว กลายมาเป็นแต่งชุดเหลืองเหมือนพระสงฆ์ในพุทธศาสนา นักบวชที่แต่งชุดเหลืองถูกเรียกว่า สาธุ แม้พระสงฆ์ไทยเมื่อไปอยู่อินเดียก็ถูกเรียกว่า สาธุ เช่นกัน และคิดเหมาเอาว่าเป็นฮินดูทั้งหมด เมื่อฮินดูปฏิรูปการนุ่งห่มทำให้ความแตกต่างลดน้อยลง และการกลืนก็เป็นไปง่ายขึ้น

๗.๗ เลียนแบบลัทธิตันตระในศาสนาฮินดู
เมื่อ พ.ศ.๑๕๐๐ พุทธศาสนาได้รับเอาลัทธิตันตระของฮินดูมาปฏิบัติแล้วเรียกในชื่อใหม่ว่า พุทธตันตระ ซึ่งเป็นการขัดต่อคำสอนของพุทธศาสนาดั้งเดิม คำว่าพุทธตันตระหมายเอาพุทธศาสนาในยุคหลัง อันมีมนตรยาน วัชรยานและสหัสยาน ลัทธินี้ก่อนที่จะเสื่อมจากอินเดียได้ไปเจริญรุ่งเรืองในประเทศธิเบต เนปาล และภูฐาน เมื่อพุทธศาสนาถือเอาลัทธิตันตระมาผสมผสานกับศาสนาของตนจึงไม่มีความแตกต่าง จากฮินดู ทำให้ห่างจากหลักการเดิมออกไปทุกที

๗.๘ ถูกทำลายจากกษัตริย์ต่างศาสนา
ยามที่ผู้ปกครองนับถือพุทธศาสนา ศาสนาทุกศาสนาจะได้รับการปกป้องคุ้มครองเสมอ เพราะชาวพุทธมีความเมตตาอารี มีความเอื้อเฟื้อเผื้อแผ่ แต่เมื่อคราใดที่ผู้ปกครองนับถือศาสนาอื่น เช่น ฮินดู หรือ มุสลิมแล้ว พุทธศาสนามักจะถูกทำลายเสมอ เช่น ในสมัยของพระเจ้าศศางกะ พระเจ้าปุษยมิตร พระเจ้ามิหิรกุล ทั้งสามนับถือศาสนาฮินดู ได้ทำลายพุทธศาสนาลงอย่างมากในสมัยที่ตนเองปกครองอยู่ ต่อมาเมื่อกองทัพมุสลิมเข้ายึดครองแล้ว พุทธศาสนาก็ถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง เช่น โมฮัมหมัด เบนกาซิม โมฮัมหมัด ขิลจิ ,บาบูร์ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น