Asd

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

พุทธศาสนายุค พ.ศ. ๒๐๐-๕๐๐ (Buddhism in B.E.200-500)

พระ เจ้าอเล็กซานเดอร์กลับไปแล้ว แต่พระองค์ก็ยังตั้งนายพล คนสำคัญ ๆ ดูแลเมืองต่าง ๆ ที่ยึดได้ การตัดสินใจใดๆ ของเมืองในอารักขาต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้สำเร็จราชการกรีก และเมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์สิ้นพระชนม์แล้วอาณาจักรที่ไพศาลก็แตกเป็นรัฐ เล็กรัฐน้อย เพราะทุกคนต่างก็ต้องการเป็นใหญ่ อีกทั้งกษัตริย์องค์ต่อจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชไม่เข้มแข็งพอ

ด้าน อาณาจักรมคธหลังจากสังคายนาครั้งที่สองผ่านไปแล้ว อาณาจักรก็ถูกยึดครองโดยพระเจ้านันทะซึ่งเดิมเป็นมหาโจรเข้ายึดครองปาฏลี บุตรต่อจากพระเจ้ากาฬาโศก แล้วตั้งราชวงศ์นันทะขึ้นแทนราชวงค์สุสูนาค พระเจ้านันทะเมื่อขึ้นเถลิงราชสมบัติแล้วกลับเป็นกษัตริย์ที่ดี ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนาและบ้านเมืองอย่างดีราชวงศ์นันทะปกครองปาฏลีบุตรมาจน ถึงพระเจ้าธนนันทะ พระองค์พยายามเป็นนักปกครองที่ดี และสร้างกองทัพให้เข้มแข็งยิ่งใหญ่ ต่อมาก็ถูกจันทรคุปต์ท้าทาย แต่ก้ทรงปราบสำเร็จใจเบื้องต้น แต่เมื่อจันทรคุปต์ได้พราหมณ์ชื่อจาณักยะเป็นผู้วางแผน และเปลี่ยนยุทธศาสตร์ใหม่ ครั้งที่สองการยึดอำนาจของจันทรคุปต์จึงประสบสำเร็จ พระเจ้าธนนันทะ สวรรคตในสนามรบ นครปาฏลีบุตร อันเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาและชมพูทวีปตกอยู่ในอำนาจของจันทรคุปต์


๑.พระเจ้าจันทรคุปต์ (Chandra Gupta)

พ.ศ. ๑๖๐ จันทรคุปต์ก็ยึดอำนาจสำเร็จปกครองปาฏลีบุตรต่อมาพระองค์เป็นนักรบที่กล้าหาญ เคยช่วยเหลือพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ในการตีอินเดีย ในคัมภีร์ปุราณะกล่าวว่า จันทรคุปต์เป็นบุตรของนางมุรา พระชายาองค์หนึ่งของพระเจ้านันทะที่เมืองปาฏลีบุตรราว พ.ศ. ๒๒๑ เพราะเหตุที่เป็นโอรสของนางมุรา จึงได้ตั้งราชวงศ์ใหม่ ว่า เมารยะ หรือโมรยะ แต่ตำราบางเล่มกล่าวว่าจันทรคุปต์มีเชื้อสายศากยะ แห่งกรุงปิลพัสดุ์ หลังถูกพระเจ้าวิฑูฑภะทำลายราชวงศ์ศากยะแล้ว เผ่าพันธ์ส่วนหนึ่งของศากยะได้อพยพหลบหนี จากเงื้อมดาบไปตั้งอาณาจักรเล็ก ๆ แห่งใหม่ขึ้นแถบหุบเขาหิมาลัย และบริเวณนั้นเป็นที่อาศัยของ นกยูง จึงเรียกว่า เมารยะ หรือโมรยะ (Maurya dynasty) หนังสือมหาโพธิวงศ์กล่าวว่า บิดาของจันทรคุปตะถูกฆ่าตายที่ในสนามรบเมืองโมรยะนคร มารดาที่ตั้งครรภ์จึงแอบหลบหนีไปเมืองปาฏลีบุตร แคว้นมคธ เมื่อโตขึ้นจึงได้พราหมณ์คนหนึ่งชื่อว่า วาณักยะ เป็นผู้อบรมเลี้ยงดูและสอนศิลปวิทยา

ซากพระราชวังปาฏลีบุตร เมืองปัฏนะ

ใน ช่วงต้นได้ช่วยเหลือกองทัพกรีกของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ต่อมาจึงแข็งข้อกบฏต่อพระเจ้าธนนนันทะ ราชวงศ์นันทะ เมืองปาฏลีบุตร ในการรบครั้งแรกจันทรคุปต์พ่ายแพ้อย่างยับเยินต้องหลบหนีเอาตัวรอด และเมื่อเดินทางผ่านหมู่บ้านแห่งหนึ่งได้ฟังเสียงย่าด่าหลานที่กินขนมที่ ร้อน ๆ ตรงกลาง จึงดุด่าว่าโง่เหมือนจันทรคุปต์ กินของร้อนต้องกินตั้งแต่ขอบ เพราะขอบบางจะเย็นกว่าด้านใน ซึ่งร้อนกว่า ได้ฟังดังนั้น พระองค์จึงได้สติแล้วเริ่มซ่องสุมผู้คนใหม่ แล้วตีรอบนอกเข้ามา หาชาวบ้านเป็นมวลชนอาจกล่าวได้ว่า พระองค์เป็นคนแรกที่คิดยุทธศาสตร์ป่าล้อมเมืองขึ้นเป็นคนแรก ซึ่งฝ่ายที่นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ใช้ต่อมา ในที่สุดก็ยึดปาฏลีบุตรได้เด็ดขาด โดยสังหารพระเจ้าธนนันทะในสนามรบ แล้วปราบดาภิกเษกเป็นกษัตรย์ สถาปนาราชวงศ์ เมารยะขึ้นในปาฏลีบุตร เมื่อ พ.ศ.๒๒๒ พระองค์ได้ธิดาพระเจ้าธนนันทะ มาเป็นมเหสี แล้วทำสงครามต่อสู้กับเจ้าเมืองกรีกหลายคนเช่น ซีลิวกุส หรือซิลากุส(Seleukos) ในอัฟกานิสถานและบางส่วนของปากีสถานในที่สุดก็ทำให้จักวรรดิ์ เมารยะแผ่ไพศาลตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำคงคาจนถึงอัฟกานิสถาน นอกจากนั้น พระองค์ยังได้ธิดาเจ้าเมืองกรีกมาเป็นมเหสีอีกพระองค์ด้วย ในสมัยของพระองค์ยังได้ธิดาจากเมืองกรีกมาเป็นมเหสีอีกพระองค์ด้วย ในสมัยของพระองค์กรีกได้ส่งเอกราชทูตมาประจำที่สำนักเมืองปาฏลีบุตรนามว่า เมกัสเทเนส(Makustenes) โดยเขาได้เขียนรายงานไว้อย่างละเอียดเกี่ยวกับสภาพเมืองปาฏลีบุตรในยุคนั้น

พระเจ้าจันทรคุปต์มีพระโอรสอยู่หลายพระองค์แต่ที่ปรากฏชื่อ คือ เจ้าชายสิงหเสน (Singhasena) , เจ้าชายพินทุสาร (Bindusara) ในช่วงต้นพระองค์ปรารถนา ให้เจ้าชายสิงหเสน (Singhasena) ขึ้นครองราชย์แทนแต่ก็ถูกเจ้าชายพินทุสารยึดอำนาจ แล้วปกครองแทน ในช่วงปลายรัชกาลพระองค์เลื่อมใสในลัทธิเชน หรือชีเปลือย โดยนิมนต์ชีเปลือยและอาชีวกมาฉันที่พระราชวังทุกวัน และได้เสด็จออกบวชในศาสนาเชน ราชบัลลังก์จึงตกอยู่ในมือของเจ้าชายพินทุสาร ราชโอรสองค์เล็ก พระเจ้าจันทรคุปต์ทรงครองราชย์ประมาณ ๒๔ ปี


๒. พระเจ้าพินทุสาร (Bindusara)

พ.ศ.๑๘๔ เจ้าชายพินทุสารแย่งราชสมบัติกับพระเชษฐาคือสิงหเสนแต่โดยการสนับสนุนของพราหมณ์ อำมาตย์ราชมนตรี จึงได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระบิดาราว พ.ศ.๒๔๖ กล่าวกันว่าพระองค์นับถือศาสนาพราหมณ์ ในหนังสือมหาวังสะกล่าวว่า พระองค์เชิญพราหมณ์มาเลี้ยงที่ราชวังถึงวันละ ๖๐,๐๐๐ คนทุกวัน ซึ่งมีจำนวนที่มากกว่าความเป็นจริงบ้าง แต่ก็เชื่อได้ว่าพระองค์ศรัทธาในศาสนาพราหมณ์อย่างจริงจัง แต่กษัตริย์พระองค์นี้ก็ไม่ได้ทำลายพุทธศาสนา ยังได้สนับสนุนอยู่บางส่วน ตอนนี้พุทธศาสนาได้แผ่ขยายออกไปหลายส่วนของอินเดีย เช่นนิกายเถรวาทไปตั้งหลักแหล่งเพิ่มเติมที่แคว้นอวันตี นิกายมหาสังฆิกะ ไปรุ่งเรืองที่คันธาระและกัศมีร์ นิกายสรวาสติวาทไปเจริญรุ่งเรืองที่แคว้นมถุรา นิกายมหิสาสกะไปเจริญรุ่งเรืองที่มหิสสากะมณฑล พระเจ้าพินทุสารมีพระมเหสี ๑๖ พระองค์และมีพระโอรสมากมาย บางเล่มกล่าวว่ามีถึง ๑๐๑ พระองค์แต่ที่สำคัญ คือเจ้าชายอโศก เจ้าชายวีตโศก เจ้าชายสุสิมะ ในช่วงแรกทรงหวังให้เจ้าชายสุสิมะขึ้นครองราชสมบัติแทนจึงวางแผนให้เจ้า ชายอโศก ไปรักษาการอุปราชที่เมืองอุชเชนี และเมื่อตักกศิลาเป็นกบฏทรงส่งเจ้าชายสุสิมะพร้อมกองทหารไปปราบแต่ไม่สำเร็จ จึงส่งเจ้าชายอโศกไปแทนจึงปราบปรามสำเร็จ ตั้งแต่นั้นชื่อเสียงของเจ้าชายอโศกจึงโด่งดัง มีรัศมีเหนือกว่าพระโอรสทั้งหมด เมื่อพระเจ้าพินทุสารจะสวรรคตเจ้าชายอโศกจึงเข้าเฝ้า ในที่สุดก็ยึดอำนาจแล้วประหารที่น้องไปถึง ๑๐๑ พระองค์ เหลือแต่เจ้าชายวีตโศกหรือ ติสสะกุมารซึ่งเกิดจากพระมารดาเดียวกันเท่านั้นที่ได้ชีวิต แล้วปราบดาภิเษกขึ้นปกครองเมืองปาฏลีบุตร พระเจ้าพินทุสารครองราชย์ ๒๘ ปี จนถึง พ.ศ. ๒๑๒


๓. พระเจ้าอโศกมหาราช (Ashoka the great)

พ.ศ.๒๑๘ เจ้าชายอโศกใช้เวลาต่อสู้แย่งราชสมบัติอยู่ ๔ ปี จึงจัดการสำเร็จแล้วปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ปกครองปาฏลีบุตรต่อมา พระเจ้าอโศก (Ashoka) เป็นกษัตริย์ปกครองแคว้นมคธ มีพระราชธานีชื่อว่า ปาฏลีบุตร (ปัจจุบันเรียกว่า ปัฏนะ Patna) ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าพินทุสารแห่งราชวงศ์เมารยะ พระมารดานามว่าศิริธรรม พระเจ้าอโศกมีพระโอรส และธิดา ๑๑ พระองค์ แต่ปรากฏนามคือ ๑.เจ้าชายติวาระ ประสูติจากพระนางการุวากี ๒.เจ้าชายกุณาละ ประสูติจากพระนางปัทมวดี ๓. เจ้าชายมหินทะและเจ้าหญิงสัฆมิตตา ประสูติจากพระนางเวทิศา ๔.เจ้าหญิงจารุมติ ไม่ทราบพระมาตรา ๕.เจ้าชายกุสตันไม่ทราบพระมารดา ๖.เจ้าชายวิสมโลมะ ไม่ทราบพระมารดา ๗. เจ้าชายจาลุกะ ไม่ทราบพระมารดา

ยอดเสาหินเป็นรูปสิงห์สี่หัว ปฏิมากรรมชิ้นเยี่ยมสมัยพระเจ้าอโศก

ในขณะที่เป็นเจ้าชายพระองค์ถูกส่งไปเป็นผู้ดูแลเมืองอุชเชนีและตักกศิลา จนเมื่อพระบิดาสวรรคตแล้วจึงขึ้นครองราชย์ในตำนานหลายเล่ม กล่าวว่าพระองค์ปรงพระชนม์เจ้าชายในราชตระกูลไปถึง ๑๐๑ พระองค์ ก่อนที่จะเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา มีความดุร้ายและโหดเหี้ยมเป็นอย่างยิ่ง จนได้รับฉายาว่า จัณฑาโศก แปลว่าอโศกผู้ดุร้าย ต่อมาเมื่อไปรบที่แคว้นกาลิงคะ (ปัจจุบันอยู่รัฐโอริสสา) จึงเกิดความเบื่อหน่ายในสงคราม ประกอบกับศรัทธาเลื่อมใสในนิโครธสามเณรที่มีกิริยามารยาทสงบเรียบร้อย จึงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ได้ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา เช่นทรงสร้างวัด วิหาร พระสถูป พระเจดีย์ และหลักศิลาจารึกเป็นต้น ได้บำรุง พระภิกษุสงฆ์ด้วยปัจจัย ๔ คือ อาหาร ที่อยู่ อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค การที่พระองค์ทรงบำรุงพระภิกษุสงฆ์เช่นนี้ ก็เพื่อจะได้พระภิกษุในพุทธศาสนาได้รับความสะดวก มีโอกาสบำเพ็ญสมณธรรมได้เต็มที่ ไม่ต้องกังวลในการแสวงหาปัจจัย ๔ แทนที่จะเป็นเช่นนั้น แต่กลับปรากฏว่ามีพวกนักบวชนอกศาสนาเป็นจำนวนมาก ปลอมบวชในพุทธศาสนา เพราะเห็นแก่ลาภสักการะ เมื่อบวชแล้วก็คงสั่งสอนลัทธิศาสนาเก่าของตน โดยอ้างว่าเป็นคำสอนของพุทธศาสนา ข้อนี้ทำให้พระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความแตกฉานในพระไตรปิฎก เกิดความระอาใจต่อการประพฤติปฏิบัติของเหล่าพระภิกษุอลัชชีที่ปลอมบวชทั้ง หลาย จึงได้ปลีกตัวไปอยู่ที่โธตังคบรรพตเจริญวิเวกสมาบัติอยู่ที่นั้นอย่างเงียบ ๆ เป็นเวลา ๗ ปี บรรพตเจริญวิเวกสมาบัติอยู่ที่นั้นอย่างเงียบ ๆ เป็นเวลา ๗ ปี

จำนวนพระอลัชชีมากกว่าพระภิกษุแท้ๆ ต้องหยุดการทำอุโบสถสังฆกรรมถึง ๗ ปี เพราะเหตุที่พระสงฆ์ ผู้มีศีลบริสุทธิ์ไม่ยอมร่วมกับพระอลัชชีเหล่านั้น จึงทำให้พระเจ้าอโศกมหาราชไม่สบายพระทัยในการแตกแยกของพระสงฆ์ ทรงปวารณาจะให้พระสงฆ์เหล่านั้นสามัคคีกัน จึงได้ตรัสสั่งให้อำมาตย์หาทางสามัคคี ฝ่ายอำมาตย์ฟังพระดำรัสไม่แจ้งชัด สำคัญผิดในหน้าที่ จึงได้ทำความผิดอันร้ายแรง คือ ได้บังคับให้พระภิกษุบริสุทธิ์ทำอุโปสถร่วมกับพระอลัชชี พระภิกษุผู้บริสุทธิ์ต่างปฏิเสธที่จะร่วมอุโบสถสังฆกรรม อำมาตย์จึงตัดศีรษะเสียหลายองค์

เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชทราบข่าวนี้ ทรงตกพระทัยยิ่งจึงเสด็จไปขอขมาโทษต่อพระภิกษุที่อาราม และได้ตรัสถามสงฆ์ว่า การที่อำมาตย์ได้ทำความผิดเช่นนี้ ความผิดจะตกมาถึงพระองค์หรือไม่ พระสงฆ์ถวายคำตอบไม่ตรงกัน บ้างก็ว่า ความผิดจะตกมาถึงพระองค์ด้วยเพราะอำมาตย์ทำตามคำสั่ง แต่บางองค์ก็ตอบว่าไม่ถึงเพราะไม่มีเจตนา คำวิสัชนาที่ขัดแย้งกันเช่นนี้ทำให้พระเจ้าอโศกมหาราชกระวนกระวายพระทัยยิ่ง นัก ทรงปรารถนาที่จะให้พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ผู้มีความสามารถและแตกฉานในพระธรรมวินัยถวายคำวิสัยชนาอย่างแจ่มแจ้ง จึงได้ตรัสถามถึง พระภิกษุเหล่านั้นก็ได้ตรัสตอบว่า มีแต่พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระรูปเดียวเท่านั้นที่อาจแก้ความสงสัียได้ พระเจ้าอโศกมหาราช จึงได้ส่งสาส์นไปอาราธนาท่านเดินทางมายังเมือง ปาฏลีบุตร แต่ไม่สำเร็จ เพราะพระเถระไม่ยอมเดินทางมาตามคำอาราธนา พระเจ้าอโศกมหาราชก็ทรงไม่หมดความพยายาม จึงได้รับสั่งให้พนักงานออกเดินทางโดยทางเรือรบท่านตามคำแนะนำของพระติสสะ เถระ ผู้เป็นอาจารย์ของโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ

ใน ที่สุดพระเถระก็ยอมมาและในวันที่ท่านเดินทางมาถึงนั้น พระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จไปรับพระเถระด้วยพระองค์เอง ได้เสด็จลุยน้ำไปถึงพระชานุ แล้วยื่นพระกรให้พระเถระจับและตรัสว่า "ขอพระคุณท่านจงสงเคราะห์ข้าพเจ้าเถิด" แล้วได้นำท่านไปสู่อุทยาน ได้ทรงแสดงความเคารพพระเถระอย่างสูง และได้ตรัสถามพระเถระว่า การที่อำมาตย์ได้ตัดศีรษะว่าเป็นบาปได้ก็ต่อเมื่อพระองค์มีเจตนาที่จะฆ่า เท่านั้น คำวิสัชนานั้น ทำให้พระองค์ทรงพอพระทัยมาก ฝ่ายพระอลัชชีผู้ปลอมบวชในพุทธศาสนานั้นก็ยังพยายามที่จะประกอบมิจฉาชีพอยู่ ต่อไป พระเหล่านั้นได้มัวเมาหลงใหลในลาภสักการะไม่พอใจในการปฏิบัติธรรม อาศัยผ้าเหลืองเลี้ยงชีพ ประพฤติผิดธรรมวินัยไม่สังรระวังในสีลาจารวัตร เที่ยวอวดอ้างคุณสมบัติโดยอาการต่างๆ เพื่อหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อ เพื่อหาลาภสักการะเข้าตัว เพราะเหตุนี้จึงทำให้พระสัทธรรมอันบริสุทธิ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องพลอย ด่างพร้อยไปด้วย ความอลเวงได้เกิดขึ้นในวงการของพุทธศาสนาทั่วไปลาภสักการะมีอำนาจเหนือ อุดมคติของผู้เห็นแก่ได้ แม้กระทั่งผู้ทรงเพศเป็นภภิกษุห่มเหลืองก็ยังตกอยู่ภายใต้อำนาจของมัน ที่จริงผู้มีลาภคือผู้มีลาภคือผู้มีบุญ แต่มัวเมาในลาภคือสั่ังสมบาป การที่พระได้ของมามาก ๆ จากประชาชนที่เขาบริจาคด้วยศรัทธานั้น นับว่าเป็นการดีไม่มีผิด แต่การที่พระสั่งสมของมัวเมาในลาภ เหลวไหลในเกียรติ เห่อเหิมและเพลิดเพลินในโลกียวัตถุ จนลืมหน้าที่ของตนนั้นนับว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง

๔. สังคายนาครั้งที่ ๓ (The third Buddhist Synod)

พ.ศ.๒๘๗ พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้ถวายเทศนาแก่พระเจ้าอโศกมหาราช จนพระองค์ทรงมีความเลื่อมใส และซาบซึ้งในหลักธรรมอันบริสุทธิ์ของพระพุทธองค์ ได้ประทับอยู่ที่อุทยานนับเป็นเวลา ๗ วัน เพื่อชำพระศาสนาให้บริสุทธิ์จากเดียรถีย์เข้าปลอมบวช ในวันที่ ๗ พระองค์ได้ประกาศบอกนัดให้พระภิกษุที่อยู่ในชมพูทวีปทั้งสิ้นให้มาประชุมที่ อโศการามเพื่อชำระความบริสุทธิ์ของตน ภายใน ๗ วัน พระองค์ประทับนั่งภายในม่านกับท่านโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้สั่งให้ภิกษุผู้สังกัดอยู่ในนิกายนั้น ๆ นั่งรวมกันเป็นนิกาย ๆ แล้วตรัสถามให้พระอธิบายคำสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งพระสงฆ์เหล่านั้นได้อธิบายผิดไปตามลัทธิของตน ๆ พระเจ้าอโศกมหาราชจึงได้ตรัสให้สึกพระอลัชชีเหล่านั้นทั้งหมด ซึ่งเป็นจำนวนหกหมื่นรูป ครั้นกำจัดพระภิกษุพวกอลัชชีให้หมดไปจากพุทธศาสนาแล้ว พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ จึงได้จัดให้มีการทำสังคายนาครั้งที่ ๓ ขึ้นที่อโศการามเมืองปาฏลีบุตร โดยได้รับราชูปถัมภ์จากพระเจ้าอโศกมหาราชอย่างเต็มที่

พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธานสังคายนาครั้งที่ ๓ ที่อโศการาม นครปาฏลีบุตร

ในการทำสังคายนาครั้งนี้ มีพระภิกษุเข้าร่วม ๑,๐๐๐ รูป ล้วนแต่เป็นผู้เชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฎก ได้อภิญญา ๖ และปฏิสัมภิปทา ๔ สังคายนาครั้งนี้ได้ทำเช่นเดียวกับสังคายนาครั้งที่ ๑ ได้มีการปุจฉาวิสัชนาพระวินัยปิฎกก่อน เริ่มตั้งแต่ปฐมปาราชิก สังคายนาวัตถุ นิทาน บุคคลบัญญัติ อนุบัญญัติ อาบัติ และอนาบัติ แล้วสังคายนาในทุติยปาราชิกไปตามลำดับ จนครบ ปาราชิกทั้ง ๔ แล้วยกปาราชิกทั้ง ๔ ขึ้นตั้งไว้เป็น ปาราชิกกัณฑ์ ยกสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบทเป็นเตรสกัณฑ์ เป็นต้น เมื่อสังคายนาพระวินัยปิฎก เสร็จแล้วได้สังคายนาพระสุดตันตปิฎกต่อไป เริ่มตั้งแต่ทีฆนิกายจนถึงขุททกนิกายในการทำสังคายนาครั้งนี้ได้จัดทำสังคายนาพระอภิธรรมปิฎกอีก คือ ในสังคายนาพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์เริ่มต้งแต่ธรรมสังคณีจนถึงมหาปัฎฐาน

เรื่องที่สำคัญในการทำสังคายนาครั้งนี้ ก็คือพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระได้ร้อยกรองคัมภีร์กถาวัตถุขึ้น เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ยังคลุมเครือให้แจ่มแจ้ง โดยได้ตั้งคำถาม และคำตอบไปในตัวกถาวัตถุ (เรื่อง)กล่าวถึงธรรมหมวดใด ก็เรีกตามชื่อของธรรมหมวดนั้น เช่น กล่าวถึงบุคคลก็เรียกชื่อว่าบุคคลากถา กล่าวถึงความเสื่อมก็เรียกว่า ปริหานิยกถา รวมทั้งหมดมี ๒๑๙ กถา และกถาวัตถุ เป็นคัมภีร์หนึ่งในอภิธรรม ๗ คัมภีร์ คือ ๑. ธรรมสังคณี ๒.วิภังคะ ๓.ธาตุกถา ๔.บุคคลบัญญัติ ๕. กถาวัตถุ ๖ยมกะ ๗.ปัฏฐานะนักปราชญ์หลายท่านให้ความเห็นว่า กถาวัตถุมิใช่หนังสือที่บรรจุไว้ซึ่งพระพุทธน์อันดั้งเดิม พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระพึ่งจะรจนาขึ้นเมื่อคราวทำสังคายนาครั้งที่ ๓ ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๒๓๖ ปี

เรื่องที่สำคัญที่สุดในการทำสังคายนาครั้งที่ ๓ นี้ก็คือ พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงส่งสมณทูตไปประกาศพุทธศาสนาในแคว้นและประเทศต่าง ๆ รวมทั้งหมดมี ๙ สายด้วยกันคือ

๑. พระมัชณันติกเถระ ไปแคว้นกัศมีร์และคันธาระ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ซึ่งได้แก่แคว้น แคชเมียร์ในปัจจุบันนี้

๒. พระมหาเทวะเถระ ไปมหิสสกมณฑล อยู่ทางทิศใต้ของแม่น้ำโคธาวารี ซึ่งได้แก่ไมซอร์ ในปัจจุบัน (อยู่ ทางทิศใต้ของอินเดียติดกับเมืองมัทราส)

๓. พระรักขิตเถระ ไปวนวาสีประเทศ อยู่ในเขตกนราเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้

๔. พระโยนกธัมมรักขิตเถระ ไปปรันตชนบทอยู่ริมฝั่งทะเลอาระเบียนทิศเหนือของบอมเบย์

๕. พระมหาธัมมรักขิตเถระ ไปที่แคว้นมหาราษฎร์ ภาคตะวันตกไม่ห่างจากบอมเบย์ในปัจจุบัน

๖. พระมหารักขิตเถระ ไปโยนกประเทศได้แก่ เขตแดนบากเตรียในเปอร์เซียปัจจุบัน

๗. พระมัชฌิมเถระ ไปหิมวันประเทศได้แก่เนปาล ซึ่งอยู่ตอนเหนือของอินเดีย

๘. พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ ไปสุวรรณภูมิ ได้แก่ ไทย พม่า และมอญทุกวันนี้

๙. พระมหินทเถระ ไปประเทศเกาะสิงหล หรือประเทศศรีลังกา

เมื่อ เห็นการเผยแผ่ไปของพุทธศาสนาทั้ง ๙ สายนี้แล้ว ก็พอจะทราบได้ว่า ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชนี้ พุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองแพร่หลายไปไกลที่สุดยิ่งกว่าสมัยใด ๆ นับตั้งแต่พุทธศาสนาอุบัติขึ้นมา ในสมัยเมื่อพระองค์ยังทรงพระชนมายุอยู่นั้น พุทธศาสนาได้เจริญอยู่ในแคว้น มคธ โกศล วัชชี อังคะ วังสะ กาสี และอุชเชนี คือได้เจริญอยู่ทางทิศเหนือทิศตะวันออกเฉียงเหนือและตอนกลางบางส่วน พระพุทธองค์ได้เสร็จไปประกาศพุทธศาสนาใน ๗ รัฐเท่านั้น ส่วนทางทิศใต้สุด ตะวันออกสุด และตะวันตกสุด พุทธศาสนายังไปไม่ถึงศาสนาพราหมณ์ ยังมั่นคงแข็งแรงอยู่แม้แต่ในที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ก็ยังมีศาสนาพราหมณ์ และศาสนาเชนแทรกซึมอยู่ทุกแห่ง ในยุคของพระองค์ได้ติดต่อกับราชอาณาจักรของกษัตริย์ที่อยู่ห่างไกล เช่น
กษัตริย์โยนะ นามว่า อันติโยคะ คือ พระเจ้าอันติโอโคส (Antiochos) แห่งซีเรีย
พระเจ้าตุระมายะ คือพระเจ้าปโตเลมี (Ptolemy) แห่งอีหยิปต์
พระเจ้าอันเตกินะ คือพระเจ้าอันติโคโนส (Antgonos) แห่งมาเซโดเนีย
พระเจ้ามคะ หรือพระเจ้ามคัส(Magas) อาณาจักรไกรีนถัดจากอียิปต์
พระเจ้าอลิกกสุนทระหรือ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ (Alexander) แห่งเอปิรุสหรือประเทศกรีก

จากหลักฐานที่เราได้พบและได้รู้จากหลักศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งปักไว้ตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ เกือบทั่วประเทศอินเดียนั้นแสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างมาก พวกเรารุ่นหลังจึงได้อาศัยสิ่งก่อสร้างเหล่านี้เป็นหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ ไม่อย่างนั้นเราอาจไม่รู้ว่า สถานที่สำคัญของพุทธศาสนาในสมัยนั้นอยู่ที่ไหนบ้าง


สรุปการทำสังคายนาครั้งที่ ๓

๑. ทำที่อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร แคว้นมคธ
๒. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน
๓. พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นองค์อุปถัมภ์
๔. พระอรหันต์ ๑,๐๐๐ องค์ เข้าร่วมประชุม
๕. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระได้รจนากถาวัตถุขึ้น
๖. ส่งสมณทูตไปประกาศพุทธสาสนารวม ๙ สาย
๗. การทำสังคายนาครั้งนี้เพื่อกำจัดภิกษุอลัชชีหกหมื่นที่ปลอมบวช
๘. ทำอยู่ ๙ เดือนจึงสำเร็จ พุทธศาสนาแผ่ไพศาลมากยิ่งขึ้น
๙. พระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระเป็นผู้ถาม
๑๐. พระมัชฌันติกเถระ และพระมหาเทวเถระเป็นผู้วิสัชนา
๑๑. เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว ๒๓๖ ปี

ผลดีของการสังคายนา

สังคายนาครั้งนี้ ในตำราพุทธศาสนาฝ่ายมหายานของฝ่ายจีน หรือธิเบต และท่านเฮี้ยนจังก็มิได้กล่าวไว้ในรายงานของท่านแต่อย่างใด หลังสิ้นสุดสังคายนาแล้วได้มีผลดีเกิดขึ้นหลายอย่างคือ
๑. กำจัดภิกษุผู้ปลอมบวชได้ ทำให้สังฆมณฑลบริสุทธิ์ขึ้น
๒. รวบรวมพระไตรปิฎกเป็น ๓ หมวดอย่างสมบูรณ์ คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอริธรรมปิฎก
๓. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระแต่งกถาวัตถุ ไว้ในพระอภิธรรมปิฏกด้วย สังคายนาครั้งที่ ๓ นี้ได้มีพระเถระที่มีบทบาทสำคัญที่ควรจะได้กล่าวถึงหลายท่านคือ

๕. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ (Mokkalliputratissathera)

ท่านเป็นชาวเมืองปาฏลีบุตร เป็นบุตรของพราหมณ์ผู้คงแก่เรียน เมื่อสมัยเด็กได้ศึกษาไตรเพทอย่างช่ำชอง ต่อมาพระสิคควะได้มาเยี่ยมพราหมณ์ผู้เป็นบิดาที่บ้าน และเมื่อกุมารได้ถามคำถามเกี่ยวกับพระเวท พระเถระได้ตอบปัญหาในพระเวทได้อย่างแจ่มแจ้ง แต่เมื่อถูกถามเรื่องพุทธศาสนา โมคคัลลีบุตร ติสสกุมารไม่อาจให้คำตอบได้ เพราะความอยากรู้ในพุทธศาสนา พระเถระจึงจัดการบรรพชาให้ศึกษากัมมัฏฐานอย่างจริงจังก็บรรลุโสดาปัตติผล แล้วไปศึกษาต่อกับพระจันทวัชชี ต่อมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วเจริญวิปัสสนาญาณจนบรระลุพระอรหันต์ เมื่อพระเจ้าอโศก มหาราชหันมานับถือพุทธศาสนา ท่านได้รับการเคารพอย่างสูงจากพระเจ้าอโศก เจ้าชายมหินทะและเจ้าหญิงฆมิตตา พระโอรสและพระธิดาก็ได้รับการอุปสมบทจากท่าน ต่อมาท่านได้รับการไว้วางใจให้เป็นประธานทำสังคายนาครั้งที่ ๓


๖. พระอุปคุตต์เถระ (Upaguptathera)

ท่านเกิดในตระกูลพ่อค้าเครื่องหอมชาวเมืองมถุรา นครนี้ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำยมุนา (ใกล้เมืองหลวงเดลลีปัจจุบัน) มีพี่น้อง ๓ คน ท่านเป็นคนหนึ่งในบุตร ๓ คน บิดาได้สัญญากับพระญาณวาสีว่าถ้าได้บุตรชายจะให้บวชแต่เมื่อได้มา ๓ คน ก็ยังไม่ได้ถวายพระเถระแต่อย่างใด โดยอ้างว่าจะให้เป็นผู้ค้าขายของที่ร้านแทน เมื่อหนุ่มพระเถระจึงไปแสดงตัว ขณะที่อุปคุตต์หนุ่มกำลังสาละวนอยู่กับการขายของที่ร้าน ด้วยเทศนาของพระเถระจึงได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วขออนุญาตอุปสมบทในพุทธศาสนา

ช่วง แรกบิดายังอิดออด พระเถระจึงต้องทวงสัญญาบิดาจึงอนุญาต เมื่อได้อุปสมบทแล้วเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานจนได้บรรลุพระอรหัต ต่อมาท่านเป็นวิปัสสนาจารย์ที่ชำนาญ กล่าวกันว่าท่านมีศิษย์ศึกษากัมมัฏฐานด้วยถึง ๑๘,๐๐๐ องค์ ทุกองค์ล้วนเป็นพระอรหันต์ ท่านจำพรรษาที่วัดนัตภัตการาม ภูเขาอุรุมนท์ ต่อมาพระเจ้าอโศกได้อาราธนามาจำพรรษาที่วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร ท่านเป็นผู้พาพระเจ้าอโศกเสด็จกราบสังเวชนียสถานทั่วอินเดีย และสร้างเสาหินปักไว้เป็นหลักฐาน


๗. พระวีตโศกหรือพระติสสเถระ (Vitashokathera)

ท่านเป็นพระอนุชาของพระเจ้าอโศกมหาราช มีพระมารดาคนเดียวกับพระเจ้าอโศก จึงรอดชีวิตขณะที่พี่น้องหลายคนสิ้นพระชนม์ เพราะพระเจ้าอโศกสั่งประหารคราวยึดราชปัลลังก์ปาฏลีบุตร เกิดในพระราชวังเมืองปาฏลีบุตร มีพระบิดาคือพระเจ้าพินทุสาร เจ้าชายวีตโศกหรือติสสะ ทรงกังขาที่พระสงฆ์ได้รับการอุปถัมภ์อย่างดีจะเลิกกิเลสได้อย่างไร ความทราบถึงพระเจ้าอโศกจึงมีอุบายสั่งให้ครองราชย์ ๗ วันแล้วจะนำไปประหารเมื่อ ครบ ๗ วันแล้วจึงได้ตรัสถาม เจ้าชายตรัสว่า ๗ วันมีแต่ความทุกข์ เพราะกลัวความตายที่จะมาถึง พระองค์จึงตรัสว่า พระสงฆ์ก็เช่นเดียวกัน ต่างกลัวในชาติ ชรา ทุกข์และมรณภัย จำต้องเร่งขวนขวายเพื่อให้บรรลุ เมื่อได้ทราบดังนั้นเจ้าชายก็เลื่อมใสในพระศาสนา แล้วประทานขออนุญาตอุปสมบท ฝ่ายสันสกฤตกล่าวว่า ท่านอุปสมบทกับพระยสะ ส่วนฝ่ายบาลีกล่าวว่า อุปสมบทกับพระมหาธรรมรักขิตเถระ เมื่อได้รับการอนุญาตจึงอุปสมบทแล้วปลีกวิเวกที่แคว้นวิเทหะจนได้บรรลุพระ อรหัต ท่านเป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่พุทธศาสนา เมื่ออายุ ๘๐ พรรษาก็เข้าสู่นิพพาน


๘. พระมหินทเถระ (Mahindrathera)

ท่านเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช ประสูติที่เมืองอุชเชนี คราวที่พระบิดาเป็นเจ้าชายไปเป็นผู้สำเร็จราชการที่เมืองนั้น ได้รับการศึกษาเป็นอย่างดี ต่อมาจึงย้ายมาที่เมืองปาฏลีบุตร ท่านและเจ้าหญิงสังฆมิตตา ได้รับการอุปสมบท เพราะพระบิดาต้องการเป็นญาติกับพระศาสนา โดยมีพระโมคคัลลีบุตรดิสสเถระเป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาเทวะเป็นผู้ให้บรรพชา ส่วนเจ้าหญิงสังฆมิตตามีพระมหาเถรีธรรปาลีเป็นอุปัชฌายินี พระเถรีอายุปาลีเป็นพระกรรมวาจา ท่านทั้งสองได้รับการอุปสมบทในรัชสมัยที่พระบิดาครองราชย์ได้ ๖ ปี ท่านเจริญวิปัสสนาอย่างเอกอุ ในที่สุดก็ได้บรรลุพระอรหนต์

คราว ที่พระเจ้าอโศกดำริส่งพระธรรมทูตเพื่อเผยแพร่พุทธศาสนาสู่ต่างแดน ท่านและพระสังฆมิตตาเถรีได้รับอาสาไปเผยแพร่พุทธศาสนาสู่ต่างแดน ท่านและพระสังฆมิตตาเถรีได้รับอาสาไปเผยแพร่พุทธศาสนาที่เกาะสิงหล ท่านทั้งสองนำหน่อต้นพระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยาไปด้วยและปลูกที่นั้นจนเจริญ เติบโตยืนยาวจนถึงปัจจุบัน ท่านได้รับการต้อนรับจากพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะพระมหากษัตริย์ของสิงหลเป็น อย่างดี ทำให้พุทธศาสนาหยั่งรากลึกในเกาะลังกาตั้งแต่นั้นมา พระเจ้าอโศกมหาราชนับเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินเดียทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน พระองค์เป็นนักประชาสัมพันธ์ที่หาได้ยาก งานสำคัญที่สุดคือการจารึกเรื่องราวของพระองค์ไว้ในเสาหินในที่ต่าง ๆ หลังจากรพระเจ้าอโศกมหาราชแล้วยังไม่มีมหากษัตริย์องค์ใดทำได้เช่นนี้

เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชสวรรคตแล้ว ผู้สืบราชบัลลังก์ปาฏลีบุตรไม่มีเดชานุภาพเท่า ทำให้หลายเมืองแยกตัวออกไปเป็นอิสระ ตอนนี้จักรวรรดิมคธที่กว้างใหญ่ไพศาลได้พูกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ในคัมภีร์ปุราณะกล่าวว่า ผู้สืบราชสมบัติต่อจากพระเจ้าอโศก คือ
๑. เจ้าชายสัมปทิหรือสัมประติ (Samprati) พระนัดดาของพระเจ้าอโศก พระราชโอรสของเจ้าชายกุณาละ ปกครองอาณาจักรมคธ ด้านทิศปัจจิม (ตะวันตก) ทรงเลื่อมใสในศาสนาเชน ทรงอุปถัมภ์นิครนถ์อาชีวกชีเปลือยอย่างจริงจัง พระองค์เป็นลูกศิษย์ของสุหัสตินผู้เป็นลูกศิษย์ของภัทรพาหุอาจารย์เชนที่ สำคัญในยุคนั้น นอกนั้นยังส่งธรรมทูตของเชนออกเผยแผ่ทั่วชมพูทวีปเลียนแบบการส่งพระธรรมทูต ของพระเจ้าอโศกอีกด้วย และต่อมาได้เบียดเบียนพุทธศาสนา ๆ ก็เริ่มอ่อนแรงลงอย่างมาก

๒. เจ้าชายทศรถ (Dasaratha) ปกครองอาณาจักรมคธ ด้านทิศบูรพา ไม่ทรงโปรดพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน บางตำรากล่าวว่าพระเจ้าทศรถทรงนับถือศาสนาเชน จารึกที่ภูเขานาครชุน แคว้นพิหาร บอกเราว่า พระเจ้าทศรถหลังการครองราชสมบัติได้ถวายถ้ำแห่งหนึ่งให้อาชีวก แม้จะเป็นศาสนิกของเชน แต่พระองค์ก็ไม่ได้ทำลายพุทธศาสนาแต่อย่างใด ราชวงศ์เมารยะจึงเป็นราชวงศ์ที่นับถือทุกศาสนาในยุคนั้นคือ เชน พุทธ พราหมณ์

ดังนั้นอาณาจักรมคธอันกว้างใหญ่ก็เริ่มแตกแยกและสลายตัวลงอย่างรวดเร็ว ถึงรัชสมัยพระเจ้าพฤหัสรถ ราชวงศ์เมารยะองค์สุดท้ายที่ถูกพราหมณ์คนหนึ่งชื่อ สุงคะ ล้มราชวงศ์เสียและสถาปนาตัวเองเป็นกษัตริย์นามว่าปุษยมิตร (Pushyamitra)


๙. พระเจ้าปุษยมิตร (Pushyamitra)

ราว พ.ศ.๓๕๘ พระเจ้าปุษยมิตรได้อำนาจจากการกบฏล้มราชบัลลังก์ของพระเจ้าพฤหัสรถ กษัตริย์องค์สุดท้าย แห่งราชวงศ์เมารยะ เพราะเคยเป็นพราหมณ์มาก่อน ได้รอจังหวะที่มีอำนาจเพื่อหวังทำลายพุทธศาสนา เพราะพระเจ้าอโศกทรงห้ามการล่าสัตว์ และฆ่าสัตว์บูชายัญ จึงสร้างความไม่พอใจให้กับพวกพราหมณ์เป็นอย่างมาก แต่ก็ไม่อาจจะทำอะไรได้ เมื่อได้เป็นกษัตริย์สมใจ ได้เรียกราชวงศ์ที่ตนเองตั้งขึ้นว่า สุงคะ จึงได้รื้อฟื้นประกอบพิธีอัศวเมธ ฆ่าม้าบูชายัญ

ดังนั้นศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูจึงฟื้นชีพขึ้นมาอีก ทรงทำลายวัดพุทธศาสนาอย่างมากมาย ตลอดตั้งค่าหัวพระสงฆ์ ๑๐๐ ทินาร์ ถ้าใครตัดหัวพระสงฆ์หรือพุทธศาสนิกชนได้ ยุคนี้พุทธศาสนา ถูกทำลายอย่างหนัก ในบันทึกของท่านตารนาถนักประวัติศาสตร์ชาวธิเบตชื่อดังได้ กล่าวว่า "พระเจ้าปุษยมิตร กษัตริย์ฮินดูองค์นี้ได้ทำลายอารามกุกกุฏาราม เมืองเวสาลี และวัดพุทธศาสนาที่สาคละที่ปัญจาปตะวันออก และพระราชทานรางวัลจำนวน ๑๐๐ ทีนาร์สำหรับผู้ตัดศีรษะชาวพุทธได้" นี้เป็นเครื่องยืนยันถึงการทำลายล้างพุทธศาสนา เป็นครั้งแรกจากกษัตริย์ต่างศาสนาหลังพุทธกาลมา

ปุ ษยมิตรปกครองมคธนานถึง ๓๖ ปี เมื่อสวรรคตแล้ว พระเจ้าอัคนิมิตร (Agnimitra) พระโอรสได้ปกครองมคธต่อมา พระองค์ไม่ได้ทำลายพุทธศาสนาแต่ก็ไม่สนับสนุน พระเจ้าอัคนิมิตรปกครองมคธ แค่ ๘ ปี ยุคนี้จึงเป็นยุคมืดของพุทธศาสนาในแคว้นมคธ แม้ว่าจะถูกทำลายล้างแต่พุทธศาสนาในส่วนอื่นของอินเดียยังเจริญรุ่งเรืองและ แผ่ขยายกว้างไกลแม้กระทั่งภาคใต้ของอินเดีย จนเริ่มมีการสร้างวัดถ้ำขึ้นหลาย ๆ แห่ง โดยเฉพาะที่ถ้ำอชันตา รัฐมหาราษฎร์


๑๐. เริ่มสร้างถ้ำอชันตา (Ajanta Cave)

เมื่อราว พ.ศ.๓๕๐ เป็นต้นมา เมื่อพุทธศาสนาได้แผ่กระจายครอบคลุมอินเดียทั้งเหนือและใต้ คณะสงฆ์อินเดียภาคตะวันตกเฉียงใต้ก็เริ่มสร้างวัดคูหาขึ้น เรียกว่า ถ้ำอชันตา โดยการเจาะภูเขาไปสร้างเป็นวัดและวิหารเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและปฏิบัติอาศัยและปฏิบัติธรรม หลีกเว้นจากชุมชน งานเจาะหินนับว่าเป็นงานที่หนักหนาสาหัสที่ต้องใช้ความพยายามอย่างแรงกล้า หากปราศจากซึ่งศรัทธาที่มั่นคงในศาสนาแล้ว ผู้เจาะคงไม่อาจทำสำเร็จอย่างแน่นอน อชันตาเป็นชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งของเมืองออรังคบาต รัฐมหาราษฎร์อินเดียภาคตะวันตก

ถ้ำอชันตา ถ้ำพระพุทธศาสนาล้วนๆ

อชันตาเป็นถ้ำพุทธศาสนาล้วน ๆ ไม่มีศาสนาอื่นมาปนเหมือนถ้ำเอลโลร่า มีประมาณ ๓๐ ถ้ำ โดยแบ่งเป็นถ้ำหินยาน ๖ ถ้ำ อีก ๒๔ ถ้ำเป็นฝ่ายมหายาน การก่อสร้างกินเวลายาวนานตั้งแต่ พ.ศ. ๓๕๐ ถึง พ.ศ.๑๒๐๐ เศษ รวมเวลาการก่อสร้าง ๘๕๐ ปีโดยประมาณ ถ้ำอชันตาห่างจากตัวเมืองออรังคบาดราว ๑๐๒ กิโลเมตร ความจริงการเจาะภูเขาสร้างเป็นวัดนั้น มิใช่มีเฉพาะอชันตาหรือเอลโลร่าเท่านั้น แต่มีมากมายในอินเดียตะวันตก เช่นถ้ำออรังคบาด ถ้ำที่เมืองนาสิก ถ้ำที่ใกล้สาญจี เมืองโภปาล ถ้ำที่ใกล้เมืองบอมเบย์ ถ้ำที่เมืองบังกาลอร์ และปูเน่ เป็นต้นที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนเป็นถ้ำทางพุทธศาสนาทั้งสิ้น แต่ปัจจุบันหลายถ้ำได้ถูกยึดครองโดยชาวฮินดูไปแล้ว

ถ้ำอชันตาถูกทิ้งร้างกลายเป็นป่ารกชัฏปกคลุมถึง ๘๐๐ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๒ นายทหารอังกฤษได้เข้าไปล่าสัตว์ ได้ยิงกวางที่บาดเจ็บหลบเข้าไป จึงออกค้นหาจึงเจอถ้ำโดยบังเอิญ ถ้ำอชันตาจึงเป็นที่รู้จักของชาวอินเดียและต่างชาติตั้งแต่นั้นมา


สรุปราชวงศ์ต่าง ๆ แคว้นมคธ

๑. ราชวงศ์เมารยะ พ.ศ.๑๖๐ (Maurya Dynasty)
๑. พระเจ้าจันทรคุปต์ (Chandra gupta) พ.ศ.๒๒๒-๒๔๘ รวม ๒๖ ปี
๒. พระเจ้าพินทุสาร (Bindusara) พ.ศ.๒๔๘-๒๗๖ รวม ๒๘ ปี
๓. พระเจ้าอโศกมหาราช (Ashoka) พ.ศ.๒๗๖-๓๑๒ รวม ๓๖ ปี
๔. พระเจ้าสัมปทิ (Sampadhi) พ.ศ.๓๑๒- (ไม่สามารถระบุได้)
๕. พระเจ้าทศรถ (Dhasaratha) พ.ศ.๓๑๒- (ไม่สามารถระบุได้)
๖. พระพฤหัสรถ (Vrihashartha) ปกครองจนถึงพ.ศ.๓๕๘
(หลังจากพระเจ้าสัมปทิและพระเจ้าทศรถแล้ว ราชวงศ์เมารยะยังมีปกครองต่อมาอีกหลายพระองค์จนถึงพระเจ้าพฤหัสรถ)

๒.ราชวงศ์สุงคะ พ.ศ. ๓๖๐ (Sungha Dynasty)
๑. พระเจ้าปุษยมิตร (Pushyamitra) พ.ศ.๓๕๖-พ.ศ.๓๙๒ รวม ๓๖ ปี
๒. พระเจ้าอัคนิมิตร (Agnimitra) ราวพ.ศ. ๓๙๒-พ.ศ.๔๐๐ รวม ๘ ปี
๓. พระเจ้าสุชเยษฐา (Sujyeshtha) ราวพ.ศ. ๔๐๐-ไม่สามารถระบุ
๔. พระเจ้าสชวสุมิตร (Vasumitra) ราวพ.ศ. ๔๐๖
๕. พระเจ้าอรทรากะ (Ardraka) ราวพ.ศ. ๔๑๐
๖. พระเจ้าปุรินทกะ (Pulindaka) ราวพ.ศ. ๔๑๗
๗. พระเจ้าโฆษวสุ (Ghosavasu) (ไม่อาจระบุเวลา)
๘. พระเจ้าวัชรมิตร (Vajramitra) (ไม่อาจระบุเวลา)
๙. พระเจ้าภควตะ (Bhagavata) ราวพ.ศ.๔๒๙-พ.ศ.๔๖๑ รวม ๓๒ ปี
๑๐. พระเจ้าเทวติ (Devabhuti) จากพ.ศ.๔๑๖-พ.ศ. ๔๗๑ รวม ๑๐ ปี
(ราชวงศ์นี่มีกษัตริย์ ๑๐ พระองค์ ปกครองราว ๑๐๒ ปี )

๓.ราชวงศ์กานวะพ.ศ. ๔๖๘ (Kanva Dynasty)
๑.พระเจ้าวาสุเทวะ (Vasudeva) เริ่มจากพ.ศ. ๔๖๘
๒.พระเจ้าภูมิมิตร (Bhumimitra) ปกครองต่อจนถึงพ.ศ. ๕๑๓
ราชวงศ์นี้มี ๔ พระองค์ คือ
๑. พระเจ้าวาสุเทวะ
๒. พระเจ้าภูมิมิตร
๓. พระเจ้านารายนะ
๔. พระเจ้าสุลารมัน
(ราชวงศ์นี้ปกครองมารวม ๔๕ ปี)

๔.ราชวงศ์อันธระพ.ศ. ๕๐๕ (Andhara Dynasty)
๑.พระเจ้าศรีมุขะ (Shrimukha) ยึดมคธได้ เมื่อ พ.ศ.๕๑๖ อาณาจักรมคธจึงสลาย กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอันธระ ในอินเดียภาคใต้ อันมีเมืองหลวงชื่อว่า อมราวดี (Amaravati)


1 ความคิดเห็น:

  1. สงสัยว่า

    สรุปราชวงศ์ต่าง ๆ แคว้นมคธ

    ๑. ราชวงศ์เมารยะ พ.ศ.๑๖๐ (Maurya Dynasty)
    ๑. พระเจ้าจันทรคุปต์ (Chandra gupta) พ.ศ.๒๒๒-๒๔๘ รวม ๒๖ ปี
    ๒. พระเจ้าพินทุสาร (Bindusara) พ.ศ.๒๔๘-๒๗๖ รวม ๒๘ ปี
    ๓. พระเจ้าอโศกมหาราช (Ashoka) พ.ศ.๒๗๖-๓๑๒ รวม ๓๖ ปี
    ๔. พระเจ้าสัมปทิ (Sampadhi) พ.ศ.๓๑๒- (ไม่สามารถระบุได้)
    ๕. พระเจ้าทศรถ (Dhasaratha) พ.ศ.๓๑๒- (ไม่สามารถระบุได้)
    ๖. พระพฤหัสรถ (Vrihashartha) ปกครองจนถึงพ.ศ.๓๕๘
    (หลังจากพระเจ้าสัมปทิและพระเจ้าทศรถแล้ว ราชวงศ์เมารยะยังมีปกครองต่อมาอีกหลายพระองค์จนถึงพระเจ้าพฤหัสรถ)

    สงสัยว่า ราชวงศ์เมารยะ เริ่มต้น พ.ศ.๑๖๐
    แต่ทำไมพระเจ้าจันทรคุปต์ ครองราช
    พระเจ้าจันทรคุปต์ (Chandra gupta) พ.ศ.๒๒๒-๒๔๘ รวม ๒๖ ปี

    ตอบลบ