การตั้งปากีสถานตะวันตกและออกสำเร็จโดยอังกฤษแบ่งแคว้นสินธุ์ ปัญจาป บาลูคิสถานและจังหวัดบางส่วนที่ติดอิหร่านและอัฟกานิสถาน อันเป็นพื้นที่ชาวมุสลิมอยู่หนาแน่นเป็นปากีสถาน นอกนั้นยังแยกรัฐเบงกอลตะวันออกเข้าร่วมกับปากีสถานด้วย ในการแยกประเทศนั้นนับเป็นโศกนาฏกรรมอีกครั้งหนึ่งของมนุษย์ เพราะมีการอพยพของคลื่นมหาชนอย่างมหาศาลชาวฮินดู ชาวซิกซ์ และเชนที่เคยตั้งอยู่ในเขตปากีสถานต้องอพยพกลับมาเขตอินเดีย ส่วนชาวมุสลิมที่เคยอาศัยอยู่ในเขตอินเดียจำต้องอพยพเข้าเขตปากีสถานเกิดการปะทะกัน การทำร้ายร่างกายกันอย่างหนัก ประมาณว่ามีผู้เสียชีวิตราว ๒ ล้านคน จากการขัดแย้งทำร้ายและการปะทะครั้งนี้ ในการแบ่งแยกปากีสถานออกครั้งนี้ ทำให้เมืองตักกสิลาต้องตกอยู่ในการปกครองของปากีสถาน
ตัก กสิลาเป็นเมืองโบราณทางพุทธศาสนา มีโบราณสถานและพุทธศิลป์มากมาย โดยเฉพาะพระพุทธรูปสมัยคันธาระ ทำให้การเดินทางไปแสวงบุญของพุทธเป็นไปด้วยความลำบาก เมื่อได้เอกราชแล้ว ยวาห์ ลาล เนห์รู (Nehru) สาบานตัวเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย นับเป็นครั้งแรกที่อินเดียถูกปกครองโดยคนอินเดียอีกครั้งหนึ่ง อินเดียเสียเอกราชให้โมฮัมหมัด โฆรี พ.ศ.๑๗๓๕ จากนี้มาอินเดียก็ถูกคนต่างด้าวทั้งตุรกี อัฟกัน มองโกล อิีหร่าน และอังกฤษ ปกครองเรื่อยมาจนได้รับเอกราชจากอังกฤษ พ.ศ.๒๔๙๐ รวมเวลา ๗๕๕ ปี
พ. ศ.๒๔๙๑ ปากีสถานก็กรีฑาทัพยึดครองแคว้นจัมมูและแคชเมียร์ รัฐทางเหนือ รัฐนี้ปากีสถานต้องการยึดมารวมกับตนแต่มหาราชไม่เห็นด้วยเพราะตนเองเป็น ฮินดู ในขณะที่ประชาชนส่วนมากเป็นมุสลิม เมื่อไม่ได้ด้วยการเจรจาก็ต้องเอาด้วยกำลัง กองทัพปากีสถานจึงรุกรบยึดครองแคชเมียร์ส่วนมากได้มหาราชาซึ่งตอนแรกจะ ประกาศเป็นประเทศเอกราช ต้องรีบไปอินเดียและเซ็นสัญญารวมเป็นรัฐหนึ่งของอินเดีย กองทหารอินเดียจึงถูกส่งไปแคชเมียร์และรบกับกองทัพปากีสถานอย่างหนัก ทั้งสองฝ่ายผลัดกันรุกผลัดกันรับ แต่ฝ่ายอินเดียกำชัยได้หลายพื้นที่มากกว่า และในที่สุดอินเดียก็ยึดเมืองหลวงศรีนครได้ จนที่สุดสหประชาชาติจึงเข้ามาไกล่เกลี่ยและมีการเจรจาหยุดยิง แล้วแบ่งแคชเมียร์ ออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งอยู่ฝ่ายปากีสถาน เช่น เมืองกิลกิต เมืองมุซาฟาบาด ส่วนด้านใต้อยู่ในเขตอินเดียเรียกเส้นหยุดยิงว่าเส้นควบคุม (Line of Control) นอกจากนั้นปากีสถานยังมอบดินแดนแคชเมียร์ด้านตะวันออกเฉียงเหนือให้กับจีน อีกด้วย เพราะตอบแทนที่จีนช่วยเหลืออาวุธต่อสู้กับอินเดียทำให้อินเดียประท้วงอย่าง รุนแรง แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรกันได้
ปัจจุบัน ทั้งสองฝ่ายคืออินเดียและปากีสถานต่างก็ไม่ยอมรับเส้นควบคุมที่สหประชาชาติ ให้เจรจาและลงนาม ต่างฝ่ายยังอ้างว่า ดินแดนแคชเมียร์เป็นของตนเองทั้งหมด เพื่อให้ความหวังผนวกแคชเมียร์สำเร็จ ปากีสถานได้ฝึกปรือผู้คนด้านแคชเมียร์ฝั่งตนแล้วส่งไปก่อกวนทำลายอินเดีย จนปัจจุบันสถานการณ์ยังไม่สิ้นสุด กองโจรก็ยังเข้าโจมตีอินเดียเท่าที่โอกาสจะอำนวย สร้างความเสียหายให้กับชีวิตทหารพลเรือน เคหสถาน มากมาย
ปัจจุบันรัฐจัมมูและแคชเมียร์ฝั่งอินเดีย มีเมืองหลวงชื่อ ศรีนคร (Srinagar) หรือที่เรียกตามคำในภาษาอังกฤษว่า ศรีนาการ์ ส่วนแคชมียร์ฝั่งปากีสถานมีเมือง มุซาฟาบาต (Muzafabad) เป็นเมืองหลวง
สำหรับ พุทธศาสนา ถ้าแคชเมียร์จำเป็นต้องไปรวมกับปากีสถานคงจะสร้างความลำบากให้กับชาวพุทธใน แคชเมียร์เป็นอย่างยิ่ง ชาวพุทธในแคชเมียร์เป็นกลุ่มคนอันดับสองรองจากมุสลิม โดยเฉพาะที่เมืองลาตักเป็นศูนย์กลางชาวแคชเมียร์ที่นับถือศาสนาพุทธ พวกเขาเป็นชาวพุทธเก่าแก่เสืบเชื้อสายมาจากธิเบตและวัฒนธรรม รูปร่างหน้าตาก็เป็นแบบธิเบต พวกเขามีความรู้สึกปลอดภัยถ้าอยู่กับอินเดียที่ปกครองโดยชาวฮินดู แทนที่จะต้องไปอยู่กับปากีสถาน ซึ่งเป็นประเทศมุสลิม
ผู้ฟื้นฟูพุทธศาสนายุคใหม่ (Modern Buddhist Pioneers) |
พุทธ ศาสนาได้อุบัติขึ้นในอินเดียเมื่อกว่า ๒๕๘๐ ปีมาแล้ว อินเดียเป็นชาติภูมิของพระพุทธองค์ ยังมีซากปรักหักพังของพุทธสถานทั่วชมพูทวีปเป้นประจักษ์พยาน ตลอดระยะเวลาเกือบ ๑๘๐๐ ปี พุทธศาสนาได้เคยเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก แต่บัดนี้ได้เสื่อมสูญออกไปจากอินเดียแล้ว เป็นธรรมดาที่เมื่อสิ่งใดเจริญสุด ก็ย่อมเสื่อมสูญ และเมื่อสูญก็ย่อมเจริญได้อีกเช่นกัน พุทธศาสนาก็อยู่ในกฏเช่นนี้เหมือนกัน และบัดนี้แสงแห่งพุทธธรรมได้ฉายแววสว่างไสวในแผ่นดินมาตุภูมิอีกครั้ง พระสงฆ์อินเดียและต่างชาติที่มาฟื้นฟูพุทธศาสนาที่สำคัญ คือ
ชาวลังกา | |
๑.๑ พระเอ็น.ชินรัตนะ (Ven.N.Jinaratna)
พระเอ็น ชินรัตนะ |
ท่านชินรัตนะเป็นชาวลังกา เกิดเมื่อพ.ศ.๒๔๕๖ ณ หมู่บ้านเนรุวะอำเภอกัลเล ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อพ.ศ.๒๔๗๒ โดยมีท่านวิปุละติสสมหาเถระ เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.๒๔๗๖ ได้อุปสมบทที่วัดมัลลวัตตมหาวิหารแคนดี้ ต่อมาก็เดินทางมาอินเดียในนามพระธรรมทูต โดยการเชิญชวนของท่านธรรมปาละ พ.ศ.๒๔๘๑ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสศรีธัมมราชิกวิหารที่กัลกัตตา ท่านชินรัตนะเป็นนักสังคมสงเคราะห์ตัวยง เมื่อปี ๒๔๘๖ รัฐเบงกอลเกิดความอดอยากไปทั่วท่านได้ช่วยเหลือเต็มความสามารถพ.ศ.๒๕๐๙ ท่านเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อร่วมงานประชุมต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์ท่านเป็นตัวแทนนำพระธาตุ ของพระโมคคัลลานะ สารีบุตรที่ได้มาจากอังกฤษ เดินทางไปพม่า เนปาล ไทยและกัมพูชาเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้กราบสักการะบูชา ต่อมาท่านได้ก่อตั้ง สภาชาวพุทธเอเชียเพื่อสันติภาพ และได้เป็นสมาชิกคณะกรรมการดูแลพุทธคยา พ.ศ.๒๕๑๑ ท่านได้รับตำแหน่งเป็นเลขานุการสมาคมมหาโพธิ์แห่งอินเดีย ต่อมาท่านก็มรณภาพที่กัลกัตตาเมื่อพ.ศ.๒๕๒๖ รวมอายุ ๗๐ ปี
๑.๒ พระเค.สรินิวาสะเถระ (Ven.k.Sirinivasa)
ท่านสิรินิวาสมหาเถระเป็นชาวลังกาโดยกำเนิด เกิดเมื่อพ.ศ.๒๔๓๔ เมื่อโตขึ้นได้รับการบรรพชาเป็นสามเณร ๒๔๔๓ เมื่ออายุ ๙ ปีได้รับการศึกษาทางพุทธศาสนาจากวิทยาลัยวิทโยทยะ เมืองโคลัมโบ ต่อมาท่านอนาคาริกธรรรมปาละเชื้อเชิญมาที่อินเดีย เพื่อทำการเผยแผ่พุทธศาสนาด้วยกัน จึงตัดสินใจเดินทางอินเดีย เมื่อพ.ศ. ๒๔๖๓ ได้ช่วยงานท่าน อนาคาริกธรรมปาละหลายอย่างโดยเฉพาะที่สมาคมมหาโพธิ์ งานที่สำคัญคือการสร้างศรีธัมมราชิกวิหาร เมืองกัลกัตตาและมูลคันธกุฏิที่สารนาถ นอกจากนั้นยังดำเนินการสร้างพุทธวิหารที่เนาว์การ์และบัลรามปุระ รวมทั้งที่พักสำหรับผู้แสวงบุญในพุทธสถานหลายแห่ง เช่น สาวัตถี และลุมพินี เป็นต้น
ท่านสามารถนำชาวอินเดียให้หันกลับมานับถือพุทธศาสนาพอสมควร ท่านมีความชำนาญหลายภาษาโดยเฉพาะภาษาบาลี สันสกฤต ฮินดี เบงกาลี อังกฤษ สิงหล เป็นต้น หลังจากที่ท่องเที่ยวทั่วอินเดียเป็นเวลา ๔๘ ปีเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา ท่านมรณภาพอย่างสงบที่สารนาถเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๑ รวมอายุ ๗๗ ปี
๑.๓ พระดี.สาสนสิริ (Ven.D.Sasanasiri)
ท่านสาสนสิริเป็นชาวลังกา เกิดเมื่อพ.ศ.๒๔๔๒ ณ เมืองมิคมูวะ ในครอบครัวชาวพุทธที่เคร่งครัด เข้ารับการบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ เมื่ออายุครบบวชจึงอุปสมบท เมื่อพ.ศ.๒๔๖๓ เข้าศึกษาภาษาบาลีและพระไตรปิฏกาจารย์ ต่อมาได้รับการเชิญชวนจากอนาคาริกะ ธรรมปาละให้มาเผยแผ่พุทธศาสนาที่อินเดีย ท่านรับเชิญแล้วเดินทางเข้าอินเดีย พ.ศ. ๒๔๗๓ เข้าศึกษาเพิ่มเติมที่มหาวิทยาลัยสันตินิเกตัน กัลกัตตา ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานสถาบันพุทธศาสนานานาชาติ
ต่อมาปี ๒๔๙๖ ท่านกลับมาเป็นผู้ดูแลสมาคมมหาโพธิ์ที่สารนาถอย่างถาวร ท่านมีศิษย์หลายรูปทั้งชาวอินเดียและต่างชาติ เช่น ภิกษุราษฏรปาล ภิกษุวิมลศีล ภิกษุโชบิท ภิกษุวสุธานันทะ ภิกษุโพธานันทะ ภิกษุธรรมกีรติ ภิกษุสุกตนันทะ เป็นต้น
ท่านมีความชำนาญในหลายภาษาคือ บาลี สันสกฤต ฮินดี สิงหล และอังกฤษผลงานการแลของท่านที่สำคัญคือการแปลโพธิจริยาตาร จากภาษาสันสกฤตเป็นสิงหลและฉินดี ท่านได้ช่วยงานการฟื้นฟูจนสุดความสามารถสุดท้ายมรณาภาพเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาม ๒๕๐๙ ที่สารนาถ รวมอายุ ๖๗ ปี
๑.๔ พระอู. ธัมมรัตนะ (Ven.U.Dhammarattana)
พระอู ธัมมรัตน |
ท่านอุรุวาละ ธัมมรัตนะมหาเถระ เกิดเมื่อพ.ศ. ๒๔๖๐ ณ ตำบลอุรุวาละ จังหวัดทางตะวันตกของศรีลังกา ในตระกูลชาวพุทธที่เคร่งครัด พ.ศ.๒๔๗๑ เข้าบรรพชาเป็นสามเณร โดยมีท่านเทวนันทะมหาเถระเป็นอุปัชฌาย์ ต่อมาศึกษา ณ โรงเรียนธรรมทูตซึ่งก่อตั้งท่านธรรมปาละที่แคนดี้ ต่อมาเดินทางมาอินเดียพร้อมกับสามเณร ๑๐ รูป แล้วไปศึกษาเพิ่มเติมที่มหาวิทยาลัยสันตินิเกตัน ต่อมาเดินทางมาสารนาถโดยมีท่านสาสนสิริ และท่านธัมมโลกะ
หลังจากการเสียชีวิตของท่านธรรมปาละแล้ว ท่านจึงตัดสินใจไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยกัตตาและมหาวิทยาลัยพาราณสี ตามลำดับ ท่านได้เขียนหนังสือหลายเล่ม เช่น แปลวิสุทธมรรคเป็นเกี่ยวกับวิสุทธิมรรค, พ.ศ.๒๕๐๐ แห่งพุทธศตวรรษ
ท่านเป็นกรรมการท่านหนึ่งในการจัดทำพระไตรปิฎกภาษาฮินดี เถระคาถา สุตตนิบาตขุททกปาฐะ หนังสือหลายเล่มที่ท่านเขียน เช่น พระพุทธเจ้ากับระบบวรรณะ การศึกษาปฏิสัมภิทามรรค ความรู้เบื้องต้นปิฎกด้วยอักษรเทวนาครี
เพื่อเฉลิมฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยกัลกัตตา ต่้อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นบรรณาธิการวารสารธรรมทูต ได้เดินทางไปเผยแผ่ธรรมหลายประเทศ เช่น อังกฤษ สหรัฐ ญี่ปุ่น ต่อมาได้เดินทางไปลอนดอนเพื่อรักษาตัว แต่สุดท้ายท่านมรณภาพเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๒๘ ที่กรุงลอนดอน สรีระขอางท่านถูกนำไปบำเพ็ญกุศลที่ศรีลังกา บ้านเดิมขอางท่านรวมอายุ ๖๘ ปี
๑.๕ พระเอ็ม. สังฆรัตนะ (Ven.M.Sangharattana)
ท่านเมติวาระ สังฆรัตนะ เกิดเมื่อพ.ศ.๒๔๕๕ ท่านเดินทางมาอินเดียขณะเป็นสามเณร เมื่อพ.ศ.๒๔๗๐ ตามคำเชิญของท่านอนาคาริกธรรม ปาละเข้าศึกษาที่สันตินิเกตัน กัลกัตตา พ.ศ.๒๔๘๐ ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ดูแลมูลคันธกุฏิวิหาร สารนาถ ต่อมาพ.ศ.๒๕๑๘ ท่านเดินทางไปจำพรรษาที่เมืองสาวัตถี ในยุคนั้นพุทธสถานยังไม่ได้รับการเหลียวแลจากรัฐบาลอินเดีย ชาวบ้านจึงเข้าไปบุกรุกสถานที่หลายแห่ง ท่านได้ขอร้องไปยังรัฐบาลอินเดียหลายครั้ง ในที่สุดรัฐบาลอินเดียก็ได้เข้ามาดูแลโบราณสถานเหล่านี้ ต่อมาได้ก่อตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กอนาถายากจนขึ้นที่สาวัตถี ในวาระสุดท้ายท่านมรณภาพที่โรงพยาบาลเมืองลัคเนาว์ เมื่อวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๒๘ สรีระของท่านได้ทำการฌาปนกิจที่สาวัตถี สถานที่ที่ท่านได้มาสร้างวัดศรีลักาและที่พักสำหรับนักแสวงบุญทั่วไป
๑.๖ อนาคาริกะ ธรรมปาละ (Anagarika Dhammapala)
อนาคาริก ธรรมปาละ |
ท่านอนาคริกะ ธรรมปาละ เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในการฟื้นฟูพุทธศาสนาในอินเดีย ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๔๐๗ ในครอบครัวผู้มั่งคั่งเมื่อราว พ.ศ.๒๔๓๖ บิดาชื่อว่า เดวิด เหววิตรเน เมื่อได้อ่านหนังสือเรื่องประทีปแห่งเอเชียของท่านเซอร์ เอ็ดวิล อาร์โนล ก็เกิดความซาบซึ้ง มีความคิดอยากอุทิศชีวิตถวายต่อพระพุทธองค์ในการฟื้นฟูพุทธศาสนาที่อินเดีย จึงออกเดินทางสู่อินเดีย เมื่อได้เห็นเจดีย์พุทธคยาที่ชำรุดทรุดโทรมถูกทอดทิ้ง และอยู่ในความครอบครองของมหันต์ จึงเกิดความสังเวชใจ ที่ได้พบเห็นเช่นนั้น จึงทำการอธิษฐานต่อต้นพระศรีมหาโพธิ์ว่า จะถวายชิวิตเป็นพุทธบูชา เพื่อฟื้นฟูพุทธศาสนา ในอินเดียและนำพุทธคยากลับคืนมาเป็นสมบัติของชาวพุทธทั่วโลกให้ได้
จากนั้นจึงเดินทางกลับลังกาและก่อตั้ง สมาคมมหาโพธิ ขึ้นที่โคลัมโบ หลังจากนั้นท่านก็ได้ส่งสมณทูตมาที่พุทธคยา แต่ธรรมทูตทั้ง ๔ กลับถูกมหันต์ที่ยึดครองพุทธคยา รังแกจนบางรูปบาดเจ็บและบางท่านมรณภาพ ท่านต้องเดินทางกลับอินเดียอีก แล้วรณรงค์เพื่อให้พุทธคยากลับเป็นของชาวพุทธเช่นเดิม ท่านเดินทางไปพุทธคยาและก็โดนมหันต์ห้ามเข้าพุทธคยา แต่ท่านดื้อแพ่งจนที่สุดถูกทำร้ายจนเรื่องขึ้นศาล สุดท้ายศาลชั้นต้นชี้ขาดให้ชาวพุทธชนะ แต่มหันต์ไม่ยอมจึงฟ้องฎีกา ศาลฎีกา กลับให้มหันต์ชนะ จึงทำให้มหันต์ยึดคืนอีกครั้งหนึ่ง
ดังนั้นท่านและพระสงฆ์จึงโดนขับออกจากพุทธคยา แม้ว่าจะแพ้แต่ท่านก็ไม่ยอมแพ้ ยังรณรงค์แจกจ่ายบรรยายเขียนหนังสือแจกจ่ายให้ชาวอินเดียทั่วไปอ่าน ทำให้ชาวอินเดียคนสำคัญ ทั้งคานธี ราธกฤษณัน (อดีตประธานาธิบดีคนแรกของอินเดีย) ท่านรพินทนาถ ฐากูร เห็นใจแล้วกล่าวสันสนุนท่านธรรมปาละ ทำให้พวกมหันต์เสียงอ่อนลง ต่อมาท่านดินทางไปอเมริกา เพื่อรณรงค์และบรรยายธรรมและทำให้นางแม่รี่ อี ฟอสเตอร์ที่ฮาวายเลื่อมใส ศรัทธาและได้ยอมตนเป็นพุทธมามกะ และบริจาคหนึ่งล้านรูปีแก่ท่านธรรมปาละต่อมาท่านธรรมปาละได้ก่อตั้งสมาคม มหาโพธิ์ขึ้นที่อินเดียหลายแห่ง
ในปัจฉิมวัยท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่สารนาถพาราณสี ก่อนมรณภาพท่านอธิษฐานว่า "ขอให้ข้าพเจ้าได้ตายไวๆ แล้วขอให้เกิดมาเผยแพร่ธรรมของพระพุทธองค์ตลอดไป"
ในสมัยที่ท่านยังมัชีวิตอยู่ ความพยายามในการโอนพุทธคยาจากมหันต์ให้เป็นของชาวพุทธยังไม่สำเร็จ จนได้เอกราช ท่านเนห์รูและรัฐบาลของท่าน จึงร่างกฏหมายโอนพุทธคยาเป็นของรัฐบาล แล้วแต่งตั้งคณะกรรมการ ๘ ท่านเป็นผู้บริหาร โดยเป็นฝ่ายฮินดู ๔ และพุทธ ๔ ส่วน ประธานเป็นนายอำเภอเมืองคยา แม้จะไม่สามารถทำให้ชาวพุทธเป็นผู้บริหารทั้งหมด แต่ก็นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อชาวพุทธทั่วโลก
กฏหมาย นี้สร้างความไม่พอใจให้มหันต์เป็นอย่างมาก จึงฟ้องร้องทางศาลให้ถือว่า กฎหมายนี้เป็นโมฆะ แต่ประธานาธิบดีของอินเดียและนักการเมืองหลายท่าน ได้ห้ามปรามให้มหันต์ถอนฟ้อง เพราะจะเป็นที่อับอายแก่อินเดียทั้งชาติ และมหันต์อาจจะเสียมากกว่านี้หลายเท่า มหันต์เชื่อฟังเพียงแต่ยับยั้งกฎหมายไว้แต่ก็ยังไม่ถอนฟ้อง ปัจจุบันพุทธคยายังใช้กฎหมายนี้อยู่ ในบั้นปลายชีวิตท่านได้อุปสมบท ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน สารนาถเมืองพาราณสี และมรณภาพี่นั้นเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๖ รวมอายุ ๖๙ ปี
๑.๗ เทวปริยะ วาริสิงหะ (Devapriya Valisinha)
เทวปริยะ วาริสิงหะ |
ท่าน วาริสิงหะเป็นผู้มีความสำคัญรองลงมาจากท่านอนาคาริกธรรมปาละ เพราะเป็นผู้สืบต่องานของท่านอนาคาริกธรรมปาละ หลังท่านเสียชีวิตแล้วท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๗ ที่หมู่บ้านอุปลโตตุว่า ใกล้เมืองแคนดี้ ท่านเป็นคนที่ ๖ ในบุตรและธิดา ๗ คน ของครอบครัว ต่อมาพ่อแม่ท่านเสียชีวิตขณะที่ยังเด็ก ปู่จึงได้ดูแลต่อมา เมื่ออนาคาริก ธรรมปาละได้ไปบรรยายที่โรงเรียนที่วาริสิงหะเรียนอยู่ การบรรยายได้ประทับใจเป็นอย่างมาก ต่อมาท่านธรรมปาละจึงได้ชักชวนวาริสิงหะเข้าร่วมงานพระธรรมทูตที่อินเดีย ท่านตอบรับอย่างไม่ลังเล ท่านธรรมปาละได้พาวาริสิงหะไปศึกษาเพิ่มเติมที่เมืองโคลัมโบ ภายใต้การดูแลของแม่ของท่านอนาคาริกธรรมปาละ พ.ศ. ๒๔๖๐ ท่านวาริสิงหะเดินทางไปอินเดียพร้อมกับมารดาของท่านธรรมปาละและศึกษาเพิ่ม เติมที่สันตินิเกตัน พ.ศ. ๒๔๖๕ ท่านพร้อมท่านธรรมปาละเริ่มงานสร้างมูลคันธกุฎิที่สารนาถ แต่กรมโบราณคดีของอินเดียไม่อนุญาตเพราะใกล้สถูปเกินไป ท่านต้องติดต่อกับเซอร์ จอรห์น มาเชล (Sir John Marshall) ที่ตักสิลาหลายครั้ง ในที่สุดท่านเซอร์ที่กูแลกรมโบราณคดีของอินเดียจึงตกลงให้สร้าง ในสถานที่ปัจจุบันซึ่งห่างจากสถูปพอสมควร พ.ศ.๒๔๗๖
ท่านได้รับการแต่งตั้งจากธรรมปาละเป็นเลขานุการสมาคมมหาโพธิ์แห่งอินเดีย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ท่านถูกจับเป็นเวลาหลายเดือนหลังจากปล่อยตัว ท่านเดินทางเข้ามาอินเดียอีกครั้ง แล้วสร้างพุทธวิหารสองแห่งที่นิวเดลลีและที่สาญจี ต่อมาสมาคมมหาโพธิ์ภายใต้การนำของวาริ สิงหะ ได้รับมอบพุทธวิหาร ๓ แห่ง ให้ดูแลคือ ๑.พหุชนวิหาร บอมเบย์ บริจาคโดยท่านัมมาตนันทะ โกสัมพี ๒.อานันทวิหารบอมเบย์ บริจากโดยดร.เอ.แอล.แนร์ (Dr.A.L.Nair) ลัคเนาว์พุทธวิหาร ลัคเนาว์บริจาคโดยท่านโพธานันทะ
ท่านมีบทบาทสำคัญในการเรียกร้องพุทธคยาให้เป็นสมบัติชาวพุทธเมื่อพระราชบัญญัติพุทธคญา พ.ศ.๒๔๙๒ มีผลบังคับใช้ท่านก็เป็นคณะกรรมการชาวพุทธคนหนึ่งใน ๔ คน ท่านได้เข้าร่วมงานการเปลี่ยนศาสนาที่นำโดย ดร.เอ็มเบ็ดการ์ ที่นาคปูร์ ร่วมทั้งสนับสนุนการสร้างพุทธวิหารที่นาคปูร์ด้วย พ.ศ.๒๕๐๒ ท่านเดินทางบรรยายเกี่ยวกับพุทธศาสนา ทั้งในไทย เขมร พม่า ลาว ญี่ปุ่น และวาระสุดท้ายก็มาถึงท่านถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๑๑ รวมอายุ ๖๔ ปี
อินเดีย | |
๑.๘ พระจักดิส กัสสปะ (Ven.J. Kashyapa)
ท่านจักดิส กัสสปะ |
ท่าน เป็นชาวอินเดียโดยกำเนิด เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๑ ที่รานจี รัฐพิหาร (ปัจจุบันอยู่ในรัฐจหาร์คานต์) ในขณะที่บ้านบรรพบุรุษของท่านตั้งเดิมอยู่ที่เลาเนีย เขตเมืองคยา ท่านเกิดในตระกูลฮินดูชั้นกลาง บิดาของท่านชื่อ ศยามนาเรน (Shyam Narain) เป็นพนักงานอยู่ศาลเมืองรานจี ในสมัยเด็กเข้ารับราชการศึกษาจากโรงเรียนประถมที่รานจี ต่อมาไปศึกษาต่อระดับมัธยมและระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยเมืองปัฏนะ พ.ศ.๒๔๗๔ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทคณะปรัชญาที่มหาวิทยาลัยพาราณสี สองปีต่อมาได้รับปริญญาโทคณะสันสกฤตจากที่เดียวกัน ท่านได้รับอิทธิพลอย่างมากจากปู่ของเขาคือ อโยธยาปราสาท ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มอารยสมาช อันเป็นขบวนการทางศาสนาฮินดู ต่อมาพ.ศ. ๒๔๗๔ ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นครูใหญ่ของวิทยาลัยสันสกฤตที่พิหารก่อตั้ง โดยกลุ่มอารยะสมาช
ต่อมาพ่อแม่ได้ขอร้องให้ท่านแต่งงานกับหญิงที่มีฐานะดี แต่ท่านปฏิเสธเพราะอยากทุ่มชีวิตและเวลาให้กับงานของสังคมและประเทศชาติมากกว่า การร่วมงานกับอารยสมาชกลายเป็นจุดเปลี่ยนแห่งชีวิต เพราะได้เริ่มศึกษาพุทธศาสนา เขาได้พบว่า สมาชิกของอารยสมาชเป็นชาวฮินดูหลายวรรณะทั้งพราหมณ์ แพศย์ ศูทร แต่พวกเขาก็ยังยึดถือวรรณะอย่างรุนแรงในหมู่พวกเขาเอง
ต่อมาได้รับแรงบันดาลใจจากท่านอนาคาริก ธรรมปาละ ท่านจึงลาพ่อแม่เพื่อเดินทางไปศรีลังกา ได้รับการปฏิเสธอย่างรุนแรง แต่ในสุดท่านก็เดินทางไปศรีลังกา เมื่อพ.ศ.๒๔๗๖ ต่อมาก็เข้ารับการอุปสมบทเป็นภิกษุ เมื่อพ.ศ.๒๔๗๗ โดยมีท่านธัมมานันทะเป็นพระอุปัฌาย์ เมื่ออุปสมบทแล้วจึงเดินทางมาอินเดีย ร่วมงานกับท่านราหุลสันกฤตยายัน และท่านอานันทะเกาสลยัน
พ.ศ.๒๔๗๘ ท่านเดินทางไปจำพรรษาที่ปีนังและไปต่อที่สิงคโปร์ แล้วเดินทางกลับมาเป็นอาจารย์สอนภาคภาษาบาลีที่มหาวิทยาลัยพาราณสีประมาณ ๙ ปี และวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๔ หลังเอกราชเพียง ๒ ปี ท่านก็ได้เริ่มก่อสร้างสถาบันการศึกษาบาลีขึ้นให้ชื่อว่านวนาลันทามหาวิหาร ตั้งอยู่ใกล้มหาวิทยาลัยนาลันทาเดิม โดยการบริจาคที่ดินโดยเจ้าของที่ดินชาวมุสลิม โดยมีท่านราเชนทรา ปราสาทประธานาธิบดีคนแรกเป็นผู้วางศิลาฤกษ์ เมื่อรัฐบาลอินเดียจัดฉลองพุทธชยันตี ท่านจึงเสนอจัดสร้างพระไตรปิฎกฉบับอักษาเทวนาครีแก่รัฐบาล จนที่สุดก็ได้รับการอนุมัติพระไตรปิฎกจัดทำได้ ๔๑ เล่มใช้เวลา ๕ ปี ต่อมาพ.ศ.๒๕๑๓ ท่านได้รับเลือกเป็น พระสังฆนายกของอินเดีย หลังจากการประชุมครั้งแรกที่วัดไทยพุทธคยาและพ.ศ.๒๕๑๗ ได้บริจากที่ดินส่วนตัวข้างมหาวิทยาลัยนาลันทาใหม่ให้สร้างเป็นวัดไทยนาลันทา หลังจากลาออกจากผู้อำนวยกานสถาบันนาลันทา เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๖ แล้ว ท่านได้ไปพักอาศัยอยู่ที่วัดญี่ปุ่นที่ราชคฤห์กับท่าน นิชิดัตสุ ฟูจิอิและเมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๑๙ ท่านพระสังฆนายกของอินเดีย จักดิส กัสสปะ ก็มรณภาพอย่างสงบที่วัดญี่ปุ่นที่ราชคฤห์รวมอายุ ๖๘ ปี
๑.๙ พระมหาวีระ (Ven. Mahavira)
ท่านมหา วีระเป็นพระสงฆ์อินเดียรูปแรกในยุคใหม่ที่มาจากตระกูลฮินดู ท่านเกิด พ.ศ.๒๓๙๐ ที่เมืองจักดิสปูร์ ในรัฐพิหาร ในตระกูลนักรบเก่า ปู่คือ บาบูร์ กุนวาร์ สิงห์ (Babu Guwar Singh) เป็นนักรบที่มีชื่อเสียงได้ต่อสู่กับอังกฤษอย่างโชกโชน ตระกูลนี้เป็นฮินดูที่เคร่งครัด สมัยหนุ่มท่านเป็นนักมวยปล้ำที่มีชื่อคนหนึ่ง ต่อมาพ.ศ.๒๔๓๔ ได้เดินทางไปศรีลังกา และที่ศรีลังกาท่านได้สนใจในพุทธศาสนา จึงได้ศึกษาพุทธศาสนาและภาษาบาลีอย่างาจริงจังที่ศรีลังกา ต่อมาจึงเข้ารับการอุปสมบทโดยมีท่านอินทรสภามหาเถระเป็นอุปัชฌาย์ ในปีเดียวกันนั้นเอง หลังจากนั้นท่านเดินทางกลับอินเดียแล้วไปจำพรรษาที่เมืองกุสินาราอันเป็นแดน ตรัสรู้ท่านได้เริ่มก่อสร้างธรรมศาลาและพุทธวิหารที่กุสินาราขึ้น ท่านได้ร่วมมือกับท่านอู จันทรมณีพระสงฆ์ชาวพม่าหลายด้านจนกุสินาราเป็นสถานที่ชาวพุทธเริ่มเข้าไป จาริกแสวงบุญ ท่านมรณภาพเมื่อเดืนมีนาคม ๒๔๖๒ รวมอายุ ๗๒ ปี
๑.๑๐ พระกามโยคี กริปาสรัน (Ven. Kamayoki Kripasaran)
พระกริปาสรันมหาเถระ |
ท่าน กามโยคี กริปาสรันมหาเถระ เป็นชายเบงกอล เกิดเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๔๐๘ ในตระกูลชาวพุทธบารัวที่ยากจน เมืองจิตตะกอง (ปัจจุบันอยู่ในเขตบังคลาเทศ) เมื่ออายุ ๑๐ ปี บิดาท่านก็เสียชีวิต ดังนั้นท่านจึงต้องหาเลี้ยงชีพตั้งแต่อายุยังน้อยเพื่อจุนเจือครอบครัว เนื่องจากเกิดในตระกูลชาวพุทธที่มีบิดามารดา แนะนำหลักธรรมทางศาสนาตั้งแต่เด็ก จึงมีจิตใจโน้มเอียงมาทางศาสนา
ต่อมาเมื่ออายุ ๑๖ ปี ท่านก็บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดอุนิเนปุระมหาวิหาร เมืองจิตตะกอง โดยมีท่านสุทัน จันทรามหาเถระเป็นอุปัชฌาย์
เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๘ ท่านก็อุปสมบทเป็นภิกษุ โดยมีท่านปูรณะจาระเป็นพระอุปัชฌาย์พ.ศ.๒๔๓๐ ท่านเริ่มสร้างพุทธบารัวที่กัลกัตตา ท่านได้ร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับท่านอนาคาริกธรรมปาละ ได้สร้างวัดเบงกอลพุทธวิหารและก่อตั้งสมาคมชาวพุทธเบงกอล (Bengal Buddhist association) ขึ้นเมื่อพ.ศ.๒๔๖๑
ท่านกริปาสรันมรณภาพ เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๔๖๙ รวมอายุ ๖๘ ปี
๑.๑๑ พระธัมมานันทะ โกสัมพี (Ven.Dhammananda Kosambi)
ท่านธัมมานันทะ โกสัมพีเป็นนักปราชญ์ทางภาษาบาลีที่สำคัญองค์หนึ่งในยุคฟื้นฟูพุทธศาสนา ท่านเกิดที่เมืองกัว รัฐมหาราษฎร์ เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๔๑๙ เป็นลูกคนเล็กสุดในห้าคนของครอครัว สมัยเด็กท่านประทับใจในเรื่องราวของพระพุทธองค์จากหนังสือสำหรับเด็ก เมื่อโตขึ้นจึงได้เริ่มศึกษาภาษาสันสกฤตและพุทธศาสนาที่ปูน่า และพาราณสี ต่อมาเดินทางสู่เนปาลเพื่อศึกษาพุทธศาสนาแต่ท่านก็ต้องผิดหวัง เพราะเนปาลไม่ใช่ดินแดนพุทธศาสนา ท่านจึงกลับมาที่พุทธคยา มีพระหลายรูปแนะนำให้ท่านไปศึกษาที่ศรีลังกาดินแดนที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง พ.ศ.๒๔๔๕ จึงเดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาที่ศรีลังกา แล้วอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่นั่นโดยมีท่านสุมังคลมหาเถระเป็นอุปัชฌาย์ ต่อมากลับคืนสู่อินเดียเกิดความเบื่อหน่าย ได้ลาสิกขา จนต่อมาแต่งงานที่บ้านเดิมจนได้บุตรหนึ่งคนคือ ดี.ดี.โกสัมพี หลังตากนั้นเข้ามาอุปสมบทใหม่ พ.ศ.๒๔๕๓ ท่านเดินทางไปศึกษาต่อจนจบปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด อเมริกา เมื่อกลับจากอเมริกาได้เดินทางกลับอินเดียแล้วได้สร้างพุทธวิหารขึ้นที่บอมเบย์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐ เรียกชื่อวิหารนี้ว่า "พหุชนพุทธวิหาร" ท่านได้เริ่มเขียนหนังสือหลายเล่มที่สำคัญคือ ภควาน บุดดา ด้วยหนังสือที่ท่านเขียนนี้เอง ที่เป็นผลสำเร็จที่ทำให้ดร.เอ็มเบ็ดการ์อ่านและสนใจจนหันมานับถือพุทธศาสนา ในภายหลัง ในบั้นปลายชีวิตท่านได้มอบพหุชนพุทธวิหารให้สมาคมมหาโพธิ์แห่งอินเดียเป็น ผู้ดูแลตัวท่านมาพำนักที่สารนาถและมรณภาพที่นั่นเมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๔๙๐
๑.๑๒ พระโพธานันทะ (Ven. Bodhananda)
ท่านโพธานันทะเกิด พ.ศ.๒๔๑๗ ในครอบครัวชาวเบงกาลี อำเภอมิรซาปุระ รัฐอุตตรประเทศ พ่อแม่ท่านเสียชีวิตเมื่อท่านยังเด็ก ต่อมาญาตินำมาเลี้ยงที่พาราณสี โตขึ้นจึงได้เป็นสาธุ เมื่อพ.ศ.๒๔๓๙ ได้มีพระสงฆ์ของศรีลังกาได้ไปแสวงบุญที่สารนาถ สาธุหนุ่มได้เจอจึงสอบถามเรื่องราวของพุทธศาสนาแล้วเกิดความเลื่อมใส และตระหนักว่าหลายสิ่งที่ดี ๆ จากศาสนาฮินดูล้วนมาจากพุทธศาสนา พุทธศาสนาไม่มีวรรณะ มีแต่ความเสมอภาคต่อมาสาธุหนุ่มได้สร้างเทวลัยที่ลัคเนาว์ แต่นำพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว ้สร้างความไม่พอใจให้ฮินดูที่เคร่งครัด พ.ศ.๒๔๕๗ ท่านจึงเข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีท่านกริปาสลันมหาเถระเป็นพระอุปัชฌาย์บนเรือในแม่น้ำคงคา เมืองกัลกัตตา ท่านเป็นพระอินเดียรูปแรกที่ได้รับการอุปสมบทในอินเดียยุคใหม่ ต่อมาพ.ศ.๒๔๕๙ ท่านได้ก่อตั้งสมาคมชาวพุทธอินเดีย (Indian Buddhist Society) โดยมีสำนักงานที่เมืองลัคเนาว์ พ.ศ. ๒๔๖๘ ท่านเริ่มก่อสร้างพุทธวิหารและห้องสมุดขนาดใหญ่ขึ้นที่เมืองลัคเนาว์ ด้วยการเผยแผ่ที่เอาจริง ท่านได้ชาวฮินดูหลายคนมาเป็นพุทธศาสนิกชนเช่นท่านราหุลสังกฤตยายัน เป็นต้น ต่อมาวันที่ ๑๑ มีนาคม ดาสเมื่อโตขึ้นได้ศึกษาในวิทยาลัยที่จันดิการ์ จากนั้นท่านเดินทางไปศรีลังกา และเริ่มสนใจพุทธศาสนาที่นั่น และสุดท้าย ๒๔๙๖ ท่านก็มรรภาพอย่างสงบ รวมอายุ ๗๘ ปี
๑.๑๓ พระภทันตะ อานันทะ เกาสลยายัน (Ven.P.Ananda Kauslanyayan)
ท่านอานันทะ เกาสลยายันเกิดเมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๔๔๘ ที่จันดิการ์ รัฐปัญจาบ พ่อเป็นครูใหญ่โรงเรียนมัธยมที่จันดิการ์นามว่า รามสรัน ท่านอุปสมบทเป็นภิกษุโดยมีธัมมานันทะเป็นอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๑ และได้ศึกษาพุทธศาสนาและบาลีเพิ่มเติมที่นั่น จนท่านอนาคาริกะ ธรรมปาละ ได้ขอร้องท่านไปอังกฤษเพื่องานพระธรรมทูต หลังจากนั้นท่านกลับมาที่อินเดีย และช่วยงานพระธรรมทูตที่สารนาถ โดยเป็นบรรณาธิการนิตยสารธรรมทูต ต่อมาท่านได้ร่วมงานกับดร.เอ็มเบ็ดการ์หลายครั้ง โดยเฉพาะการเปลี่ยนศาสนาครั้งสำคัญที่นาคปูร์ และท่านก็ช่วยงานเผยแผ่พุทธศาสนาที่นาคปูร์ถึง ๒๐ ปี และที่สุดท่านก็มรรภาพที่นาคปูร์เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๑ เมื่ออายุ ๘๐ ปี
๑.๑๔ พระธัมมรักษิตะ (Ven.Dharmarakshita)
ท่าน ธัมมรักษิตะเกิดวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๖๖ ในครอบครัวชาวฮินดูตระกูลหนึ่งใกล้เมืองกุสินารา รัฐอุตตรประเทศ ท่านเข้าศึกษาในระดับประถมในโรงเรียนที่ท่านอู จันทรมณีได้ก่อตั้งขึ้น ขณะอายุ ๙ ปี ท่านก็เข้ารับการบรรพชา ที่วัดพม่ากับท่านอู จันทรมณี ต่อมาพ.ศ.๒๔๘๗ ท่านก็เข้ารับการอุปสมบทเป็นภิกษุที่วัดพม่า จากนั้นเข้าศึกษาต่อปริญญาตรีและโทที่มหาวิทยาลัยพาราณสี และสำเร็จปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยรานจี หลังจบการศึกษาแล้วเข้าร่วมงานกับสมาคมมหาโพธิ์ที่สารนาถ ได้เป็นบรรณาธิการนิตยสารธรรมทูตภาคภาษาฮินดี ต่อมาพ.ศ.๒๔๙๙ ท่านได้เข้าร่วมเป็นคระกรรมการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๖ ที่พม่า หลังจากนั้นเข้าร่วมงานกับดร.เอ็มเบ็ดการ์ ท่านได้เขียนเรื่องวรรณะในพระไตรปิฎกให้ดร.เอ็มเบ็ดการ์ ท่านธมมรักษิตะ เป็นนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียง ผลงานการเขียนของท่านมีมากกว่า ๕๐ เล่ม จนถึงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๐ ท่านก็มรณภาพอย่างสงบ รวมอายุ ๕๔ ปี
๑.๑๕ พระกุสัก บากุร่า รินโปเช่ (Ven. Kushak Bakura Rinpoche)
ท่านรินโปเช |
ท่าน กุสัก บากุร่า เป็นผู้นำนิกายลามะที่ลาดัก แคว้นจัมมูและแคชเมียร์ของอินเดีย เกิดเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๖๐ ตรงกับวันวิสาขบูชาในราชตระกูลมาโทรของผู้ปกครองแคว้นลาดักดั้งเดิม ในสมัยเด็กท่านถูกคัดเลือกให้เป็นพระลามะผู้กลับชาติมาเกิดของพระลามะ นามว่า บากุล หลังจากนั้นท่านจึงถูกนำไปสู่วัดสปิตัก (Spitak Monastery)
เมื่อกลับจากธิเบตก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้นำวัดเปทับที่ลาดัก เมื่อพ.ศ.๒๕๐๖ ท่านได้ก่อสร้าง วัดลาดักพุทธวิหารที่เดลลี พ.ศ.๒๕๑๐ ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานสภาชาวพุทธเอเชียเพื่อสันติภาพ ต่อมาท่านถูกดึงให้เข้าสู่วิถีการเมือง ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีฝ่ายกิจการลาดักและเป็นตัวสมาชิกสภาผู้แทนรา ษฏรจากลาดัก เข้าสู่โลกสภาที่เดลลี ท่านบากุร่าจึงมีลักษณะคล้ายองค์ดาไลลามะ ที่มีตำแหน่งทั้งการเมืองและคณะสงฆ์ด้วย และสุดท้ายท่านได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลอินเดียให้เป็นเอกอัครราชทูต อินเดียประจำมองโกเลีย เมื่อพ.ศ.๒๕๓๓ เพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีกับชาวพุทธมองโกเลียอันเป็นนโยบายที่ชาญฉลาด ของรัฐบาลอินเดีย ปัจจุบันท่านมีอายุ ๘๕ ปี
๑.๑๖ ยวาห์ ลาล เนห์รู (Jawaharlal Nehru)
ยวาห์ ลาล เนห์รู |
เมื่อ ราว พ.ศ. ๒๔๙๐ หลังได้รับเอกราช อินเดียได้นายกรัฐมนตรีคนแรกนามว่า ยวาห์ราล เนห์รู ซึ่งเป็นบุตรของนายโมติลาล เนห์รู ท่านเกิดที่เมืองอิลลาหบาด รัฐอุตรประเทศ เนห์รูเป็นบุคคลที่ต่อสู้เพื่อเอกราชของอินเดียมาเคียงคู่กับมหาตมา คานธี ท่านพูกอังกฤษจับเข้าคุกบ่อยจนนับไม่ได้ในการเรียกร้องเอกราชเมื่ออังกฤษให้ เอกราชแล้ว ท่านได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก สังกัดพรรคครองเกรสท่านเป็นผู้มีคุณูปการต่อพุทธศาสนาหลายอย่างดังนี้
ก. จัดฉลองพุทธชยันตี
แม้ไม่มี ส.ส.ที่เป็นชาวพุทธเลยในรัฐสภา แต่ท่านก็ผลักดันโครงการเฉลิมฉลองสำเร็จ การฉลองกระทำกันตลอดปี ในพ.ศ.๒๔๙๙ (อินเดียนับ พ.ศ.เร็วกว่าไทยไป ๑ ปี) ในวาระครบ ๒๕๐๐ ปีแห่งพุทธศาสนา
ข. จัดสร้างพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรเทวนาครี
รัฐได้จัดสร้างพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรเทวนาครีขึ้น เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาโดยรัฐบาลเป็นผู้อุปถัมภ์ ทั้ง ๆ ที่การนำเงินแผ่นดินมาใช้ทางกิจการศาสนานั้นผิดรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญห้ามเอาเงินรัฐบาลมาสร้างศาสนาสถานในศาสนาต่าง ๆ แต่งานนี้รัฐบาลต้องผ่านร่างกฎหมายพิเศษเพื่องานนี้โดยเฉพาะ
ค. บูรณะปฏิสังขรณ์ พุทธสถานทั่วทั้งอินเดีย
พุทธ สถานในอินเดียได้รับการดูแล ขุดค้นโดยการนำของท่านเซอร์คันนิ่งแฮม ผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดี แต่ก็เป็นไปอย่างเนิ่นนาน เพราะขาดงบประมาณ เมื่อได้รับเอกราชแล้วท่านเนห์รูก็เริ่มบูรณะเป็นการใหญ่ โดยใช้งบประมาณอย่างมหาศาล พุทธสถานในอินเดียจึงได้รับการคุ้มครองให้อยู่ในสภาพดีพอสมควรจนถึงปัจจุบัน
ฆ. จัดตั้งมหาวิทยาลัยนาลันทาใหม่
รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยนาลันทาใหม่ขึ้น โดยตั้งอยู่ข้าง ๆ กับมหาวิทยาลัยนาลันทาเก่า มหาวิทยาลัยนี้พยามยามก่อตั้งโดยพระภิกษุดร.เจกัสสปะ อดีตพระสังฆนายกของอินเดีย เปิดทำการเรียนการสอน พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็นต้นมาในวิชาพุทธศาสนา บาลี สันสกฤต ฮินดี กฏหมาย รัฐศาสตร์ เป็นต้น โดยหลักสูตรตั้งแต่อนุปริญญาจนถึงปริญญาเอก ปัจจุบันมีนักศึกษาทั้งอินเดียและต่างประเทศหลายพันรูป
ง. ให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ
อินเดียมีชาวฮินดูเป็นส่วนใหญ่ เทศกาลวันหยุดเกี่ยวกับศาสนาจึงมีมากเป็นพิเศษ เช่น วันศิวาราตรี วันโฮลี วันเกิดพระกฤษณะ วันฉลองเจ้าแม่กาลี วันฉลองเจ้าแม่ทุรคา นอกนั้นก็เป็นวันหยุดของชาวมุสลิม และของชาวซิกส์ ท่านเนห์รู จึงนำเอาวันวิสาขบูชาเข้าเป็นวันหยุดประจำชาติโดยเรียกว่า พุทธปูรณิมา (Buddha Puranima) ปัจจุบันก็ยังเป็นวันหยุดราชการเช่นเดิม แต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก
จ. นำสัญลักษณ์ พุทธศาสนาไว้ในธงชาติอินเดีย
ธงชาติอินเดีย เป็นธงชาติที่ออกแบบโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ยวาห์ ลาล เนห์รู เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ |
รัฐบาลพยายามหาสัญลักษณ์ของชาติใส่ในธงชาติ ฝ่ายมุสลิมต้องการสัญลักษณ์ของตนเอง ฝ่ายฮินดู ฝ่ายซิกส์ก็เช่นกัน ท่านเนห์รูจึงให้นำสัญลักษณ์ของพุทธศาสนา คือ กงล้อธรรมจักร เพื่อเป็นการยืนยันว่าชาวอินเดียจะไม่ลืมพุทธศาสนา เพราะเมื่อเคารพธงชาติก็ย่อมเห็นสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาเมื่อนั้น ธรรมจักรนี้นำมาจากเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราชที่สารนาถ เสาหินนี้เป็นมันเงาวับ แม้จนปัจจุบันก็ยังไม่ทราบว่า ใช้น้ำยาชนิดใดขัดจึงมันวับอยู่เสมอ ในที่สุดทุกฝ่ายยอมรับหลักการนี้
ฉ. ร่างกฎหมายให้ชาวพุทธมีสิทธิ์ในพุทธคยา
ผล สำเร็จของร่างกฎหมายนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าไม่ได้รับความช่วยเหลือจากท่านเนห์รู และคณะรัฐบาลโดยส่งประธานาธิปดีราเชานทราปราสาทมาเกลี้ยกล่อมพวกมหันต์ นอกจากนั้นท่านยังสร้างสวนสาธารณะขึ้นที่เมืองนิวเดลลี โดยให้ชื่อว่า สวนพุทธชยันตี ท่านได้กล่าวทัศนะเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าว่า "เราอาจจะกล่าวได้ว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินเดียในประวัติ ศาสตร์ยุคปรมาณูนี้ เราผู้เป็นชาวอินเดียย่อมมีส่วนเกี่ยวข้องในการฉลองพุทธชยันตีนี้ยิ่งกว่า ประชาชนประเทศอื่น ๆ พระองค์เป็นประดุจดอกไม้ที่สวยงามที่สุดที่ผุดขึ้นในประเทศของเรา แล้วส่งกลิ่นหอมกระจายไปยังนานาประเทศ คำสอนของพระองค์มิใช่เฉพาะชาวอินเดียเท่านัน แต่เพื่อ่ชาวโลกทั้งมวล ข้าพเจ้ามิได้นับถือศาสนาอะไร แต่ถ้ามีการบังคับให้นับถือศาสนาแล้ว ข้าพเจ้าขอเลือกเอาพุทธศาสนา"
๑.๑๗ ดร.บาบา สาเหบ เอ็มเบ็ดการ์ (Dr. Baba Saheb Ambedkar)
ดร. บาบา สาเหบ เอ็มเบ็ดการ์ |
ท่าน ผู้นี้เกิดมาในตระกูลจัณฑาลที่ยากจนที่สุดตระกูลหนึ่งของอินเดีย ในเมืองนาคปูร์ รัฐมหาราษฎร์ ทางตอนกลางของอินเดีย เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๔๓๔ พวกเขาได้รับความเดือดร้อนทั้งจากการเหยียดหยามของพวกพราหมณ์และทางเศรษฐกิจ แม้จะยากจนขนาดไหน แต่บิดาก็พยายามส่งเสียบุตรชายให้ได้เรียนจนจบประถม ๖ เมื่อจบแล้วบิดาก็ไม่มีปัญญาส่งต่ออีก เมื่อทางมหาราชาแห่งบาโรดาทราบจึงสนับสนุนให้ศึกษาต่อจนจบปริญญาตรี ในช่วงที่เรียนได้รับการรังแกจากเด็กวรรณสูงอย่างหนัก แต่โชคดีเป็นของเอ็มเบ็ดการ์ ได้มีพราหมณ์ใจบุญคนหนึ่งทนเห็นความลำบากของเขาไม่ไหว จึงให้ใช้นามสกุลซึ่งเป็นวรรณพราหมณ์ว่า เอ็มเบ้ดการ์
เมื่อจบปริญญาตรีแล้วเขาพยายามหาทุนต่ออีกครั้งและโชคดีเป็นของเขา มีผู้ใจบุญมอบทุนการศึกษาในระดบปริญญาโท เมื่อสำเร็จแล้วก็พยายามจนได้ไปศึกษาต่อปริญญาเอก สาขาปรัชญา และกฎหมายที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย อเมริกา
เมื่อจบแล้วกลับอินเดียมาเป็นทนายความช่วยเหลือคนวรรณะศูทร จนมีชื่อเสียงโด่งดัง จึงตั้งพรรคการเมืองและลงเลือกตั้ง ส.ส. สุดท้ายได้รับการเลือกตั้งพร้อมด้วยสมาชิกหลายท่าน
เมื่ออินเดียได้เอกราช เนห์รูจึงตั้งรัฐบาลขึ้นได้เชิญพรรคของเขาร่วมรัฐบาล เขาตกลงเพราะจะได้ทำการปฏิรูปสังคมอินเดียอย่างที่เขาฝันไว้หลายอย่าง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญของประเทศ เมื่อถึงตอนนี้สิ่งที่เขาอยากทำโอกาสก็มาถึงแล้ว นั้นคือ การห้ามยึดถือวรรณะในสังคมอินเดีย ทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน ไม่ให้มีศาสนาประจำชาติ เพราะถ้ามีศาสนาฮินดูคงเป็นศาสนาประจำชาติ คนวรรณะต่ำก็ยิ่งลำบากมากขึ้น ในบทบัญญัติ ได้ห้ามกระทำพิธิกรรมอื่นใดที่เป็นผลเสียต่อแม่น้ำลำคลองหรือธรรมชาติ เพราะชาวฮินดูนิยมโยนศพคนตายลงตามแม่น้ำลำคลอง เช่น คงคา ยมุนาเป็นต้น แม้จะโดนต่อต้านอย่างหนัก แต่เหตุผลของเขาเป็นสากลที่ผู้มีการศึกษาก็ยอมรับ สุดท้ายรัฐธรรมนูญก็ผ่าน
ท่านจึงได้ชื่อว่า "บิดาแห่งรัฐธรรมนูญอินเดีย" เพราะเหตุที่โดนเบียดเบียนอย่างหนักจากฮินดู สุดท้ายจึงได้ตัดสินใจเปลี่ยนศาสนา เมื่อพ.ศ.๒๔๙๙ ก่อนหน้านี้ได้มีผู้นำหลายศาสนาส่งจดหมายมาเชื้อเชิญให้นับถือศาสนาของตน เช่น อิสลาม ซิกส์ คริสเตียน โซโรอัสเตอร์ เป็นต้น แต่ก็ไม่ตอบรับศาสนาใด ความจริงเมื่อสมัยที่เขาเป็นนักศึกษาอยู่นั้น เขาได้ศึกษาทุกศาสนารวมทั้งพุทธศาสนาด้วย แต่สุดท้ายก็เกิดความซาบซึ้ง ในพุทธศาสนา แต่ก็ไม่ได้ประกาศให้ผู้ใดทราบ
จนกระทั่งเมื่อรัฐบาลอินเดียจัดฉลองพุทธชยันตี เขาจึงได้ชักชนชนวรรณะจัณฑาลราว ๕ แสนคน ปฏิญาณตนเอง เป็นพุทธมามกะ ที่เมืองนาคปูร์ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๐๐ (ตรงกับ พ.ศ.๒๔๙๙ ของไทย) เป็นอันว่าพุทธศาสนาก็กลับมายังมาตุภูมิอีกครั้ง ผู้ที่สาบานตัวเป็นชาวพุทธ ได้กล่าวคำปฏิญญา ๒๒ ข้อของ ดร.เอ็มเบ็ดการ์ดังนี้
๑. ข้าพเจ้าจะไม่บูชาพระพรหม พระศิวะ พระวิษณุต่อไป
๒. ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อว่าพระรามและพระกฤษณะเป็นพระเจ้า ข้าพเจ้าจะไม่เคารพต่อไป
๓. ข้าพเจ้าจะไม่เคารพบูชาเทวดาทั้งหลายของศาสนาฮินดูต่อไป
๔. ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อลัทธิอวตารต่อไป
๕. ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าอวตารมาของพระวิษณุ การเชื่อเช่นนั้นก็คือคนบ้า
๖. ข้าพเจ้าจะไม่ทำพิธีสารท และบิณฑบาต (แบบฮินดูต่อไป)
๗. ข้าพเจ้าจะไม่ทำสิ่งที่ขัดต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า
๘. ข้าพเจ้าจะไม่เชิญพราหมณ์มาทำพิธีทุกอย่างต่อไป
๙. ข้าพเจ้าเชื่อว่าทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้มีศักดิ์ศรีและฐานะเสมอกัน
๑๐. ข้าพเจ้าจะต่อสู้เพื่อความมีสิทธิเสรีภาพเสมอกัน
๑๑. ข้าพเจ้าจะปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ โดยครบถ้วน
๑๒. ข้าพเจ้าจะบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศให้ครบถ้วน
๑๓. ข้าพเจ้าจะแผ่เมตตาแก่มนุษย์และสัตว์ทุกจำพวก
๑๔. ข้าพเจ้าจะไม่ลักขโมยคนอื่น
๑๕. ข้าพเจ้าจะไม่ประพฤติผิดในกาม
๑๖. ข้าพเจ้าจะไม่พูดปด
๑๗. ข้าพเจ้าจะไม่ดื่มสุรา
๑๘. ข้าพเจ้าจะบำเพ็ญตนในฌาน ศีล ภาวนา
๑๙. ข้าพเจ้าจะเลิกนับถือศาสนาฮินดู ที่ทำให้สังคมเลวทราม แบ่งชั้นวรรณะ
๒๐. ข้าพเจ้าเชื่อว่าพุทธศาสนาเท่านั้นเป็นศาสนาที่แท้จริง
๒๑. ข้าพเจ้าเชื่อว่าการที่ข้าพเจ้าหันมานับถือพุทธศาสนานั้นเป็นการเกิดใหม่ที่แท้จริง
๒๒.ตั้งแต่นี้เป็นต้น ข้าพเจ้าจะปฏิบัติตามคำสอนของพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด
หลังจากปฏิญาฌตนเป็นพุทธมามกะแล้ว เขากล่าวว่า "ข้าพเจ้าเกิดมาจากตระกูลที่นับถือศาสนาฮินดู แต่ข้าพเจ้าจะขอตายในฐานะพุทธศาสนิกชน"
เมื่อ นักหนักสือพิมพ์ ถามเหตุผลในการนับถือศาสนาพุทธ เขากล่าวว่า "เพราะการกระทำอันป่าเถื่นของชาวฮินดู ที่มีต่อวรรณะหริจันทร์เช่นเรามานานกว่า ๒๐๐๐ ปี" พร้อมกันนั้นท่านกล่าวต่อว่า "พอเราเกิดมาก็ถูกตราหน้าว่าเป็นวรรณะหริจันทร์ซึ่งมีค่าต่ำกว่าสุนัข อะไรจะดีเท่ากับการผละออกจากสัทธิป่าเถื่อน ปลีกตัวจากมุมมืดมาหามุมสว่าง พุทธศาสนาได้อำนวยสุขให้ทุกคนโดยไม่เลือกหน้า โดยไม่เลือกว่าเป็นวรรณะกษัตรย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ความจริงข้าพเจ้าขอกล่าวว่าระบบวรรณะควรจะสูญไป จากอินเดียเสียที แต่ตราบไดที่ยังนับถือพระเวทอยู่ ระบบนี้ก็ยังคงอยู่กับอินเดียตลอดไป อินเดียก็จะได้รับความระทมทุกข์ ความเสื่อมโทรมตลอดไปเช่นกัน พวกพราหมณ์พากันจงเกลียดจงชังพุทธศาสนา แต่หารู้ไม่ว่าพระสงฆ์ในพุทธกาล ๙๐% เป็นคนมาจากวรรณะพราหมณ์ทั้งนั้น ข้าพเจ้าอยากจะถามพวกพราหมณ์ในปัจจุบันว่าเกิดอะไรขึ้นกับพวกเขาหรือ"
หลัง จากประกาศตนเป็นพุทธมามกะได้ ๓ เดือน ดร.บาบา สาเหบ เอ็มเบ็ดการ์ ก็ถึงแก่มรรณกรรม เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๐ (ตรงกับพ.ศ.๒๔๙๙ ของไทย) สร้างความยุ่งเหยิงให้แก่คนวรรณะต่ำเป็นอย่างยิ่ง เพราะได้นำทางพวกเขาเดินยังไม่ถึงจุดหมายก็พาลสะดุดเสียก่อนเหมือนเรือขาด หางเสือ ในเหตุมรณกรรมนี้บางคนเชื่อว่าถูกเขาวางยาพิษโดยภรรยาเพราะหล่อนเป็นฮินดู วรรณะ พราหมณ์ ปัจจุบันพวกอธิศูทรให้มีฐานะ สูงขึ้นในอินเดียจึงมีบทสวดต่อจากสังฆรัตนะว่า พิมฺพํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าของถึงพิมเป็นที่พึ่ง (พิมเป็นชื่อเดิมของดร.เอ็มเบ็ดการ์) อินเดียก่อนได้รับเอกราชมีชาวพุทธไม่ถึงแสนคน จนในปัจจุบันมีประมาณสิบล้านคนเศษ เป็นเพราะผลพวงของการปฏฎิญาณตนเป็นชาวพุทธของ ดร. เอ็มเบ็ดการ์ นั้นเอง ส่วนสถานการณ์พุทธศาสนาในปัจจุบัน เหมือนคนที่ฟื้นไข้ยังไม่สมบูรณ์ ยังต้องการแรงพยุงเกื้อหนุน จากชาวพุทธทั่วโลก เพื่อให้พวกเขามีความภูมิใจในศาสนาของเขาเพราะส่วนมากเป็นคนวรรณะต่ำที่ถือ ตามดร.เอ็มเบ็ดการ์บิดาผู้นำชาวพุทธยุคปัจจุบัน
นอกจากท่านเหล่านี้แล้ว ยังมีนักปราชญ์ทางพุทธศาสนาชาวอินเดียหลายท่าน ที่ช่วยงานด้านพุทธศาสนาให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น เช่นท่านอโยธยา ทาส, ท่านโปรเฟสเซอร์ พี ลักษมี นาราสุ, ดร.อานันทราวแอล.แนร์,ท่านซี กฤษณัน, โปรเฟสเซอร์เอ็น.เค.ภควัต, ดร.บี.เอ็ม บารัว ดร.อาร์.แอล. โซนี่, โปรเฟสเซอร์ดีซี อหีร์ เป็นต้น
พม่า | |
๑.๑๘ พระอู. จันทรมณี (Ven.U.Chandramani)
พระอู จันทรมณี |
ท่านอู จันทรมณี เป็นชาวพม่า เกิดเดือนพฤษภาคม เมื่อพ.ศ.๒๔๑๙ ครอบครัวชาวพุทธที่เคร่งรัดของพม่าในจังหวัดอารกัน ในวัยเด็กท่านเป็นคนรักสงบและสันโดษ พ.ศ.๒๔๓๑ ท่านก็บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดใกล้บ้าน ได้รับนามใหม่ว่าจันทะ ท่านเป็นลูกศิษย์ของท่านพระจันทิมา พระเถระชื่อดังในสมัยนั้น พ.ศ.๒๔๓๔ ท่านอนาคาริก ธรรมปาละของร้องท่านจันทิมาเพื่อส่งพระสงฆ์ มาทำงานที่ธรรมทูตที่อินเดีย ท่านจึงได้ตัดสินใจส่งสามเณรจันทะและสุริยะไป กัลกัตตา ต่อมาทั้งสองก็เดินทางต่อไปพักที่พุทธคยา ต่อมาด้วยการรู้เห็นเป็นใจของมหันต์ โจนก็เข้าปล้นที่พักของท่านและทุบตี พระเณรอย่างรุนแรง จึงตัดสินใจเดินทางกลับและเข้ามาศึกษาภาษาฮินดีที่กัลกัตตาอีกครั้ง
พ.ศ. ๒๔๔๖ ท่านเดินทางไปอุปสมบที่พม่า แล้วได้รับฉายาว่า จันทรมณี แล้วเดินทางกลับอินเดียพักที่กุสินารากับท่านมหาวิระ เวลานั้นกุสินาราอยู่ในความดูแลของกรมโบราณคดีของอินเดีย แต่ก็ไม่ได้รับการดูแลมากนัก และมีชาวพุทธไปกราบบูชาน้อย ท่านได้เริ่มพัฒนาดูแลโบราณสถานที่กุสินารา จนเป็นสถานที่รื่นรมย์ ต่อมาได้สร้างธรรมศาลาสำหรับผู้จาริกแสวงบุญหลายแห่งทั้งกุสินารา สาวัตถีึและลุมพินี
พ.ศ.๒๔๗๐ ท่านได้เริ่มบูรณะสถูปที่กุสินารา จากนั้นได้สร้างวัดปี ๒๔๗๗ มีชาวอินเดียหลายท่านที่ศรัทธาและเข้ารับการอุปสมบทจากท่านเช่น พระอมฤตานันทะ พระธัมมรักษิตะ พระชินนันทะ พระสัตยานันทะ พระสังฆรักษิตะ พระวิชยนันทะพระวิชุตานันทะ เป็นต้น ปี ๒๔๙๙ (ในอินเดียคือพ.ศ.๒๕๐๐) ท่านก็ได้เป็นอาจารย์ของ ดร.เอ็มเบ็ดการ์ และถูกนิมนต์ไปเป็นประธานในการปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธที่นาคปูร์ ท่านอู จันทรมณี มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๑๕ ที่กุสินารา
ญี่ปุ่น | |
๑.๑๙ พระฟูจิอิ คุรุจี (Ven.Fujii Guruji)
พระฟูจิอิ คุรุจี |
ท่าน นิชิดัตสุ ฟูจิอิ (Ven. Nichidatsu Fujii) เป็นชาวญี่ปุ่น เกิดเมื่อ วันที่ ๖ สิงหาคม ๒๔๒๘ ในตระกูลชาวนาที่เกาะเคียวชู เมื่อโตขึ้นท่านสนใจในนิกายนิชิเรน อันเป็นพุทธศาสนานิกายหนึ่งของญี่ปุ่น นิกายนี้ศรัทธาในสัทธัมมปุณฑริกสูตร (Lotussutta) เมื่ออายุ ๑๙ ปี ท่านบรรพชาเป็นสามเณรโดยมีพระนิชิอิ อาดะชิเจ้าอาวาสวัดฮอนจิเป็นอุปัชฌาย์ พ.ศ.๒๔๖๐ ท่านเริ่มงานเผยแผ่พุทธศาสนานิกายนิชิเรน ทั่วทั้งเกาะญี่ปุ่นต่อมาก็เดินทางเข้าเกาหลีจีน แมนจูเรีย (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของจีน) ท่านเดินทางกลับญี่ปุ่นแล้วสร้างวัดที่อำเภอฟูจิต่อมาท่านนิชิเรนผู้ก่อตั้ง นิกายได้ทำนายว่าพุทธศาสนาแบบญี่ปุ่นอาจเจริญได้ในอินเดีย ด้วยแรงบันดาลใจดังกล่าวท่านเริ่มงานเผยแผ่พุทธศาสนาในอินเดีย ฮ่องกง สิงคโปร์ จากนั้นท่านเดินทางไปบอมเบย์ เพื่อเผยแผ่ลัทธิแต่ก็ไม่สำเร็จมากนัก
พ.ศ. ๒๔๗๘ ท่านได้เริ่มสร้างวัดที่กัลกัตตา พ.ศ.๒๔๗๙ นอกจากนั้นท่านยังได้พระเทนโจ วานาตาเบ้ มาช่วยงานเพิ่ม ต่อมาสร้างวัดที่บอมเบย์ แต่งานยังไม่เสร็จเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ อังกฤษจึงกักตัวท่านและลูกศิษย์ไว้ เพราะอังกฤษกับญี่ปุ่นเป็นศัตรูกัน งานก่อสร้างวัดเริ่มสำเร็จเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙ ต่อมาเริ่มงานสร้างวัดที่ราชคฤห์ โดยมีรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอินเดียเป็นประธานงานวางศิลาฤกษ์ เริ่มพ.ศ. ๒๕๐๘ โดยมี ดร.ราธกฤษณัน ประธานาธิบดีของอินเดียเป็นประธาน นอกจากนั้นท่านยังได้เริ่มสร้างวัดญี่ปุ่นใกล้วัดเวฬุวัน ด้านล่างด้วย งานก่อสร้างสำเร็จ พ.ศ.๒๕๒๔ นอกจากนั้นท่านยังได้สร้างวัดและเจดีย์ไว้มากมายหลายแห่งในอินเดีย เช่น ที่รัฐโอริสสา ที่ดาร์จีลิง รัฐเบงกอล ที่ลาดัก รัฐจัมมู และแคชเมียร์ที่ไพศาลีรัฐอุตตรประเทศ ท่านฟูจีอิ นับเป็นพระสงฆ์ ญี่ปุ่น องค์เดียวที่ได้สร้างผลงานทางพุทธศาสนาได้อินเดียมากที่สุด ท่านเสียชีวิต เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๒๘ รวม อายุได้ ๑๐๐ ปี
อังกฤษ | |
๔.๒๐ เซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม (Sir Alexander Cunningham)
เซอร์คันนิ่งแฮม |
ท่าน เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ไม่ใช่ชาวพุทธ แต่เป็นผู้มีบทบาทอย่างใหญ่หลวงในการบูรณะขุดค้นพุทธสถาน จนอินเดียให้ความสำคัญกับพุทธศาสนาอีกครั้งหนึ่ง นักโบราณคดีชาวอังกฤษท่านนี้เกิดเมื่อพ.ศ.๒๓๕๗ ที่ลอนดอน เข้ารับราชการเป็นทหารในกองทัพอังกฤษจนได้ตำแหน่งเป็นนายพล ท่านมีความสนใจในโบราณคดีเป็นอย่างมาก ต่อมาได้เดินทางมาอินเดียเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒ ก่อนได้รับเอกราชเล็กน้อย ท่านได้ศึกษาหนังสือไซฮกกี่หรือ บันทึกการเดินทางสู่ประเทศตะวันตกของพระถังซัมจั๋งอย่างจริงจัง ในที่สุดจึงเดินทางไปอินเดียที่อังกฤษปกครองอยู่ขณะนั้น ได้ทำการขุดค้นโบราณสถานของพุทธศาสนาในอินเดียหลายแห่ง โบราณสถานที่จมดินอยู่หลายร้อยปีก็ได้ปรากฏแก่ชาวอินเดียหลายแห่ง โบราณสถานที่จมดินอยู่หลายร้อยปีก็ได้ปรากฏแก่ชาวอินเดียและชาวโลกอีกครั้ง หนึ่ง จึงทำให้ชาวอินเดียได้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนาอีกครั้ง ทำให้พวกเขาสนใจและตื่นตัวมาอีกครั้งหนึ่ง และมีความสนใจใคร่รู้เรื่องราวของพุทธศาสนายิ่งขึ้น ท่านเป็นบุคคลเช่นท่านแล้วพุทธศาสถานหลายแห่งคงหายสาบสูญไป เพราะโดนทำลายจากความต้องการพื้นที่การเกษตรของชาวนาและพวกล่าสมบัติ พ.ศ. ๒๔๑๙ ท่านได้ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นปัจจุบันไว้ในจุดเดิม ในขณะที่ต้นเก่าล้มลงตามธรรมชาติด้วยพายุ ท่านเซอร์ไม่ได้เป็นชาวพุทธ แต่ก็เป็นผู้มีคุณต่อพุทธศาสนาอย่างมาก
๑.๒๑ เซอร์เอ็ดวิล อาร์โนลด์ (Sir Adwild Arnold)
เซอร์เอ็ดวิล อาร์โนลด์ |
เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๓ เซฮร์เอ็ดวิลอาร์โนลด์ นักประพันธ์ที่เรืองนามของอังกฤษ ก็ได้เขียนบทความเกี่ยวกับพุทธศาสนาลงตีพิมพ์ในวารสาร เผยแผ่ในยุโรปทำให้ชาวยุโรปรู้จักพุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้น ท่านได้เดินทางมาชมพุทธคยาซึ่งช่วงนั้นถูกยึดครองโดยพวกมหันต์ซึ่งเป็นนัก บวชฮินดูนิกายหนึ่ง ท่านได้เห็นความเสื่อมโทรมของพุทธคยา ซึ่งถูกปล่อยปละละเลยและการสร้างศาสนสถานของฮินดูครอบคลุมพื้นที่หลายแห่ง แม้ภายในพระเจดีย์ก็นำแท่งศิวลึงค์ขนาดใหญ่มาตั้งไว้ข้างหน้าพระพุทธรูป ท่านจึงเกิดความสลดใจเป็นอย่างยิ่ง จึงเขียนรายงานไปยังรัฐบาลอังกฤษที่ปกครองอินเดียขณะนั้น ช่วยบูรณะปกปักรักษาพุทธสถานบ้าง นอกจากนั้นท่านยังได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งมีชื่อว่า ประทีปแห่งเอเชีย (The Light of Asia) ซึ่งเป็นหนังสือที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าและพุทธศาสนาที่โด่ง ดังมากที่สุดเล่มหนึ่งในโลก จึงอาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้มีบบาทสำคัญคนหนึ่งที่ทำให้พุทธศาสนาเป็นที่ รู้จักในวงกว้างทั่งในโลกตะวันออกและตะวันตก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น