๑. สร้างถ้ำเอลโลร่า (Ellora Cave) |
พระพุทธรูปแกะสลักที่ถ้ำเอลโลร่า |
พ. ศ.๑๑๐๐ ในยุคนี้คณะสงฆ์โดยการสนับสนุนของกษัตริย์ ในอินเดียตะวันตกได้สร้างผลงานที่สำคัญและใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวด นั่นคือการเจาะภูเขาสร้างวัดทางพุทธศาสนาขึ้นที่เอลโลร่า (Ellora Cave) ห่างจาก เมืองออรังคบาด รัฐมหราษฎร์อินเดียตะวันตกราว ๓๐ กิโลเมตร เอลโลร่าสร้างทีหลังถ้ำที่อชันตาถึง ๘๐๐ ปี เป็นถ้ำที่สวยงาม แต่เมื่อสร้างได้ราว ๑๒ ถ้ำก็หยุดก่อสร้างต่อมาศาสนาฮินดูและเชนก็มาสร้างร่วมด้วย โดยเป็นของฮินดู ๑๗ ถ้ำ ของเชน ๕ ถ้ำ รวม ๓๔ ถ้ำ และที่พิศดารที่สุดคือถ้ำฮินดู นายช่างได้ออกแบบเจาะภูเขาลงมาจากด้านบน เป็นรูปวัดฮินดูที่สวยงามหยดย้อย ในขณะที่ศาสนาพุทธและเชนใช้วิธีแกะสลักเข้าไปในภูเขา ถ้ำเอลโลร่าเป็นถ้ำของพุทธศาสนานิกายมหายานล้วน สร้างจนถึง พ.ศ.๑๔๐๐ ก็หยุดไป
พ.ศ.๑๑๕๐ กษัตริย์ศศางกะ (Sashanka) ครองราชย์อยู่ในแคว้นเคาฑะ ในเขตเบงกอลปัจจุบัน เป็นกษัตริย์ฮินดู หัวรุนแรง ได้ปลงพระชนม์กษัตริย์ที่นับถือพุทธศาสนานามว่า ราชวรรธนะ และสังหารพระภิกษุแถวเมืองกุสินาราหมดไป ทำให้คณะสงฆ์แถวนี้ขาดสูญ จากนั้นยังได้โค่นต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๒ ที่พุทธคยา (ต้นแรกได้ตายไป เพราะพระมเหสีของพระเจ้าอโศกเอายาพิษและน้ำร้อนลวก) แล้วขุดรากขึ้นมาเผา จากนั้นได้นำเอาพระพุทธรูปออกจากวิหารพุทธคยา แล้วเอาศิวลิงค์เข้าไปไว้แทน ปัจจุบันแม้จะได้มีการร้องเรียนให้เอาออกแล้ว แต่ฐานของศิวลึงค์ยังปรากฏอยู่ ศศางกะได้ทำลายพุทธศาสนาลงอย่างมาก แม้เหรียญตราของกษัตริย์นี้ยังเขียนว่า "ผู้ปราบพุทธศาสนา"
เมื่ออำนาจของศศางกะหมดไปแล้วในขณะที่ราชวงศ์ใหม่ของอินเดียก็เริ่มแผ่อำนาจกว้างขวาง มากยิ่งขึ้นโดยมีราชธานี อยู่ที่เมืองธเนศวร (Danesvar) ราชวงศ์นี้คือ ราชวงศ์วรธนะ (Vardana Kynasty) สถาปนาโดยพระเจ้านรวรรธนะ (Naravardana) โดยที่พระเจ้านรวรรธนะเป็นกษัตริย์ที่นับถือศาสนาฮินดู พุทธศาสนาในยุคนี้จึงค่อนข้างซบเซาแต่ก็ไม่ถึงกับเสื่อมถอย ครั้นเมื่อพระเจ้านรวรรธนะสวรรคตแล้ว พระโอรสนามว่าราชยวรรธนะ (Rafyavardana) ก็ปกครองต่อมา พระองค์ก็ยังนับถือศาสนาฮินดู นิกายไศวะ ต่อจากพระเจ้าราชยวรรธนะแล้ว กษัตริย์องค์ต่อมาที่ปกครองธเนศวรคือ พระเจ้าอาทิตยวรรธนะ (Adityavardana) ต่อมาเมื่อพระองค์สวรรคต แล้วพระโอรสคือพระเจ้าประภากรวรรธนะ ก็ทรงครองราชย์ต่อมา ราชวงค์นี้ทั้ง ๔ พระองค์ล้วนนับถือศาสนาฮินดู แต่ก็ไม่ได้เบียดเบียนพุทธศาสนาแต่อย่างใด เพียงแต่ไม่ได้รับพระบรมราชูปถัภ์เท่านั้น แต่พสกนิกรส่วนมากยังนับถือพุทธศาสนา พระเจ้าประภากรวรรธนะมีพระโอรส ๑ พระองค์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคหลังของอินเดีย เป็นกษัตริย์ที่มีบุญญานุภาพแผ่ไพศาลทั่วชมพูทวีป และพระองค์มีบทบาทสำคัญที่ฟื้นฟูพุทธศาสนาที่ถูกทำลายไปหลายสมัยให้กลับมารุ่งเรืองดังเดิม พระองค์คือ พระเจ้าหรรษวรรธนะ (Harsa Vardhana) หรือ พระเจ้าสีลาทิตย์ (Siladitya)
๒. พระเจ้าหรรษวรรธนะ (Harsavardhana) |
พระเจ้าหรรษวรรธนะหรือพระเจ้าศรีลาทิตย์ ประสูติราว พ.ศ. ๑๑๔๐ เป็นพระโอรสของพระเจ้าประภากรวรรธนะแห่งเมืองธเนศวร เมืองหลวงของพระองค์คือเมืองกันยากุพชะ (Kanyakubja) หรือกาโนช (ปัจจุบันอยู่ใกล้เมืองลัคเนาว์ Lucknow เมืองหลวงรัฐอุตตรประเทศในปัจจุบัน) ต่อมาพระเชษฐาคือ พระเจ้าราชยวรรธนะถูกกษัตริย์ศศางกะจากเบงกอลลอบปลงพระชนม์เมื่อเจริญ วัยได้ถูกเชิญขึ้นครองราชย์ มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า
พระเจ้าหรรษวรรธณะ บริจาคทานที่เมืองประจาค |
ใน คราวที่ทรงพระเยาว์นั้นพระองค์ทรงลำบากมาก เมื่อพระบิดาสวรรคตแล้ว พระมารดาก็กระโดดเข้ากองไฟตายตามพระสวามี พระเชษฐา ชื่อว่า ราชยวรรธนะ (Rashya Vardhana) ก็ถูกพระเจ้าศศางกะปลงพระชนม์พระองค์จึงขึ้นครองราชย์เมื่ออายุยังน้อยคือ อายุ ๑๕ พรรษา เมื่อครองราชย์แล้ว จึงกำจัดศศางกะเป็นภัยต่อพุทธศาสนาเสีย ได้ถวายการอุปถัมภ์แก่พระสงฆ์เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังได้ทำมหาทานที่เมืองประยาค (Prayak) หรืออัลลาหบาด (Allahabad) ในสมัยปัจจุบัน โดยนิมนต์พระสงฆ์ในพุทธศาสนาและเชนตลอดทั้งฮินดูมาถวายทานตลอด ๗ วัน โดยทำ ๕ ปีต่อครั้ง พระองค์ดำเนินรอยตามพระจริยาวัตรของพระเจ้าอโศกมหาราช โดยการประกาศห้ามกินเนื้อห้ามฆ่าสัตว์ สร้างศาลาโรงธรรม โรงพยาบาลทั้งคนและสัตว์และครองราชย์โดยทศพิธราชธรรมทำให้มีความผาสุขทั่ว หน้า นอกจากเป็นนักปกครองที่มีความสามารถ แล้วพระองค์ยังเป็นนักกวีและนักวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงอีกด้วย ผลงานการประพันธ์ของของพระองค์ที่ตกทอดมาจนถึงปจจุบันที่เด่น ๆ ๓ เรื่องคือ รตนาวลี (Ratnavali) ปริยทรรศิกา (Priyadarsika) นาคานันทะ (Nagananda) เป็นต้น พระองค์ครองราชย์อยู่ ๔๐ ปี จึงสวรรคต ในยุคของพระองค์ได้มีพระสงฆ์จีนที่มีชื่อเสียมากที่สุด ในบรรดาพระสงฆ์จีนที่ไปแสวงบุญที่อินเดีย ท่านคือพระถังซัมจั๋ง ซึ่งมีประวัติย่อ ๆ คือ
๓.จดหมายเหตุพระถังซัมจั๋ง (Hiuen Tsang)
พระถังซำจั๋งเดินทางผ่านทะเลทรายพร้อมม้าคู่ใจ |
พระ ถังซัมจั๋งนามเดิมว่า เฮี่ยนจัง นามสกุลแช่ตั๋น ชาวเมืองตันหลิวมณฑลฮนาน ราว พ.ศ.๑๑๔๕ เกิดในตระกูลขุนนางเดิม บิดาเป็นนักปราชญ์ฝ่ายขงจื้อสมัยพระจักรพรรดิถังไท่จงฮ่องเต้ ครั้นอายุได้ ๑๓ ปี ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรตามพี่ชายที่ได้บรรพชาก่อนหน้านี้แล้ว บวช แล้วเป็นคนเฉลียวฉลาดเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป เมื่ออายุครบบวชก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ต่อมาเมื่อได้ศึกษาธรรมกับอาจารย์หลายท่านจึงเห็นความไม่ร่องรอยความบกพร่อง ของคัมภีร์ในสมัยนั้น จึงมีดำริที่จะไปสืบศาสนาและนำคัมภีร์พระไตรปิฎกจากอินเดีย แต่ไม่ได้รับอนุญาตเพราะประเทศเพิ่งเปลี่ยนรัชกาลจึงไม่อนุญาตให้คนออกนอก ประเทศ ลุถึงปี พ.ศ.๒๒๗๒ จึงแอบเดินทางโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยเลือกเดินทางเฉพาะกลางคืน ท่านเดินทางผ่านเมืองอู้อี้ เกาเชียง อัคนี คุจี พาลุกา ซุเย แบะจุ้ย สมารคันต์ ตุขารา กปิศะ บามิยัน ตักกศิลา ชาลันธร จนถึงอินเดียเหนือ ได้ผ่านอุปสรรคมากมาย โดยผ่านทะเลทรายโกบีและตามสายทางที่ผ่านมามองเห็นกองกระดูกเรียงราย ท้องฟ้าว่างเปล่า บนฟ้าไม่เห็นแม้กระทั่งวิหกบิน สุดท้ายก็เดินทางมาถึงอินเดียโดยปลอดภัย ท่านรายงานสถานการณ์พุทธศาสนาของอินเดียยุคนั้นอย่างละเอียด โดยสรุปดังนี้
๑.บามิยัน (ปัจจุบันอยู่ห่างกรุงคาบูลไปทางตะวันตกของอัฟกานิสถาน) ที่นี่มีอาราม ๑๐ แห่ง พระสงฆ์หลายพันรูป ล้วนเป็นฝ่ายโลกุตตรยานสังกัดนิกายหินยานพระสงฆ์ทึ่มีชื่อเสียง ท่านอารยทูตกับอารยเสนมีความรู้ดีในพระธรรมวินัยเป็นอย่างดีที่เนินขาของนคร หลวงมีพระพุทธรูปยืนจำหลัก ด้วยศิลาสูง ๑๕๐ เฉี้ยะ ถัดจากนี้ไปมีอารามและพระปฏิมาจำลักด้วยแก้ว กาจสูง ๑๐๐ เฉี๊ยะ อารามนี้มีพระพุทธไสยาสน์ยาว ๑,๐๐๐ เฉี้ยะ บรรดาพระพุทธรูปเหล่านี้ล้วนเป็นฝีมือที่ปราณีตสวยงาม นอกนั้นยังมีอารามประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วพระทันตธาตุของพระปัจเจกพุทธะใน อดีต
๒.กปิศะ มีอาราม ๑๐๐ แห่ง มีอารามชื่อสาโลกที่พระโอรสพระเจ้าแผ่นดินจีนสร้างถวาย พระราชาเป็นพุทธมามกะที่เคร่งครัด ที่นี่มีพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงคือท่านปรัชญากร , มโนชาญโฆษา, ท่านอารยวรมัน ,คุณภัทรที่เมืองลัมพะมีอาราม ๑๐ แห่งพระสงฆ์ล้วนเป็นนิกายมหายาน
๓.คันธาระ แคว้นนี้มีนักปราชญ์ทางมหายานเกิดมากมายเช่น พระนารายณเทพ อสังคโพธิสัตว์ วสุพันธุโพธิสัตว์ ธรรมตาร มโนรถ ปารศรวเถระที่นี่มีสถานที่ประดิษฐานบาตรของพระพุทธองค์ มีสถูปที่พระเจ้ากนิษกะสร้างสูง ๔๐๐ เฉี๊ยะมีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานด้านใน
๔.แคว้นอุทยาน ตั้งอยู่ระหว่างฝั่งแม่น้ำศุภวัสดุ แต่ก่อน (พระถังซัมจั๋งจะมา) มีพระสงฆ์ ๑๘,๐๐๐ รูป อาราม ๑,๔๐๐ แห่ง แต่ลดลงเหลือน้อยกว่าเดิม นอกนั้นยังมีรอยพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่อีกอารามหนึ่งเป็นที่ประดิษฐานรูป พระเมตไตรย์โพธิสัตว์จำหลักด้วยไม้จันทร์หอม
๕.กัศมีร์ (หรือแคชเมียร์) มีอาราม ๑๐๐ แห่งพระสงฆ์ ๕,๐๐๐ รูปมีสถูปวิจิตรสวยงาม ๔ องค์ พระเจ้าอโศกเป็นองค์สร้างไว้ สถูปทุก ๆ องค์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้อารามที่พระถังซัมจั๋งพำนักชื่อหุษก, ชเยนทรพระอาจารย์ผู้เป็นสังฆปาโมกข์อยู่ที่เมืองกัศมีร์นี้ เป็นผู้เคร่งพระธรรมวินัยและเชี่ยชาญในพระไตรปิฏก นอกนั้นยังมีพระเถระที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นคือ พระวิสุทธิสิงห์, พระชินพันธ์, พระสุคตมิตร, พระวศุมิตร,พระสูรยเทพ พระชินตราด เป็นต้น
๖.มถุรา มีสูปบรรจุอัฐิธาตุของพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะพระปุณณมันตานีบุตร,พระอุบาลี,พระอานนท์,พระราหุล,พระมัญชุศรี ทุกปีพระสงฆ์และคฤหัสถ์จะมาชุมนุมสักการะสถูปต่าง ๆ ที่ตนเองนับถือ เช่นผู้ใฝ่อภิธรรมก็บูชาพระสารีบุตร,ผู้ใฝ่สมาธิบูชาพระโมคคัลลานะ, ผู้ศึกษาพระสูตรบูชาพระปุณณมันตานีบุตร,ผู้สนใจวินัยบูชาพระอุบาลี,สามเณร บูชาพระราหุล นอกนั้นยังมีอารามบนภูเขาที่พระอุปคุปต์เป็นผู้สร้าง
๗.กันยากุพชะ (ลัคเนาว์ เมืองหลวงของรัฐอุตรประเทศปัจจุบันมีอาราม ๑๐๐ แห่ง พระสงฆ์ราว ๑๐,๐๐๐ รูป สังกัดทั้งฝ่ายมหายานและหินยาน มีสถูป ๒ แห่งที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างขึ้น ที่เมืองนี้ท่านพำนัก ณ วัดภัทรวิหาร พระเถระที่มีชื่อเสียงแห่งกันยากุพชะคือ พระวีรเสนที่ชำนาญในพระไตรปิฎกเป็นอย่างดี
๘.อโยธยา มีพระสงฆ์หลายพันรูป มีวัดประมาณ ๑๐๐ แห่ง พระสงฆ์สังกัดทั้งมหายานและหินยาน นอกเมืองยังมีสถูปที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างไว้ เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่พระพุทธองค์มาแสดงธรรมที่นี้ ๓ เดือน ที่นี่ท่านถูกโจรปล้น และหวังจะประหารชีวิตท่าน เพื่อสังเวยเจ้าแม่ทุรคาแต่ก็รอดมาได้ด้วยบุญบารมี
๙.โกสัมพี มีอาราม ๑๐ แห่ง พระสงฆ์ราว ๑๐๐ รูป มีวิหารใหญ่สูง ๖๐๐ เฉี้ยะ ประดิษฐานพระพุทธรูปจำหลักด้วยไม้จันทน์ โดยมีพระเจ้าอุเทนเป็นคนสร้างขึ้น นอกจากนั้นยังมีอารามของโฆสิตเศรษฐี และกุกกุฏเศรษฐีสร้างถวายพระพุทธเจ้า แต่หักพังไปบ้างแล้ว
๑๐.สาวัจตถี มีอารามหลายร้อยแห่ง พระสงฆ์หลายพันรูป โดยมากสังกันนิกายสัมมิติยะ มีซากสถูปที่ พระเจ้าปเสนทิโกศลสร้างถวายพระพุทธเจ้าซากพระเชตวันมหาวิหาร , เสาอโศก ๒ ต้น มีพระพุทธรูปทอง ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลสร้างขึ้น เมื่อคราวอาลัยที่พระพุทธองค์ไปโปรดพระมารดาที่สวรรค์ชั้นดุสิต
๑๑. กุสินารา มีสถูปที่พระเจ้าอโศกสร้างขึ้นตรงบ้านนายจุนทะที่ได้ถวายอาหารมื้อสุดท้ายมีพระพุทธรูปก่อด้วยอิฐลักษณะสมัยมถุรา และสถูปใหญ่สูง ๒๐๐ เฉี๊ยะ ที่สร้างภายในสถานที่ปรินิพพาน ประดิษฐานอยู่ปางปรินิพพาน และเสาศิลาจารึกของพระเจ้าอโศก
๑๒.พาราณสี เมืองนี้มีชาวพุทธน้อย โดยมากนับถือลัทธินอกศาสนา มีอารามในเมืองพาราณสีราว ๓๐ แห่ง มีพระสงฆ์ ๓,๐๐๐ รูป สังกัดนิกายสัมมิติยะของหินยาน แต่มีเทวาลัยถึง ๑๐๐ แห่ง มีนักบวชเป็นหมื่นบางคนโกนหัว แต่บางคนขมวดผมเป็นปม พวกเขาชอบเอาขี้เถ้าทาตัวบางพวกเปลือยกาย พวกเขาทำอย่างนี้เพราะต้องการบรรลุธรรม และที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (สารนาถ) มีพระสงฆ์ ๑,๕๐๐ รูป ล้วนนิกายหินยานมีสถูปของพระเจ้าอโศกสร้าง เสาหินสูงกว่า ๗๐ เฉี๊ยะ
๑๓.แคว้นมคธ มีพระสงฆ์ ๑๐,๐๐๐ รูป โดยมากเป็นฝ่ายมหายาน อารามมีมากกว่า ๕๐ แห่ง ที่เมืองนี้ยังมีเสาอโศกและแผ่นศิลารอยพระพุทธบาทอีกด้วย
๑๔.ที่แคว้นตามรลิปติ (ปากอ่าวเบงกอล สันนิษฐานว่าเป็นเมืองกัลกัตตาปัจจุบัน) มีอาราม ๑๐ แห่ง มีพระสงฆ์ราว ๑,๐๐๐ รูป สังกัดนิกายหินยาน นอกนั้นยังมีสถูป ๒๐๐ เฉี๊ยะ ที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้ด้วยมีพระราชาพระนามว่าพระกุมารราชาปกครองเมืองนี้
นอกจากนั้นท่านพระถังซัมจั๋งยังได้ไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยนาลันทากับพระอาจารย์ศีลภัทรองค์อธิการบดี เป็นเวลาถึง ๑๕ ปี ที่นี่มีนักศึกษาราวหมื่นรูป อาจารย์พันห้าร้อยท่าน แต่ที่ได้รับยกย่องและดูแลอย่างดีมีเพียง ๑๐ รูปเท่านั้น อารามนาลันทาได้ถูกสร้างและต่อเติมมาโดยลำดับนับจาก พระเจ้าอโศกมหาราช พระเจ้าศักราทิตย์ พระเจ้าพุทธคุปตะ พระเจ้าตถาคตราชาพระเจ้าพาลาทิตย์ พระเจ้าวชิรราชา รวม ๖ พระองค์ นาลันทา เป็นสถานศึกษาฝ่ายมหายาน โดยศึกษาทั้ง ๑๘ นิกาย รวมทั้งพระเวท เหตุวิทยา ศัพทวิทยาจิกิตสาวิทยา สางขยะวิทยา เป็นต้น
มาถึงสมัยพระเจ้าหรรษวรรธนะมหาวิทยาลัยก็ได้รับการอุปถัมภ์เป็นอย่างดี ในที่สุด พระถังซัมจั๋งก็อำลาพระเจ้าหรรษวรรธนะ พระกุมารราชาแห่งเบงกอลตะวันออก และพระราชาแห่งอินเดีย ๑๘ แคว้น กลับสู่ประเทศจีน โดยกลับไปเส้นทางเดิม เมื่อเข้าสู่จีนแล้วได้รับการต้อนรับอย่างดีจากพระสงฆ์และพุทธบริษัทชาวจีนที่ทราบข่าว ท่านได้รับการยกโทษที่แอบเดินทางโดยไม่ได้รับอนุญาต ต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นวีรบุรุษแห่งชาติ ผลงานการแปลของท่านมีมากายที่สำคัญได้แปลหนังสือสันสกฤตออกเป็นภาษาจีนถึง ๖๐๐ เล่ม ท่านขอร้องพระจักรพรรดิ์ให้ยกพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติจีนเดี่ยว ๆ แทนขงจื้ แต่ไม่สำเร็จ เพราะจีนนับถือขงจื้อมายาวนาน การที่จะยกเลิกจึงเป็นเรื่องลำบาก แม้แต่พระจักรพรรดิ์ก็ไม่กล้าตัดสินใจ เพราะเสนาอำมาตย์ขุนศึกจำนวนไม่น้อยที่นับถือลัทธิขงจื้อ แม้แต่บิดาของท่านเมื่อก่อนก็นับถือขงจื้อ
เมื่อท่านมรณภาพแล้ว พระจักรพรรดิ์ถังเกาจง ทรงกำสรวญอย่างหนัก ถึงกลับตรัสว่า ประทีปของชาติได้ดับเสียแล้ว แม้ท่านจะกำชับให้ทำงานศพอย่างง่าย ๆ คือใช้เสื่อมาพันและฝังเสีย แต่พระจักรพรรคดิ์ก็ทำอย่างสมเกียรติกล่าวกันว่า มีชาวจีนมาร่วมงานศพท่านถึง ๒ ล้านคน นับว่าเป็นพระสงฆ์องค์เดียวในประวัติศาสตร์จีนที่มีผู้ร่วมงานมากมายขนาดนั้น
หลังจากพระเจ้าหรรษวรรธนะเสด็จสวรรคตแล้ว อินเดียก็เข้าสู่ยุคมืดอีกครั้ง ทั้งทางการเมืองและการศาสนา ในยุคนี้มหายานได้ผสมลัทธิตันตระของฮินดูเข้าไปด้วยเรียกว่าพุทธตันตระ โดยมีหลัการ ๕ ม. คือ ๑. มัสยากินเนื้อปลา ๒. มางสะรับประทานเนื้อ ๓.เมรัย ดื่มสุรา ของเมา ๔. มุทระร่ายรำเพื่อยั่วกามารมณ์ ๕.เมถุนะ ร่วมเพศ ไม่ว่าใครก็สามารถร่วมเพศได้ เช่น มารดากับบุตร หรือบุตรกับมารดา พี่กับน้องเป็นต้น สาเหตุที่มหายานนำลัทธิตันตระของฮินดูมาใช้ เพราะต้องการสร้างความนิยมให้กับตัวเอง แต่การพัฒนานี้เท่ากับกำลังทำลายพุทธศาสนาในยุคนี้มีการสร้างพระพุทธรูปโอบ ด้วยนางตาราในท่าเสพเมถุน เป็นต้น
สรุปได้ว่าสมัยนี้ มีบุคคลสำคัญที่เป็นประโยชน์ ต่อพุทธศาสนาคือ พระเจ้าหรรษวรรธนะ หรือพระเจ้าศรีลาทิตย์ และพระอาจารย์เฮี่ยนจัง หรือพระถังซัมจั๋ง แต่เมื่อสิ้นบุคคลนี้แล้วพุทธศาสนา ก็เสื่อมลงอีก ต่อมายุคนี้ก็ได้มีพระสงฆ์จีน เดินทางมาศึกษาพุทธศาสนาก็เสื่อมลงอีก ต่อมายุคนี้ก็ได้มีพระสงฆ์จีนเดินทางมาศึกษาพุทธศาสนาที่อินเดียอีกท่านหนึ่งคือ พระอาจารย์อี้จิง (I-Tsing) ดังมีประวัติย่อ ๆ ดังนี้
๔.จดหมายเหตุพระอี้จิง (I-Tsing)
พระอี้จิงขึ้นฝั่งที่ตามรลิปติ |
พระ อี้จิงเกิดเมื่อราว พ.ศ. ๑๑๗๘ ที่ฟันหยางใกล้กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน หลังจากพระถังซัมจั๋งกลับเมืองจีนท่านมีอายุ ๑๐ ปี เมื่ออายุได้ ๑๔ ปีก็บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุครบ ๒๐ ท่านได้รับการอุปสมบทเป็นภิกษุหลังจากได้ศึกษาพระธรรมอย่างช่ำชองแล้ว จึงเกิดแนวคิดที่จะไปสืบพระศาสนาในอินเดีย
ต่อมาท่านเดินทางเข้าสู่ประเทศอินเดียต่อจากพระถังซัมจั๋งไม่นานนัก เมื่ออายุ ๓๗ ปี ผ่านทางทะเล โดยแวะที่สุมาตราเป็นเวลา ๘ เดือน ผ่านอาณาจักรศรีวิชัย พัก ๖ เดือน พักที่มาลายู ๒ เดือนจนถึงฝั่งที่อินเดียที่ตามรลิปติ
จากนั้นเดินทางเข้ามคธ ได้สักการะสังเวชนียสถาน และศึกษาที่มหาวิทยาลัยนาลันทา ๑๐ ปี และกลับเส้นทางเดิมโดยแวะศึกษาภาษาสันสกฤตที่อาณาจักรศรีวิชัย ๔ ปี ได้รับการต้อนรับจากราชสำนักเป็นอย่างดี ท่านได้กล่าวถึงอาณาจักรศรีวิชัย ไว้ว่า "อาณาจักรศรีวิชัยนั้นพุทธศาสนารุ่งเรืองเหมือนในอินเดีย มีพระสังฆราชชื่อว่าศากยเกียรติ (Sakyakirti) เป็นประมุขสงฆ์ เมืองชั้นใหญ่น้อยหลายร้อยเกาะ พระจีนที่จะไปอินเดียควรเตรียมตัวเรียนสันสกกฤตที่นี่ก่อน"
ท่านยังกล่าวอีกว่า "ที่ฟูหนำ (หรือ พนม) มีเมืองหลวงชื่อว่าอินทรปุระ (Indrapura) พระราชาแห่งเมืองนี้นามว่า พระเจ้าถรวรมัน (Tharvarman) ทรงนับถือศาสนาฮินดูอย่างเคร่งครัด และเริ่มทำลายพุทธศาสนาอย่างหนัก แต่เทิดทูนบูชาศิวลิงค์ทอง"
พำนักอยู่ในอินเดียเป็นเวลา ๒๕ ปี ท่านพูดภาษาถิ่นในอินเดียได้อย่างคล่องแคล่ว ผลงานของท่านหลายเล่มได้ถูกพิมพ์เช่นเดียวกับพระถังซัมจั๋ง หนังสือที่เด่นคือ "บันทึกเรื่องพุทธศาสนาตามที่ปฏิบัติกันในอินเดีย และหมู่เกาะมาลายู" ในหนังสือเล่มนี้ท่านได้ไปกราบพระเจดีย์ที่พุทธคยา และเขียนรายงานเกี่ยวกับพุทธคยาว่า
" หลังจากนั้น พวกเราก็ได้เดินทางไปที่มหาโพธิมณฑล ใกล้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ และได้ก้มกราบแทบพระบาทแห่งพุทธปฏิมา ข้าพเจ้าได้นำผ้าหนาและเนื้อดีซึ่งพระและฆราวาสถวายที่ชาตุงมาทำเป็นผ้ากา สาวพัสดุ์บูชาและห่อห่มที่องค์พระพุทธปฏิมา ข้าพเจ้าได้ถวายฉัตรขนาดเล็กจำนวนมากที่ท่านอาจารย์ฝ่ายวินัยชื่อเหียนฝากมา ในนามท่าน ท่านอาจารย์เซน (ธยาน) ชื่อว่า อันเต๋า มอบหมายหน้าที่ให้บูชาพระพุทธเจดีย์ และข้าพเจ้าได้ทำหน้าที่ในนามของท่านเช่นกัน ในขณะนั้นข้าพเจ้าได้หมอบตัวลงพื้นด้วยจิตใจที่แน่วแน่ ด้วยความตั้งใจและด้วยความเคารพอย่างสูง ครั้งแรกข้าพเจ้าได้ปรารถนา ต่อประเทศจีนว่าผลประโยชน์สี่ประการจงแผ่ขยายไปสู่สรรพสัตว์อย่างกว้างขวาง ในความรู้สึกในเขตแดนแห่งพระธรรมทูต และข้าพเจ้าได้เน้นย้ำถึงความปรารถนาของข้าพเจ้าที่จะรวมเป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ต้นนาคะเพื่อให้เข้าถึงความรู้ที่จะไม่ทำให้เกิดใหม่อีกต่อมาข้าพเจ้า ได้เดินประทักษิณรอบสานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้"
และ อีกเล่มคือ "ภิกษุผู้ไปแสวงหาพระธรรมในประเทศตะวันตก" จากหนังสือเล่มนี้ทำให้เราทราบว่า มีนักแสวงบุญเป็นจำนวนมาก ได้เดินทางฝ่าอันตรายและความยากลำบากไปแสวงหาพระธรรมในประเทศอินเดีย แต่การเดินทางไปนั้นเป็นเรื่องแห่งความเศร้า เพราะแม้ว่าจะได้ผลคุ้มค่าแต่ความลำบากก็มีอยู่ทั่วไป สถานที่สำคัญ ๆ ก็อยู่ห่างไกลกัน มีคนเป็นจำนวนมากที่พยายามจาริกไปในสถานที่เหล่านั้น แต่ทำได้เพียงไม่กี่คนเพราะมีทะเลทรายขวางกั้นอยู่ ความร้อนในทะเลทรายแทบจะละลายทุกสิ่งทุกอย่างให้มอดไหม้ ทางทะเลก็เต็มไปด้วยคลื่นใหญ่เหมือนภูเขา มีปลาใหญ่พ้นน้ำสูงเท่าต้นตาล ส่วนทางบกที่ต้องผ่านเอเชียกลางผ่านเมืองสมารกันด์บากเตรีย ต้องผ่านภูเขาถึง ๑๐.๐๐๐ ลูก มีหุบเขาลึกและสูงชัน นี้คือเหตุผลว่าทำไมมีคนเดินทางไปกว่า ๕๐ คน แต่รอดมาได้พียงหยิบมือเดียวเท่านั้น ภิกษุเกาหลีเป็นจำนวนมากได้เดินทางไปอินเดียผ่านเอเชียกลาง แต่ท่านเหล่านั้นก็มรณภาพเป็นส่วนมาก ต่อมาการเดินทางผ่านเอเชียกลางยิ่งลำบากมากยิ่งขึ้นอีก เพราะเกิดการปฏิวัติในธิเบต และกองทัพมุสลิมยึดครองส่วนเหนือของอินเดียได้อย่างเด็ดขาด
ท่านอี้จิงยังได้แปลหนังสือราว ๕๖ เล่ม จาก ๔๐๐ เล่ม ที่ท่านนำมาจากอินเดียด้วย โดยได้รับความร่วมมือจากพระอินเดียหลายท่านคือ ท่านสิกขนันทะ ท่านอิศวระและรูปอื่น ๆ เมื่อท่านกลับจีนได้รับการแต่งตั้งจากพระจักรพรรดินีให้เป็น "มหารัฐคุรุ" ของประเทศจีน และเป็นที่เคารพของพระจักรพรรดินีปูเช็กเทียนเป็นอย่างยิ่ง ท่านจำพรรษาที่วัดได้เฮงเลี่ยงยี่ (มหาวัิฒนากุศลาราม) ซึ่งเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น มรณภาพเมื่ออายุ ๘๐ ปี ท่านได้เขียนรายงานสถานการณ์พุทธศาสนาหลายแห่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นหลังเป็นอย่างมาก
และที่ภาคใต้ของอินเดีย ก็ได้มีพระสงฆ์ท่านหนึ่งที่มีชื่อเสียง และท่านได้ไปเผยแพร่พุทธศาสนาในจีน ตามอย่างพระสงฆ์อินเดียหลาย ๆ ท่านท่านคือพระโพธิรุจิ โดยมีประวัติย่อ ๆ คือ
๕.พระโพธิรุจิ (Bodhiruchi) |
ท่านเกิดเมื่อราว พ.ศ.๑๒๐๐ เดิมชื่อว่าธรรมรุจิ เกิดในตระกูลพราหมณ์กาศยปโคตร ในอินเดียภาคใต้ เมื่อได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุจึงฝากตัวเป็นศิษย์ของท่านยศฆาะ ชั่วเวลา ๓ ปี ท่านก็เป็นผู้ชำนาญในพระไตรปิฎก นอกจากศึกษาทางด้านพุทธศาสนาแล้ว ท่านยังชำนาญในหลายสาขาเช่นดาราศาสตร์ แพทยศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และเทววิทยาเป็นต้นต่อมาเมื่อไปสู่จีนโดยทางเรือ เพราะตอนเหนือของอินเดียถูกกองทัพมุสลิมยึดครองแล้ว ย่อมเป็นการไม่สะดวกอย่างยิ่ง เมื่อถึงเมืองจีนแล้วจึงได้เปลี่ยนเป็นโพธิรุจิตามพระบัญชาของพระจักรพรรดินีวูเต้าเทียนแห่งราชวงศ์ถัง ท่านได้แปลหนังสือเป็นภาษาจีน ๕๓ เล่มออกสู่ภาษาจีน หนังสือที่สำคัญคือ รัตนเมฆสูตร ปรัชญาปารมิตาอรรถศติกา มหารัตนกูฏสูตร สมันตมุขปริวรรต วินัยวินิจฉัยอุปาลิปริปฤจฉา ไมเตรยปรปฤจฉา โพธิสัตวจรรยาวรรคสูตร รัตนเมฆสูตร สูตรแห่งมหายาน มัญชุศรีรัตนนครำภธาณีสูตร แต่หลายเล่มก็ได้สูญหายในเวลาต่อมา วาระสุดท้ายท่านก้มรณภาพอย่างสงบในแผ่นดินจีน รวมอายุยายนานถึง ๑๕๖ ปี
๖.พระทีปังกรศรีชญาณ (Dipankarasrijnana) |
พระทีปังกรศรีชญาณ |
พ.ศ. ๑๒๒๕ มีนักปราชญ์ ผู้โด่งดังท่านหนึ่งไปประกาศพุทธศาสนาในธิเบตจนมีชื่อเสียงโด่งดัง และมรณภาพที่นั้น ท่านคือพระทีปังกรศรชญาณหรือพระอตีศะ เกืดในวรรณกษัตริย์ โดยพระบิดาเป็นกษัตริย์นามว่ากัลยาณศรี (Kalyanasri) และมารดานามว่าศรีประภาวดี (Sriprabhavati) เกิดเมื่อ พ.ศ.๑๒๒๕ ในเมืองชาฮอร์ แคว้นภคัลปุระ (ปัจจุบันอยู่ในเขนเบงกอลตะวันตก) อินเดียภาคตะวันออก โดยพระบิดามีโอรส ๓ พระองค์คือเจ้าชายปัทมครรภ์ เจ้าชายจันทรครรภ์ (ต่อมาคือพระทีปังกรศรีชญาณ) และเจ้าชายศรีครรภ์
ต่อมาได้เดินทางไปบวชเป็นสามเณรที่มหาวิทยาลัยนาลันทากับพระอาจารย์โพธิภัทร โดยไม่ได้บวชที่มหาวิทยาลัยวิกรมศิลา ทั้งที่ตั้งอยู่รัฐเบงกอลและไม่ไกลจากพระราชวังของพระองค์ ทั้งนี้เพราะต้องการลดความมานะถือตัวลง เมื่อบวชแล้วจึงได้ฉายาว่า พระทีปังกรศรีชญาณ
ในสมัยนี้นิกายมนตรยานกำลังเจริญรุ่งเรือง ท่านจึงฝากตัวเป็นศิษย์ สิทธะคนหนึ่งชื่อว่า พระนโรปะ นักปราชญ์ชื่อังในสมัยนั้น ศิษย์ที่มีชื่อเสียงของสิทธะนโรปามีหลายท่านเช่น พระปรัชญารักษิต กนกศรี และมาณกศรี ต่อมาท่านจึงเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยวิกรมศิลาใกล้บ้าน ท่านเดินทางไปสุมาตราเพื่อศึกษาธรรมกับพระธรรมปาละพระเถระที่มีชื่อเสียงที่นั่น หลังจากอยู่ได้ ๑๒ ปีจึงเดินทางกลับสู่วิกรมศิลา และต่อมาได้รับการอาราธนาไปสู่ธิเบต ท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงอย่างสูงสุด และมรณภาพที่นั่นรวมอายุ ๗๓ ปี
ครั้นถึงสมัยพระเจ้าเทวปาละ ราวพ.ศ.๑๒๔๕ แห่งราชวงศ์ปาละได้ครองราชย์สมบัติต่อจากพระบิดา พระองค์เป็นพุทธมามกะที่เข้มแข็งเช่นเดียวกับพะรบิดา ต่อมาได้สร้างมหาวิทยาลัยวิกรมศิลาขึ้น (Vikramasila University) สมัยของพระองค์วัดและสถานศึกษาทางพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์จากพระราชวงศ์และพุทธบริษัทเป็นอย่างดี โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยสามแห่งในคือนาลันทา โอทันตบุรี วิกรมศิลา พระองค์สวรรคต เมื่อ พ.ศ. ๑๒๙๖ รวมเวลาที่ครองราชย์ที่ยาวนาน ๕๑ ปี
พ.ศ.๑๒๔๗ พระเจ้าตริสองเดซัน กษัตริย์แห่งธิเบต ได้อาราธนาพระสงฆ์ชาวอินเดียหลายรูปไปฟื้นฟูพุทธศาสนาที่ธิเบต แต่ที่มีชื่อเสียงคือพระอาจารย์ศานตรักษิต แต่ท่านเป็นพระนักวิชาการไม่มีอิทธิฤทธิ์เวทย์มนต์คาถา เมื่อต้องมาเผชิญหน้ากับศาสนาบอน ศาสนาเจ้าถิ่นที่เต็มไปด้วยเวทย์มนต์ คาถาหมอผี ภูติผีปีศาจจึงเห็นว่าจะสู้ไม่ไหว ผู้ที่จะมาเผยแพร่ได้ต้องมีเวทย์มนต์คาถาเช่นกันจึงจะสู้ได้ จึงเสนอไปยังพระเจ้าตริสองเดซันให้อาราธนาพระปัทมสัมภวะ พระสงฆ์นิกายมนตรยานมาปราบ พระองค์เห็นด้วย จึงได้ส่งคนไปอาราธนาท่านปัทมสัมภวะมาเผยแพร่ธรรมที่ธิเบต ท่านรับคำอาราธนาแล้วเดินทางเข้าไปธิเบต งานของท่านประสบผลสำเร็จอย่างมาก เพราะท่านเป็นพระจอมขมังเวทย์ สามารถปราบปรามพวกพ่อมดหมอผี ศาสนาบอนลงได้ พวกเขาหันกลับมานับถือพุทธศาสนาจำนวนมาก ส่วนภูติผีปีศาจก็หันมาปกป้องพุทธศาสนาแทน ท่านปัทมสัมภวะ จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐานพุทธศาสนา ให้มั่นคงในธิเบตจนถึงปัจจุบัน แม้พุทธศาสนาจะเข้าไปธิเบตราว พ.ศ. ๑๑๖๓ สมัยพระเจ้าสองสันคัมโปแล้วก็ตาม
ใน ยุค พ.ศ. ๑๒๕๕ กองทัพอิสลามนำโดยโมฮัมหมัด เบนกาซิม (Muhammad Bin Qazim) ได้เริ่มรุกสู่เอเชียตะวันออกยึดได้หลายเมืองในเอเชีย เช่น ซีเรีย อียิปต์ ต่อมาจึงยกทัพยึดอินเดียภาคเหนือทั้งปัญจาป สินธุ์ คันธาระแล้วปกครองอยู่ยาวนาน ๓๐๐ ปี เมื่อยึดได้แล้ว พุทธศาสนาก็ถูกทำลายลงอย่างมาก เพราะอินเดียตะวันตกมีอารามนับหมื่นและพระสงฆ์นับแสน แต่ทัพมุสลิมไม่อาจรุกเข้าภาคกลางได้ เพราะการด้านทางของกษัตริย์ราชบุตรของอินเดียในภาคกลาง กษัตริย์เหล่านี้ยังสามัคคีกันอย่างดีเพื่อด้านการรุกรานจากกองทัพมุสลิม อาหรับ ในขณะที่ตอนเหนือของอินเดียถูกกองทัพมุสลิมยึดได้อย่างเด็ดขาด และพุทธศาสนาก็ถูกกวาดล้างลง ต่อมากองทัพมุสลิมนำโดย มาหมุด ฆัสนี ได้ยกกองทัพรุกรานอินเดีย ภาคเหนือและภาคตะวันตก เช่น กันยากุพยะมถุรา พาราณสี และกรันชาร์ และยกทัพเข้าโจมตีโสมนาถวิหารของชาวฮินดู ขนทรัพย์สมบัติจากวัดไปเป็นจำนวนมหาศาลพร้อมกันนั้น รูปปั้นพระศิวะและโบสถ์ก็ถูกทำลายลง แม้จะได้รับคำวิงวอนจากนักบวชฮินดูแค่ไหนก็ตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น