Asd

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

อินเดียยุคพุทธกาล (India in Buaddha's time)

ในยุคนี้ชนชาวอารยันเริ่มตั้งหลักแหล่งที่มั่นคงที่ลุ่มน้ำคงคา สิทธุและยมุนา พวกเขาได้ผสมผสานแต่งงานกับชาวมิลักขะเดิม จนเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งโครงสร้างของพระเพณี วัฒนธรรม รูปร่างหน้าตาของผู้คน ศาสนาและวัฒนธรรม ในยุคนี้ศาสนาพราหมณ์ยังเป็นศาสนาที่มีอิทธิพลต่อประชาชนและผู้ปกครองอย่างสูง โดยมีพระเวท ๓ เป็นคัมภีร์หลัก ที่สำคัญ โดยมีประเด็นที่สำคัญดังนี้

๑. การเมืองการปกครอง (Political system)

ชมพูทวีปยุคพุทธกาลแบ่งแคว้นออกเป็น ๑๖ แคว้นใหญ่ และ ๕ แคว้นเล็กโดยมีผู้ปกครองประจำรัฐ อาณาจักรเหล่านี้ปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือระบบที่มีพระราชามีอำนาจเด็ดขาดบ้าง ระบบสามัคคีธรรมคือมีสภาเป็นที่ปรึกษาบ้าง ระบบประชาธิปไตยบ้าง เช่นแคว้นมัลละ และวัชชีแต่ส่วนมากจะเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีผู้ปกครองแผ่นดินเมื่อก่อนนั้นเรียกว่า ราชาบ้าง มหาราชาบ้าง ในสมัยก่อนพุทธกาล การปกครองยังไม่ได้แบ่งออกเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจนจนมาถึงยุคพุทธกาลจึงมีการ แบ่งเขตชัดเจน การปกครองโดยแบ่งออกเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจนมาถึงยุคพุทธกาลจึงมีการแบ่งเขต ชัดเจน การปกครองโดยแบ่งเป็นเมือง ๆ มีพระราชาเป็นผู้ปกครองนี่ได้มีสืบมาจนถึงอินเดียได้รับเอกราช พ.ศ.๒๔๙๐ เมื่อร่างรัฐธรรมนูญแล้ว จึงยกเลิกระบบเจ้าปกครองนครเหมือนเดิม สมัยนั้นความสำนึกว่าเป็นชาติอินเดียยังไม่เกิด มีแต่ความรู้สึกว่าตนเป็นคนแคว้นหรือรัฐนั้นเท่านั้น แคว้นใหญ่ ๑๖ แคว้น และเล็ก ๕ แคว้น ตามที่ปรากฏในอุบาลี อุโปสถสูตร ติกนิบาตอังคุตตรนิกายมีดังนี้คือ


ที่
ชื่อแคว้น
เมืองหลวง
ผู้ปกครอง
ที่ตั้งปัจจุบัน
อังคะ(Anga) จำปา
พระเจ้าธตรัฏฐะ
ภคัลปุระ รัฐเบงกอล
มคธ(Magadha) ราชคฤห์
พระเจ้าพิมพิสาร
รัฐพิหาร
กาสี(Kasi) พาราณสี
พระเจ้าพรหมทัตต์
รัฐอุตตรประเทศ
โกศล(Kosala) สาวัตถี
พระเจ้าปเสนทิโกศล
รัฐอุตตรประเทศ
วัชชี(Vajji) เวสาลี
คณะเจ้าวัชชีบุตร
รัฐอุตตรประเทศ
มัลละ(Malla) ปาวา,กุสินารา
คณะเจ้ามัลละกษัตริย์
รัฐอุตตรประเทศ
เจตี(Cheti) โสตถิวดี
พระเจ้าอุปริจรา
รัฐมัธยมประเทศ
วังสะ(Vamsa) โกสัมพี
พระเจ้าอุเทน
รัฐอุตตรประเทศ
กุรุ(Guru) อินทปัตถ์
-
รัฐปัญจาป
๑๐
ปัญจาละ(Panchala) กัมปิลละ
-
จังหวัดบเรลลี
๑๑
มัจฉะ(Maccha) มัตสยาคร
-
ชัยปูร์,รัฐราชสถาน
๑๒
สุรเสนะ(Surasena) มถุรา
-
รัฐอุตตรประเทศ
๑๓
อัสสกะ(Assaka) โปตลิ
-
รัฐมหาราษฎร์
๑๔
อวันตี(Avanti) อุชเชนี
พระเจ้าจันทปัชโชติ
รัฐมัธยมประเทศ
๑๕
คันธาระ(Gandhara) ตักกศิลา
-
ปากีสถาน
๑๖
กัมโพชะ(Kamboja) ทวารกะ
-
ปากีสถาน
๑๗
สักกะ(Sakka) กบิลพัสดุ์
พระเจ้าสุทโธทนะ
เนปาล
๑๘
โกลิยะ(Koliya) เทวทหะ
ราชวงศ์โกลิยะ
เนปาล
๑๙
ภัคคะ(Bhagga) สุสุงมารคิรี
เจ้าภัคคะ
เนปาล
๒๐
วิเทหะ(Videha) มิถิลา
เมืองชนัคปูร์ เนปาล
๒๑
อังคุตตราป(Anguttarapa) -
-
ปากีสถาน



ชมพูทวีปถูกจัดแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนใหญ่ ๆ คือ มัธยมประเทศ หมายถึงส่วนกลาง และปัจจันตประเทศ หมายถึง หมายถึงส่วนรอบนอก หรือชายแดน แผ่นดินที่จัดว่าเป็นมัชฌิมประเทศได้แก่
ทิศบูรพา(ตะวันออก) สิ้นสุดที่นครมหาศาล
ทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) สิ้นสุดที่แม่น้ำสัลลวตี
ทิศทักษิณ(ใต้) สิ้นสุดที่เสตกัณณิกนิคม
ทิศปัจจิม (ตะวันตก) สิ้นสุดที่ถูกคาม
ทิศอุดร (ทิศเหนือ) สิ้นสุดที่ภูเขาอุสีรธชะ

๒. ศากยวงศ์ (Sakya clan)

ในยุคบรรพกาล ได้มีชนเผ่าเชื้อสายอริยกะหรืออารยันอพยพเข้ามาตั้งรกรากและราชธานี ณ เชิงเขาหิมาลัย ชนเผ่าที่อพยพเข้ามาในภายหลัง ก่อนหน้านั้นดินแดนแถบนี้เป็นที่อยู่อาศัยของพวกมิลักขะซึ่งมีความเจริญที่น้อยกว่า พวกอริยกะหรืออารยันเป็นพวกที่นับถือในศาสนาพราหมณ์เคร่งครัด และเชื่อถือในระบบวรรณอย่างสุดโต่ง โดยเชื่อว่าวรรณะทั้ง ๔ ไม่สามารถที่จะแต่งงานร่วมกันได้ ถ้าแต่งงานบุตรจะกลายเป็นจัณฑาลทันที พวกเขาถือว่าตนยิ่งใหญ่ และบริสุทธิ์กว่าสายเลือดอื่น ๆ จึงแต่งงานด้วยกันเองภายในหมู่พี่น้องและวงศาคณาญาติซึ่งมีอยู่ ๒ ตระกูลคือ ๑. ศากยวงค์ ๒.โกลิยวงศ์ และเพราะความถือตัวจัดนี้เองที่ทำให้กรุงกบิลพัสดุด์ถูกทำลายอย่างย่อยยับด้วยอำนาจของพระเจ้าวิฑูฑภะ โอรสพระเจ้าปเสนทิโกศลแห่งสาวัตถี ซึ่งพระเจ้าวิฑูฑภะเอง ก็ใช่อื่นไกลเป็นพระนัดดาของพระเจ้ามหานามแห่งกรุงกบิลพัสดุ์นั้นเอง

พระองค์ถูกเหยียดหยามจากพระญาติถึงขนาดเอาน้ำนมชำระล้างสถานที่ทุกแห่งที่พระองค์ประทับในกรุงกบิลพัสดุ์คราวเสด็จเยี่ยมพระญาติ โดยพวกศากยะกรุงกบิลพัสดุ์รังเกียจว่า พระมารดาของพระองค์ไม่ใช่คนวรรณะกษัตริย์ แต่เป็นทาสีซึ่งเป็นคนละวรรณกับพวกตน นี่คือชนวนของการทำลายล้างกรุงกบิลพัสดุ์ในเวลาต่อมา

เกี่ยว กับทฤษฏีของชนชาติอารยันของพวกศากยะที่เมืองกบิลพัสดุ์นี้ นักปราชญ์ไทยหลายท่านตั้งข้อสงสัยว่า พวกเขาน่าจะเป็นคนผิวเหลืองเชื้อสายมองโกลอยเหมือนคนไทยมากกว่าที่จะเป็น อารยันแบบแขก เพราะตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือมีชาวเนปาลเป็นจำนวนมากเชื่อว่าตัวเองเป็นเชื้อสายศากยะ และหน้าตาพวกเขาก็เป็นคนผิวเหลืองไม่ใช่แขกอินเดีย แต่ประเด็นนี้คงต้องศึกษากันต่อไป และไม่ควรด่วนสรุป เพราะเป็นเรื่องใหญ่ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้แขกอินเดียเป็นจำนวนมากก็มีนามสกุลโคตมะหรือเคาตมะและยังเชื่ออีกว่าพวก เขามีเชื่อสายเดียวกับพระพุทธองค์

ในทัศนะของคนเนปาลเองทุกคนเชื่อเต็มเปี่ยมว่าพระพุทธเจ้าเป็นชายเนปาล ไม่ใช่อินเดียเพราะพระองค์เกิดในฝั่งเนปาลไม่ใช่อินเดีย ซึ่งเป็นความจริงอยู่ไม่น้อยเพราะว่าตามสถานที่ประสูติแล้ว ลุมพินีและกบิลพัสดุ์ก็ล้วนแล้วอยู่ในฝั่งเนปาล แต่เมื่อก่อนคำว่า อินเดีย เนปาลยังไม่เกิด มีแต่คำว่าชมพูทวีป พระพุทธองค์ใช้ชีวิตส่วนมากที่ฝั่งอินเดีย เพราะขณะที่พระชนม์ชีพอยู่ เมืองกบิลพัสดุ์ของพระองค์ก็ร้างแล้ว และเขตแดนกปิลพัสดุ์ลุมพินีก็ยังอยู่ในฝั่งอินเดีย จนอังกฤษเข้าปกครองอินเดียและยกให้เนปาลเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๕ มานี้เอง

อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า ต้นตระกูลของศากยวงศ์สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าโอกกากราชและแบ่งออกเป็น ๒ เมือง,๒ ตระกูล คือ เมืองกบิลพัสดุ์ เป็นนครหลวงของแคว้นสักกะ และเมืองเทวทหะเป็นนครหลวงของแคว้นโกลิยะ ดังมีโครงสร้างดังนี้

ฝ่ายศากยวงศ์ พระเจ้าชัยเสนมีพระราชโอรสและธิดา ๒ พระองค์ คือ
๑. พระเจ้าสีหนุ ๒. พระนางยโสธรา

ฝ่ายโกลิยวงศ์ มีพระราชาที่ไม่ปรกฏนาม มีโอรส ๑ และธิดา ๑ คือ
๑. พระเจ้าอัญชนะ ๒. พระนางกาญจนา

พระเจ้าสีหนุ แห่งศากยวงศ์อภิเษกสมรสกับ พระนางกาญจนา แห่งโกลิยวงศ์มีพระโอรสและธิดารวม ๗ พระองค์คือ
๑. พระเจ้าสุทโธทนะ
๒. พระเจ้าสุกโกทนะ
๓. พระเจ้าอมิโตทนะ
๔. พระเจ้าโธโตทนะ
๕. พระเจ้าฆนิโตทนะ
๖. พระนางปมิตา
๗. พระนางอมิตา

พระเจ้าอัญชนะ แห่งโกลิยวงศ์อภิเษกสมรสกับ พระนางยโสธรา แห่งศากยวงศ์ มีพระโอรสและพระธิดารวม ๔ พระองค์คือ
๑. พระเจ้าสุปปพุทธะ
๒. พระเจ้าทัณฑปาณิ
๓. พระนางสิริมหามายา
๔. พระนางมหาปชาบดีโคตมี

พระเจ้าสุทโธทนะ แห่งศากยวงศ์อภิเษกสมรสกับพระนางสิริมหามายาแห่งโกลิยวงศ์ มีพระโอรส ๑ พระองค์คือ
๑. เจ้าชายสิทธัตถะ
และต่อมาหลังพระนางสิริมหามายาสวรรคต พระองค์อภิเษกสมรสกับพระนางมหาปชาบดีโคตมี มีพระโอรสและธิดา ๒ พระองค์คือ
๑. เจ้าชายนันทะ
๒. เจ้าหญิงรูปนันทา

พระเจ้าสุปปพุทธะ แห่งโกลิยวงศ์ได้อภิเษกสมรสกับพระนางอมิตาแห่งศากยวงศ์มีพระโอรสธิดารวม ๒ พระองค์คือ
๑. เจ้าชายเทวทัต
๒. พระนางยโสธรา (พิมพา)

พระเจ้าสุกโกทนะ แห่งศากยวงศ์อภิเษกสมรสกับพระนางกิสาโคตมี มีพระโอรสหนึ่งพระโอรส ๑ พระองค์คือ
๑. เจ้าชายอานนท์

พระเจ้าอมิโตทนะ แห่งศากยวงศ์ มีพระโอรสธิดารวม ๓ พระองค์คือ
๑. เจ้าชายมหานาม
๒. เจ้าชายอนุรุทธะ
๓. เจ้าหญิงโรหิณี

พระเจ้ามหานาม ครองราชสมบัติต่อจากพระเจ้าสุทโธทนะมีพระธิดาจากนางทาสี ๑ พระองค์คือพระนางวาสภขัตติยา ซึ่งต่อมาได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศลแห่งสาวัตถี มีพระโอรส ๑ พระองค์ คือ พระเจ้าวิฑูฑภะ ดังมีโครงสร้างดังนี้



๓. การอุบัติขึ้นของพุทธศาสนา (Buddhism Period)

เมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีมาแล้ว ณ ดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลแห่งชมพูทวีป ดินแดนที่เต็มไปด้วยนักคิด นักปราชญ์ นักตรรกะ นักวิจารณ์ เจ้าสำนัก เจ้าลัทธิมากมาย ณ นครเล็ก ๆ ใกล้เชิงเขาหิมาลัยราวร้อยกว่ากิโลเมตรชื่อว่า กบิลพัสดุ์ อันเป็นเมืองหลวงศากยวงศ์ที่สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าโอกกากรา ต้นตระกูลศากยวงศ์หรืออาทิตย์วงศ์ ซึ่งเป็นอารยันเผ่าหนึ่ง ได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนที่นี่

คำว่ากบิลพัสดุ์แปลว่าเมืองที่ฤาษีกบิลเคยอาศัยอยู่มาก่อน ต่อมาพระราชโอรส พระธิดาของพระเจ้าโอกากราชก็อพยพมาสร้างเมืองใหม่ที่นี่ ครั้นต่อมาจึงแยกออกเป็น ๒ เมืองคือกบิลพัสดุ์และเทวทหะ แต่ทั้งสองเมืองก็ยังอภิเษกสมรสระหว่างกันตลอดเวลา พระเจ้าสุทโธทนะก็ได้อภิเษกกับเจ้าหญิงมายาหรือสิริมหามายา พระธิดาของพระเจ้าอัญชนะ แห่งกรุงเทวทหะ หลังพระบิดาคือพระเจ้าสีหนุสวรรคตแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะ ก็ได้ครองราชสมบัติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์สืบมา

กล่าว ถึงพระโพธิสัตว์ หลังจากเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรอันเป็นชาติสุดท้ายแล้ว ก็จุติไปประทับอยู่ที่สวรรค์ชั้นดุสิต เมื่อประทับที่สวรรค์พอสมควรแล้ว เทวดาในสวรรค์ทุกชั้นจึงอาราธนาให้มาจุติในโลก เพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วสั่งสอนเวไยสัตว์ต่อไป ทรงรับการอาราธนานั้น จึงพิจารณาถึงเมื่อที่จะอุบัติ รวมทั้งพระบิดาพระมารดาทรงพิจารณาเห็นว่า พระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาเป็นผู้ที่ได้บำเพ็ญบารมีร่วมกันมา และเหมาะสมที่จะไปอุบัติเป็นพระโอรส จึงเสด็จจากดุสิตมาจุติในพระครรภ์พระนางสิริมหามายา หลังจากนั้นพระนางก็สุบินนิมิตว่าได้เข้าไปป่าหิมพานต์ แล้วมีช้างเผือกเชือกหนึ่งลงมาจากยอดเขาสูงแล้วนำตอกบัวมาถวาย เมื่อตื่นบรรทมแล้วทรงเล่าให้โหราจารย์ฟัง เหล่าโหรทั้งหลายต่างทำนายว่า จะได้พระโอรสที่มีบุญญานุภาพมาอุบัติในพระครรภ์ตั้งแต่นั้นมา พระนางก็ได้ดูแลทะนุถนอมพระครรภ์มาอย่างดี โดยได้รับการเอาใจใส่จากพระสวามีเป็นอย่างดี

๔. ประสูติ (Born)

ทรงประสูติที่สวนลุมพินี

พระนางสิริมหามายาเมื่อทรงพระครรภ์ ๑๐ เดือนแล้ว เมื่อรู้สึกพระองค์ว่าจะประสูติพระโอรส จึงกราบทูลพระสวามีให้ทรงทราบ เพื่อจะเสด็จพระราชดำเนินกลับเมืองเทวทหะ อันเป็นเมืองของพระองค์เอง เพื่อประสูติ พระโอรสที่นั่น อันเป็นธรรมนัยมโบราณที่ยึดถือมานาน พระเจ้าสุทโธทนะได้จัดขบวนเสด็จอย่างยิ่งใหญ่ แต่เมื่อถึงอุทยานลุมพินีวัน อันเป็นเขตแดนระหว่างสองเมือง พระนางก็มีอาการปวดพระครรภ์ จึงได้หยุดพักโดยเหนี่ยวกิ่งต้นสาละ และยืนประสูติพระโอรสในสวนนั้นเอง ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ เดือนวิสาขะ ตรงกับวันศุกร์ ปีจอ ก่อนพุทธศา ๘๐ ปี ณ สวนลุมพินี (Lumbini) ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า รุมมินเด (Rummindie) ห่างจากเมืองกบิลพัสดุ์ ๒๒ กิโลเมตรโดยประมาณ เจ้าชายน้อยประสูติแล้วทรงเดินได้ ๗ ก้าวนับเป็นสิ่งมหัศจรรย์พร้อมชี้นิ้วชี้ขวา และตรัสอาสภิวาจาว่า
"เราเป็นผู้เลิศในโลกเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา ชาติอื่น ภพอื่น ไม่มีอีกแล้ว"

ในการนี้ได้มีสิ่งที่เกิดพร้อมกับพระองค์ ๗ อย่างเรียกว่า สหชาติคือ
๑. พระนางพิมพา ๒.เจ้าชายอานนท์ ๓.อำมาตย์กาฬุทายี ๔.นายฉันนะ ๕.ม้ากัณฐกะ ๖.ต้นโพธิ์ ๗.ขุมทองทั้งสี่

ต่อมาในวันที่ ๓ นับจากประสูติมา อสิตดาบส (Asita Ascetic) หรือกาฬเทวิฬดาบสที่อาศัยในป่าหิมพานต์มีอิทธิฤทธิ์ ได้สมาบัติ ๘ และคุ้นเคยกับพระพุทธบิดาเป็นอย่างดี ได้เข้าเยี่ยมพระเจ้าสุทโธทนะ ณ พระราชวังพร้อมชมบารมีพระโอรส ดาบส ได้ชมพระบารมีและตรวจตราพระลักษณ์มหาบุรุษ ๓๒ ประการอย่างละเอียดก็ถึงกับตะลึง ได้ก้มลงกราบพระกุมารน้อยด้วยอาการเคารพอย่างสูง พร้อมกับหัวเราะและร้องไห้ไปด้วย สร้างความตกตะลึงให้แก่พระเจ้าสุทโธทนะอย่างยิ่ง จึงได้ตรัสถามว่า เหตุใดจึงหัวเราะและร้องไห้ ดาบสผู้เฒ่ากล่าวตอบว่า

"ที่หัวเราะ เพราะตื้นตันใจที่ได้เจอพระกุมารที่มีบุญญาบารมี มีลักษณะมหาบุรุษครบ ๓๒ ประการ นับว่าหาไม่ได้ในภัทรกัปป์นี้ ตัวเองมีวาสนาโดยแท้จึงได้เห็นและที่ร้องไห้เพราะพระโอรสเจริญวัยขึ้น จักเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศาสดาเอกของโลก พระองค์จะแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลางและที่สุด เสียดายที่อายุตัวแก่เหลือเกิน คงไม่อาจได้สดับฟังคำสอนของพระองค์จึงร้องไห้"

คำกล่าวนี่หาได้สร้างความยินดีปรีดาต่อพระราชาไม่ เพราะพระองค์มีพระโอรสพระองค์เดียว ทรงหวังอย่างยิ่งที่จะให้พระโอรสครองเศวตรฉัตรต่อจากพระองค์ ได้แต่หวังพระทัยว่าคำกล่าวของดาบสผู้เฒ่าจะไม่เป็นจริง ฝ่ายพระญาติฟังคำดาบสผู้เฒ่ากล่าวเช่นนั้น ก็บังเกิดความเลื่อมใส แล้วกราบกุมารเช่นเดียวกับพระดาบส

วันที่ ๕ พระบิดาคือพระเจ้าสุทโธทนะ ก็เชิญพราหมณ์ทั้ง ๑๐๘ ที่เจนจบไตรเพทมาเลี้ยงที่พระราชวัง พราหมณ์ทั้งหลายพร้อมใจกันขนานนามพระโอรส "สิทธัตถะ (Siddhattha)" (ภาษาสันสกฤตและฮินดีเรียกว่า สิทธารถะ Siddhartha อันแปลว่า ผู้มีความต้องการอันสำเร็จ) ในบรรดา พราหมณ์ ๑๐๘ คน นั้นได้คัดกันเองเหลือ ๘ คนคือ ๑.รามพราหมณ์ ๒.ลักษณะพราหมณ์ ๓. ยัญญพราหมณ์ ๔.ธุชพราหมณ์ ๕. โภชพราหมณ์ ๖.สุทัตตพราหมณ์ ๗. สุยามพราหมณ์ ๘. โกณฑัญญพราหมณ์ ให้ ทำนายพระโอรส พราหมณ์ทั้ง ๗ พยากรณ์เป็น ๒ นัย หากว่ายังครองราชสมบัติจักได้เป็นพระจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของชมพูทวีปแต่ หากว่าออกผนวชจะได้เป็นพระศาสดาเอกของโลก สั่งสอนเวไนยสัตว์สืบไป คงมีแต่เพียงพราหมณ์หนุ่มนามว่า โกณฑัญญะ เท่านั้นที่กล้าประกาศชัดแจ้งว่า เจ้าชายน้อยจะออกผนวชแน่นอน และจักได้เป็นพระศาสดาเอกของโลกแน่ จึงเตรียมตัวเพื่อออกบวชตามปรนนิบัติดูแล ซึ่งต่อมากลายมาเป็นหัวหน้าปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ

วันที่ ๗ หลังประสูติ พระมารดาคือพระนางสิริมหามายาก็สวรรคตจากพระโอรสองค์น้อยไป นำความโศกเศร้ามาให้แก่พระเจ้าสุทโธทนะและพระญาติยิ่งนัก ภาระการดูแลพระโอรสจึงเป็นของพระนางมหาประชาบดีโคตมี ภคินีของพระพุทธมารดา ต่อมาพระนางก็มีพระโอรสกับพระเจ้าสุทโธทนะ อีกพระองค์คือ เจ้าชายนันทะ (Nanada) และพระธิดาอีกพระองค์นามว่า รูปนันทา (Rupananda) พระโอรสและพระธิดาทั้งหมดได้รับการดูแลอย่างดีอย่างเท่าเทียมกัน

พระชนมายุ ๗ พรรษา พระบิดาก็ประทานเครื่องทรงสำหรับยุวกษัตรย์ คือ จันทน์สำหรับทาผ้าโพกพระเศียร ชุดฉลองพระองค์ ผ้าทรงสะพักพระภูษา ทั้งหมดทำมาจากผ้าไหมกาสีซึ่งถือว่า มีชื่อเสียง มีค่ามากผู้มีฐานะดีเท่านั้นจะได้ใช้ นอกจากนั้น พระบิดายังขุดสระสำหรับสนาม ๓ สระ คือสระที่หนึ่งปลูกดอกอุบลขาว สระที่สองปลูกดอกปทุมบัวหลวง สระที่สามปลูกบุณฑริกสีขาว พร้อมกับการตกแต่งที่งดงามน่าทัศนาอย่างยิ่ง พร้อมกันนี้เจ้าชายก็ได้รับการศึกษาทั้ง ๑๘ ศาสตร์ เช่นการยิงธนู การบังคับม้า การใช้ดาบ การรบ เป็นต้น กับครูวิศวามิตร (Vishvamitra) ที่มีชื่อเสียง พระองค์ได้ศึกษาจนจบภายในเวลาอันรวดเร็ว

เมื่อพระชันษา ๑๖ พรรษา พระองค์ก็ทรงสำเร็จการศึกษาทั้ง ๑๘ ศาสตร์ พระบิดาได้สร้างปราสาท ๓ ฤดูคือ ๑.รัมยปราสาท สำหรับฤดูร้อน ๒. สุรัมยะปราสาท สำหรับฤดูหนาว ๓. สุภปราสาท สำหรับฤดูฝน ให้เป็นประทับเหมาะสมในสามฤดู ต่อมาพระองค์ก็ทรงเลืองคู่ครอง มีพระธิดาจากหลายเมืองมาให้เลือก แต่สุดท้ายก็ทรงเลือกและอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธรา (Yasodhara) หรือพิมพา พระธิดาของเจ้าสุปปพุทธ (Suppabuddha) และพระนางอมิตา (Amita) แห่งเทวทหะนคร

แม้พระองค์จะทรงอภิเษาสมรสนาน แต่ก็ได้หาได้มีพระโอรสธิดาไม่ จนพระชนม์ได้ ๒๙ พรรษาพระนางยโสธราจึงทรงพระครรภ์ และประสูติพระโอรสแล้วทรงให้พระนามว่า ราหุล (Rahul) อันหมายถึงบ่วง พระองค์มีพระหฤทัยสิเนหาในพระโอรสเป็นอย่างยิ่ง แต่เจ้าชายเป็น ผู้มีบุญบารมีอันบริบูรณ์จึงไม่พอใจชีวิตคฤหัสถ์ จึงเสด็จแอบประพาสอุทยานกับนายฉันนะ (Channa) นายสารถี ทรงได้เห็นเทวทูตทั้ง ๔ คือคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ พระองค์จึงสังเวชพระทัยในชีวิตและทรงพอใจในการออกบวช จึงตัดสินในแน่วแน่ที่จะออกผนวชเพื่อแสวงหาโมกขธรรมอันเป็นหนทางดับทุกข์ถาวร ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก ในตอนกลางคืน จึงเสด็จไปปราสาททรงอำลาพระนางยโสธรา พระกุมารราหุล พระหฤทัยช่วงนี้เป็นกังวลอย่างมากเพราะอาลัยอาวรณ์ในพระชายาและพระโอรสน้อยที่พึ่งประสูติ


๕. ตรัสรู้ (Enlightenment)

เจ้า ชาสิทธัตถะจึงได้เรียกนายฉันนะมาแล้ว สั่งให้นำม้ากัณฑกะที่ปราดเปรียว และรวดเร็วมาให้ทรง จากนั้นเสด็จออกประตูเมืองทางทิศตะวันออก เสด็จถึงฝั่งอโนมานที จึงตัดมวยผมและเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นดาบส เมื่อพระองค์เดินลับตาไป ม้ากัณฐกะ ผู้ภักดีก็อกแตกตาย สิ้นบุญ ณ ฝั่งอโนมานทีนั้นเอง คงได้กลับแต่นายฉันนะเท่านั้น พระองค์ในเครื่องทรงของนักบวชได้เดินทางไกลอันเดียวดายแต่พระองค์เดียว จนทะลุแคว้นมคธพระเจ้าพิมพิสาร พระราชาเมืองราชคฤห์ทรงทราบ ให้อาราธนามาประทับพร้อมจะมอบราชสมบัติให้ครองครึ่งหนึ่ง แต่พระองค์ปฏิเสธ พระเจ้าพิมพิสารได้ทูลต่อว่า ถ้าหากได้บรรลุสัจธรรมขอให้มาโปรดด้วย พระองค์รับคำอาราธนาทรงเดินทางต่อเพื่อศึกษากับอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลาย สำนัก เช่น อาฬารดาบส กาลามโคตร จนชำนาญจนได้สมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ จนมีความรู้เท่าเทียมอาจารย์และไม่สามารถสอนอะไรให้อีก จึงเสด็จไปศึกษากับอุทกดาบสรามบุตรที่มีชื่อเสียง

เมื่อลงมือปฏิบัติจนชำนาญตามคำแนะนำของอาจารย์แล้วจึงทราบว่านี้ไม่ใช่หนทางพ้นทุกข์ บรรลุโพธิญาณตามที่มุ่งหวัง จึงเสด็จไปที่อุรุเวลาเสนานิคม ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอย่างยิ่งยวด ณ ทิวเขาดงคสิริ โดยมีปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ คอยปรนนิบัติการทำทุกกิริยา เช่น ทรงกดพระทนต์ (ฟัน) ด้วยพระทนต์ กดพระตาลุ (เพดาล) ด้วยพระชิวหา(ลิ้น) กลั้นลมหายใจเข้าออก พระองค์ทำอยู่จนพระวรกายซูบผอมเห็นซี่โครงทั่วพระสรีระอย่างชัดเจน จนพระโลมา (ขน) หลุดออกจากขุมขนหมด การกระทำอย่างนี้เป็นที่ประทับใจต่อปัญจัควัคคีย์อย่างมาก เพราะพวกเขาคิดว่านี่คือทางแห่งการบรรลุธรรม แต่เมื่อพระองค์ทรงเห็นอุปมาดังพิณสามสาย ซึ่งแสดงให้ทราบโดยพระอินทร์ สายแรกเคร่งเกินไปดีดได้ไม่นานก็ขาด เส้นที่สองยานเกินไป เสียงไม่ไพเราะ ส่วนสายที่สามพอดี เสียงไพเราะน่าฟัง จึงละแนวทางเดิมหันมาเสวยภัตตาหาร และเริ่มปฏิบัติแนวทางใหม่ทำให้ปัญจวัคคีย์ๆไม่พอใจหนีจากไป

ทรงตรัสรู้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม

เช้าวันหนึ่งนางสุชาดาลูกสาวนายบ้านได้อธิษฐานกับเทวดาอารักษ์ว่า ถ้าได้สามีที่มีศักดิ์เสมอกันและได้บุตรชายจะทำการเซ่นสังเวยบวงสรวง ด้วยข้าวมธุปายาสและวัตถุ มีค่าแสนกหาปณะ เมื่อสมความปรารถนาจึงนำข้าวมธุปายาสมาเซ่นสรวง เมื่อเห็นมหาบุรุษมีลักษณะงดงามประทับนั่งใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ จึงคิดว่าเป็นเทวดาอารักษ์ จึงน้อมถวายข้าวมธุปายาส พระองค์ทรงรับหลังจากเสวย แล้วทรงลอยถาดที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา โดยอธิษฐานว่า ถ้าจะได้บรรลุสัมมาสัมมาสัมโพธิญาณขอให้ถาดใบนี้ลอยทวนกระแสน้ำ และผลก็เป็นไปอย่างที่พระองค์หวัง ถาดได้ลอยทวนกระแสและจมลงสู่ก้นแม่น้ำ ต่อมาโสตถิยพราหมณ์เห็นมหาบุรุษที่กิริยาอาการงดงามน่าเลื่อมใส จึงถวายหญ้ากุสะเพื่อปูประทับนั้ง พระองค์เสด็จนั่งบำเพ็ญสมณธรรมใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ในที่สุด ในวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำเดือน ๖ เดือนวิสาขะ ก็ทรงบรรลุพระอรหันต์เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ พุทธคยา (Buddhagaya) รัฐพิหารปัจจุบัน ผู้กลายเป็นพระศาสดาเอกของชาวโลก




๖. แสดงพระธรรมเทศนา (Teaching the Dhamma)

เมื่อตรัสรู้แล้วทรงเสวยสุข ณ ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นเวลา ๗ สัปดาห์ ทรงรำพึงว่าธรรมมะที่พระองค์ตรัสรู้ เป็นการยากสำหรับผู้คนโดยทั่วไป จึงทรงเบื่อหน่าย ท้อถอยไม่ประสงค์สั่งสอนเวไนยสัตว์ พระพรหมทราบวาระจิต จึงทรงอาราธนาโดยเปรีบบมนุษย์เหมือนดอกบัว ๔ เหล่าคือ
๑. อุคฆติตัญญู ผู้สามารถรู้ธรรมได้เร็ว เพียงเมื่อยกหัวข้อมาแสดงเปรียบดังบัวพ้นน้ำ เมื่อถูกแสงแดดย่อมสามารถบานได้ทันที
๒. วิปจิตัญญู ผู้สามารถรู้ธรรมได้ต่อเมื่ออธิบายเนื้อความให้ชัดเจนเปรียบเหมือนบัวในระหว่างน้ำหรือเสมอน้ำ ซึ่งจะบานในวันรุ่งขึ้น
๓. เนยยะ หมายถึงผู้ที่พอจะแนะนำได้ บุคคลประเภทนี้ต้องอาศัยการสั่งสอน ความพยายามเอาจริงเอาจังของผู้สอนจึงจะบรรลุได้ เปรียบเหมือนใบบัวในน้ำ ซึ่งจะต้องพยายามเพื่อการผลิบานในช่วงต่อไป
๔. ปทปรมะ ผู้ที่มีปัญญาทึบไม่สามารถสั่งสอนได้บุคคลประเภทนี้บางทีแม่มีปัญญาดี แต่เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเชื่อที่สุดโต่ง ก็ไม่สามารถสอนได้ เช่น เจ้าลัทธิหรือพวกพราหมณ์หัวเก่าบางคน เปรียบเหมือนบัวที่เพิ่งผลิอาจจะต้องกลายเป็นอาหารของสัตว์น้ำ เช่น ปลาและเต่า เป็นต้น

ดังนั้น จึงเปลี่ยนพระทัยน้อมไปในการแสดงธรรม ทรงพิจารณาดูผู้เหมาะสมต่อการแสดงธรรมโปรด ตอนแรกทรงเห็นอาฬารดาบสและอุทกดาบส แต่ท่านทั้งสองก็เสียชีวิต แล้วสุดท้ายจึงเสด็จไปป่าอิสิปตนมิคทายวัน เมืองพาราณสี (Varanasi) เพื่อแสดงธรรมแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ ที่หลีกหนีไปเพราะเห็นว่ามหาบุรุษละความเพียร เวียนมาซึ่งความมักมากและเสวยพระกระยาหาร

ระหว่างทางเจอกับอุปกาชีว ทรงแสดงธรรมให้อุปกาชีวกฟัง แต่เขาก็ไม่อาจเข้าใจธรรมที่พระองค์ทรงตรัสทรงตรัสสอนไม่ ได้แต่แลบลิ้นส่ายศีรษะเดินหนีไป ถ้าเขาเข้าใจคงจะกลายเป็นพระสาวกองค์แรกแทนพระอัญญาโกณฑัญญะแน่นอน

แสดงธรรมแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕

เมื่อไปถึงเหล่าปัญจวัคคีย์คิดว่าจะไม่แสดงความเคราพ แต่สุดท้ายก็ลืม เผลอแสดงความเคารพ แต่ยังมีกิริยาอาการกระด้างกระเดื่องอยู่ แต่สุดท้ายทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตร แก่พระปัญจวัคคีย์ทั้งห้าในท้ายสุดแห่งการแสดงปฐมเทศนา

พระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วทูลขออุปสมบท พระองค์จึงประทานการบวชด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา ต่อมาพระองค์ก็แสดงธรรมต่อจนท่านทั้งสี่คือวัปปะ ภัททิยะ มหานามะและอัสสชิได้ดวงตาเห็นธรรมและบรรลุพระอรหันต์ตามลำดับ

จึงนับว่าพระรัตนตรัยครบองค์สามวันนี้ ต่อมาทรงโปรดยสะบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี จนบรรลุพระอรหันต์ ยสกุลบุตรพร้อมสหายก็ได้ออกบวช ส่วนบิดามารดาและญาติของพระยสะก็ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง จึงนับว่าเป็นคหบดี เมืองพาราณสี ตระกูลแรกที่นับถือพุทธศาสนา เพราะเมืองพาราณสีเป็นศูนย์กลางศาสนาพราหมณ์ที่เข้มแข็ง เมื่อออกพรรษาแล้วจึงส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนาในทิศทั้งสี่

พระองค์เองเสด็จไปอุรุเวลาเสนานิคมทรงโปรดชฏิล อุรุเวลกัสสปะ พร้อมบริวาร ๕๐๐ คน ด้วยอาทิตตปริยายสูตร จนในที่สุดน้องชายทั้งสองคือ นทีกิสสปะพร้อมบริวาร ๓๐๐ และคยากัสสปะพร้อมบริวาร ๒๐๐ ก็ขอการอุปสมบทเช่นเดียวกับพี่ชาย

ชฏิล ทั้งหมดได้รับฟังธรรมเทศนาจนบรรลุพระอรหันต์ พระองค์พร้อมพระสาวกเสด็จโปรดพระเจ้าพิมพิสาร และชาวเมือง ณ สวนตาลหนุ่ม นอกเมือง จอมราชันย์แห่งนครราชคฤห์และชาวเมืองก็ได้ดวงตาเห็นธรรมและบรรลุโสดาบัน ต่อมาพระสาวกองค์สำศัญ ก็เข้ามาอุปสมบทเช่น พระมหากัสสปะ พระอุทายี พระนันทะ พระราหุล พระอนุรุทธะ พระอานนท์ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระรัฐบาล พระสิวลี พระองคุลีมาล เป็นต้น

ดัง นั้นนับตั้งแต่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติจนกระทั่งสั่งสอนสาวกรุ่นแรกที่ป่า อิสิปตนมิคทายวันเป็นเวลา ๓๕ พรรษา พุทธศาสนาจึงอุบัติขึ้นอย่างสมบูรณ์ การที่พระพุทธองค์สามารถประดิษฐานพุทธศาสนาลงในชมพูทวีป อันเป็นดินแดนของศาสนาพราหมณ์และลัทธิอื่น ๆ ที่แข็งแกร่งอย่างมากมายได้นั้น เป็นเพราะความพยายามของพระพุทธองค์และพระสาวก และความดีเด่นของพุทธศาสนานั้นเองถ้าไม่มีความดีเด่นในตัวแล้วคงไม่สามารถ แย่งชิงกับศาสนาเจ้าถิ่นได้

๗. ปรินิพพาน (Passed away)

พระพุทธองค์ทรงพุทธกิจอยู่จนพระชนม์มายุได้ ๘๐ พรรษา ก็เสด็จจำพรรษา ณ เมืองเวสาลีเป็นพรรษาสุดท้าย แล้วดำเนินจากเมืองเวสาลีสู่กรุงกุสินาเพื่อเสด็จปรินิพพาน และพระองค์ก็เหลียวมองกรุงเวสาลีอีกครั้ง เป็นการทัศนาเป็นครั้งสุดท้าย แล้วเดินทางต่อจนถึงเมืองปาวา ฉันพระกระยาหารมื้อสุดท้ายที่บ้านนายจุนทะ เขาพร้อมพุทธบริษัทได้ถวายสูกรมัทวะ ซึ่งหมายถึงเห็ดชนิดหนึ่งที่หมูชอบกิน แต่บางมติว่าเป็นหมู มาถึงตอนนี้พระองค์อาพาธอย่างยิ่ง จนจวนเจียนจะปรินิพพานแต่ก็ข่มอาพาธด้วยสมาบัติแล้วประคองพระองค์จนถึงสาวลวโนทยานของเจ้ามัลละ กษัตรย์เมืองกุสินารา
เสด็จปรินิพพาน ใต้ต้นสาละ ณ กรุงกุสินารา

ก่อนเสด็จดับขันทธปรินิพพาน พระองค์็ให้การอุปสมบทแก่พระสุภัททะปริพพาชก นับเป็นสาวกองค์สุดท้ายที่พระองค์บวชให้ ขณะกำลังใกล้ปรินิพพาน พระอานนท์แอบไปร้องไห้คนเดียว เพราะคิดว่าพระพุทธองค์จะเสด็จด่วนจากไปซะแล้ว ในขณะที่ตนเองยังไม่ได้บรรลุอะไรยังเป็นปุถุชนอยู่ จักมีใครเป็นที่พึ่งได้ต่อไปความทราบถึงพระองค์ จึงตรัสให้เรียกพระอานนท์มาและปลอบว่า

พระอานนท์เป็นยอดอุปัฏฐาก รู้เวลาอันควรไม่ควรและในอนาคตจักได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แน่นอน พระโอวาทนี้ทำให้พระอานนท์คลายเศร้าโศกลงบ้าง

ในท่ามกลางคณะสงฆ์ทั้งที่เป็นพระอรหันต์ และปุถุชน พระราชาชาวเมืองกุสินาราและจากแคว้นต่าง ๆ เทวดาทั่วหมื่นโลกธาตุ พระพุทธองค์ได้ตรัสพระดำรัสครั้งสำคัญว่า

"โย โว อานนฺท ธมฺโม จ วินโย มยา เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา" อันแปลว่า "ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัย อันใดที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว"

และแล้วเมื่อถึงปัจฉิมยามของวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำเดือน ๖ อันตรงกับเดือนวิสาขะ ก็ทรงดับขันธปรินิพพาน ณ สาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา (Kushinagar) ของอำเภอกาเซีย (Kasiya) จังหวัดโครักขปุระ รัฐอุตตรประเทศในปัจจุบัน เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว โทณพราหมณ์ก็ได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ออกเป็น ๘ ส่วน โดยแบ่งให้เมืองเวสาลี เมืองกบิลพัสดุ์ เมืองอัลกัปปะเมืองรามคาม เมืองเวฏฐทีปกะ เมืองปาวา เมืองราชคฤห์ และเมืองกุสินารา ได้ส่งตัวแทนมาขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปสักการะบูชาในเมืองของตน

สรุปพุทธกิจในรอบวันของพระพุทธองค์
๑. ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ ตอนเช้าเสด็จออกบิณฑบาตเพื่อโปรดเวไนยสัตว์
๒. สายณฺเห ธมฺมเทสนํ ตอนเย็นทรงแสดงธรรมโปรดมหาชนที่เข้าเฝ้าถวาย
๓. ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ ตอนหัวค่ำประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งเก่าและใหม่
๔. อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหานํ ตอนเที่ยงคืนทรงวิสัชชนาปัญหาให้เทวดาชั้นต่าง ๆ สามารถและไม่สามารถบรรลุธรรมได้ แล้วเสด็จไปโปรดถึงที่ แม้ว่าหนทางจะลำบากแค่ไหนก็ตาม

สรุปสถานที่จำพรรษาของพระพุทธองค์


พรรษา
ชนมายุ
สถานที่
เมืองและแคว้น
หมายเหตุ
๓๕ ป่าอิสิปตนมิคทายวัน กรุงพราราณสี แคว้นกาสี โปรดปัญจวัคคีย์
๒-๔ ๓๖-๓๘ เวฬุวนาราม กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ โปรดพระเจ้าพิมพิสาร
๓๙ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี แคว้นวัชชี โปดพระนางปชาบดีโคตมี
๔๐ มกุลพรรพต เหนือราชคฤห์ แคว้นมคธ แสดงยมกปาฏิหาริย์
๔๑ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ - โปรดพุทธมารดา
๔๒ เภสกฬาวัน สุงสุมารคีรี แคว้นภัคคะ โปรดพระอนุรุทธะ
๔๓ วัดโฆสิตราม กรุงโกสัมพี แคว้นวังสะ โปรดโฆสิตเศรษฐี
๑๐ ๔๔ โคนต้นสาละ ป่าปาลิเยยกะ ใกล้กรุงโกสัมพี แคว้นวังสะ ระหว่างโกสัมพีและสาวัตถี
๑๑ ๔๕ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเอกนาลา แคว้นมคธ โปรดกสิภารทวาชพราหมณ์
๑๒ ๔๖ ควงไม้สะเดา เมืองเวรัญชา แคว้นปัญจาละ โปรดเวรัญชพราหมณ์
๑๓ ๔๗ จาริกาบรรพต หมู่บ้านชันตุ เมืองจาลิกา โปรดพระเมฆิยะ
๑๔ ๔๘ พระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี แคว้นโกศล โปรดชาวสาวัตถี
๑๕ ๔๙ วัดนิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ โปรดพุทธบิดา,ญาติ
๑๖ ๕๐ อัคคาฬวเจดีย์วิหาร เมืองอาฬวี โปรดอาฬวกยักษ์
๑๗ ๕๑ วัดเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ โปรดอภัยราชกุมาร
๑๘ ๕๒ จาลิกบรรพต เมืองจาลิกา ไม่ปรากฎหลักฐาน
๑๙ ๕๓ จาลิกบรรพต เมืองจาลิกา ไม่ปรากฏหลักฐาน
๒๐ ๕๔ วัดเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ โปรดชาวเมืองราชคฤห์
๒๑-๔๔ ๕๕-๗๙ วัดเชตวันและปุปพาราม กรุงสาวัตถี แคว้นโกศล โปรดนางวิสาขา
๔๕ ๘๐ เวฬุวคาม กรุงเวสาลี แคว้นวัชชี โปรดชาวเมือง
จะเห็นได้ว่าพุทธกิจในแต่ละวันจากเช้าถึงเที่ยงคืน แน่นขนัดจนแทบไม่ว่าพักผ่อนพระอริยาบถ ชีวิตของพระองค์เกิดมาเพื่อโปรดมนุษย์โดยแท้

สรุปพระอรหันต์องค์สำคัญ ๔๕ องค์

ที่
ชื่อ
บิดา
ที่เกิด
ตระกูล
เอตทัคคะ
พระโกณฑัญญะ พราหมณ์มหาศาล กรุงกบิลพัสดุ์ พราหมณ์ รู้ราตรีนาน
พระยสะ เศรษฐี กรุงพาราณสี พราหมณ์ -
พระอุระเวลกัสสปะ พราหมณ์กัสสปะ คยาสีละ มคธ พราหมณ์ มีบริวานมาก
พระสารีบุตร พราหมณ์วังคันตะ นาลันทา มคธ พราหมณ์ มีปัญญามาก
พระหาโมคคัลลานะ พราหมณ์โกลิตะ นาลันทา มคธ พราหมณ์ มีฤทธิ์มาก
พระมหากัสสปะ พราหมณ์กปิละ บ้านหาติฏฐะ มคธ พราหมณ์ ผู้ทรงธุดงค์
พระมหากัจจายนะ ปุโรหิต อุชเชนี อวันตี ปุโรหิต(แพศย์) อธิบายย่อให้พิศดาร
พระโมฆราช พราหมณ์ กรุงสาวัตถี พราหมณ์ ทรงจีวรเศร้าหมอง
พระราธะ พราหมณ์ กรุงราชคฤห์ พราหมณ์ มีญาณแจ้งในธรรม
๑๐ พระปุณณมันตานีบุตร พราหมณ์มหาศาล กรุงกบิลพัสดุ์ พราหมณ์ ทรงธรรมกถึก
๑๑ พระกาฬุทายี มหาอำมาตย์ กรุงราชคฤห์ มคธ อำมาตย์(แพศย์) ผู้ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
๑๒ พระนันทะ พระเจ้าสุทโธทนะ กรุงกบิลพัสดุ์ กษัตริย์ สำรวมอันทรีย์ ๖
๑๓ พระราหุล เจ้ายสิทธัตถะ กรุงกบิลพัสดุ์ กษัตริย์ ใคร่ในการศึกษา
๑๔ พระอุบาลี ช่างตัดผม กรุงกบิลพัสดุ์ กษัตริย์ ผู้ทรงวินัย
๑๕ พระภัททิยราช เจ้าชายกรุงกบิลพัสดุ์ กรุงกบิลพัสดุ์ กษัตริย์ เกิดในตระกูลสูง
๑๖ พระอนุรุทธะ พระเจ้าชายอมิโตทนะ กรุงกบิลพัสดุ์ กษัตริย์ มีทิพยจักษุ
๑๗ พระอานนท์ พระเจ้าสุกดกทนะ กรุงกบิลพัสดุ์ กษัตริย์ เป็นพระหูุสูตร
๑๘ พระโสณโกฬิวิสะ เศรษฐี จำปานคร แพศย์ ปรารภความเพียร
๑๙ พระรัฏฐปาละ เศรษฐี บ้านถุลลโกฏฐิตะ แพศย์ บวชด้วยศรัทธา
๒๐ พระปิณโฑลภารทวาชะ พราหมณ์มหาศาล กรุงราชคฤห์ พราหมณ์ บรรลือสีหนาท
๒๑ พระมหาปันถกะ ทาสในสำนักเศรษฐี กรุงราชคฤห์ พราหมณ์ เจริญปัญญาภาวนา
๒๒ พระจุฬปันถกะ ทาสในสำนักเศรษฐี กรุงราชคฤห์ พราหมณ์ เจริญมโนมยิทธิ
๒๓ พระโสณกุฏิกัณณะ บุตรนางกาฬี กรุงราชคฤห์ - แสดงธรรมไพเราะ
๒๔ พระลกุณฏกภัททิยะ เศรษฐี กรุงสาวัตถี แพศย์ มีเสียไพเราะ
๒๕ พระสุภูติ สุมนเศรษฐี กรุงสาวัตถี แพศย์ มีทักขิเณยยบุคคล
๒๖ พระกังขาเรวตะ เศรษฐี กรุงสาวัตถี แพศย์ ยินดีในฌานสมาบัติ
๒๗ พระวักกลิ พราหมณ์วักกลิ กรุงสาวัตถี แพศย์ ศรัทธาวิมุตติ
๒๘ พระกุณฑธานะ พราหมณ์ กรุงสาวัตถี แพศย์ จับฉลากเป็นปฐม
๒๙ พระวังคีสะ พราหมณ์ กรุงสาวัตถี พราหมณ์ ปัญญาปฏิภาณ
๓๐ พระปิลินนทวัจฉะ พราหมณ์วัจฉะ กรุงสาวัตถี พราหมณ์ เป็นที่รักของเทวดา
๓๑ พระกุมารกัสสปะ บุตรนางภิกษุณี กรุงราชคฤห์ แพศย์ แสดงธรรมวิจิตร
๓๒ พระมหาโกฏฐิตะ พราหมณ์อัสสลายน กรุงสาวัตถี พราหมณ์ แตกฉานปฏิสัมภิทา
๓๓ พระโสภิตะ พราหมณ์ กรุงสาวัตถี,โกศล พราหมณ์ ละลึกชาติได้
๓๔ พระนันทกะ พราหมณ์ กรุงสาวัตถี พราหมณ์ โอวาทนางภิกษุณี
๓๕ พระมหากัปปินะ กษัตริย์กุกกุฏวดี นครกุกกุฏวดี กษัตริย์ โอวาทภิกษุ
๓๖ พระสาคตะ พราหมณ์ กรุงสาวัตถี พราหมณ์ ฉลาดเตโชกสิณ
๓๗ พระอุปเสน พราหมณ์วังคันตะ นาลันทา มคธ พราหมณ์ เป็นที่ศรัทธา
๓๘ พระขทิรวนิยเรวตะ พราหมณ์วังคันตะ นาลันทา มคธ พราหมณ์ ผู้อยู่ป่า
๓๙ พระสิวลี เจ้าชายกรุงโกลิยะ กรุงโกลิยะ กษัตริย์ มีลาภมาก
๔๐ พระพาหิยทารุจริยะ กุฎูมพี พาหิยรัฐ แพศย์ บรรลุเร็ว
๔๑ พระพากุละ (พักกุละ) มหาเศรษฐี กรุงโกสัมพี แพศย์ มีโรคาพยาธิน้อย
๔๒ พระทัพพมัลลบุตร พระเจ้ามัลลราช กรุงกุสาวดี,มัลละ กษัตริย์ จัดแจงอาสนะ
๔๓ พระองคุลิมาล ปุโรหิต กรุงสาวัตถี,โกศล พราหมณ์ คาถาคลอดง่าย
๔๔ พระจุนทะ พราหมร์วังคันตะ นาลันทา มคธ พราหมณ์ -
๔๕ พระนาลกะ บุตรน้องสาวอสิตดาบส กรุงกบิลพัสดุ์ พราหมณ์ -

๘. กษัตริย์องค์สำคัญยุคพุทธกาล (The Great Buddhist Kings)

ในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่ และ ๕ แคว้นเล็ก ยุคพุทธกาลนั้น มีพระราชาใน ๔ แคว้นเท่านั้นที่มีอานุภาพมากกว่าองค์อื่น ๆ ซึ่งต่อมาได้แผ่บารมีปกป้องคุ้มครองพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งเรืองตลอดยุคสมัยของพระองค์ทั้ง ๔ พระองค์เป็นพุทธมามกะที่เคร่งครัดนั้นคือ พระเจ้าพิมพิสาร ,พระเจ้าปเสนทิโกศล, พระเจ้าจันฑปัชโชต, พระเจ้าอุเทน โดยมีรายละเอียดดังนี้

ก. พระเจ้าพิมพิสาร (King Bimbisara)

พระเจ้าพิมพิสารหลั่งน้ำถวาย
เวฬุวนารามแด่พระพุทธองค์

พระเจ้าพิมพิสารในคัมภีร์ปุราณะกล่าวว่า เป็นพระโอรสของพระเจ้ากษัตราชาส แห่งราชวงศ์ไศศุนาค (Sisunaga Dynasty) ได้ปกครองอาณาจักรมคธต่อจากปิดา เมื่อพระชนมายุ ๑๕ ปี โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ เมืองราชคฤห์ หลังจากขึ้นครองราชย์แล้วพระองค์เลื่อมใสในเจ้าลัทธิหลายองค์ในสมัยนั้น แม้กระทั้งชฎิลสามพี่น้อ งคืออุรุเวละกัสสปะ นทีกัสสปะ คยากัสสปะ หลังจากได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระบรมศาสดาที่สวนตาลหนุ่ม นอกเมืองราชคฤห์แล้ว พระองค์บรรลุพระโสดาบัน จึงกลายเป็นพุทธมามกะที่เข้มแข็ง ประกอบกับแคว้นมคธเป็นรัฐมหาอำนาจในยุคนั้น จึงทำให้พุทธศาสนากระจายไปอย่างรวดเร็ว ในตำนานของศาสนาเชนกล่าวว่าพระองค์นับถือศาสนาเชน แต่ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะมหากษัตริย์ที่นับถือพุทธศาสนามักถวาย ความอุปถัมภ์แก่ทุกศาสนาด้วยจนถูกทึกทักว่านับถือศาสนานั้นด้วย เช่น พระเจ้าอโศก ศาสนาเชนก็กล่าวว่าพระองค์เป็นเชนศาสนิก หรือพระเจ้าหรรษวรรษนะก็ถูกทึกทักว่า เป็นผู้นับถือฮินดูที่ยิ่งใหญ่ด้วย พระเจ้าพิมพิสาร มีพระมเหสีหลายพระองค์ แต่ที่สำคัญคือ
๑. พระนางเวเทหิ พระธิดาพระเจ้ามหาโกศล เมืองสาวัตถี ต่อมาให้กำเนิดเจ้าชายอภัยราชกุมาร และชัยเสนกุมาร
๒. พระนางเขมา เป็นพระธิดาเจ้าครองนครสาคล แห่งมัทรัฐ มีสิริโฉมงดงามยิ่ง ต่อมาอุปสมบทเป็นภิกษุณี จนได้บรรลุพระอรหัต
๓. พระนางอมรปาลี เป็นธิดาเจ้าลิจฉวี เมืองเวสาลี มีโอรส ๕ พระองค์ คือ ๑. เจ้าชายกุณิกะ ๒.เจ้าชายอชาตศัตรู ๓. เจ้าชายวิมาลา โกณฑัญญะ ๔.เจ้าชายเวหัลละ ๕.เจ้าชายสีลวัต และถ้านับเจ้าชายชัยเสนกุมารตามหนังสือภูมิประวัติพุทธศาสนาแล้วก็รวมเป็น ๖ พระองค์

พระองค์ปกครองมคธถึง ๕๒ ปี ก่อนจะถูกพระโอรสองค์โต คือเจ้าชายอชาตศัตรูยึดอำนาจและสิ้นพระชนม์ในคุก ก่อนที่พระพุทธองค์จะปรินิพพานเพียง ๘ ปีในยุคพุทธกาล แคว้นมคธเป็นรัฐที่มีอำนาจมากที่สุด

ข. พระเจ้าปเสนทิโกศล (Pasinadi or Prasenajit)

พระเจ้าปเสนทิโกศล ในปกร์ฝ่ายสันสกฤตเรียกพระองค์ว่า พระเจ้าประเสนชิต เป็นพระราชาปกครองแคว้นโกศล โดยมีเมืองสาวัตถึ (Savatthi) หรือศราวัสตี (Sravasti) ในภาษาสันสกฤตเป็นราชธานี เป็นพระโอรสของพระเจ้ามหาโกศล ในวัยเด็กพระองค์ได้รับการศึกษาจากอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ณ เมืองตักกสิลา หลังการสำเร็จการศึกษาจากตักกสิลามาแล้ว พระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติ ต่อจากพระบิดา ราชอาณาจักรมีความกว้างขวางรองจากอาณาจักรมคธ จากแม่น้ำคุมติ (Gumti) ถึงเมืองคันฑัก (Gandak) และจากชายแดนเนปาลในปัจจุบันถึงฝั่งแม่น้ำคงคา ต่อมาพระองค์ก็ได้ผนวกแคว้นกาสี อันมีเมืองพาราณสีอยู่ในราชอาณาจักรอีกด้วย พระเจ้าปเสนทิโกศลมีพระชนมายุเท่ากับพระพุทธองค์ และในบรรดาพระมหากษัตริย์หลายเมืองพระองค์นับว่ามีความใกล้ชิดกับพระ พุทธองค์มากที่สุด พระทุทธองค์ประทับอยู่เมืองสาวัตถีนานที่สุด พระองค์มีสรีระที่อ้วนท้วนสมบูรณ์ แม้จะเสด็จไปไหนก็ไม่สะดวก ทรงอึดอัดเป็นอย่างยิ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศลเคยทำสงครามกับพระเจ้าอชาตศัตรู แคว้นมคธผู้เป็นหลาน ๔ ครั้ง แต่ก็ต้องแพ้ทั้ง ๔ ครั้งเช่นกัน สาเหตุเพราะแย่งอาณาเขตแคว้นกาสี แต่ครั้งที่ ๕ พระเจ้าปเสนทิโกศลชนะ เพราะจารบุรุษของพระองค์ได้แอบฟังเทคนิคการรบจากพระธนุคคหติสสะสนทนากับพระ ทันตเถระ ที่เชตวันมหาวิหาร ด้วยว่าพระธนุคคหติสสะก่อนบวช เป็นนายทหารที่ฉลาดหลักแหลมและออกรบอย่างอาจหาญมาตลอด พระเจ้าอชาตศัตรูจึงถูกจับขังคุกที่สาวัตถีหลายปี แต่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเห็นว่าเป็นหลานก็เลยปล่อยกลับไป พระองค์มีพระมเหสีหลายพระองค์ แต่ที่เด่น ๆ คือ ๑. พระนางมัลลิกา ๒. พระนางวาสภขัตติยา มีพระโอรส หลายพระองค์ คือ ๑.เจ้าชายพรหมทัต(Brahmadatta) ๒. เจ้าชายวิฑูฑภะ (Vidudabha) ต่อมาเจ้าชายพรหมทัตก็ได้ออกบวชจนบรรลุพระอรหันต์ ส่วนเจ้าชายวิฑูฑภะยึดอำนาจจากพระองค์แล้วครองราชย์สมบัติต่อมา ก่อนที่เจ้าชายวิฑูโภะจะสวรรคตที่ริมฝั่งแม่น้ำ หลังนำทัพเข้าโจมตี เมืองกบิลดุ์ได้ไม่นาน

ค. พระเจ้าจันฑปัชโชต (Candapajjota)

พระเจ้าจันฑปัชโชต หรือ ปรัทโยตะ (Pradyota) ในภาษาสันสกฤตเป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์อวันตี (Avaanti Dynasty) โดยมีเมืองหลวงชื่อเมืองอุชเชนี (Ujjeni) หรืออุชชายินี (Ujjayini) ในภาษาสันสกฤต เมืองนี้อยู่ทางตอนกลางของประเทศอินเดีย พระองค์มีนิสัยดุร้ายจนมีคำว่า จัณฑะ (ดุร้าย) นำหน้าทรงเอาแต่ใจตัวเอง มีทรัพย์สมบัติที่มั่นคั่งเมืองหนึ่ง ในสมัยนั้นเป็นมิตรสหายของพระเจ้าปรันตปะแห่งเมืองโกสัมพี ครั้งหนึ่งพระองค์ประชวรอย่างหนัก หมอทั่วราชอาณาจักรเข้ารักษาก็ไม่มีมครรักษาสำเร็จ จนได้หมอชีวกโกมารภัจจ์จากรุงคฤห์มาช่วยรักษาอาการจึงหายเป็นปกติ พระองค์มีพระธิดาที่เลอโฉมนาว่าวาสุลทีตตา หรือ วาสวทัตตา (Vasavadatta)

ง. พระเจ้าอุเทน (Udena or Udayan)

พระเจ้าอุเทน(Udena) ในปกรณ์ฝ่ายสันสกฤตเรียกว่า พระเจ้าอุทยัน (Udayan) เป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์วัตสะ (Vatsa Dunasty) ทรงปกครอง แคว้นวังสะ โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองโกสัมพี (Kosambi) หรือเกศัมพี (Kaushambi) ในภาษาสันสกฤต เมืองนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ใกล้เมืองอัลลาหบาดหรือประยาคในปัจจุบัน พระบิดานามว่าปรันตปะ

พระเจ้าอุเทนทรงช้างเลียบนครโกสัมพี

พระเจ้าอุเทนประสูติในป่าเพราะพระมรดาถูกนกหัสดีลิงค์โฉบไปสู่ป่า แต่ได้รับการช่วยเหลือจากดาบสอัลลกัปปะ พระนางประสูติพระโอรสตอนใกล้รุ่ง จึงตั้งนามว่า อุเทน โดยได้รับการดูแลจากดาบสผู้เป็นพระบิดาเลี้ยง และพระมารดา เจ้าชายอุเทนได้ศึกษามนต์ฝึกช้างจนช่ำชอง และสามารถควบคุมช้างเป็นจำนวนมากได้ด้วยมนต์ที่ศึกษามาและยึดราชบัลลังก์นคร โกสัมพีจนสำเร็จ ด้วยการยกทัพช้างล้อมพระนคร

พระ เจ้าอุเทนมีพระมเหสี ๓ พระองค์ คือ ๑.พระนางสามาวดี ๒.พระนางวาสุลทัตตา ๓. พระนางมาคันทิยา ต่อมาพระมเหสีทั้งสอง คือพระนางสามาวดีก็สิ้นพระชนม์จากการลอบวางเพลิงของพระนางมาคันทิยา ส่วนพระนางมาคันทิยาผู้อิจฉาก็ถูกราชอาญา เพราะทำผิดร้ายแรงด้วยการถูกเผาทั้งเป็นเช่นกัน

ในตำนานฝ่ายเชนกล่าวว่าพระองค์มีพระโอรสพระองค์เดียวจากพระนางวาสวทัตตา คือเจ้าชายโพธิ (Prince Bodhi) ซึ่งต่อมาได้ปกครองราชบัลลังก์โกสัมพีแทนพระบิดา พระเจ้าอุเทนได้หันมานับถือพุทธศาสนาเพราะพระนางสามาวดีพุทธสาวิกาที่มั่นคง พระองค์มีความสนิทสนมกับพระปิณโฑลภารทวาชะมาก จนต่อมาโกสัมพีก็กลายเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนา ครั้งสมัยพุทธกาลเป็นต้นมา พระอารามใหญ่ ๆ ในเมืองนี้คือ ๑. โฆสิตาราม สร้างโดยโฆสิตเศรษฐี ๒. กุกกุฏาราม สร้างโดย กุกกุฏเศรษฐี และ ๓. ปาวาริการามโดยเศรษฐีปาวริกะ

1 ความคิดเห็น: